ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมข่าวการศึกษา  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

ผลสำรวจชี้ พ่อแม่หลังแอ่นกู้เงิน ส่งลูกเข้ามหาลัย


ข่าวการศึกษา 29 เม.ย. 2559 เวลา 11:04 น. เปิดอ่าน : 10,565 ครั้ง
Advertisement

ผลสำรวจชี้ พ่อแม่หลังแอ่นกู้เงิน ส่งลูกเข้ามหาลัย

Advertisement

ผลสำรวจชี้ พ่อแม่หลังแอ่นกู้เงิน ส่งลูกเข้ามหา'ลัย

โดย...ธเนศน์ นุ่นมัน

เมื่อบุตรหลานเรียนหนังสือมาถึงชั้นมัธยมปลาย พ่อแม่ผู้ปกครองต่างทราบดีว่าเป็นช่วงสำคัญในการชี้ชะตาก่อนร่ำเรียนในระดับสูงขึ้น ในระดับอุดมศึกษาหรือที่เรียกว่าเข้าเรียนในมหาวิทยาลัย ก่อนการสอบสารพัดจะมาถึง มีค่าใช้จ่ายรอล้วงกระเป๋าอย่างที่คาดไม่ถึง

ศ.สมพงษ์ จิตระดับ กรรมการสำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.) ระบุว่า จากที่ สสค.ได้จัดทำแบบสำรวจต้นทุนชีวิตเยาวชนต่อการสอบเข้าอุดมศึกษาต่อปี พบข้อมูลที่น่าตกใจว่า นักเรียนชั้น ม.ปลาย 60% ต้องเรียนพิเศษ และแต่ละคนมีค่าใช้จ่ายจากการเรียนพิเศษตลอดช่วงชั้น ม.ปลาย (ม.4-6) เฉลี่ยคนละ 19,748 บาท มีรายจ่ายตลอดการเรียนชั้น ม.4-6 ซึ่งเป็นการลงทุนเพื่อศึกษาต่ออุดมศึกษา เฉลี่ยคนละ 61,199 บาท คิดเป็น 6% ของได้ในครัวเรือน

รายจ่ายดังกล่าวจำแนกออกเป็นรายจ่ายในโรงเรียน (ค่าเทอม/ค่ารถ/ค่าอาหารกลางวัน) 17,823 บาท รายจ่ายในการเรียนพิเศษ (ค่าเรียนพิเศษ/ค่ารถ/ค่าที่พัก) 22,592 บาท รายจ่ายในการสมัครสอบ (ค่าสมัครสอบ/ค่ามัดจำเพื่อรักษาสิทธิ/ค่ารถ/ที่พัก) 20,040 บาท นอกจากนี้ยังพบค่ามัดจำเพื่อรักษาสิทธิเฉลี่ยอยู่ที่ 10,610 บาท โดยพบว่ามีการจ่ายเงินค่ามัดจำสูงถึง 9.1 หมื่นบาท

ขณะที่ความพร้อมของผู้ปกครองในการสนับสนุนค่าใช้จ่าย พบว่า ไม่ว่าผู้ปกครองจะมีฐานะใดล้วนมีความพร้อมที่จะสนับสนุนเพื่อให้บุตรหลานได้เรียนต่ออุดมศึกษา แม้ว่าจะต้องไปกู้เงินหรือไม่ก็ตาม โดยพบสัดส่วนการกู้ยืมเงินเพื่อสนับสนุนการศึกษาในครัวเรือนยากจน 52% ฐานะปานกลาง 27% และค่อนข้างมีฐานะ 19%

