ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


หน้าแรกครูบ้านนอก > ข่าว/บทความ > บทความการศึกษา > เกษียณ65ปีทางแก้ประชากรสูงอายุ มีเงินเก็บ"4แสน"ก็อยู่ลำบาก
เกษียณ65ปีทางแก้ประชากรสูงอายุ มีเงินเก็บ"4แสน"ก็อยู่ลำบาก
บทความการศึกษา โพสต์เมื่อวันที่ : 14 เม.ย. 2559 เปิดอ่าน : 23,735 ครั้ง
☰แชร์เลย >  
เพิ่มเพื่อน
Advertisement

ประเทศไทยเราก้าวเข้าสู่การเป็นสังคมสูงอายุมาแล้วตั้งแต่ปี 2548 ในปัจจุบันไทยมีประชากรสูงอายุ จำนวนทั้งสิ้น 10,014,699 คน คิดเป็นอัตราส่วนประมาณร้อยละ 14.9 ของประชากรทั้งประเทศ

เกษียณ65ปีทางแก้ประชากรสูงอายุ มีเงินเก็บ"4แสน"ก็อยู่ลำบาก
Advertisement

คุณเคยมองอนาคตของตัวเองหรือไม่ว่า ยามแก่ตัวลงไป เข้าสู่วัยสูงอายุ หรือวัยเกษียณแล้ว ชีวิตของคุณจะอยู่ในรูปแบบไหน เป็นผู้สูงอายุที่ใช้ชีวิตอย่างไร จะอาศัยอยู่กับครอบครัวที่แวดล้อมไปด้วยลูกหลานคอยดูแลอย่างอบอุ่น หรือจะเป็นผู้สูงอายุที่ต้องเข้มแข็ง และดูแลตนเอง

หลาย ๆ คน โดยเฉพาะในคนวัยหนุ่มสาว ต่างคิดว่า การวางแผนชีวิต เมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุเป็นเรื่องที่ไกลแสนไกลตัว สู้ใช้ชีวิตอย่างเต็มที่ในปัจจุบันให้มีความสุขมากที่สุด จะคุ้มค่ากว่า นั่นถือว่าคิดผิดหากเรายังไม่มองการณ์ไกล วางแผนอนาคต ช่วงบั้นปลายอาจเป็นช่วงวัยที่เราต้องใช้ชีวิตแบบยากลำบาก ไร้ซึ่งความสุขก็เป็นได้

จากนิยามข้อกำหนดของสหประชาชาติ ระบุว่า ประเทศใด มีจำนวนประชากรสูงอายุ ตั้งแต่อายุ 60 ปีขึ้นไป เกินร้อยละ 10 ของประชากรทั้งประเทศ จะถือว่า ประเทศนั้น ๆ ได้ก้าวเข้าสู่สังคมสูงอายุ และหากประชากรสูงอายุ มีจำนวนมากถึงร้อยละ 20 ของประชากรทั้งประเทศ ประเทศนั้น ๆ ก็จะเป็นประเทศที่มีสังคมสูงอายุอย่างสมบูรณ์แบบ ซึ่งในประเทศไทย เราก้าวเข้าสู่การเป็นสังคมสูงอายุ มาแล้วตั้งแต่ปี 2548 โดยจากข้อมูลสำนักงานสถิติแห่งชาติ ระบุว่า ในปัจจุบัน ประเทศไทยมีประชากรสูงอายุ จำนวนทั้งสิ้น 10,014,699 คน คิดเป็นอัตราส่วน ประมาณร้อยละ 14.9 ของประชากรทั้งประเทศ และในปี 2564 ประชากรสูงอายุของไทย จะสูงถึงร้อยละ 20 จากจำนวนประชากรทั้งหมด ซึ่งทำให้ไทย กลายเป็นประเทศที่มีสังคมสูงอายุอย่างสมบูรณ์

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ปราโมทย์ ประสาทกุล จากสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล บอกเล่าในเรื่องนี้ว่า ประเทศไทย ถือเป็นประเทศที่ก้าวเข้าสู่สังคมสูงอายุอย่างเร็ว โดยในอีก 20 ปีข้างหน้า ประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปของไทย จะมีถึง 19 ล้านคน ซึ่งทำให้เห็นภาพชัดเจนขึ้น คือ เมื่อมีคน 100 คน จะเป็นคนสูงอายุในกลุ่มนั้น ๆ ถึง 30 คน

