ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมข่าวการศึกษา  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

ถามสังคมรับได้หรือไม่ ลอยแพป.6 เรียนแย่


ข่าวการศึกษา 27 เม.ย. 2559 เวลา 10:33 น. เปิดอ่าน : 17,430 ครั้ง

Advertisement

ถามสังคมรับได้หรือไม่ ลอยแพป.6 เรียนแย่

"ดาว์พงษ์" ยังต้องหารือรายละเอียดแนวคิดของประธานผู้ตรวจการแผ่นดินให้เด็ก ป.6 เกรดไม่ถึง 2.5 จ่ายค่าเทอมชั้น ม.1 เอง ชี้หลักๆ ต้องถามสังคมเห็นด้วยหรือไม่ หวั่นกระทบมีเด็กตกหล่นออกกลางคันมากยิ่งขึ้น

พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) กล่าวถึงกรณีที่นายศรีราชา วงศารยางกูร ประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน ได้จัดทำข้อเสนอในการแก้ปัญหานโยบายการศึกษา ปัญหาโครงสร้างการศึกษา ระบบจัดการศึกษา รวมถึงปัญหาคุณภาพผู้เรียน โดยขอให้นายกรัฐมนตรีใช้อำนาจตามมาตรา 44 ในการแก้กฎหมายการศึกษา 15 ฉบับ โดยไม่ต้องผ่านที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เช่น ให้จัดการศึกษาภาคบังคับ 9 ปี ตั้งแต่ปฐมวัยถึงประถมศึกษาปีที่ 6 แยกสายสามัญและสายอาชีวะตั้งแต่ชั้น ม.1 และเสนอให้ตั้งสถาบันครูศึกษา เพิ่มประสิทธิภาพและผลิตครู และการันตีเงินเดือนครูต้องไม่ต่ำกว่าแพทย์ รวมถึงยังมีแนวคิดให้เด็กที่จบชั้นป.6 แต่ได้เกรดเฉลี่ยไม่ถึง 2.5 เมื่อเข้าเรียนชั้น ม.1 จะต้องเสียค่าใช้จ่ายเองทั้งหมด หรือหากไม่มีเงินทุน ก็ให้กู้ยืมเงินจากกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) ทั้งนี้เพื่อให้เด็กตั้งใจเรียน ทำคะแนนให้ดี ว่า ตนเห็นข้อเสนอดังกล่าวแล้ว ผ่านทางสื่อต่างๆ ซึ่งตนก็อยากคุยรายละเอียดกับทางผู้ตรวจการฯ เหมือนกัน ว่าคิดเห็นอย่างไรและมีข้อมูลใดประกอบแนวคิด ตอนนี้คงไม่สามารถตอบได้ว่า เห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย

รมว.ศธ.กล่าวต่อว่า การเสนอเปลี่ยนการศึกษาภาคบังคับจากชั้น ป.1-ม.3 เป็นปฐมวัยถึง ป.6 ขณะนี้ในร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับประชามติ) มาตรา 54 ระบุว่า รัฐต้องดำเนินการให้เด็กทุกคนได้รับการศึกษาเป็นเวลา 12 ปีตั้งแต่ก่อนวัยเรียนจนจบการศึกษาภาคบังคับอย่างมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย ซึ่งปัจจุบันการศึกษาภาคบังคับถึงชั้น ม.3 ยังสะดุ้งกัน กลัวเด็กจะหลุดออกนอกระบบ ดังนั้น หากบังคับตามที่ผู้ตรวจการฯ เสนอก็มีโอกาสที่เด็กจะออกนอกระบบการศึกษามากขึ้น

"ส่วนที่ให้เสนอให้เด็กที่จบชั้น ป.6 แต่เกรดเฉลี่ยไม่ถึง 2.5 ให้เสียค่าใช้จ่ายเองเมื่อเรียนต่อชั้น ม.1 นั้น ต้องไปถามสังคมเองว่าเห็นด้วยหรือไม่ ผมคงไม่สามารถตอบได้ ผมเคารพความคิดของทุกคน เพียงแค่การเห็นข่าวในหนังสือพิมพ์แล้วไปแสดงความคิดเห็น ตัดสินใจว่าจะดำเนินการอย่างไรนั้น ผมคงต้องพูดคุยรายละเอียดให้เข้าใจก่อน"

