ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมข่าวการศึกษา  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

เปิดผลสำรวจ“ต้นทุนชีวิตเยาวชนต่อการสอบเข้าอุดมศึกษาไทย”


ข่าวการศึกษา 29 เม.ย. 2559 เวลา 06:02 น. เปิดอ่าน : 6,582 ครั้ง
Advertisement


Advertisement

เปิดผลสำรวจ“ต้นทุนชีวิตเยาวชนต่อการสอบเข้าอุดมศึกษาไทย”

ตอบโจทย์ “ดาว์พงษ์” ใช้ผลวิจัยยันต้นทุนชีวิตเยาวชนต่อการสอบเข้าอุดมศึกษาไทย เสียงสะท้อนชีวิตม.ปลาย “เหนื่อย เรียนหนัก จะสอบมากไปไหน” เผยต้นทุนทางการศึกษาตลอดชั้นม.ปลายเฉลี่ยคนละ 61,199 บาท พบรายจ่ายแฝงทางการศึกษา “การสมัครสอบ-เรียนพิเศษ” ส่งผลรายจ่ายครัวเรือนรวย-จน ต่างกันเพียง 500 บาท แต่ภาระรายจ่ายต่างกันถึง 5 เท่า ขณะที่เด็กม.ปลายต้องเผชิญสนามสอบเฉลี่ย 6-7 สนาม ด้านผู้ปกครองพร้อมทุ่มทุนแม้ต้องกู้เงินเรียน ชี้กองทุนการศึกษาช่วยปิดช่องว่างความเหลื่อมล้ำ สร้างโอกาสเด็กจนเข้าศึกษาต่ออุดมศึกษาถึง 22% แนะมหาวิทยาลัยลดการสอบตรงผ่านระบบรับสมัครรวมเพื่อลดรายจ่าย

เมื่อวันที่ 28 เมษายน ที่สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.) ได้จัดงานแถลงข่าวเปิดผลสำรวจ“ต้นทุนชีวิตเยาวชนต่อการสอบเข้าอุดมศึกษาไทย” ศ.ดร.สมพงษ์ จิตระดับ คณะกรรมการสสค. กล่าวว่า สืบเนื่องจากได้เข้าพบรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ) โดยได้รับโจทย์ว่า อยากให้เด็กและเยาวชน เรียนอย่างมีความสุข ลดการกวดวิชา ทำกิจกรรมให้มากขึ้น และประเด็นสำคัญคือต้องการลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา วันนี้คือการตอบโจทย์ซึ่งมีผลการวิจัยยืนยันชัดเจน โดยได้ทำการสำรวจความคิดเห็นของนักเรียน-ผู้ปกครองต่อการเตรียมความพร้อมเพื่อศึกษาต่ออุดมศึกษา จากกลุ่มตัวอย่างนักเรียนชั้นม.ปลาย จำนวน 1,564 คน และผู้ปกครองนักเรียนชั้นม.ปลาย จำนวน 511 คน ในเขตอ.เมืองและนอกเขตอ.เมือง พื้นที่กทม.และ 4 จังหวัดหัวเมืองใหญ่ ได้แก่ เชียงใหม่ กาญจนบุรี นครราชสีมา และ สงขลา ระหว่างเดือนมี.ค. – เม.ย. 2559 โดยศึกษาถึงชีวิตในวัยเรียนของนักเรียนในระดับชั้นม.ปลาย ความคิดเห็นเกี่ยวกับการเรียนพิเศษ การลงทุนเพื่อการศึกษาในระดับชั้นม.ปลายเพื่อศึกษาต่ออุดมศึกษา ความคิดเห็นต่อระบบแอดมิชชั่น และข้อเสนอแนะต่อภาครัฐเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงหลักสูตรการเรียนการสอนและการสอบเข้าเรียนต่อในระดับอุดมศึกษา