ทั้งนี้ สาเหตุที่ทำให้ไทย มีประชากรสูงวัยจำนวนมาก เนื่องจาก 1. อัตราการเกิดของประชากรมีจำนวนลดน้อยลง โดยในอดีตตั้งแต่ปี 2506-2526 ถือเป็นช่วงที่ประเทศไทย มีอัตราการเกิดมากที่สุด อยู่ที่ประมาณปีละกว่า 1 ล้านคน แต่หลังจากนั้นอัตราการเกิดของประชากรก็ลดน้อยลงอย่างต่อเนื่อง จนถึงปัจจุบัน ในปี 58 ที่ผ่านมา มีอัตราการเกิดเพียงแค่ 7.3 แสนคนเท่านั้น ซึ่งเหตุที่ทำให้อัตราการเกิดน้อยลง เนื่องจากวิถีชีวิต ทัศนคติของคนในสังคมเปลี่ยนแปลงไป คนนิยมใช้ชีวิตแบบเป็นโสดมากยิ่งขึ้น และคู่แต่งงานก็นิยมการมีบุตรกันน้อยลง ซึ่งคาดการณ์ได้ว่า ในอนาคตอัตราการเกิดของประชากรไทยจะยิ่งลดน้อยลง และ 2. อายุคนไทยยืนยาวมากยิ่งขึ้น เนื่องจากมีวิวัฒนาการทางการแพทย์ที่เจริญก้าวหน้ามากยิ่งขึ้น อีกทั้งประชากรส่วนใหญ่ต่างก็ใส่ใจในการดูแลสุขภาพมากยิ่งขึ้น โดยปัจจุบัน อายุเฉลี่ยของคนไทย อยู่ที่ประมาณ 75 ปี โดยอายุเฉลี่ยเพศชาย อยู่ที่ประมาณ 72 ปี และอายุเฉลี่ย เพศหญิง อยู่ที่ประมาณ 78 ปี

แต่การเป็นสังคมสูงอายุ มีประชากรสูงวัยจำนวนมาก จะเกิดผลอย่างไรกับประเทศ คงเป็นคำถามที่หลาย ๆ คนสงสัย และเหตุใด ทุกคนจึงต้องร่วมมือเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือกับสังคมสูงอายุ ศาสตราจารย์เกียรติคุณปราโมทย์ กล่าวว่า เมื่อมีอัตราการเกิดของประชากรลดน้อยลง จำนวนประชากรสูงอายุมากยิ่งขึ้น ย่อมส่งผลทำให้จำนวนแรงงานในสังคมลดน้อยลง และเมื่อภาคแรงงานมีจำนวนลดลง ก็จะกระทบต่อความมั่นคงทางด้านเศรษฐกิจและสังคมของประเทศอย่างชัดเจน ซึ่งจากสถิติแรงงานอายุตั้งแต่ 15-59 ปี ของไทย จะเห็นได้ว่า ในปี 2556 มีแรงงานกลุ่มดังกล่าวในสังคม 43 ล้านคน และในปี 2566 จำนวนแรงงานจะลดลงเหลือเพียง 41.5 ล้านคน และเมื่อถึงปี 2576 แรงงานจะเหลือเพียง 37.1 ล้านคนเท่านั้น

และด้วยลักษณะที่เปลี่ยนแปลงไปของสังคม ทำให้รูปแบบการใช้ชีวิตของผู้สูงอายุเปลี่ยนไป จากเดิมที่ผู้สูงอายุของไทย จะอยู่ในครัวเรือนขนาดใหญ่ มีบุคคลช่วยดูแลซึ่งกันและกัน แต่ในปัจจุบัน ด้วยครัวเรือนมีขนาดเล็กลง บุคคลในครัวเรือนมีรูปแบบการใช้ชีวิตเปลี่ยนไป มีการออกไปทำงานนอกบ้านมากยิ่งขึ้น และคนส่วนหนึ่งยังมีค่านิยมในการเป็นโสด ทำให้ในอนาคต ผู้สูงอายุจะใช้ชีวิตอยู่ตามลำพังในครัวเรือนมากยิ่งขึ้น โดยจาก สถิติพบว่า ในปี 2545 ผู้สูงอายุที่ใช้ชีวิตลำพัง อยู่ที่ประมาณ ร้อยละ 6 และผู้สูงอายุที่อยู่ลำพังกับคู่สมรส อยู่ที่ประมาณ ร้อยละ16 แต่ผลสำรวจในปี 2557 จะพบว่า ผู้สูงอายุที่ใช้ชีวิตอยู่ลำพังนั้นมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น เป็นร้อยละ 9 และผู้สูงอายุที่ใช้ชีวิตอยู่ลำพังกับคู่สมรส ก็มีจำนวนเพิ่มขึ้น เป็นร้อยละ 19 ซึ่งในกลุ่มผู้สูงอายุที่อยู่ลำพังนั้น เป็นกลุ่มจะมีค่าเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง จึงเป็นสัดส่วนที่ต้องมีการวางแนวทางการดูแลมากที่สุด