ด้านนายชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (เลขาฯ กอศ.) กล่าวว่า ข้อเสนอหลายข้อเป็นประโยชน์ แต่มีบางประเด็นที่ตนไม่เห็นด้วย เช่น กำหนดการศึกษาภาคบังคับถึงชั้น ป.6 ควรจะบังคับเรียนถึง ม.3 เช่นเดิม แต่หากจะให้ความสำคัญกับปฐมวัย ก็ควรขยายบังคับเรียนเพิ่มในระดับอนุบาล 3 ปี ไม่ใช่ตัดมัธยมศึกษาตอนต้นทิ้ง รวมถึงแนวคิดให้เด็กจบชั้น ป.6 แต่เกรดเฉลี่ยไม่ถึง 2.5 ต้องจ่ายค่าเทอมเองนั้น จะกระทบต่อเด็กยากจน เพราะส่วนใหญ่จะเรียนไม่ดี เนื่องจากผลการเรียนมีตัวแปรหลายเรื่อง ทั้งฐานะทางเศรษฐกิจ สังคม และสภาพแวดล้อม หากเอาตัวเลขผลการเรียนมาตัดสิน ก็จะยิ่งสร้างความเหลื่อมล้ำทางการศึกษามากขึ้น อีกทั้ง มาตรฐานในการวัดประเมินผลของครูแต่ละโรงเรียนก็มีความหลากหลาย อีกทั้งยังจะส่งผลให้ตัวเลขเด็กออกกลางคันเพิ่มขึ้นด้วย ส่วนการให้แยกเรียนสายสามัญกับสายอาชีพ ตั้งแต่ชั้น ม.1 นั้น อาจขัดกับปรัชญาของการจัดการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ที่มีเป้าหมายให้เด็กได้สำรวจความถนัดของตนเองว่ามีความถนัด สนใจอาชีพประเภทไหน ดังนั้น การให้แยกสายการเรียนในชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายจะเหมาะสมกว่า

"การใช้ ม.44 ควรต้องพิจารณาเป็นเรื่องๆ หากเห็นว่าเรื่องไหนที่จำเป็นเร่งด่วนที่จะเป็นเครื่องมือที่ทำให้การปฏิรูปการศึกษาขับเคลื่อน และทำให้นโยบายของรัฐบาลประสบความสำเร็จในช่วง 2 ปีนี้ก็ใช้ แต่ถ้าเรื่องไหนไม่เร่งด่วนก็ควรรอให้มีการพิจารณาผ่านตามขั้นตอนตามปกติ โดยเฉพาะในข้อเสนอที่เป็นประเด็นกระทบกับคนวงกว้าง" นายชัยพฤกษ์กล่าว

ด้านนายพะโยม ชิณวงศ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (รองเลขาฯ กพฐ.) กล่าวว่า ในการประชุมผู้บริหารสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) สำนักนโยบายและแผนการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สนผ.) สพฐ.ได้รายงานผลสำรวจปัญหาเด็กออกกลางคันของโรงเรียนในสังกัด สพฐ. ซึ่งได้ทำการสำรวจ 2 กลุ่ม คือ 1.กลุ่มเด็กตกหล่น คือ ผู้ที่ไม่เคยผ่านระบบการศึกษา 2.เด็กออกกลางคัน คือ เด็กที่เข้าสู่ระบบการศึกษาแล้วมีเหตุให้ต้องออกจากการศึกษา เช่น มีปัญหาครอบครัว สมรสในช่วงที่เรียนในการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีปัญหาเรื่องการปรับตัว ต้องคดี เป็นต้น สำหรับกลุ่มเด็กตกหล่น กำลังอยู่ในขั้นตอนการสำรวจ และตรวจสอบตามฐานข้อมูลประชากรของกระทรวงมหาดไทย (มท.) และกลุ่มเด็กออกกลางคันนั้น สำรวจได้จำนวน 8,814 คน เป็นข้อมูลเฉพาะสังกัด สพฐ. ซึ่ง สพฐ.ได้ทำหนังสือแจ้งกำชับไปยังสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาทุกเขต (สพท.) ว่าในปีการศึกษา 2559 นี้ จะต้องเข้าไปช่วยเหลือเด็กที่กระจายอยู่ในพื้นที่แต่ละจังหวัด เพื่อผลักดันให้เข้ามาสู่ระบบการศึกษา โดยร่วมกับสำนักบริหารงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) ในการรับเด็กเข้าเรียน ส่วนในระยะยาว ได้หารือวางระบบการส่งต่อเด็กหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง เพื่อรับผิดชอบดูแลเด็กกลุ่มนี้โดยเฉพาะ. 

