ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมข่าวการศึกษา  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

สรุปการแถลงข่าวการขับเคลื่อนปฏิรูปการศึกษาและการบริหารราชการ ของกระทรวงศึกษาธิการในภูมิภาค


ข่าวการศึกษา 23 มี.ค. 2559 เวลา 09:50 น. เปิดอ่าน : 13,236 ครั้ง
Advertisement


Advertisement

สรุปการแถลงข่าวการขับเคลื่อนปฏิรูปการศึกษาและการบริหารราชการ ของกระทรวงศึกษาธิการในภูมิภาค

เมื่อวันอังคารที่ 22 มีนาคม 2559 พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ พร้อมด้วย พ.อ.ณัฐพงษ์ เพราแก้ว เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ, รศ.นพ.กำจร ตติยกวี ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ, นายการุณ สกุลประดิษฐ์ เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, นายพินิจศักดิ์ สุวรรณรังค์ เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา, นายอดินันท์ ปากบารา เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน, นายอกนิษฐ์ คลังแสง รองเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ร่วมแถลงข่าวการขับเคลื่อนปฏิรูปการศึกษาและการบริหารราชการของกระทรวงศึกษาธิการในภูมิภาค ตามคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)


รมว.ศึกษาธิการ กล่าวว่า เหตุผลของการใช้มาตรา 44 ในการออกคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 10/2559 เรื่อง การขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการในภูมิภาค และคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 11/2559 เรื่อง การบริหารราชการของกระทรวงศึกษาธิการในภูมิภาค เพื่อแสดงให้เห็นว่าการปฏิรูปการศึกษาและการบริหารราชการในส่วนภูมิภาคนั้นมีความจำเป็นเร่งด่วน และส่งผลต่อการขับเคลื่อนการศึกษา ซึ่งโครงสร้างเดิมที่ดำเนินการอยู่ก็สามารถดำเนินการได้แต่ไม่ทันเวลา


1. เหตุผลความจำเป็น


กระทรวงศึกษาธิการมีเหตุผลและความจำเป็น 4 ประการ ที่ทำให้หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ใช้มาตรา 44 ในกรณีนี้ คือ


1.1 การบูรณาการงานระดับพื้นที่

รมว.ศึกษาธิการ กล่าวว่า โครงสร้างการบริหารจัดการแบบเดิมของกระทรวงศึกษาธิการในส่วนภูมิภาคนั้น จะพบว่ามีปัญหาเรื่องการบูรณาการในการดำเนินงานของระดับพื้นที่ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นโรงเรียนในระดับต่าง ๆ หรือแม้กระทั่งโรงเรียนในระดับเดียวกัน ภายในจังหวัดเดียวกันก็ยังไม่เชื่อมโยง อีกทั้งโรงเรียนในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.), โรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร (กทม.) และโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน (ตชด.) จะหลุดวงโคจรจากการบริหารจัดการโดยสิ้นเชิง เนื่องจากต่างคนต่างบริหารจัดการ แม้ว่าทุกหน่วยงานจะได้รับแนวทางและนโยบายจากกระทรวงศึกษาธิการไปดำเนินการ แต่เมื่อถึงเวลาดำเนินการจริงจะไม่มีความเชื่อมโยงซึ่งกันและกัน ตัวอย่างเช่น ในเขตพื้นที่การศึกษาของจังหวัดหนึ่ง อาจจะมีเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาและเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาจำนวนมาก ซึ่งแต่ละเขตก็จะไม่ได้หารือกัน ทำให้ยากต่อการบูรณาการระดับพื้นที่


