ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมบทความการศึกษา  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

ขับเคลื่อนการศึกษาไทยอย่างไร จึงถูกใจประชาชน โดย ดร.ดำรงค์ ชลสุข


บทความการศึกษา 18 เม.ย. 2559 เวลา 12:47 น. เปิดอ่าน : 10,175 ครั้ง
Advertisement


Advertisement

ผู้เขียน ดร.ดำรงค์ ชลสุข อาจารย์ประจำคณะศึกษาศาสตร์ ม.กรุงเทพธนบุรี
ที่มา มติชนรายวัน
เผยแพร่ 18 เม.ย. 59

ขับเคลื่อนการศึกษาไทยอย่างไร จึงถูกใจประชาชน โดย ดร.ดำรงค์ ชลสุข

1.ผู้บริหารสถานศึกษา

2.ครู บุคลากรทางการศึกษา และพ่อแม่ (ผู้ปกครอง)

3.หลักสูตร

4.บรรยากาศโรงเรียน

ก่อนที่จะกล่าวถึงแนวทางการขับเคลื่อนการศึกษาสู่การปฏิรูปประเทศในปัจจุบัน ผู้เขียนขอย้อนถึงการที่รัฐบาลได้จัดตั้งสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) ขึ้น ก็เพื่อให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญชั่วคราว พุทธศักราช 2557 มาตรา 31 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์ และจัดทำแนวทางและข้อเสนอแนะเพื่อการปฏิรูปด้านต่างๆ ได้แก่ การเมือง การบริหารราชการแผ่นดิน กฎหมายและกระบวนการยุติธรรม

การปกครองท้องถิ่น การศึกษา เศรษฐกิจ สาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม สื่อสารมวลชน การพลังงาน สังคม กีฬา ศิลปวัฒนธรรมการศาสนาคุณธรรมและจริยธรรม รวมแล้วเป็น 11 ด้านใหญ่ๆ

ผู้เขียนในฐานะที่เป็นประชาชนชาวไทยคนหนึ่ง ซึ่งสนใจด้านการศึกษา จึงขอนำเสนอแนวทางการขับเคลื่อนการศึกษาต่อผู้อ่านและผู้ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้อง ดังต่อไปนี้

จากภาพจะเห็นว่ารถโรงเรียน (SCHOOL BUS) จะเดินทางไปตามเป้าหมายที่วางไว้ได้ต้องมีปัจจัยสนับสนุนหลายประการ ได้แก่ คนขับรถซึ่งหมายถึงรัฐมนตรี ผู้บริหารระดับสูงอันประกอบด้วยปลัดกระทรวง และซี 11 ในกระทรวงศึกษาธิการ และล้อรถ 4 ล้อ ได้แก่ 1) ผู้บริหารสถานศึกษา 2) ครู-บุคลากรทางการศึกษา-พ่อแม่นักเรียน 3) หลักสูตร และ 4) บรรยากาศโรงเรียน นอกจากนั้นการขับเคลื่อนครั้งนี้ยังมีปัจจัยนอกมาเกี่ยวข้องอีก 4 ปัจจัย ได้แก่ ก) การเมือง ข) ประชากร ค) กฎหมาย และ ง) เทคโนโลยีและนวัตกรรม

สำหรับแต่ละปัจจัยที่เป็นแรงขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (ด้านการศึกษา) มีสาระสำคัญ ดังต่อไปนี้

1.ผู้บริหารสถานศึกษา : ควรดำเนินการดังต่อไปนี้

1.1 จัดให้มีการพัฒนาผู้บริหารสถานศึกษาทุกแห่งอย่างเป็นระบบ ครบวงจร และต่อเนื่อง ตั้งแต่เริ่มเข้ารับตำแหน่งระหว่างปฏิบัติงาน โดยวิธีการที่ทันสมัย เช่น สัมมนา ฝึกอบรม ศึกษาดูงานทั้งภายในและนอกประเทศ การพัฒนาควรเน้นทักษะ 3 ด้านให้ครบ คือ ทักษะด้านการวิเคราะห์เพื่อตัดสินใจ สั่งการ และแก้ปัญหา (Conceptual Skill) ทักษะด้านคน (Human Skill) และทักษะด้านเทคนิคเชี่ยวชาญเฉพาะ (Technical Skill)

1.2 ปรับปรุงระบบ กระบวนการสรรหา และแต่งตั้งผู้บริหารสถานศึกษาให้เกิดความบริสุทธิ์ยุติธรรม โดยยึดหลักระบบคุณธรรม (Merit System)

1.3 พิจารณาดำเนินการปรับระดับตำแหน่งของรองผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษาให้เท่าเทียมกับศึกษานิเทศก์

1.4 กำหนดวาระการดำรงตำแหน่งของผู้บริหารสถานศึกษาไม่เกิน 2 ปี แล้วมีการสับเปลี่ยนหมุนเวียน (Rotation)

1.5 ให้ผู้บริหารสถานศึกษาแจ้งบัญชีทรัพย์สินต่อสำนักงาน ป.ป.ช.