สิ่งที่เป็นปัจจัยสำคัญ ที่ส่งผลต่อการใช้ชีวิตของผู้สูงอายุ คือ รายได้ ซึ่งรายได้ของผู้สูงอายุส่วนใหญ่ จากการสำรวจจะมาจากการเลี้ยงดูของลูกหลาน แต่เมื่อสังคมก้าวเข้าสู่การเป็นโสดมากยิ่งขึ้น ผู้สูงอายุก็จะเป็นบุคคลที่ไม่มีลูกหลานในการเลี้ยงดู อาจทำให้ขาดรายได้ในส่วนนี้ไป และรายได้อีกส่วนหนึ่งของผู้สูงอายุ มาจากรัฐสวัสดิการ ในรูปแบบเบี้ยยังชีพคนชรา ซึ่งจะเริ่มต้นที่ 600 บาท และเพิ่มขึ้นตามอายุของผู้สูงอายุ ซึ่งถือเป็นรายได้จำนวนเล็กน้อย เทียบกับการใช้ชีวิตในปัจจุบันนั้นไม่เพียงพออย่างแน่นอน

ดังนั้น การออมของผู้สูงอายุจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งในการสร้างหลักประกัน ความมั่นคงให้แก่ชีวิตของตนเองยามชรา โดยจากการศึกษาของสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ระบุว่า ผู้สูงอายุจะมีรายได้ต่อเดือนที่เหมาะสมในการใช้ชีวิต อยู่ที่อย่างน้อยประมาณ2,600บาทต่อเดือน ซึ่งค่าเฉลี่ยของอายุคนไทยอยู่ที่ 75ปี ดังนั้นเมื่อก้าวเข้าสู่วัยสูงอายุที่ 60 ปี เราก็จะต้องใช้ชีวิตต่อเนื่องไปอีกประมาณ 15 ปี คิดง่าย ๆ คือ อย่างน้อยเราควรมีเงินออม เพื่อในชีวิตบั้นปลายไม่ต่ำกว่า 468,000 บาท แต่ในอนาคตระบบเศรษฐกิจจะต้องมีความผันผวน อัตราค่าครองชีพจะต้องยิ่งเพิ่มสูงขึ้น เงิน 100 บาทในวันนี้ จะเหลือค่าเงินแค่ 66 บาท ในอีก 10 ปีข้างหน้า และมีค่าเงินลดลงเรื่อย ๆ อีกทั้งอายุเฉลี่ยของคน จะยิ่งเพิ่มมากขึ้น ดังนั้นให้ดีที่สุด คือ เราต้องเก็บออมเงินในการใช้ชีวิตยามชราให้ได้มากเท่าที่จะมากได้ โดยเริ่มการออมเงินตั้งแต่วัยเด็กและวางระบบการใช้จ่ายเงินอย่างเหมาะสม

นอกจากความมั่นคงทางการเงินแล้ว ความมั่นคงทางสุขภาพก็เป็นส่วนหนึ่งที่เราต้องเตรียมความพร้อมมากที่สุด ยิ่งเมื่อก้าวเข้าสู่วัยชรา โรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ จะยิ่งเกิดกับร่างกายมากยิ่งขึ้น โดยจากการศึกษา บุคคลส่วนหนึ่ง จะมีช่วงเวลาหนึ่งที่อยู่ในภาวะทุพพลภาพ ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองในการประกอบกิจวัตรประจำวัน ทั้ง กินอาหาร อาบน้ำ แต่งตัว ขับถ่าย และเคลื่อนไหวไปมาภายในบ้านได้

