ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมบทความการศึกษา  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

เดินหน้าปฏิรูป โครงสร้างกระทรวงศึกษาธิการ 59 โดย เพชร เหมือนพันธุ์


บทความการศึกษา 30 มี.ค. 2559 เวลา 13:37 น. เปิดอ่าน : 12,943 ครั้ง
Advertisement


Advertisement

เดินหน้าปฏิรูป โครงสร้างกระทรวงศึกษาธิการ 59 โดย เพชร เหมือนพันธุ์

อาฟเตอร์ช็อก ลูกที่ 5 ลูกสุดท้ายที่เกิดตามมาจากนโยบาย ลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ โครงสร้างของกระทรวงศึกษาธิการ เป็นตัวปัญหาที่ใหญ่ที่สุดที่ส่งผลต่อคุณภาพการศึกษา หลังจากที่ได้ใช้โครงสร้างนี้มาตั้งแต่ปี พ.ศ.2546 นับเวลาได้ 14 ปี (หลัง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ 2542) คนในกระทรวงศึกษาต้องทนอยู่กับสภาพของโครงสร้างองค์กรที่ “ไม่ประหยัดพลังงาน” มาถึงทศวรรษครึ่ง ผู้อยู่ก็อึดอัดใจ ผู้ใช้ก็ต้องอดทน ผู้รอรับผลผลิตก็ได้สินค้าด้อยคุณภาพ แรงกระทบที่เกิดจากโครงสร้างนี้คือ คุณภาพการศึกษาตกต่ำแบบดึงไม่ขึ้น แม้รัฐจะทุ่มงบประมาณลงไปอย่างมากมายเพียงใดก็แก้ปัญหาไม่ได้

เหตุที่รื้อกระทรวงศึกษาทิ้งในปี 2546 เพราะมีนักการศึกษาหรือนักการเมืองในสมัยนั้นเชื่อว่า การที่คุณภาพการศึกษาตกต่ำมีสาเหตุมาจากกระทรวงศึกษาธิการสมัยนั้นรวบอำนาจไว้ที่ส่วนกลางมากเกินไป ไม่กระจายอำนาจให้สถานศึกษา ทำให้การบริหารจัดการภายในโรงเรียนไร้คุณภาพ จึงเป็นสาเหตุใหญ่ที่ทำให้การศึกษาล้มเหลว ดังนั้น 9 อรหันต์ จึงจำเป็นต้องออกแบบโครงสร้างองค์กรในกระทรวงศึกษาธิการใหม่ เพื่อกระจายอำนาจให้ผู้รับบริการและผู้ที่เข้าอยู่อาศัยได้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น จึงต้องรื้อโครงสร้างกระทรวงศึกษาธิการเก่าๆ ทิ้งไป สร้างบ้านใหม่ที่ทันสมัยขึ้นมาแทน ย้ายคนที่อยู่ในบ้านเก่าออกไปเพื่อรอขึ้นบ้านใหม่ แล้วก็สร้างบ้านสมัยใหม่เป็นแบบรูปทรงของ นิวซีแลนด์ ญี่ปุ่น อเมริกา ออสเตรเลีย มาเป็นต้นแบบรวมกัน ทำให้เกิดมีองค์กรใหม่ขึ้นมา มีนวัตกรรมใหม่ เพิ่มเติมอีก 3 องค์กร คือ คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา (ก.พ.ท.) คณะกรรมการตรวจสอบติดตามประเมินและนิเทศ (ก.ต.ป.น.) และคณะอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลาการการศึกษา ก.ค.ศ. และ อ.ก.ค.ศ. ซึ่งเป็นองค์คณะบุคคลที่ไม่มีหน้าที่รับผิดชอบต่อการบริหารการศึกษาแต่ให้มีอำนาจในการบริหารงานบุคคลเหนือซีอีโอขององค์กร คือเหนือเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เหนือ ผอ.เขตพื้นที่การศึกษา

องค์กรใหม่ที่มีปัญหามากที่สุด คือ ก.ค.ศ. และ อ.ก.ค.ศ. เกิดขึ้นมาแล้วสร้างปัญหาในการบริหารงานฝ่ายบุคคลมาก เพราะที่มาของคณะบุคคลเหล่านี้มีความเป็นมาและต้นทุนสูง ต้องผ่านการแข่งขัน การเลือกตั้งใช้ปัจจัยแลกเปลี่ยนเข้ามา หลายคนต่างมีพรรคพวก มีญาติพี่น้อง มีเพื่อนฝูง จึงเกิดอาการถอนทุนคืนทุน ช่วยเหลือคนของตน อย่างน่ารังเกียจ

