ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมข่าวการศึกษา  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

ส่องการเรียน "ต่างประเทศ" ย้อนมองปฏิรูปการศึกษาไทย


ข่าวการศึกษา 27 มี.ค. 2559 เวลา 05:51 น. เปิดอ่าน : 7,685 ครั้ง
Advertisement


Advertisement

ส่องการเรียน "ต่างประเทศ" ย้อนมองปฏิรูปการศึกษาไทย

คณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) จัดเสวนาสาธารณะ ครั้งที่ 5 เรื่อง "เจาะลึกผลสำเร็จของการปฏิรูปการศึกษาในต่างประเทศ หันมองการปฏิรูปการศึกษาไทย" โดยสะท้อนผ่านงานวิจัยของ "พรพิไล เลิศวิชา" เมธีวิจัยอาวุโส สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)

งานวิจัยชิ้นนี้ศึกษาประเทศที่ประสบความสำเร็จในการปฏิรูปการศึกษา ทั้งเรื่องวิธีการ การดำเนินการ นโยบาย อีกทั้งยังใช้คะแนนสอบ PISA เป็นเกณฑ์มาตรฐาน และเป็นที่ยอมรับจากทั่วโลกมาเป็นตัววัดความสำเร็จดังกล่าว

ทั้งนี้มีการนำเสนอประเทศที่ถือว่ามีความโดดเด่นในการปฏิรูปการศึกษา จำนวน 3 ประเทศ ซึ่งประกอบด้วยเมืองเซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน ประเทศสิงคโปร์ และประเทศฟินแลนด์ โดยการปฏิรูปการศึกษาของทั้ง 3 ประเทศเริ่มต้นจากปัญหา และภัยคุกคาม การต่อสู้เพื่อความอยู่รอด จนพัฒนาไปสู่ความเป็นเลิศในระดับแนวหน้าของโลก ซึ่งใช้ระยะเวลาราว 50 ปี

"พรพิไล" เริ่มต้นเล่าให้ฟังถึงเหตุผลที่เลือกเมืองเซี่ยงไฮ้ ประเทศจีนว่าเมืองเซี่ยงไฮ้ได้คะแนนสอบ PISA รวมสูงที่สุดในปี 2012 และเพื่อที่จะทำให้เห็นพัฒนาการทางด้านการศึกษา จึงขอย้อนไปยังยุคเริ่มต้นของการปฏิรูปการศึกษาของจีนที่เริ่มต้นในปี 1960 ซึ่งอยู่ในช่วงของการปฏิวัติวัฒนธรรม ที่มีปัญหา และวิกฤตต่าง ๆ ทั้งความไร้ระเบียบ ความยากจน และโรงเรียนในสมัยนั้นหยุดการเรียนการสอนไปถึง 10 ปีเต็ม

ต่อมาปี 1980 มีการปฏิรูปเศรษฐกิจ พร้อมกันนี้ยังมีการออกแบบหนังสือเรียนแบบใหม่ มีการจัดระเบียบโครงสร้างพื้นฐานของโรงเรียน (School Renovation) โดยแบ่งแนวทางการพัฒนาการศึกษาออกเป็น 6 ทาง รวมระยะเวลา 20 ปี ประกอบด้วย การแบ่งโรงเรียนเป็นเกรด A-D ส่งผลทำให้ต้องปิดโรงเรียนไปถึง 1,596 โรงเรียน เพื่อให้มีการพัฒนาศักยภาพโรงเรียน อัพเกรดโรงเรียนทั้งโครงสร้าง ระบบสาธารณูปโภค มีการคัดเลือกครูคุณภาพสูง รวมถึงผู้บริหารโรงเรียน มีการจับคู่โรงเรียนที่พัฒนาแล้ว และจับคู่โรงเรียนที่ประสบความสำเร็จกับอีก 5 โรงเรียนพัฒนาร่วมกันไป

การย้ายโอนครูจากเมืองสู่ชนบท ชนบทสู่เมือง เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการยกระดับคุณภาพครู และโรงเรียน การเปลี่ยนแปลงระบบบริหารใหม่ โดยนำโรงเรียนที่ประสบความสำเร็จเข้ามาบริหาร สุดท้ายคือการเพิ่มงบประมาณให้กับโรงเรียนที่ด้อยโอกาส โดยไม่ใช่อัตราเดียวกันทั่วทั้งประเทศ