1.6 ลงโทษผู้บริหารสถานศึกษาที่ทุจริตประพฤติมิชอบต่อตำแหน่งหน้าที่อย่างเฉียบขาดและรุนแรง เช่น จำคุก ถอนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ เป็นต้น

1.7 ให้ผู้บริหารสถานศึกษาทุกระดับประพฤติปฏิบัติอย่างเคร่งครัดตามจรรยาบรรณวิชาชีพครู หากละเว้นไม่ปฏิบัติตามให้ถือเป็นโทษทางวินัยด้วย

1.8 ผู้บริหารสถานศึกษาต้องเป็นผู้สอนแนะนำงาน (Coaching) และเป็นพี่เลี้ยง (Mentors) แก่ครูและบุคลากรทางการศึกษาได้เป็นอย่างดีมีประสิทธิภาพ

2.ครู บุคลากรทางการศึกษา และพ่อแม่ (ผู้ปกครอง)

2.1 ครูต้องเป็นแบบอย่างที่ดีของนักเรียน (Role Model) ด้านจริยธรรม มีความสามารถในการพัฒนาวิธีการเรียนการสอนให้ทันสมัย รู้และเข้าใจในจุดมุ่งหมายของการศึกษาแห่งชาติ นำหลักสูตรไปใช้ได้ จัดทำข้อสอบและแบบทดสอบได้ ประเมินผลการเรียนของนักเรียนได้ เลือก-สร้าง-จัดทำอุปกรณ์และสื่อการเรียนการสอนได้ ครูต้องรักและเอาใจใส่ดูแลนักเรียนเสมือนลูกของตนเอง แก้ปัญหาการเรียนของนักเรียนได้ ประสานสัมพันธ์กับผู้ปกครองนักเรียนและชุมชนได้ ครูต้องผ่านการอบรมและพัฒนาอย่างต่อเนื่องเป็นระบบครบวงจร และที่สำคัญการเลื่อนวิทยฐานะของครู ให้พิจารณาจากผลการทำงานโดยยกเลิกการประเมินจากเอกสารทางวิชาการที่ครูทำขึ้นเอง

2.2 ให้สวัสดิการและขวัญกำลังใจแก่ครูอัตราจ้างและบุคลากรทางการศึกษา เช่น จัดให้มีการทำงานล่วงเวลาโดยสามารถเบิกจ่ายเงินได้ จัดบ้านพัก จัดอาหารกลางวันราคาถูก จัดรถสวัสดิการรับส่ง และส่งเสริมให้ครูอัตราจ้าง ลูกจ้าง สามารถสอบบรรจุเป็นพนักงานข้าราชการได้

2.3 สำหรับพ่อแม่ (ผู้ปกครอง) นั้น โรงเรียนหรือสถานศึกษาควรเชิญพ่อแม่ของนักเรียนเข้าร่วมประชุมโรงเรียน พ่อแม่ต้องเป็นติวเตอร์ (Tutor) แก่ลูกของตนเองได้ พ่อแม่ต้องควบคุมการทำงานบ้าน และการไป-กลับระหว่างบ้าน-โรงเรียนให้ตรงตามเวลา ตลอดจนควบคุมการเล่นเกมคอมพิวเตอร์ และเล่นอินเตอร์เน็ตขณะอยู่ที่บ้าน อย่างไรก็ตาม พ่อแม่ไม่ควรเลี้ยงลูกด้วยเงิน แต่เลี้ยงลูกด้วยใจรักเอาใจใส่ดูแลให้ความอบอุ่น