บ้านใหม่เสร็จแล้วในปี 2546 มีตำแหน่งงานสำคัญที่รองรับบุคลากรในส่วนภูมิภาคเพียง 175 เขตพื้นที่การศึกษา ไม่เพียงพอกับคนในตำแหน่งเก่าก่อนยุบกระทรวง คือ ศึกษาธิการจังหวัดจำนวน 76 คน สามัญศึกษาจังหวัดจำนวน 76 คน ประถมศึกษาจังหวัด จำนวน 76 คน รวมแล้วมีคนถึง 228 คน ไม่นับรวมเจ้าหน้าที่ จึงเกิดอาการคนล้นตำแหน่ง คนเก่าเข้าเมื่ออพยพเข้ามาในโครงสร้างใหม่ ในบ้านหลังใหม่ จึงเกิดมีการแย่งตำแหน่ง แย่งสำนักงานกันวุ่นวายไปทั่วประเทศ มีการร้องเรียนกันให้วุ่นวายไปทั้งกระทรวง เหตุการณ์เหล่านี้เพิ่งจะสงบสุขหลังปรับโครงสร้างผ่านมาได้ 10 ปี

ความคาดหวังคราวนั้น ที่หวังว่าจะเห็นคุณภาพการศึกษาคุณภาพชีวิตของบุคลากรในองค์กรดีขึ้นกลับหาไม่พบ หาคนมารับผิดชอบไม่ได้ เกิดอาการมีอิทธิพลจากภายนอกเข้ามาครอบงำองค์กร ผอ.เขต ทำหน้าที่ปกครองบังคับบัญชาลูกน้อง ต้องทำหน้าที่เฝ้าระวังความปลอดภัยให้กับผู้ใต้บังคับบัญชา เสมอแม่ไก่กางปีกออกกกปกป้องลูกไก่ให้ได้รับความอบอุ่นให้ได้รับความปลอดภัย เฝ้าคอยระวังภัย จากเหยี่ยวร้าย อ.ก.ค.ศ. ที่คอยบินโฉบลงมาฉกเอาลูกไก่ไปกิน บ้านใหม่ที่คาดว่าจะมีแต่ความอุดมสมบูรณ์ ร่มเย็น สงบสุข กลับไม่มีคุณภาพไม่เป็นดังที่ตั้งความหวังไว้

องค์กรใดที่เกิดมาแล้วไม่มีประโยชน์ เกิดเป็นโทษภัย เขาให้ตัดทิ้งครับ คำถาม 15 ปี พอหรือยังกับการทดลองที่ทรมาน รื้อได้หรือยังครับองค์กรที่ไม่ช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มแต่เป็นภัยต่อสังคม

เป้าหมายจริงๆ ของการปรับโครงสร้างกระทรวงศึกษาธิการ ก็เพื่อต้องการกระจายอำนาจไปยังโรงเรียนไปยังหน่วยผู้ปฏิบัติ โดยให้ยกเลิกหน่วยงานการศึกษาระดับจังหวัด ระดับอำเภอ ให้ไปเกิดองค์กรใหม่ที่มีชื่อเรียกว่า เขตพื้นที่การศึกษา ให้ลดอำนาจปลัดกระทรวงลดอำนาจอธิบดีลง โดยสร้างองค์กรใหม่เข้ามาในระดับกระทรวง เป็น 5 องค์กรหลักเรียกว่า สำนักงานเลขาธิการต่างๆ และสำนักงานปลัดกระทรวง ตำแหน่งเจ้าสำนัก อยู่ในระดับซี 11 เป็นกระทรวงเดียวที่มีคนในระดับปลัดกระทรวงอยู่ถึง 5 คน

ในส่วนภูมิภาค โรงเรียนถูกปล่อยให้มีอำนาจเต็มตามยถากรรมที่ไม่มีผู้บังคับบัญชาในระดับอำเภอ แต่ให้มีเจ้านายในระดับเขตพื้นที่การศึกษา ที่ดูแลไม่ถึง มีขนาดใหญ่โตมาก มีจำนวนโรงเรียนมากถึง 100-200 กว่าโรงเรียน บางจังหวัดมีระยะทางห่างไกลมาก ยากต่อการติดตามดูแล