จนกระทั่งในปี 2008 มีการเปิดศักราชใหม่ของการศึกษา ซึ่งถือเป็นจุดเปลี่ยนทางประวัติศาสตร์ทางด้านการศึกษาของจีน โดยมีการกำหนด Blueprint 2010 ที่จะพัฒนาเซี่ยงไฮ้ให้เป็นศูนย์กลางทางด้านการศึกษาของประเทศจีน มีการขับเคลื่อนโรงเรียนไปสู่สมัยใหม่ คืนเวลาเรียน ห้องเรียนให้กับนักเรียน การสร้างความรู้ให้กับนักเรียนที่ทุกคำถามต้องมีคำตอบมากกว่าหนึ่ง รวมถึงการสร้าง Web Based Platform ให้กับครูเพื่อใช้เป็นแนวทางในการสอน ซึ่งเว็บนี้ไม่ใช่ทางเลือก แต่คือการบังคับใช้ เพื่อเป็นประกันคุณภาพการศึกษาที่มีวิธีการเหมือนกัน ตลอดจนการลดการเรียนการสอนลง

สำหรับประเทศสิงคโปร์ "พรพิไล" บอกว่าการปฏิรูปการศึกษาของสิงคโปร์มีเป้าหมายที่ชัดเจนคือการพัฒนาประเทศจากโลกที่ 3 สู่ประเทศโลกที่ 1 โดยจุดเริ่มต้นสำคัญเริ่มภายหลังจากรับเอกราชจากมาเลเซีย และด้วยสภาพพื้นที่ของประเทศที่มีขนาดเล็ก มีประชากรและทรัพยากรน้อย ขณะเดียวกันคนอังกฤษที่อยู่ในประเทศเป็นผู้ที่มีความรู้ ได้รับการศึกษาจากตะวันตก

สิงคโปร์จึงเริ่มพัฒนาสถาบันฝึกหัดครู โดยนำนักเรียนที่เก่ง จำนวน 30% เข้ามาเรียนในสถาบันนี้ ซึ่งถือเป็นการปฏิรูปการศึกษาที่นำเอาคนเก่งมาเป็นครูเพื่อพัฒนาบุคลากรต่อไป ที่สำคัญสถาบันฝึกหัดครูมีเพียงแห่งเดียวเท่านั้น นอกจากนี้ ยังมีการตั้งองค์กรผลิตตำราเรียนทั้งคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และภาษาอังกฤษ โดยเปิดรับเอาแนวคิดจากทั่วโลก

ต่อมาในปี 1997 ถือเป็นศักราชใหม่ของการศึกษาสู่ศตวรรษที่ 21 ของสิงคโปร์ โดยนอกจากการอ่านออกเขียนได้ ต้องมีทักษะ และกระบวนการคิดที่มากขึ้น โดยมีนโยบายที่ให้ครูสอนน้อยลง หาวิธีการให้นักเรียนได้เรียนรู้มากขึ้น โดยเริ่มต้นจากนำครูไปเข้าฝึกอบรมจำนวน 100 ชั่วโมงเพื่อให้รู้ถึงวิธีการหรือแนวทางการสอนให้นักเรียนคิดเป็น รวมถึงการปรับหลักสูตรสถาบันฝึกหัดครูที่เน้นกระบวนการคิดมากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังสร้างโรงเรียนคลัสเตอร์เพื่อช่วยกันพัฒนา ซึ่งวิธีการนี้เป็นการสร้างโลกอนาคต Next Generation สร้างสิ่งแวดล้อมใหม่ของการเรียนรู้

จนในปี 1999 มีการทุ่มงบประมาณกว่า 3 พันล้านเหรียญดอลลาร์สิงคโปร์ ในการปรับปรุงโครงสร้างของโรงเรียนทั้งหมด ปรับสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการเรียนรู้แบบสมัยใหม่ อีกทั้งให้งบประมาณแต่ละโรงเรียนเพื่อสร้างพื้นที่การเรียนรู้นอกห้องเรียน