ทั้งนี้ หากจำแนกตามสถานะทางเศรษฐกิจ พบว่า นักเรียน ม.ปลายในกลุ่มรายได้ปานกลางและค่อนข้างมีฐานะมากกว่าครึ่งที่เรียนพิเศษ โดย 5 สาเหตุหลักที่ต้องไปเรียนพิเศษ คือ อยากได้เทคนิคการทำข้อสอบ 36% อยากได้เกรดดีๆ เพื่อเรียนต่อ 36% เรียนที่โรงเรียนไม่เข้าใจ/ไม่รู้เรื่องต้องเรียนเพิ่มเติม กลัวสอบตก 33% ต้องเตรียมตัวสอบหลายอย่างเพื่อสอบเรียนต่อ เรียนที่โรงเรียนอย่าง 29% และบางวิชาที่โรงเรียนไม่ได้สอนแต่ต้องใช้ในการสอบเพื่อเรียนต่อ เช่น ความถนัดทาง สถาปัตย์ วิศวะ เป็นต้น 16% ซึ่งค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการเรียนพิเศษ นักเรียนชั้น ม.ปลายในแต่ละระดับชั้น ม.4-ม.6 มีการลงเรียนพิเศษ/กวดวิชาเฉลี่ย 2-3 วิชา/ปีการศึกษา โดยพบว่าในแต่ละระดับชั้นมีการลงเรียนพิเศษสูงสุดถึง 7 วิชา และต่ำสุด 1 วิชา

ศ.สมพงษ์ ระบุว่า ผลการวิจัยที่ได้สำรวจมีข้อเสนอที่ต้องการให้รัฐดำเนินการ คือ 1.เรื่องการกวดวิชา รัฐต้องมีนโยบายที่จริงจังถ้าต้องการให้ลดต้องลดจริง 2.เรื่องหลักสูตร ข้อสอบยากเกินไป การเรียนรู้ในโรงเรียนไม่สามารถช่วยให้เด็กสอบเข้ามหาวิทยาลัยได้ ทำอย่างไรให้ครูสอนได้เต็มที่ ดังนั้นนโยบายการคืนครูสู่ห้องเรียน กิจกรรมลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ทำได้จริงแค่ไหน

3.การจัดตั้งกองทุน เพื่อช่วยเหลือค่าเดินทาง ค่าสมัครสอบ ค่าอาหาร ค่าที่พัก เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้กับคนส่วนใหญ่ของประเทศได้มีความสุขมากขึ้น เมื่อลูกหลานเรียน ม.4 ผู้ปกครองต้องรับกรรมกับค่าใช้จ่ายมหาศาล ตรงนี้คือคอขวดสำคัญกับระบบการศึกษา รัฐควรควบคุมค่าสมัครสอบโดยการกำหนดให้เป็นมาตรฐานเพื่อลดค่าใช้จ่าย และลดจำนวนการสอบเข้าเรียนต่อในอุดมศึกษา

อิทธิพล ฉิมงาม นักเรียนโรงเรียนสมุทรสาครวิทยาลัย กล่าวว่า ที่ผ่านมาพบว่าผู้ปกครองของตัวเองต้องแบกค่าใช้จ่ายหลายด้าน ทั้งค่ากวดวิชา ค่ารถ ค่าสมัครสอบ ค่าสนามสอบ 7-8 แห่ง ซึ่งมีค่าแต่ละวิชาต้องเรียนถึง 3 รอบ เพราะข้อสอบคนละแบบ และมีเนื้อหามาก เพื่อรับมือกับข้อสอบ ก็เลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องเรียนพิเศษ

"ปัจจุบันข้อสอบ โจทย์ 1 หน้า ตัวเลือก 1 หน้า สมมติว่าเป็นวิชาเคมี-ชีววิทยา เราต้องเรียนถึงวิชาละ 20 กว่าบท เพื่อทำข้อสอบบทละแค่เพียงสองข้อ ถ้าไม่เรียนพิเศษใครจะทำได้ ที่ผ่านมาผมไปสมัครสอบรับตรงตามที่มีมหาวิทยาลัยบางแห่งเปิดโดยสถาบันดังกล่าวไม่มีการบอกผลคะแนนต่ำสุด เมื่อคะแนนออกมา ปรากฏว่า คะแนนไม่ถึง ก็เข้าเรียนไม่ได้ กรณีนี้ไม่เข้าใจว่าทำไมแต่ละสถาบันไม่มีการคุยประสานกันเพื่อช่วยไม่ให้ต้องวิ่งรอกสอบหรือทำให้เด็กต้องเลือกที่นั่งเผื่อ เมื่อประกาศผลได้ที่นั่ง 3 มหาวิทยาลัยก็ต้องสละที่ไม่อยากเรียนไป" อิทธิพล กล่าว