3.หลักสูตร : การพัฒนาหลักสูตรใหม่ตามแนวปฏิรูปต้องเป็นหลักสูตรพัฒนา ทักษะŽ ไม่เน้น องค์ความรู้Ž หลักสูตรควรแบ่งเป็น 3 ประเภท ได้แก่ 1)เป็นหลักสูตรที่ส่วนกลางเป็นผู้จัดทำ 2)เป็นหลักสูตรแบบยืดหยุ่นได้ และ 3)เป็นหลักสูตรแบบผสมผสาน ทั้งนี้ หลักสูตรกลางของแต่ละหน่วยงานการศึกษาทั้งระดับท้องถิ่นและสถานศึกษาสามารถนำไปปรับให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียนได้ สำหรับการสร้างหลักสูตรควรยึด 3 หลัก คือ ก)ความสามารถทางวิชาการ เน้นการวิเคราะห์ ประเมินผลได้อย่างเป็นอิสระ มีการค้นหาคำตอบและมีการแก้ปัญหา ข)จริยธรรมและคุณธรรม (To be rich in humanity) และ ค)จิตใจที่แจ่มใสอยู่ในร่างกายที่สมบูรณ์ (Sound mind in a sound body) สำหรับประเทศที่กำลังพัฒนา เช่น สิงคโปร์ จะเน้นวิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์

ในปัจจุบันทางรัฐบาลไทยได้เพิ่มเนื้อหาวิชาคุณธรรมจริยธรรม การรักชาติ ค่านิยมหลักของคนไทย 12 ประการ และประชาธิปไตยเข้าไว้ในหลักสูตรการเรียนการสอนแล้ว ทั้งนี้ มีการปรับวิธีการเรียนเปลี่ยนวิธีการสอน เพื่อให้เด็กใช้กระบวนการคิดและวิเคราะห์เป็น

4.บรรยากาศโรงเรียน : คือสภาพแวดล้อมที่มีองค์ประกอบ 3 ด้าน ได้แก่ ด้านกายภาพ สังคม และวิชาการ บรรยากาศโรงเรียนจะต้องคำนึงถึงความปลอดภัยของนักเรียน มีการต้อนรับทุกคนด้วยความยินดี และมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกับบุคคลอื่นๆ ครูมิใช่เพียงแต่เป็นผู้สอนหนังสือ แต่ต้องสอนการเป็นพลเมืองดีแก่นักเรียนให้นักเรียนสามารถค้นหาศักยภาพสูงสุดของตนเองได้ (Actualization) บรรยากาศโรงเรียนประกอบด้วย 3 มิติ ได้แก่ 4.1)มิติทางกายภาพ 4.2)มิติทางสังคม และ 4.3)มิติทางวิชาการ

4.1 มิติทางกายภาพ ประกอบด้วย อาคารเรียนที่สะอาดสวยงามมีสีสัน มีห้องเรียนที่ไม่แออัด มีห้องสมุด มีแหล่งวิทยากร มีห้องทดลอง มีโรงฝึกงาน และห้องพิธีการทางศาสนา เช่น ห้องฝึกสมาธิและทำละหมาด ขนาดโรงเรียนและอัตราส่วนระหว่างครูต่อนักเรียนที่เป็นมาตรฐาน มีคำสั่งต่างๆ ที่ติดให้เห็นชัดเจน

ที่สำคัญสถานศึกษาต้องตระหนักถึงความสะดวกและความปลอดภัยของนักเรียน นอกจากนั้นอุณหภูมิของห้องเรียนต้องเหมาะสม ปราศจากกลิ่นเหม็นจากมลพิษ ขยะ และอื่นๆ ตลอดจนที่ตั้งของโรงเรียนควรห่างจากเสียงรบกวน

4.2 มิติทางสังคม ประกอบด้วย คุณภาพความติดต่อปะทะสัมพันธ์ซึ่งกันและกันระหว่างนักเรียน ครู และบุคลากรทางการศึกษา คำนึงถึงความเป็นธรรม ปฏิบัติต่อนักเรียนอย่างเสมอภาคและเท่าเทียมกัน นักเรียน ครู และบุคลากรทางการศึกษาควรมีส่วนร่วมกันในการแก้ปัญหา และวินิจฉัยสั่งการในการแก้ปัญหาของโรงเรียนร่วมกัน

4.3 มิติทางวิชาการ ประกอบด้วย คุณภาพทางวิชาการ ความคาดหวังของครูต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน การตรวจสอบความก้าวหน้าของนักเรียน มีการรายงานผลการเรียนให้นักเรียนและผู้ปกครองได้รับทราบ การปรับปรุงบรรยากาศของโรงเรียนมีหลายวิธี เช่น สร้างสรรค์ให้เกิดความห่วงใยชุมชน ส่งเสริมให้นักเรียนแสดงพฤติกรรมด้านจริยธรรมทางบวก ส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือระหว่างบ้านและชุมชนเสมือนทั้งบ้านกับสังคมเป็นหุ้นส่วนซึ่งกันและกัน