และสำหรับประเทศฟินแลนด์ซึ่งถือเป็นประเทศที่มีคุณภาพทางด้านการเรียนสูงมากซึ่ง "พรพิไล" บอกว่าจุดเริ่มต้นของการปฏิรูปการศึกษามาจากการที่ประเทศมีภาวะยากจน เกิดภาวะภัยคุกคามจากประเทศขนาดใหญ่ ทำให้ต้องหาวิธีการที่จะอยู่รอดจากการคุกคาม จึงทำให้ฟินแลนด์ต้องวางรากฐานทางด้านศึกษา โดยได้มีการจัดทำหลักสูตรทางด้านศึกษาขึ้น ซึ่งมีเนื้อหากว่า 700 หน้า โดยใช้สอนนักเรียนใน 3 ระดับที่แตกต่างกัน

ซึ่งสิ่งที่ฟินแลนด์ทำนั้นเป็นการสร้างเครื่องมือการเรียนรู้ให้กับทุกโรงเรียนพร้อมกันนี้ยังสร้างครูคุณภาพสูงโดยนำเอานักเรียนที่เก่งจำนวน 15% มาเป็นครู อีกทั้งยังให้สวัสดิการในการเรียนฟรี ทั้งอุปกรณ์การเรียน เครื่องไม้เครื่องมือต่าง ๆ รวมถึงไปอาหาร ซึ่งมีความสำคัญต่อพัฒนาการทางด้านสมองของเด็ก อีกทั้งทุกโรงเรียนจะมีผู้เชี่ยวชาญพิเศษด้านเด็ก

นอกจากนี้โรงเรียนยังได้มีการปรับปรุงและพัฒนาให้มีความสวยงาม มีโครงสร้างพื้นฐานที่มีบรรยากาศของการกระตุ้นการเรียนรู้ให้แก่เด็กนักเรียน ซึ่งถือว่าเป็นการปฏิรูปสิ่งแวดล้อมและ Human Being ทั้งหมดให้กับโรงเรียนทั้งประเทศ

และในยุคต่อมาที่ถือเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้การศึกษาฟินแลนด์เป็นที่รู้จักไปทั่วโลกโดยการผลิตครูให้เน้นเรื่องของการคิด(Thinking Curriculum) ที่ทำให้มีครูคุณภาพสูง สามารถสร้างนวัตกรรมและหลักสูตรของตัวเอง นอกจากนี้ยังสร้างโรงเรียนตัวอย่าง มีโรงเรียนสาธิตให้ครูได้ทดลองฝึกงาน และที่สำคัญกระตุ้นให้ครูเป็นผู้นำทางด้านการศึกษา อีกทั้งยังกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น ให้สามารถจัดการและออกแบบศึกษาได้เอง และในตารางการเรียนการสอนจะมีชั่วโมงพักเบรกระหว่างการสอนในวิชาต่อไป

จะเห็นได้ว่าทั้ง 3 ประเทศได้ปฏิรูปใน 2 เฟส โดยในช่วงแรกจะเป็นการวางรากฐานให้เด็กอ่านออกเขียนได้ ผลิตครูที่เก่ง สร้างสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ผลิตตำราและเครื่องมือที่ใช้ในการเรียนการสอนที่ดี ส่วนในช่วงต่อมาจะเป็นช่วงเวลาที่จะขับเคลื่อนสู่ความเป็นเลิศ โดยการปฏิรูปหลักสูตรที่เน้นการคิด สร้างการเรียนรู้อย่างอิสระ ผลิตครูที่เน้นการคิด รู้วิธีการสอนใหม่ ๆ ซึ่งส่งผลให้ครูออกแบบการสอน หลักสูตรได้เอง และที่สำคัญมีการปรับปรุงโรงเรียนอย่างต่อเนื่องให้สอดคล้องกับการเรียนรู้สมัยใหม่ และให้ความสำคัญกับผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาที่เกิดขึ้นในทุกระดับ