การออกแบบเขตพื้นที่การศึกษาโดยไปลอกเลียนแบบคนอื่นเขามาแบบไม่ดูตาม้าตาเรือหรือโดยไม่ศึกษาให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ถึงประวัติความเป็นมาของเขาจึงเกิดปัญหาเช่นนี้

ในปี พ.ศ.2539 ผู้เขียนเคยไปเรียนที่ New York State University แห่งหนึ่งในอเมริกา ได้รู้จักกับผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษา (Superintendent) ของเขา ได้ไปดูโรงเรียนของเขา เขายังทำหน้าที่เป็นครูใหญ่ (Principal) ด้วย ในเขตพื้นที่การศึกษาของเขา มีจำนวนโรงเรียนเพียง 9 โรงเรียน ครูใหญ่ทุกคนในเขต เป็นกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา ถามเขาว่า ในหนึ่งเขตพื้นที่การศึกษา มีจำนวนโรงเรียนเท่าใด เขาตอบว่า มีประมาณ 8-20 โรงเรียน ในโรงเรียนจะมีคณะกรรมการ (School Board) ที่มีตัวแทนจากองค์กรปกครองท้องถิ่น เข้ามาร่วมเป็นคณะกรรมการด้วย เพื่อตรวจสอบติดตามประเมินผลงานของโรงเรียน และจัดสรรงบประมาณสนับสนุนโรงเรียน จากภาษีการศึกษาของท้องถิ่น เมื่อเขามีหน้าที่หาเงินมาสนับสนุนเขาจึงมีอำนาจด้วย

ส่วนคณะกรรมการสถานศึกษาของประเทศไทย ไม่มีหน้าที่หาเงินมาช่วยโรงเรียนจึงไม่มีอำนาจเหนือโรงเรียน ในส่วนภูมิภาค บางโรงเรียน หาคนมาเป็นกรรมการสถานศึกษาแทบไม่ได้ คนที่เป็นแล้วก็ต้องขอร้องไม่ให้ลาออก ไม่ให้หมดอายุ ขอให้อยู่ต่อไปเรื่อยๆ เวลาเชิญประชุม ก็ไม่ค่อยอยากมาร่วม เพราะมาที่ไร โรงเรียนขอเงินบริจาคทุกที จนบอกว่าเอาอย่างไรเอากันครับ ที่ประชุมตกลงบริจาคคนละเท่าไรก็ยินดีบริจาคตามที่ประชุมครับ ต่างกับโรงเรียนที่มีชื่อเสียงในเมืองใหญ่ ที่มีแต่คนอยากจะเป็นคณะกรรมการสถานศึกษา เพราะเป็นแล้วสามารถฝากลูกหลานเข้าเรียนได้

ในประเทศเวียดนาม คณะกรรมการสถานศึกษา เขา เชิญ ตัวแทนผู้ปกครองชั้นเรียน ชั้นละ 1 คน มาร่วมกันเป็นกรรมการสถานศึกษาเข้ามาช่วยเหลือโรงเรียนเข้ามาช่วยสอนบุตรหลานของตนเอง เข้ามาร่วมทำกิจกรรมของโรงเรียนเพื่อให้ช่วยบุตรหลานของพวกเขาเอง มีที่มาเพราะเขามีหน้าที่รับผิดชอบต่อบุตรหลานของเขาด้วย

การออกแบบกรรมการสถานศึกษาของประเทศไทย ที่ผู้ใช้ไม่ได้ออกแบบ ผู้ออกแบบไม่ได้ใช้ พ.ร.บ.เป็นผู้กำหนดว่าสถานศึกษาต้องมีคณะกรรมการสถานศึกษาจำนวนหนึ่ง ตามขนาดของสถานศึกษา บุคคลที่จะมาเป็นคณะกรรมการสถานศึกษาต้องประกอบด้วย ตัวแทนครู ตัวแทนผู้ปกครอง ผู้ทรงคุณวุฒิ ต้องมีผู้หญิงไม่น้อยกว่า … คน ต้องมี บรรพชิตอยู่ด้วย การกำหนดแบบนี้ สามารถใช้ได้ในโรงเรียนขนาดใหญ่ที่มีชื่อเสียงเท่านั้น ในชนบท ต้องไปกราบงอนง้อขอร้องให้ผู้ปกครองเข้ามาเป็นกรรมการสถานศึกษา