ศ.ดร.สมพงษ์ กล่าวว่า จากการสำรวจการใช้ชีวิตของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย พบว่า นักเรียนชั้นม.ปลายเกือบ 50% ใช้เวลาไปกับการเล่นโซเชียล/อินเทอร์เน็ตเป็นกิจกรรมพิเศษนอกเวลาเรียนปกติมากที่สุดในหนึ่งสัปดาห์ ในขณะที่ 11% ใช้เวลาไปกับการเรียนพิเศษ/กวดวิชาและดูโทรทัศน์/ฟังวิทยุ ในสัดส่วนที่เท่ากัน นอกจากนี้ 10% ใช้เวลาไปกับการพักผ่อนกับครอบครัว 9% ใช้เวลาไปกับการทำการบ้าน ทั้งนี้มีเพียง 7% ที่ใช้เวลาในหนึ่งสัปดาห์ไปกับการอ่านหนังสือเรียน ซึ่งความรู้สึกที่สะท้อนต่อชีวิตในวัยเรียนในระดับชั้นม.ปลายคือ “เหนื่อย เรียนหนัก จะสอบมากไปไหน” นั่นคือเหนื่อยกับการสอบต่างๆและการเตรียมตัวเข้ามหาวิทยาลัย การเรียนและภาระงานในโรงเรียนที่หนัก และการสอบของประเทศหลายสนามที่มากเกินไป

ในส่วนของการเรียนพิเศษของนักเรียนม.ปลายพบว่า นักเรียนชั้นม.ปลาย 60% ที่เรียนพิเศษ ขณะที่อีก 40% ไม่ได้เรียนพิเศษ อย่างไรก็ตามหากจำแนกตามสถานะทางเศรษฐกิจ พบว่า นักเรียน ม.ปลายในกลุ่มรายได้ปานกลางและค่อนข้างมีฐานะมากกว่าครึ่งที่เรียนพิเศษ โดย 5 สาเหตุหลักที่ต้องไปเรียนพิเศษ คือ อยากได้เทคนิคการทำข้อสอบ 36% อยากได้เกรดดีๆเพื่อเรียนต่อ 36% เรียนที่โรงเรียนไม่เข้าใจ/ไม่รู้เรื่องต้องเรียนเพิ่มเติม กลัวสอบตก 33% ต้องเตรียมตัวสอบหลายอย่างเพื่อสอบเรียนต่อ เรียนที่โรงเรียนอย่าง 29% และบางวิชาที่โรงเรียนไม่ได้สอนแต่ต้องใช้ในการสอบเพื่อเรียนต่อ เช่น ความถนัดทาง สถาปัตย์ วิศวะ เป็นต้น 16% ซึ่งค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการเรียนพิเศษ นักเรียนชั้นม.ปลายในแต่ละระดับชั้น ม.4-ม.6 มีการลงเรียนพิเศษ/กวดวิชาเฉลี่ย 2-3 วิชาต่อปีการศึกษา มีค่าใช้จ่ายจากการเรียนพิเศษตลอดช่วงชั้นม.ปลาย (ม.4-6) เฉลี่ยคนละ 19,748.43 บาท โดยพบว่าในแต่ละระดับชั้นมีการลงเรียนพิเศษสูงสุดถึง 7 วิชา และต่ำสุด 1 วิชา