อิทธิพล ระบุด้วยว่า จากที่ได้ประเมินเนื้อหาทั้งจากการเรียนในชั้นและการกวดวิชาจากความเห็นจากเพื่อนนักเรียน ต่างพูดเป็นเสียงเดียวกัน ว่า แม้ทุกคนจะรู้ว่าการกวดวิชาเป็นภาระของผู้ปกครองแต่ก็ต้องเรียน เพราะหากไม่เรียน โอกาสการแข่งขันในการสอบเข้าเรียนอุดมศึกษาจะมีความเสี่ยงสูงและเป็นไปได้ที่น้อยมาก

"นักเรียนส่วนใหญ่ต่างก็เคยลองสอบหรือศึกษาข้อสอบมาก่อนเข้าสนามจริงทั้งนั้น เราจึงพบว่าข้อสอบนั้นยากขึ้นๆ จนการเรียนการสอนในชั้นวิวัฒนาการตามไม่ทัน ที่น่าเศร้ากว่านั้น คือ เมื่อเราขอดูข้อสอบจากสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติก็จะได้มาแค่เพียงกระดาษคำตอบที่เราฝนดินสอตอบแต่ไม่ได้ข้อสอบมาด้วย เพราะ สทศ.บอกว่าจะไม่เผยแพร่ข้อมูล จนเริ่มมีเด็กบอกเล่าต่อกันแล้วว่าพบข้อสอบซ้ำ และมีโรงเรียนกวดวิชาที่วิเคราะห์ข้อสอบได้ใกล้เคียงกว่าที่โรงเรียนหรือชั้นเรียนจะให้คำตอบหรือความกระจ่างในเรื่องนี้ได้ ที่แย่กว่านั้นคือปัญหาการสอบทั้งหลายยังไม่เคยมีหน่วยงานรัฐหน่วยไหนออกมาช่วยพวกเราได้เลย ผมไม่รู้ด้วยซ้ำว่าที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทยคืออะไร" อิทธพล ระบุ

พงศธร นามพิลา นักเรียนโรงเรียนโซ่พิสัยพิทยาคม จ.บึงกาฬ เล่าว่า แม้จะอยากเรียนกวดวิชา แต่ต้นทุนเศรษฐกิจฐานะครอบครัวไม่ดี และที่ จ.บึงกาฬ ไม่มีสถาบันกวดวิชา หากจะเรียนต้องไปเรียนข้ามจังหวัด

"ผมเป็นลูกเกษตรกร เงินไปเรียนแต่ละวันก็ยังยาก การจะไปแข่งขันจึงต้องใช้ความพยายามมาก ไม่มีเงินรองรับ ดังนั้นไม่ต้องพูดถึงระดับอุดมศึกษา อยากให้แก้ไขที่ระบบการศึกษาระดับมัธยมศึกษา โดยการเปลี่ยนแปลงหลักสูตรในเรื่องการเรียนรู้ เนื้อหา สอดคล้องกับสิ่งที่จะนำไปใช้ได้จริงและเป็นเนื้อหาที่สามารถสอบเข้ามหาวิทยาลัยได้ จะได้ไม่ต้องไปเรียนกวดวิชา แค่ตั้งใจเรียนในห้องเรียนก็พอแล้ว การจะให้ไปสอบรับตรงผมก็คงสู้ไม่ได้ จึงอยากให้เปิดโอกาสให้เด็กชนบท ยากจน ไม่มีทุน บางคนเรียนเก่ง แต่ขาดโอกาสบ้าง รวมทั้งอยากให้มีครูแนะแนวมีหลักสูตรชัดเจนจริงจัง เพื่อเด็กจะได้รู้จักตัวตนของตนเอง ไม่ต้องเรียนกันแบบหว่านแห แต่มุ่งตรงไปยังเป้าหมายของตนเองเลย" พงศธร กล่าว. 