การแก้ปัญหาก็ไม่เป็นเรื่องยากเลยครับ แก้ที่ พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ.2546 ตัดองค์กรที่งอกเงยออกมาไม่เป็นประโยชน์ทิ้งไป เปลี่ยนอำนาจของประธานกรรมการ ก.ค.ศ. และ อ.ก.ค.ศ. มาให้เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และมาให้ ผอ.เขต ให้ประธานของคณะกรรมการ เป็นผู้บริหารสูงสุดขององค์กร เพราะท่านเหล่านี้เป็นเจ้าของบ้านเป็นแม่ไก่ที่เฝ้าดูแลความเจริญก้าวหน้าของลูกไก่ ดูแลผู้ใต้บังคับบัญชาอยู่แล้ว

อย่าไปกลัวว่าจะเกิดความลำเอียงจะเกิดการทุจริต เพราะคนที่จะขึ้นมาถึงตำแหน่งสำคัญเหล่านี้ ต้องไม่ธรรมดา ผ่านการอบรมปลูกฝังคุณธรรมที่ดีงามที่เพียงพอที่จะโตขึ้นมาทำหน้าที่เป็นผู้นำได้ ต้องมีจิตสำนึกผิดชอบชั่วดีเพียงพอยากที่คนภายนอกจะดูแลได้เท่า

สิ่งที่จะต้องปฏิรูปในโครงสร้างของกระทรวงศึกษาธิการจริงๆ คือ ลดสำนัก 5 สำนักในระดับกระทรวงศึกษาลงให้เหลือเพียงสำนักเดียว คือสำนักงานปลัดกระทรวง เพื่อให้ทำหน้าที่เป็นซีอีโอของกระทรวง เพิ่มองค์กรที่เป็นมันสมองของกระทรวงศึกษาธิการขึ้นมาคือ กรมวิชาการ ลดอำนาจของคณะบุคคลที่ไม่มีหน้าที่บริหารงานลง ลดบทบาทอำนาจของ ก.ค.ศ., อ.ก.ค.ศ.ลง เพิ่มอำนาจแก่เลขาฯ สพฐ. ให้แก่ ผอ.เขตฯเป็นซีอีโอขององค์กรให้ได้จริง ให้ 3 องค์กรในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษายุบรวมกัน ให้มีเฉพาะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา ให้ทำหน้าที่แทนองค์กรที่ยุบรวมกันได้ ให้มีหน่วยงานที่ใกล้ชิดสถานศึกษาในระดับอำเภอ หรือให้ขนาดของเขตพื้นที่การศึกษาเล็กลงเพื่อให้การติดตามตรวจสอบประเมิน (Monitory) ได้ผลจริง

ให้โรงเรียนเป็นผู้ออกแบบคณะกรรมการสถานศึกษาตามสภาพบริบทของแต่ละโรงเรียน ลดการทดสอบประเมินผลต่างๆ เพื่อวัดคุณภาพนักเรียนลง เช่น ทดสอบระดับชาติ (National Test ; NT) O-NET, A-NET, GAT, PAT, ETC.) เป็นกิจกรรมที่ลบกวนโรงเรียนครูและเด็กมาตลอด ครูต้องลดเวลาเรียนเด็กลงเพื่อกลับมาติวเด็กของตนเองให้สอบในกิจกรรมเหล่านี้อย่างเอาเป็นเอาตาย ใช้เวลาเป็นเดือน เพราะถ้าลูกศิษย์ของตนเองได้คะแนนต่ำมาก จะมีผลต่อความเจริญก้าวหน้าของครู ของผู้บริหารโรงเรียน ของ ผอ.เขตพื้นที่การศึกษา ของกระทรวงศึกษาธิการ เพราะจะถูกวิพากษ์วิจารณ์จากสื่อว่าไร้ประสิทธิภาพ

ให้ยกเลิกการประเมินผลงานครู ผู้บริหารโรงเรียนที่เป็นการประเมินกระดาษ (Paper Evaluation) เป็นการประเมินผลผลิต (Product Evaluation) แทน ยกเลิกการประเมินขบวนการหรือวิธีการจัดเรียนการสอน ให้โรงเรียนเขาไปค้นหานวัตกรรมของเขาเอง