“ ใน 1 คน จะมีรายจ่ายตลอดการเรียนชั้นม.4-6 ซึ่งเป็นการลงทุนเพื่อศึกษาต่ออุดมศึกษา เฉลี่ยคนละ 61,199 บาท คิดเป็น 6% ของได้ในครัวเรือน ประกอบด้วย รายจ่ายในโรงเรียน (ค่าเทอม/ค่ารถ/ค่าอาหารกลางวัน) 17,823 บาท รายจ่ายในการเรียนพิเศษ (ค่าเรียนพิเศษ/ค่ารถ/ค่าที่พัก) 22,592 บาท รายจ่ายในการสมัครสอบ (ค่าสมัครสอบ/ค่ามัดจำเพื่อรักษาสิทธิ์/ค่ารถ/ที่พัก) 20,040 บาท นอกจากนี้ยังพบค่ามัดจำเพื่อรักษาสิทธิ์เฉลี่ยอยู่ที่ 10,610 บาท โดยพบว่ามีการจ่ายเงินค่ามัดจำสูงถึง 91,000 บาท ขณะที่ความพร้อมของผู้ปกครองในการสนับสนุนค่าใช้จ่ายพบว่า ไม่ว่าผู้ปกครองจะฐานะใดล้วนมีความพร้อมที่จะสนับสนุนเพื่อให้บุตรหลานได้เรียนต่ออุดมศึกษา แม้ว่าจะต้องไปกู้เงินหรือไม่ก็ตาม โดยพบสัดส่วนการกู้ยืมเงินเพื่อสนับสนุนการศึกษาในครัวเรือนยากจน 52% ฐานะปานกลาง 27% และค่อนข้างมีฐานะ 19%” ศ.ดร.สมพงษ์ กล่าว

แม้ว่าจะมีนโยบายเรียนฟรีในระดับม.ปลาย โดยรัฐอุดหนุนค่าเทอมและค่าหนังสือตำราเรียน แต่ยังมีรายจ่างแฝงอยู่ โดยพบว่า นักเรียนชั้นม.ปลายที่มีฐานะยากจนมีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อเดือนใกล้เคียงกับนักเรียนชั้นม.ปลายที่มีฐานปานกลางและกลุ่มที่พอจะมีฐานะ โดยค่าใช้จ่ายต่อเดือนของกลุ่มนร.ที่มีฐานะยากจนอยู่ที่ 2,359 บาท/เดือน ขณะที่ค่าใช้จ่ายของกลุ่มที่พอจะมีฐานะอยู่ที่ 2,886 บาท/เดือน ซึ่งต่างกันเพียง 500 บาทเท่านั้น แม้ว่าค่าใช้จ่ายจะใกล้เคียงกันแต่ภาระต่างกันเมื่อเทียบกับสัดส่วนของรายได้ในครัวเรือน โดยรายจ่ายของครัวเรือนยากจนคิดเป็น 26% ของรายได้ครัวเรือน ขณะที่ครัวเรือนที่ค่อนข้างมีฐานะคิดเป็น 5% เท่านั้น ซึ่งเป็นภาระค่าใช้จ่ายที่ต่างกันถึง 5 เท่า โดยค่าใช้จ่ายในกลุ่มที่มีฐานะปานกลางและค่อนข้างมีฐานะส่วนใหญ่เป็นค่าใช้จ่ายเพื่อเพิ่มโอกาสทางการศึกษาต่ออุดมศึกษา เช่น ค่าเรียนพิเศษและค่าสมัครสอบ ขณะที่รายจ่ายในกลุ่มที่ฐานะยากจนเป็นค่าใช้จ่ายที่เลี่ยงไม่ได้ เช่น ค่าอาหารกลางวัน 89% ตามด้วยค่ารถไปร.ร. 65% และค่าสมัครสอบ 46%

ศ.ดร.สมพงษ์ กล่าวว่า สำหรับการสอบเข้าอุดมศึกษาของนักเรียนม.ปลายในปัจจุบันพบว่า นักเรียนในระดับชั้นม.6 เฉลี่ยต้องสอบทั้งสิ้น 6 -7 สนาม ประกอบด้วย การสอบวัดผลของโรงเรียน การสอบ O-NET การสอบ GAT/PAT การสอบวิชาสามัญ 9 วิชา การสอบโควตาของมหาวิทยาลัย สอบตรงของมหาวิทยาลัย สอบแอดมิชชั่น ตามลำดับ โดยพบว่ามีการสมัครสอบตรงเฉลี่ย 2 คณะ การสอบตรงสูงสุด 6 คณะ ต่ำสุด 1 คณะ โดยนักเรียนในระดับชั้นม.ปลายส่วนใหญ่ 64% สะท้อนตรงกันว่า กรณีการรับตรงของสถาบันอุดมศึกษา/มหาวิทยาลัยทำให้เกิดความไม่เท่าเทียมกันโดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มเด็กที่ครอบครัวมีฐานะทางการเงินดีและไม่ดี ซึ่งเสียงสะท้อนต่อระบบแอดมิชชั่นของนักเรียนม.ปลายคือ การสอบสอบหลายอย่างมากเกินไป 71% ข้อสอบยากเกินไป ทำให้ต้องเรียนพิเศษเพิ่ม 57% ช่วงเวลาการสอบตรงกัน ทำให้มีทางเลือกในการสอบสอบไม่กี่แห่ง 46% สนามสอบอยู่ไกล เสียค่าใช้จ่ายมาก 36% และค่าสมัครแพงมาก 35%