เมื่อมองการปฏิรูปการศึกษาของต่างประเทศ และย้อนกลับมามองการปฏิรูปการศึกษาไทย "พรพิไล" บอกว่าสิ่งที่ภาครัฐควรเร่งดำเนินการคือการปฏิรูปโรงเรียน โดยต้องมีการแบ่งโรงเรียนเป็นโซนตามลักษณะของปัญหาความรุนแรง บริบทพื้นที่ รวมถึงการประกาศนโยบายที่มีความชัดเจนสำหรับแต่ละเขต เพื่อเป็นโมเดลที่เหมาะสมกับแต่ละพื้นที่

"สำหรับโมเดลประกอบด้วย Foundation Model ซึ่งจะเป็นการอัพเกรดโครงสร้างพื้นฐานของโรงเรียน เปลี่ยนสนาม ห้องเรียน หนังสือเรียน สื่อการสอน จัดหาครูให้ครบถ้วน เพื่อขับเคลื่อนให้นักเรียนอ่านออกเขียนได้ โดยมีการกำหนด Blueprint และ Timeline ให้เลย ตัวอย่างเช่น พลิกโฉมให้เสร็จใน 2 ปี ถ้าไม่เสร็จจะต้องมีมาตรการต่อไป"

ในระดับถัดไปคือ Step up Model คือ การยกระดับการสอนไปสู่ขั้นที่เป็นทักษะการคิด สำหรับโรงเรียนที่พร้อมแล้ว และให้ทุนรวมถึงแนวคิดในการปรับโครงสร้างโรงเรียนให้ยืดหยุ่น ตลอดจนสนับสนุนและส่งเสริมครูให้สร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ ๆ เลือกวิธีการสอนที่หลากหลาย และกระตุ้นให้นักเรียนคิด

อีกประเด็นเรื่องของการปฏิรูปหนังสือเรียนถือว่ามีความสำคัญ โดยต้องให้องค์กรที่มีอำนาจเต็มในการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงหนังสือเรียนของไทย ซึ่งอาจจะต้องศึกษาจากหนังสือเรียนในประเทศที่ก้าวหน้ากว่า และกลับมาพัฒนาแบบเรียนไทยว่าควรมีลักษณะอย่างไร รวมถึงการประกาศข้อกำหนดเหล่านี้ให้กับสำนักพิมพ์และโรงเรียนได้ทราบ เพื่อให้แน่ใจว่าเด็กนักเรียนจะได้ใช้หนังสือเรียนที่มีคุณภาพ

"อีกประเด็นหนึ่งที่ควรเร่งดำเนินการคือการปฏิรูประบบฝึกหักครูโดยที่การฝึกหัดครูจะต้องสะท้อนถึงนโยบายของรัฐซึ่งหากต้องการครูให้สอนคิด ให้ครูได้ออกแบบการสอนเองได้ จำเป็นที่จะต้องบรรจุเป้าหมายเหล่านี้เข้าไปในระบบฝึกหัดครู รวมถึงการศึกษาความสำเร็จจากสถาบันฝึกหัดครูในประเทศที่ก้าวหน้าว่ามีกระบวนการและปัจจัยอะไรบ้าง ตลอดจนสร้างให้เกิด Next Gen Teachers" Movement ในหมู่ครูรุ่นใหม่ โดยให้รู้ถึงปัญหาของการศึกษา และเข้าใจว่าบทบาทของตนเองคืออะไร"

ตรงนี้ถือเป็นการมองปฏิรูปการศึกษาในต่างประเทศ ที่สะท้อนถึงการปฏิรูปการศึกษาไทยอย่างชัดเจน

 

ที่มา ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 25 มีนาคม 2559

หน้าหนาวแล้ว คุณครูสนใจไหม DoDo เก้าอี้แคมป์ปิ้ง รับน้ำหนักได้เยอะ พร้อมกระเป๋าจัดเก็บ โครงอลูมิเนียมรับน้ำหนักได้200KG ในราคา ฿189 - ฿509 ที่ Shopee

https://s.shopee.co.th/9pNuttuIUm?share_channel_code=6


ส่องการเรียน "ต่างประเทศ" ย้อนมองปฏิรูปการศึกษาไทยส่องการเรียนต่างประเทศย้อนมองปฏิรูปการศึกษาไทย

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

:: เรื่องปักหมุด ::