สําหรับปัจจัยภายนอกอีก 4 ปัจจัย ได้แก่ ก)การเมือง ข)ประชากร ค)กฎหมาย และ ง)เทคโนโลยีและนวัตกรรม เห็นว่าปัจจัยทั้ง 4 มีอิทธิพลต่อการขับเคลื่อนการปฏิรูปทางการศึกษาของไทย ดังจะได้สรุปให้เห็นเป็นประเด็น ต่อไปนี้

ก) การเมือง : การเปลี่ยนนโยบายการศึกษาบ่อยครั้งด้วยสาเหตุทางการเมือง ทำให้การบริหารจัดการขาดความต่อเนื่อง การบริหารจัดการด้านคน วิธีการบริหาร วัสดุอุปกรณ์ และเงิน (4 SM) เปลี่ยนไปตามยุคของรัฐบาลนั้นๆ นอกจากนั้นการเมืองยังมีอิทธิพลในการโยกย้ายข้าราชการระดับสูงในกระทรวง

ข) ประชากร : การเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากร ทำให้มีนักเรียนนักศึกษาจำนวนมาก

การบริหารจัดการยุ่งยากซับซ้อน การย้ายถิ่นของประชากร เนื่องจากการหางานทำของพ่อแม่นักเรียน ทำให้นักเรียนขาดโอกาสทางการศึกษา เรียนไม่จบลาออกกลางคัน ในประเทศไทยมีประชากรหลายชนเผ่า (ชาติพันธุ์) ทำให้การเรียนรู้ภาษาไทยเป็นปัญหาของนักเรียนชาติพันธุ์

ค) กฎหมาย : กฎหมายทางการศึกษาล้าสมัยไม่สอดคล้องกับสถานการณ์และสภาพชีวิตการเป็นจริงของสังคม เช่น มีกฎระเบียบการลงโทษเด็กด้วยการเฆี่ยนตี เป็นอุปสรรคในการปกครองของครูที่ต้องลงโทษเด็กเพื่อการหลาบจำ และยังมี พ.ร.บ.การศึกษาภาคบังคับที่ให้เด็กต้องเรียนในโรงเรียนครบ 12 ปี โดยทางปฏิบัติการลงโทษผู้ปกครองที่ไม่ปฏิบัติตาม พ.ร.บ.ดังกล่าวได้ไม่สมบูรณ์ ทำให้ขาดมาตรการลงโทษที่รุนแรงและเด็ดขาด นอกจากนั้น การให้ผู้ปกครองหรือพ่อแม่สามารถจัดการเรียนการสอนบุตรหลานของตนได้ที่บ้าน โดยไม่ต้องส่งไปโรงเรียน ทำให้การศึกษาขาดคุณภาพและประสิทธิภาพ

ง) เทคโนโลยีและนวัตกรรม : ในปัจจุบันประเทศไทยมีเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ เกิดขึ้นรอบตัวนักเรียน (เด็ก) เทคโนโลยีและนวัตกรรม มีทั้งผลดีและผลเสียแก่เด็กและเยาวชน กล่าวคือ ส่วนดี เด็กได้เรียนรู้เรื่องที่อยากรู้ได้รวดเร็วทันสมัย ทันเหตุการณ์ ลดเวลาการสอนของครู และเด็กสามารถแสวงหาความรู้ต่างๆ ด้วยตนเองได้ตลอดเวลา ส่วนเสีย เด็กไม่สามารถคัดกรองข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต สื่อลามกต่างๆ ว่าดีเลวอย่างไรทำให้พวกเขาเลียบแบบรับเอาแบบอย่างหรือวัฒนธรรมไม่ดีงามจากสื่อต่างๆ มาใช้อย่างรวดเร็ว

ทำให้เกิดปัญหาทางอาชญากรรม เด็กมีครรภ์ก่อนวัยสมควร และปัญหาที่คุ้นเคยกันก็คือเด็กติดอินเตอร์เน็ต เป็นต้น

การขับเคลื่อนการปฏิรูปจะสำเร็จได้นั้น ต้องปฏิรูปที่ตัวผู้บริหารสถานศึกษาก่อน ทั้งนี้ เพราะบุคคลดังกล่าวเป็น Key Man ที่มีความสำคัญและอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงขององค์กร (Chang agent) เมื่อปฏิรูปผู้บริหารสถานศึกษาแล้ว ต่อไปจะต้องปฏิรูปที่ตัวครู และบุคลากรทางการศึกษา โดยให้ผู้บริหารสถานศึกษาเป็นแกนนำในการปฏิรูปอีกทอดหนึ่ง ครูต้องมีส่วนร่วมในการสร้าง-พัฒนาหลักสูตร หลักสูตรต้องสนองตอบความต้องการของนักเรียนและตลาดแรงงาน จัดโรงเรียน-สถานศึกษาให้น่าอยู่น่าเรียนสะอาดมีสีสัน ครู-บุคลากรทางการศึกษารักเมตตา เอาใจใส่เด็กเสมือนลูกของตน