“หากไม่เปลี่ยนระบบสอบเข้ามหาวิทยาลัยจะสร้างความเหลื่อมล้ำอย่างมาก เนื่องจากประเด็นการพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้เท่าเทียมที่พูดกันมาอีก 10 ปีก็ทำไม่ได้ ดังนั้นผลการวิจัยที่ได้ทำการสำรวจมีข้อเสนอที่ต้องการให้รัฐดำเนินการ คือ 1.เรื่องการกวดวิชา รัฐต้องมีนโยบายที่จริงจังถ้าต้องการให้ลดต้องลดจริง 2.เรื่องหลักสูตร ข้อสอบยากเกินไป การเรียนรู้ในรร.ไม่สามารถช่วยให้เด็กสอบเข้ามหาวิทยาลัยได้ ทำอย่างไรให้ครูสอนได้เต็มที่ ดังนั้นนโยบายการคืนครูสู่ห้องเรียน กิจกรรมลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ทำได้จริงแค่ไหน 3.การจัดตั้งกองทุน เพื่อช่วยเหลือค่าเดินทาง ค่าสมัครสอบ ค่าอาหาร ค่าที่พัก เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้กับคนส่วนใหญ่ของประเทศได้มีความสุขมากขึ้น เมื่อลูกหลานเรียน ม.4 ผู้ปกครองต้องรับกรรมกับค่าใช้จ่ายมหาศาล ตรงนี้คือคอขวดสำคัญกับระบบการศึกษา รัฐควรควบคุมค่าสมัครสอบโดยการกำหนดให้เป็นมาตรฐานเพื่อลดค่าใช้จ่าย และลดจำนวนการสอบเข้าเรียนต่อในอุดมศึกษา” ศ.ดร.สมพงษ์ กล่าว

ดร.ศศิวิมล วรุณศิริ ปวีณวัฒน์ อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวว่า จากที่ได้วิจัยเรื่อง“ผลลัพธ์จากการให้ทุนการศึกษากรณีศึกษานักเรียนหญิงมัธยมศึกษาตอนปลายที่มีฐานะยากจน” ร่วมกับดร. เจสสิกา เวชบรรยงรัตน์ คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เก็บข้อมูลเป็นระยะเวลาต่อเนื่อง 3 ปีพบว่า นักเรียนที่มีฐานะยากจนที่ได้รับทุนการศึกษาตั้งแต่ระดับชั้นม.ปลายจะได้รับโอกาสในการเข้าศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัยสูงกว่านักเรียนที่ไม่ได้รับทุนการศึกษา ผลการศึกษาพบว่า เมื่อให้ทุนการศึกษาจะเป็นการเพิ่มโอกาสการเข้าเรียนต่ออุดมศึกษาในกลุ่มเด็กยากจนถึง 22% ดังนั้นช่วงรอยต่อระหว่างมัธยมเข้าสู่อุดมศึกษาที่มีรายจ่ายแฝงอยู่จำนวนมาก การมีกองทุนช่วยเหลือผู้ขาดแคลนทางทุนทรัพย์ของรัฐบาลจะมีส่วนสำคัญที่จะปิดช่องว่างทางการศึกษา