โดยผลการศึกษาปัญหาการเจ็บป่วยจากการตรวจร่างกายของผู้สูงอายุไทยล่าสุด โดยสำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ ปรากฏว่า มีผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไปร้อยละ 85 หรือจำนวนประมาณ 6 ล้านคน ที่สามารถดูแลตนเองได้ และมีผู้สูงอายุที่นอนติดเตียง ติดบ้าน ต้องพึ่งพิงคนอื่น ช่วยดูแลกว่า 1 ล้านคน คิดเป็นเกือบร้อยละ 15 โดยมีประมาณ 960,000 คน ที่ช่วยเหลือตนเองได้บางส่วน อีกประมาณ 63,000 คน ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้เลยอีกทั้งผู้สูงอายุบางคน เมื่อเกิดภาวะทุพพลภาพ จะต้องดึงบุคคลจากภาคแรงงานเข้ามาช่วยดูแลอีกด้วย ดังนั้นการดูแลตนเอง การชะลอความเสื่อมร่างกายเพื่อชะลอเวลาการเข้าสู่ภาวะทุพพลภาพ จึงเป็นสิ่งจำเป็นที่ประชาชนต้องให้ความสนใจ และภาครัฐต้องมุ่งส่งเสริม เพื่อลดปัญหาตั้งแต่ต้นทาง

“สิ่งหนึ่งที่ภาครัฐต้องกลับมาพิจารณาในการวางระบบเพื่อดูแลประชากรสูงอายุ คือ การเปลี่ยนนิยามผู้สูงอายุใน พ.ร.บ.ผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546 เสียใหม่ จากที่กำหนดให้ผู้สูงอายุ คือ บุคคลที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป เป็นผู้สูงอายุเป็นบุคคลที่มีอายุ 65 ปี ซึ่งหากรัฐเปลี่ยนนิยามดังกล่าวได้ จะเกิดผลคือ รัฐจะลดภาระค่าใช้จ่ายในการดูแลบุคคลสูงอายุ ในกลุ่ม 60-64 ปีไปได้จำนวนมาก อีกทั้งบุคคลในกลุ่มดังกล่าว ก็ยังสามารถอยู่ในกำลังแรงงานได้มากยิ่งขึ้น ซึ่งจะเป็นช่องทางที่ทำให้ผู้สูงอายุยังคงมีรายได้ในการเลี้ยงดูตนเองได้ต่อไป”

สิ่งสำคัญที่สังคมต้องร่วมกันเตรียมความพร้อมในการรับมือกับสังคมสูงอายุ คือ การปรับ “วยคติ” ที่มีต่อผู้สูงอายุ ซึ่ง วยคติ เป็นศัพท์บัญญัติ หมายถึงทัศนคติที่มีต่อวัย โดยคนในสังคมปัจจุบัน มักมองเห็นว่า ผู้สูงอายุเป็นบุคคลไร้ความสามารถ ไม่ควรกลับเข้ามาในภาคแรงงาน แต่แท้จริงแล้ว ผู้สูงอายุถือเป็นผู้ที่มีความสามารถต่าง ๆ ซึ่งสังคมควรให้พื้นที่แก่ผู้สูงอายุในการอยู่ในระบบแรงงานนานที่สุด และจัดสรรการทำงานในรูปแบบที่เหมาะสมแก่ผู้สูงอายุนั้น ๆ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ปราโมทย์ กล่าว

การรับมือกับสังคมสูงอายุ คงไม่ใช่หน้าที่เฉพาะของหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งเพียงเท่านั้น แต่เป็นหน้าที่ของทุกคน ที่ต้องเตรียมความพร้อมตนเอง ชุมชน และสภาพพื้นที่ให้สามารถรองรับกับสังคมที่วันหนึ่ง จะมีผู้สูงอายุเดินกันอยู่จำนวนมาก คนในวัยหนุ่มสาว คงต้องเริ่มตระหนักกันแล้วว่า ยามชรา เราอยากจะเป็นผู้สูงอายุแบบไหน แบบที่มีคุณภาพชีวิตที่ดี ร่างกายแข็งแรง ช่วยเหลือตัวเองได้ หรือแบบปากกัดตีนถีบ ที่ต้องใช้ชีวิตไปวัน ๆ รอวันหมดลม ทุกอย่างอยู่ที่การเตรียมความพร้อมตั้งแต่วันนี้

แล้วคุณ... เริ่มเตรียมความพร้อมบ้างแล้วหรือยัง???