การกำหนดตำแหน่งและอัตราเงินเดือนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในสถานศึกษา ที่ว่างจากผลการเกษียณอายุราชการ เมื่อสิ้นปีงบประมาณ พ.ศ. 2567

การกำหนดตำแหน่งและอัตราเงินเดือนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในสถานศึกษา ที่ว่างจากผลการเกษียณอายุราชการ เมื่อสิ้นปีงบประมาณ พ.ศ. 2567

เปิดอ่าน 2,157 ☕ 11 ธ.ค. 2567

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
ชื่อเต็ม ชื่อย่อ ของหน่วยงานและผู้บริหารระดับสูง ในสังกัด สพฐ.
ชื่อเต็ม ชื่อย่อ ของหน่วยงานและผู้บริหารระดับสูง ในสังกัด สพฐ.
เปิดอ่าน 427 ☕ 19 ธ.ค. 2567

ประกาศรายชื่อผู้ได้รับรางวัล "ครูดีในดวงใจ" ครั้งที่ 22 ประจำปี พ.ศ. 2568
ประกาศรายชื่อผู้ได้รับรางวัล "ครูดีในดวงใจ" ครั้งที่ 22 ประจำปี พ.ศ. 2568
เปิดอ่าน 1,265 ☕ 19 ธ.ค. 2567

ศธ. เปิดตัวระบบTRS ย้ายครูออนไลน์ทุกกรณี แก้ปัญหาทุจริตโยกย้ายไม่เป็นธรรม
ศธ. เปิดตัวระบบTRS ย้ายครูออนไลน์ทุกกรณี แก้ปัญหาทุจริตโยกย้ายไม่เป็นธรรม
เปิดอ่าน 582 ☕ 17 ธ.ค. 2567

การจัดทำข้อตกลงในการพัฒนางาน (PA) ตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา สังกัด สพฐ. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568
การจัดทำข้อตกลงในการพัฒนางาน (PA) ตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา สังกัด สพฐ. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568
เปิดอ่าน 410 ☕ 17 ธ.ค. 2567

อักษร เอ็ดดูเคชั่น ลงทุนกว่า 200 ล้าน ยกระดับการเรียนการสอนในห้องเรียนไทย
อักษร เอ็ดดูเคชั่น ลงทุนกว่า 200 ล้าน ยกระดับการเรียนการสอนในห้องเรียนไทย
เปิดอ่าน 400 ☕ 17 ธ.ค. 2567

สกสค.ปลื้ม ปี 67 องค์ค้าการฯมีกำไร จ่ายหนี้เงินยืมได้ 55 ล้าน ตั้งเป้าปี 68 ปรับโฉมร้านค้าใหม่และสื่อการสอน พร้อมเปิดตัวคาเฟ่บอร์ดเกมส์แหล่งเรียนรู้สำหรับเด็กและเยาวชน
สกสค.ปลื้ม ปี 67 องค์ค้าการฯมีกำไร จ่ายหนี้เงินยืมได้ 55 ล้าน ตั้งเป้าปี 68 ปรับโฉมร้านค้าใหม่และสื่อการสอน พร้อมเปิดตัวคาเฟ่บอร์ดเกมส์แหล่งเรียนรู้สำหรับเด็กและเยาวชน
เปิดอ่าน 422 ☕ 17 ธ.ค. 2567

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

มารู้จัก Flower Ball กันเถอะ
มารู้จัก Flower Ball กันเถอะ
เปิดอ่าน 25,738 ครั้ง

เทคนิคพิเศษในการระบายสี
เทคนิคพิเศษในการระบายสี
เปิดอ่าน 84,648 ครั้ง

คำศัพท์ที่มีการใช้มากที่สุดในภาษาอังกฤษ 500 อันดับแรก
คำศัพท์ที่มีการใช้มากที่สุดในภาษาอังกฤษ 500 อันดับแรก
เปิดอ่าน 381,202 ครั้ง

Minions Banana Song ที่กำลังฮิตกันทั่วโลก
Minions Banana Song ที่กำลังฮิตกันทั่วโลก
เปิดอ่าน 26,190 ครั้ง

การลำดับรุ่นเครื่องคอมพิวเตอร์
การลำดับรุ่นเครื่องคอมพิวเตอร์
เปิดอ่าน 17,222 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