นายพชรพรรษ์ ประจวบลาภ ประธานเครือข่ายยุวทัศน์ กทม. กล่าวว่า การสอบตรงเข้ามหาวิทยาลัย ข้อดีคือเด็กมีตัวเลือกมากขึ้น แต่ข้อเสียคือการสร้างความเหลื่อมล้ำ ครอบครัวที่มีรายได้มากกว่าก็สามารถตระเวนสอบได้มากกว่า กรณีเด็กเรียนสายอาชีพมีบางส่วนก็อยากเรียนต่อในระดับมหาวิทยาลัยแต่เด็กอาชีวะไม่สามารถสู้กับสายสามัญได้เลย เพราะวิชาที่เรียนในสายอาชีพแตกต่างจากวิชาที่สอบในสายสามัญ ทำให้เลี่ยงไม่ได้ที่ต้องไปเรียนกวดวิชาเพื่อสอบเข้าอุดมศึกษา อย่างไรก็ตามการปฏิรูปการศึกษาไม่ได้อยู่ฝั่งรัฐบาลเพียงฝ่ายเดียว แต่อยู่ที่ฝั่งผู้ปกครองด้วย ถ้าเด็กมีเป้าหมายที่ชัดเจนมีครูแนะแนวที่เป็นครูแนะแนวจริงคอยให้คำปรึกษา เด็กจะรู้จักตนเองตั้งแต่แรกก็จะช่วยลดค่าใช้จ่ายได้ด้วย รวมทั้งกำหนดมาตรการกับสถาบันกวดวิชา การเปิดต้นทุนต่ำมาก แต่เก็บค่ากวดวิชาแพงมาก และการสอบตรงถ้านำตารางการสอบของแต่ละมหาวิทยาลัยมากาง จะเห็นชัดเจนว่ามีการพูดคุยกันมาแล้ว ทำให้เด็กต้องไปเสียค่าสมัครสอบหลายที่สอบไม่ตรงกัน แต่ประกาศตรงกัน เรียงลำดับความดังของมหาวิทยาลัย

นายอิทธิพล ฉิมงาม ร.ร.สมุทรสาครวิทยาลัย จ.สมุทรสาคร กล่าวว่า พ่อต้องขับมอเตอร์ไซต์รับจ้างเป็นอาชีพเสริม เพื่อเตรียมเงินให้ลูกสอบเข้ามหาวิทยาลัย เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายทั้งค่ากวดวิชา ค่ารถ ค่าสมัครสอบ ค่าสนามสอบ 7-8 แห่ง ซึ่งมีค่าใช้จ่ายเป็นเงินจำนวนมากแต่ละวิชาต้องเรียนถึง 3 รอบ เพราะข้อสอบคนละแบบกันทั้ง GAT PAT 1 PAT 2 เนื้อหาเยอะมาก ข้อสอบยากจนเอื้อมไม่ถึง ปัจจุบันข้อสอบ โจทย์ 1 หน้า ตัวเลือก 1 หน้า ถ้าไม่เรียนพิเศษใครจะทำได้ กลายเป็นเด็กถูกมองว่าเด็กขี้เกียจ ไม่ตั้งใจเรียน โง่ ไม่เอาไหน ไม่เอาถ่าน เก่งก็ต้องเก่งให้ถึงที่สุด ขณะนี้ ผมสอบเข้าจุฬาได้ก็จริง แต่อาจจะโง่กว่าคนอื่นก็ได้

ผมไปสมัครสอบตรงโดยคะแนนยังไม่ออกเลยแต่ก็ต้องไป เราไม่ได้ต้องการจะกั๊กที่นั่ง แต่มหาวิทยาลัยเปิดรับตรง โดยไม่รอผลคะแนน เมื่อคะแนนออกปรากฏคะแนนไม่ถึง แต่ถ้ารอคะแนนออกก่อนก็ไม่ต้องไปไม่ต้องเสียค่าจ่าย ทำให้เด็กต้องเลือกที่นั่งเผื่อ เมื่อประกาศผลได้ที่นั่ง 3 มหาวิทยาลัยก็ต้องสละที่นั่ง บางคนสอบเพื่อเอาศักดิ์ศรี วัดบารมีให้ตนเอง” นายอิทธิพล กล่าว