 

ที่มา หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ วันที่ 13 เมษายน 2559


Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

ฟินแลนด์ vs ไทย อะไรคือกุญแจแห่งความสำเร็จทางการศึกษา

ฟินแลนด์ vs ไทย อะไรคือกุญแจแห่งความสำเร็จทางการศึกษา
เปิดอ่าน 17,075 ครั้ง
การศึกษา...จากแนวราบ กลับสู่แนวดิ่ง

การศึกษา...จากแนวราบ กลับสู่แนวดิ่ง
เปิดอ่าน 11,131 ครั้ง
ยุบ สพฐ. จัดตั้งของใหม่ คิดกันดีแล้วเหรอ?? ไม่เหนื่อยต่อการพายเรือในอ่างหรือ?!

ยุบ สพฐ. จัดตั้งของใหม่ คิดกันดีแล้วเหรอ?? ไม่เหนื่อยต่อการพายเรือในอ่างหรือ?!
เปิดอ่าน 21,085 ครั้ง
"พ่อแม่รังแกฉัน"(ใครกันจะรังแกลูกได้เท่าพ่อแม่)

"พ่อแม่รังแกฉัน"(ใครกันจะรังแกลูกได้เท่าพ่อแม่)
เปิดอ่าน 12,815 ครั้ง
ความคิดสร้างสรรค์ (1)

ความคิดสร้างสรรค์ (1)
เปิดอ่าน 7,805 ครั้ง
ปัจจัยฉุดรั้งการศึกษา (1)

ปัจจัยฉุดรั้งการศึกษา (1)
เปิดอ่าน 11,287 ครั้ง
ปฏิรูปการศึกษา ระบบการผลิตครู

ปฏิรูปการศึกษา ระบบการผลิตครู
เปิดอ่าน 13,503 ครั้ง
การจัดการศึกษาที่หลากหลาย เพื่อแสวงหาแนวทาง ‘ปฏิรูป’ ผู้เขียน ดร.พีระพงษ์ สิทธิอมร

การจัดการศึกษาที่หลากหลาย เพื่อแสวงหาแนวทาง ‘ปฏิรูป’ ผู้เขียน ดร.พีระพงษ์ สิทธิอมร
เปิดอ่าน 43,596 ครั้ง
กระทรวงศึกษาธิการ ปลดล็อคการศึกษาไทย พลิกฟื้นวิกฤติด้วยนโยบาย "ซ่อม สร้าง ป้องกัน"

กระทรวงศึกษาธิการ ปลดล็อคการศึกษาไทย พลิกฟื้นวิกฤติด้วยนโยบาย "ซ่อม สร้าง ป้องกัน"
เปิดอ่าน 2,044 ครั้ง
"ของเล่นบ้านๆ" สื่อพัฒนาทักษะเด็กปฐมวัยในยุคดิจิทัล

"ของเล่นบ้านๆ" สื่อพัฒนาทักษะเด็กปฐมวัยในยุคดิจิทัล
เปิดอ่าน 21,584 ครั้ง
ระบบการศึกษาไม่สมดุล (จบ)

ระบบการศึกษาไม่สมดุล (จบ)
เปิดอ่าน 7,303 ครั้ง
สร้าง "คนเก่ง" ให้เป็น "ครูสอนดี"

สร้าง "คนเก่ง" ให้เป็น "ครูสอนดี"
เปิดอ่าน 9,965 ครั้ง
ปัจจัยแห่งความล้มเหลว ในการปฏิรูปการศึกษาไทยคืออะไร โดย เพชร เหมือนพันธุ์

ปัจจัยแห่งความล้มเหลว ในการปฏิรูปการศึกษาไทยคืออะไร โดย เพชร เหมือนพันธุ์
เปิดอ่าน 19,639 ครั้ง
แบบเรียนที่ไม่ได้มีไว้เลียนแบบ : นิ้วกลม

แบบเรียนที่ไม่ได้มีไว้เลียนแบบ : นิ้วกลม
เปิดอ่าน 9,072 ครั้ง
"ปฏิรูปการศึกษา" ทางรอด "วิกฤติเศรษฐกิจไทย"

"ปฏิรูปการศึกษา" ทางรอด "วิกฤติเศรษฐกิจไทย"
เปิดอ่าน 6,923 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

7 เทคนิคสร้าง KPI ยกระดับองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ
7 เทคนิคสร้าง KPI ยกระดับองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ
เปิดอ่าน 8,532 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
เด็กนั่งกลางที่เบาะหลังรถ มีแนวโน้มเป็นผู้ใหญ่ที่ประสบความสำเร็จ
เด็กนั่งกลางที่เบาะหลังรถ มีแนวโน้มเป็นผู้ใหญ่ที่ประสบความสำเร็จ
เปิดอ่าน 8,987 ☕ คลิกอ่านเลย