และสุดท้ายนำหลักของพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตโตฺ) ที่ให้ความสำคัญในการพัฒนาคนขององค์กรให้เป็นคนเต็มคน เน้นพัฒนากาย พัฒนาศีล พัฒนาจิตใจ และพัฒนาปัญญา โดยยึดจุดมุ่งหมายให้นักเรียนเป็นคนดี คนเก่ง และคนมีความสุข 

 

ที่มา มติชนออนไลน์ วันที่ 18 เมษายน 2559


ขับเคลื่อนการศึกษาไทยอย่างไร จึงถูกใจประชาชน โดย ดร.ดำรงค์ ชลสุขขับเคลื่อนการศึกษาไทยอย่างไรจึงถูกใจประชาชนโดยดร.ดำรงค์ชลสุข

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

ความคิดสร้างสรรค์ (1)

ความคิดสร้างสรรค์ (1)


เปิดอ่าน 8,702 ครั้ง
หนี้สิน หนี้เสีย แก้ได้

หนี้สิน หนี้เสีย แก้ได้


เปิดอ่าน 10,350 ครั้ง
"ฟุตบอล"...สอนอะไร

"ฟุตบอล"...สอนอะไร


เปิดอ่าน 8,120 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

ความผูกพันสำคัญต่อองค์กรอย่างไร ?

ความผูกพันสำคัญต่อองค์กรอย่างไร ?

เปิดอ่าน 8,678 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
ทบทวนระบบการประกันคุณภาพ การศึกษาของไทยเดี๋ยวนี้... ฤๅว่าจะสายเกินไป
ทบทวนระบบการประกันคุณภาพ การศึกษาของไทยเดี๋ยวนี้... ฤๅว่าจะสายเกินไป
เปิดอ่าน 11,374 ☕ คลิกอ่านเลย

คุณภาพผู้เรียนวัดจาก NT-ONET เส้นทางที่ลางเลือน!
คุณภาพผู้เรียนวัดจาก NT-ONET เส้นทางที่ลางเลือน!
เปิดอ่าน 7,438 ☕ คลิกอ่านเลย

ปฏิรูปการศึกษา ?
ปฏิรูปการศึกษา ?
เปิดอ่าน 8,662 ☕ คลิกอ่านเลย

เหตุใด...บัณฑิตครูเดินไม่ถึงฝัน กระบวนการผลิตหรือระบบการคัดเลือก?
เหตุใด...บัณฑิตครูเดินไม่ถึงฝัน กระบวนการผลิตหรือระบบการคัดเลือก?
เปิดอ่าน 10,561 ☕ คลิกอ่านเลย

ถึงเวลาปลุก “จิตวิญญาณ” ความเป็น “ครู” ก่อนจะไปถึงการศึกษาไทย 4.0
ถึงเวลาปลุก “จิตวิญญาณ” ความเป็น “ครู” ก่อนจะไปถึงการศึกษาไทย 4.0
เปิดอ่าน 75,082 ☕ คลิกอ่านเลย

การศึกษาไทยภายใต้รัฐบาล คสช. 3 ปี ที่วังเวงและเคว้งคว้าง
การศึกษาไทยภายใต้รัฐบาล คสช. 3 ปี ที่วังเวงและเคว้งคว้าง
เปิดอ่าน 14,410 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

อภิชาติ หาลำเจียก
อภิชาติ หาลำเจียก
เปิดอ่าน 17,749 ครั้ง

ระวัง! อาหารจะทำให้คุณขาดน้ำ
ระวัง! อาหารจะทำให้คุณขาดน้ำ
เปิดอ่าน 9,886 ครั้ง

บัญญัติ 10 ประการ การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ
บัญญัติ 10 ประการ การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ
เปิดอ่าน 13,010 ครั้ง

เด็กไทยเรียนฟรี เมื่อไหร่?เป็นจริง
เด็กไทยเรียนฟรี เมื่อไหร่?เป็นจริง
เปิดอ่าน 7,008 ครั้ง

ข่า...ยาดีคู่ครัวไทย
ข่า...ยาดีคู่ครัวไทย
เปิดอ่าน 13,979 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