 

ที่มา โพสต์ทูเดย์ วันที่ 29 เมษายน 2559

🖼สำหรับคุณครูไว้ใส่เกียรติบัตรสวยและถูก🖼 กรอบป้ายอะคริลิคตั้งโต๊ะ A4 แนวนอน 30x21.5 cm อะคริลิคใส 1 หน้า ทรง L (A4L1P) ในราคา ฿129 คลิกเลย👇👇

https://s.shopee.co.th/1qLFIZVf4t?share_channel_code=6


ผลสำรวจชี้ พ่อแม่หลังแอ่นกู้เงิน ส่งลูกเข้ามหาลัยผลสำรวจชี้พ่อแม่หลังแอ่นกู้เงินส่งลูกเข้ามหาลัย

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

:: เรื่องปักหมุด ::

ก.ค.ศ. อนุมัติให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามีและเลื่อนเป็นวิทยฐานะเชี่ยวชาญ จำนวน 8 ราย เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2567

ก.ค.ศ. อนุมัติให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามีและเลื่อนเป็นวิทยฐานะเชี่ยวชาญ จำนวน 8 ราย เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2567

เปิดอ่าน 19,190 ☕ 26 ธ.ค. 2567

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
การยกเว้นหรือผ่อนผันการแต่งกายเครื่องแบบนักเรียน
การยกเว้นหรือผ่อนผันการแต่งกายเครื่องแบบนักเรียน
เปิดอ่าน 604 ☕ 27 ธ.ค. 2567

ผลการประชุมคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ครั้งที่ 13/2567 เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2567
ผลการประชุมคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ครั้งที่ 13/2567 เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2567
เปิดอ่าน 972 ☕ 26 ธ.ค. 2567

ก.ค.ศ. อนุมัติให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามีและเลื่อนเป็นวิทยฐานะเชี่ยวชาญ จำนวน 8 ราย เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2567
ก.ค.ศ. อนุมัติให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามีและเลื่อนเป็นวิทยฐานะเชี่ยวชาญ จำนวน 8 ราย เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2567
เปิดอ่าน 19,190 ☕ 26 ธ.ค. 2567

โครงการสอนภาษาไทยและวัฒนธรรมไทยในต่างประเทศ ประจำปี พ.ศ.2568 สมัครได้โดยตรง ภายใน 15 มกราคม 2568
โครงการสอนภาษาไทยและวัฒนธรรมไทยในต่างประเทศ ประจำปี พ.ศ.2568 สมัครได้โดยตรง ภายใน 15 มกราคม 2568
เปิดอ่าน 384 ☕ 26 ธ.ค. 2567

 การตรวจสอบความซ้ำซ้อนของข้อมูลนักเรียน นักศึกษารายบุคคล ประจำปีการศึกษา 2567 ภาคเรียนที่ 2/2567
การตรวจสอบความซ้ำซ้อนของข้อมูลนักเรียน นักศึกษารายบุคคล ประจำปีการศึกษา 2567 ภาคเรียนที่ 2/2567
เปิดอ่าน 416 ☕ 26 ธ.ค. 2567

พร้อมแล้ว "คุรุสภา" เปิดธีมงานวันครู ครั้งที่ 69 ปี 68 ยึดนโยบายเรียนดี มีความสุข
พร้อมแล้ว "คุรุสภา" เปิดธีมงานวันครู ครั้งที่ 69 ปี 68 ยึดนโยบายเรียนดี มีความสุข
เปิดอ่าน 897 ☕ 24 ธ.ค. 2567

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

วิธีเก็บ“ผักชี-รากผักชี”ใช้ได้นานขึ้น
วิธีเก็บ“ผักชี-รากผักชี”ใช้ได้นานขึ้น
เปิดอ่าน 39,035 ครั้ง

แฟลช และเทคนิคการถ่ายภาพด้วยแสงแฟลช
แฟลช และเทคนิคการถ่ายภาพด้วยแสงแฟลช
เปิดอ่าน 30,603 ครั้ง

"พริกด่างญี่ปุ่น" พืชผักสวนครัว ผลทานได้
"พริกด่างญี่ปุ่น" พืชผักสวนครัว ผลทานได้
เปิดอ่าน 3,340 ครั้ง

น้ำแร่ ชะลอวัยได้จริงหรือ
น้ำแร่ ชะลอวัยได้จริงหรือ
เปิดอ่าน 9,681 ครั้ง

คำศัพท์คุ้นหูที่แปลว่า “ครู” เหมือนกัน แต่ใช้ไม่เหมือนกัน มาดูกันว่า…มีอะไรบ้าง
คำศัพท์คุ้นหูที่แปลว่า “ครู” เหมือนกัน แต่ใช้ไม่เหมือนกัน มาดูกันว่า…มีอะไรบ้าง
เปิดอ่าน 32,405 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