 

ที่มา ไทยโพสต์ วันที่ 27 เมษายน 2559


ถามสังคมรับได้หรือไม่ ลอยแพป.6 เรียนแย่ถามสังคมรับได้หรือไม่ลอยแพป.6เรียนแย่

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

:: เรื่องปักหมุด ::

ด่วน! สพฐ.ประกาศสอบบรรจุ ตำแหน่งครูผู้ช่วย ปี พ.ศ. 2567 รอบทั่วไป

ด่วน! สพฐ.ประกาศสอบบรรจุ ตำแหน่งครูผู้ช่วย ปี พ.ศ. 2567 รอบทั่วไป

เปิดอ่าน 3,372 ☕ 18 เม.ย. 2567

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
ปฏิทินการจ้างและการประเมินนักการภารโรง ระยะเวลา 5 เดือน (พฤษภาคม – กันยายน 2567)
ปฏิทินการจ้างและการประเมินนักการภารโรง ระยะเวลา 5 เดือน (พฤษภาคม – กันยายน 2567)
เปิดอ่าน 1,763 ☕ 24 เม.ย. 2567

คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการในคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาเด็กปฐมวัยระดับจังหวัด
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการในคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาเด็กปฐมวัยระดับจังหวัด
เปิดอ่าน 597 ☕ 24 เม.ย. 2567

เล็งจัดงบฯ อาหารเช้าให้นักเรียน
เล็งจัดงบฯ อาหารเช้าให้นักเรียน
เปิดอ่าน 466 ☕ 24 เม.ย. 2567

มาตรการเตรียมความพร้อมการเปิดภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2567
มาตรการเตรียมความพร้อมการเปิดภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2567
เปิดอ่าน 6,388 ☕ 23 เม.ย. 2567

การย้ายข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู สังกัด สพฐ. (การย้ายกรณีปกติ) ประจำปี พ.ศ. 2567
การย้ายข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู สังกัด สพฐ. (การย้ายกรณีปกติ) ประจำปี พ.ศ. 2567
เปิดอ่าน 5,650 ☕ 23 เม.ย. 2567

กฏ ก.พ.ค. ว่าด้วยการร้องทุกข์และการพิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2567
กฏ ก.พ.ค. ว่าด้วยการร้องทุกข์และการพิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2567
เปิดอ่าน 470 ☕ 23 เม.ย. 2567

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

ที่ไปและที่มาของการชู 2 นิ้ว (สู้ตายค่ะ)
ที่ไปและที่มาของการชู 2 นิ้ว (สู้ตายค่ะ)
เปิดอ่าน 28,481 ครั้ง

ประวัติของทุเรียนในประเทศไทย
ประวัติของทุเรียนในประเทศไทย
เปิดอ่าน 22,393 ครั้ง

สุดยอดภาพสัตว์ Photography จากการประกวด ภาพภ่ายสัตว์ป่า ปี2012
สุดยอดภาพสัตว์ Photography จากการประกวด ภาพภ่ายสัตว์ป่า ปี2012
เปิดอ่าน 17,473 ครั้ง

เตือนภัย ระวังไวรัสบน Facebook กำลังระบาด
เตือนภัย ระวังไวรัสบน Facebook กำลังระบาด
เปิดอ่าน 17,004 ครั้ง

รับชมหรือยัง? แกะรอย "มาเฟีย ศธ." เงามืด "ปฏิรูปวงการศึกษา"
รับชมหรือยัง? แกะรอย "มาเฟีย ศธ." เงามืด "ปฏิรูปวงการศึกษา"
เปิดอ่าน 22,878 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