นายพงศธร นามพิลา ร.ร.โซ่พิสัยพิทยาคม จ.บึงกาฬ กล่าวว่า ไม่ได้ตั้งเป้าว่าต้องเข้ามหาวิทยาลัยดีๆ เรียนมหาวิทยาลัยเปิดก็ได้ ถึงแม้จะอยากเรียนกวดวิชา แต่ต้นทุนเศรษฐกิจฐานะครอบครัวไม่ดีมีหนี้สิน และบึงกาฬไม่มีสถาบันกวดวิชา ถ้าจะเรียนต้องไปเรียนข้ามจังหวัด ทุกวันนี้ได้เงินไป รร.วันละ 40 บาท พ่อแม่จะปลูกฝังมาตั้งแต่เด็กไม่ต้องเก่งมาก เรียนติดศูนย์บ้างก็ได้จะได้มีประสบการณ์และรู้ว่าจะแก้ไขตนเองอย่างไร คาดหวังแค่ให้เป็นคนดีของสังคมก็เพียงพอแล้ว

“ต้นทุนชีวิตไม่เท่ากัน เป็นลูกเกษตรกร ชาวนา ทำไร้ ทำสวน แค่มีเงินมา รร.แต่ละวันก็ยังยาก การจะไปแข่งขันจึงต้องใช้ความพยายามมาก ไม่มีเงินรองรับ ดังนั้น ไม่ต้องพูดถึงระดับอุดมศึกษา อยากให้แก้ไขที่ระบบการศึกษาระดับมัธยมศึกษา โดยการเปลี่ยนแปลงหลักสูตรในเรื่องการเรียนรู้ เนื้อหา สอดคล้องกับสิ่งที่จะนำไปใช้ได้จริงและเป็นเนื้อหาที่สามารถสอบเข้ามหาวิทยาลัยได้ จะได้ไม่ต้องไปเรียนกวดวิชา แค่ตั้งใจเรียนในห้องเรียนก็พอแล้ว การจะให้ไปสอบรับตรงผมก็คงสู้ไม่ได้ จึงอยากให้เปิดโอกาสให้เด็กชนบท ยากจน ไม่มีทุน บางคนเรียนเก่ง แต่ขาดโอกาสบ้าง รวมทั้ง อยากให้มีครูแนะแนวมีหลักสูตรชัดเจนจริงจัง เพื่อเด็กจะได้รู้จักตัวตนของตนเองไม่ต้องหว่านแห่ แต่มุ่งตรงไปยังเป้าหมายของตนเองเลย” นายพงศธร

นายวิทยา สอนเสนา ร.ร.ขุนตาลวิทยาคม จ.เชียงราย กล่าวว่า การศึกษาในปัจจุบันคือธุรกิจการศึกษา จึงอยากจะถามมหาวิทยาลัยว่าต้องการหานักศึกษาหรือหา survivor ค่าใช้จ่ายในการสอบเยอะมาก บางแห่งเปิดรับตรง 3 รอบๆละ 300 บาท และยังมีค่าธรรมเนียม ค่าเดินทาง ค่าที่พัก มหาวิทยาลัยลัยรับคนไม่ถึง 10% บางแห่งรับ 120 คน คนสอบ 2,000 คน สงสารแม่สอบไม่ติดก็ต้องไปบอกแม่เสียดายเงิน พลาดแล้วพลาดอีก ซึ่งตนสอบมา 7-8 สนามสอบแล้ว เป็นเด็กแอดมิดชั่นปี 2559 แต่ยังไม่มีที่เรียน และเวลาสมัครสอบรับตรง เป็นเทอม 2 ของ ม.6 ซึ่งเป็นช่วงหัวเลี้ยงหัวต่อต้องเตรียมสอบ กลางภาค ปลายภาค เก็บคะแนนแต่ละวิชา กีฬาสี กิจกรรมวันสำคัญอีก ข้อสอบเข้ามหาลัยก็ยากมาก ไปเอาข้อสอบ รร.กวดวิชามากออกสอบเพื่อเข้ามหาวิทยาลัย แล้วเด็ก รร.รัฐบาลทั่วไปจะทำอย่างไร เหมือนเป็นการทดสอบสถาบันกวดวิชาว่าเด็กที่มาเรียนในสถาบันกวดวิชาแต่ละแห่งนั้นใครสามารถสอบเข้ามหาวิทยาลัยลัยไหนได้บ้าง 