ตามไปดูต้นแบบความสำเร็จ การปฏิรูปการศึกษา 5 ประเทศ
ตามไปดูต้นแบบความสำเร็จ การปฏิรูปการศึกษา 5 ประเทศ
เปิดอ่าน 15,062 ☕ คลิกอ่านเลย

ความผูกพันสำคัญต่อองค์กรอย่างไร ?
ความผูกพันสำคัญต่อองค์กรอย่างไร ?
เปิดอ่าน 7,101 ☕ คลิกอ่านเลย

ถึงเวลาปลุก “จิตวิญญาณ” ความเป็น “ครู” ก่อนจะไปถึงการศึกษาไทย 4.0
ถึงเวลาปลุก “จิตวิญญาณ” ความเป็น “ครู” ก่อนจะไปถึงการศึกษาไทย 4.0
เปิดอ่าน 73,283 ☕ คลิกอ่านเลย

การศึกษาในศตวรรษที่ 21 รร.ต้องร่างหลักสูตรให้เด็กเป็นผู้บริหาร
การศึกษาในศตวรรษที่ 21 รร.ต้องร่างหลักสูตรให้เด็กเป็นผู้บริหาร
เปิดอ่าน 7,257 ☕ คลิกอ่านเลย

ทำอย่างไรให้ลูกมีความจำดี : ดร.สุพาพร เทพยสุวรรณ
ทำอย่างไรให้ลูกมีความจำดี : ดร.สุพาพร เทพยสุวรรณ
เปิดอ่าน 11,084 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

มันมือเสือ
มันมือเสือ
เปิดอ่าน 20,844 ครั้ง

สังเกตมะเร็งชนิดต่างๆ ก่อนชีวิตจะเสี่ยง
สังเกตมะเร็งชนิดต่างๆ ก่อนชีวิตจะเสี่ยง
เปิดอ่าน 11,550 ครั้ง

บริหารงานอย่างไร จึงจะครองใจลูกน้อง
บริหารงานอย่างไร จึงจะครองใจลูกน้อง
เปิดอ่าน 7,350 ครั้ง

"เตามหาเศรษฐี" คืออะไร?
"เตามหาเศรษฐี" คืออะไร?
เปิดอ่าน 1,862 ครั้ง

4 วิธีแก้เมาแบบฉับพลัน ด้วยตัวเอง
4 วิธีแก้เมาแบบฉับพลัน ด้วยตัวเอง
เปิดอ่าน 13,378 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย


เว็บไซต์ที่น่าสนใจ

  • IELTS Test
  • SAT Test
  • สอบ IELTS
  • สอบ TOEIC
  • สอบ SAT
  • เว็บไซต์พันธมิตร

  • IELTS
  • TOEIC Online
  • chulatutor
  • เพลงเด็กอนุบาล
  •  
    หมวดหมู่เนื้อหา
    เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


    · Technology
    · บทความเทคโนโลยีการศึกษา
    · e-Learning
    · Graphics & Multimedia
    · OpenSource & Freeware
    · ซอฟต์แวร์แนะนำ
    · การถ่ายภาพ
    · Hot Issue
    · Research Library
    · Questions in ETC
    · แวดวงนักเทคโนฯ

    · ความรู้ทั่วไป
    · คณิตศาสตร์
    · วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
    · ภาษาต่างประเทศ
    · ภาษาไทย
    · สุขศึกษาและพลศึกษา
    · สังคมศึกษา ศาสนาฯ
    · ศิลปศึกษาและดนตรี
    · การงานอาชีพ

    · ข่าวการศึกษา
    · ข่าวตามกระแสสังคม
    · งาน/บริการสังคม
    · คลิปวิดีโอยอดนิยม
    · เกมส์
    · เกมส์ฝึกสมอง

    · ทฤษฎีทางการศึกษา
    · บทความการศึกษา
    · การวิจัยทางการศึกษา
    · คุณครูควรรู้ไว้
    · เตรียมประเมินวิทยฐานะ
    · ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
    · เครื่องมือสำหรับครู

    ครูบ้านนอกดอทคอม

    เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

          kroobannok.com

    © 2000-2020 Kroobannok.com  
    All rights reserved.


    Design by : kroobannok.com


    ครูบ้านนอกดอทคอม
    การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

    วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
     

    ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

    เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

    Email : kornkham@hotmail.com
    Tel : 081-3431047

    สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
    คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