หวังอย่างยิ่งว่า พลังแรงสั่นสะเทือนจากนโยบาย ลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ในครั้งนี้ จาก อาฟเตอร์ช็อก หลายๆ ครั้ง จะเกิดวินาศกรรมต่อองค์กรที่เป็นปัญหาที่ไร้ประโยชน์ต่อขบวนการบริหาร และล้มล้างกิจกรรมที่ไร้สาระรบกวนขบวนการเรียนการสอนของครูและเด็กให้หายสาบสูญไป ก่อให้เกิดนวัตกรรมเทคโนโลยีใหม่ ที่มีคุณภาพต่อการจัดการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21 นี้ให้ทันเพื่อนบ้านให้ได้ 

 

ที่มา มติชนออนไลน์ วันที่ 30 มีนาคม 2559


เดินหน้าปฏิรูป โครงสร้างกระทรวงศึกษาธิการ 59 โดย เพชร เหมือนพันธุ์เดินหน้าปฏิรูปโครงสร้างกระทรวงศึกษาธิการ59โดยเพชรเหมือนพันธุ์

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

หนี้สิน หนี้เสีย แก้ได้

หนี้สิน หนี้เสีย แก้ได้


เปิดอ่าน 10,345 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

โครงการเพชรในตม โครงการที่ให้ทุนนักเรียนเรียนครูเมื่อจบแล้วบรรจุเป็นครูโดยตรง

โครงการเพชรในตม โครงการที่ให้ทุนนักเรียนเรียนครูเมื่อจบแล้วบรรจุเป็นครูโดยตรง

เปิดอ่าน 33,572 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
คอร์รัปชันในระบบการศึกษา...ความท้าทายที่ต้องเดินหน้าสู้
คอร์รัปชันในระบบการศึกษา...ความท้าทายที่ต้องเดินหน้าสู้
เปิดอ่าน 35,253 ☕ คลิกอ่านเลย

ปัจจัยแห่งความล้มเหลว ในการปฏิรูปการศึกษาไทยคืออะไร โดย เพชร เหมือนพันธุ์
ปัจจัยแห่งความล้มเหลว ในการปฏิรูปการศึกษาไทยคืออะไร โดย เพชร เหมือนพันธุ์
เปิดอ่าน 20,996 ☕ คลิกอ่านเลย

เจาะประเด็นการคัดค้าน ร่าง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ : ธนชน มุทาพร
เจาะประเด็นการคัดค้าน ร่าง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ : ธนชน มุทาพร
เปิดอ่าน 26,998 ☕ คลิกอ่านเลย

ปฏิรูปการศึกษาไทย พายเรือในอ่าง (จบ)
ปฏิรูปการศึกษาไทย พายเรือในอ่าง (จบ)
เปิดอ่าน 9,951 ☕ คลิกอ่านเลย

ภาษาอังกฤษไม่แข็ง
ภาษาอังกฤษไม่แข็ง
เปิดอ่าน 10,364 ☕ คลิกอ่านเลย

ยุทธศาสตร์การกระจายอำนาจ...โรงเรียนนิติบุคคลที่มุ่งคุณภาพผู้เรียน
ยุทธศาสตร์การกระจายอำนาจ...โรงเรียนนิติบุคคลที่มุ่งคุณภาพผู้เรียน
เปิดอ่าน 9,699 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

องค์ประกอบของมัลติมีเดีย
องค์ประกอบของมัลติมีเดีย
เปิดอ่าน 27,569 ครั้ง

ประวัติการสร้างพระมหาพิชัยราชรถ และเวชยันตราชรถ
ประวัติการสร้างพระมหาพิชัยราชรถ และเวชยันตราชรถ
เปิดอ่าน 16,954 ครั้ง

เคล็ดลับ : กลิ่นมะนาวช่วยลด"เครียด"
เคล็ดลับ : กลิ่นมะนาวช่วยลด"เครียด"
เปิดอ่าน 13,643 ครั้ง

How To Learn English
How To Learn English
เปิดอ่าน 18,220 ครั้ง

ลูกน้อยทานยาลดไข้หลายวัน เป็นอันตรายไหม
ลูกน้อยทานยาลดไข้หลายวัน เป็นอันตรายไหม
เปิดอ่าน 13,943 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