 

ชมคลิปเสียงสะท้อนจากเยาวขนได้ ที่นี่
 



คำบรรยายภาพ
คำบรรยายภาพ
คำบรรยายภาพ
คำบรรยายภาพ
คำบรรยายภาพ
คำบรรยายภาพ
คำบรรยายภาพ
คำบรรยายภาพ
คำบรรยายภาพ

เปิดผลสำรวจ“ต้นทุนชีวิตเยาวชนต่อการสอบเข้าอุดมศึกษาไทย”

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

:: เรื่องปักหมุด ::

นโยบายและจุดเน้นของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568-2569

นโยบายและจุดเน้นของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568-2569

เปิดอ่าน 2,355 ☕ 22 พ.ย. 2567

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู และที่แก้ไขเพิ่มเติม
หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู และที่แก้ไขเพิ่มเติม
เปิดอ่าน 577 ☕ 23 พ.ย. 2567

หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษา และที่แก้ไขเพิ่มเติม
หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษา และที่แก้ไขเพิ่มเติม
เปิดอ่าน 506 ☕ 23 พ.ย. 2567

หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งศึกษานิเทศก์ และที่แก้ไขเพิ่มเติม
หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งศึกษานิเทศก์ และที่แก้ไขเพิ่มเติม
เปิดอ่าน 167 ☕ 23 พ.ย. 2567

หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งผู้บริหารการศึกษา และที่แก้ไขเพิ่มเติม
หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งผู้บริหารการศึกษา และที่แก้ไขเพิ่มเติม
เปิดอ่าน 303 ☕ 23 พ.ย. 2567

นโยบายและจุดเน้นของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568-2569
นโยบายและจุดเน้นของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568-2569
เปิดอ่าน 2,355 ☕ 22 พ.ย. 2567

ซักซ้อมความเข้าใจเกี่ยวกับการย้ายข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ
ซักซ้อมความเข้าใจเกี่ยวกับการย้ายข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ
เปิดอ่าน 606 ☕ 22 พ.ย. 2567

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

คู่มือสำหรับเกษตรกร การผลิตพืชสกุลกัญชา เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์และอุตสาหกรรม
คู่มือสำหรับเกษตรกร การผลิตพืชสกุลกัญชา เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์และอุตสาหกรรม
เปิดอ่าน 4,424 ครั้ง

ประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ : กำหนดตำแหน่งเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งดำรงตำแหน่งตั้งแต่อำนวยการระดับสูงหรือเทียบเท่าลงมา พ.ศ.2562
ประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ : กำหนดตำแหน่งเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งดำรงตำแหน่งตั้งแต่อำนวยการระดับสูงหรือเทียบเท่าลงมา พ.ศ.2562
เปิดอ่าน 9,271 ครั้ง

ดูชัดๆ ฟ้าผ่าสุดโหด
ดูชัดๆ ฟ้าผ่าสุดโหด
เปิดอ่าน 12,963 ครั้ง

ฟื้นความทรงจำ  ลำนำบทอาขยานย้อนยุค
ฟื้นความทรงจำ ลำนำบทอาขยานย้อนยุค
เปิดอ่าน 66,050 ครั้ง

ระดับชั้นความลับและความเร็วของหนังสือราชการ
ระดับชั้นความลับและความเร็วของหนังสือราชการ
เปิดอ่าน 219,286 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