ในส่วนของโครงสร้างการบริหารจัดการกระทรวงศึกษาธิการในส่วนภูมิภาคแบบใหม่ตามคำสั่ง คสช. นั้น จะมีคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการในภูมิภาค โดยมี รมว.ศึกษาธิการ เป็นประธานและมีผู้บริหารองค์กรหลักเป็นกรรมการ ซึ่งจะทำหน้าที่ขับเคลื่อนการศึกษาในส่วนภูมิภาค ด้วยการบริหารจัดการตรงไปที่สำนักงานศึกษาธิการภาค (ศธภ.) ที่ 1-18 กล่าวคือ จะทำการแต่งตั้งศึกษาธิการภาคขึ้นมา 18 คน และจะมีสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด (ศธจ.) ซึ่งประกอบด้วยคณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัด (กศจ.) โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน รวมทั้งสิ้น 77 จังหวัด เพื่อดูแลการศึกษาทุกระบบ ไม่ว่าจะเป็นสถานศึกษาปฐมวัย, สถานศึกษา กศน., สถานศึกษาอาชีวศึกษา, สถานศึกษาการศึกษาพิเศษ, สถานศึกษาเอกชน เป็นต้น รวมทั้งโรงเรียนในสังกัด อปท., กทม., ตชด. ด้วย ทำให้ขับเคลื่อนนโยบายในการบริหารงานให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันได้อย่างเป็นเอกภาพ ในขณะที่โครงสร้างแบบเดิมดำเนินการในส่วนนี้ได้ยาก


1.2 ช่วงการบังคับบัญชากว้าง

อีกเหตุผลหนึ่งที่ทำให้เกิดปรับโครงสร้าง คือ การที่มีช่วงการบังคับบัญชากว้าง กล่าวคือ เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานต้องกำกับดูแลผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษาทั้งหมด 225 คน เทียบอัตราส่วน 1 ต่อ 225 ส่วนเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษาก็มีภาระหนักขึ้น เนื่องจากมีสถานศึกษาอาชีวศึกษาของรัฐและเอกชนรวมกันถึง 886 แห่ง ซึ่งโครงสร้างใหม่จะทำให้สัดส่วนในการกำกับดูแลน้อยลง ด้วยการที่ รมว.ศึกษาธิการ กำกับดูแลสำนักงานศึกษาธิการภาค 18 แห่ง จากนั้นสำนักงานศึกษาธิการภาค 18 แห่ง จะกำกับดูแลสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด 77 จังหวัด ต่างจากแบบเดิมที่คุมคนเยอะ ทำให้ดูแลกันไม่ทั่วถึง

 


1.3 เพิ่มความเป็นเอกภาพในการบริหารจัดการศึกษา

นอกจากนี้ การดำเนินงานตามโครงสร้างแบบเดิมพบว่า ทั้ง สพฐ.และ สำนักงาน ก.ค.ศ. ต่างคนต่างดำเนินการไม่บูรณาการซึ่งกันและกัน โดย สพฐ. ทำหน้าที่ดูแลศึกษานิเทศก์ และคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา (กพท.) ส่วน สำนักงาน ก.ค.ศ.จะกำกับดูแล อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่ ที่มีอำนาจดูแลเรื่องการบริหารงานบุคคล โครงสร้างแบบใหม่จะยุบ กพท. และ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่ แต่ สพฐ. จะยังคงทำหน้าที่ประเมินผลและนิเทศเช่นเดิม ตลอดจนเรื่องการจัดสรรงบประมาณและงานบริหารทั่วไป ส่วนการบริหารงานวิชาการจะเข้าบอร์ดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด ซึ่งจะเป็นหน่วยงานที่ดูในภาพรวม ดังนั้น ทั้ง 2 ส่วนงานที่ถูกยุบไปไม่ได้หายไปไหน แต่ย้ายไปอยู่บอร์ดใหญ่ของผู้ว่าราชการจังหวัด


1.4 ความคล่องตัวในการบริหารงานบุคคล

ที่ผ่านมากระทรวงศึกษาธิการพบปัญหาเรื่องความคล่องตัวในการบริหารงานบุคคล 4 ประการ ได้แก่ การเกลี่ยครูหรือเปลี่ยนครูข้ามเขต, การบรรจุครูใหม่ในแต่ละเขต, การคัดเลือกผู้อำนวยการโรงเรียน และการดำเนินการทางวินัย ปัญหาดังกล่าวที่ดำเนินการโดยโครงสร้างเดิมนั้นไม่ทันต่อเวลา

 

จึงได้ปรับโครงสร้างใหม่ที่จะทำในรูปแบบของจังหวัด ซึ่งจะพิจารณาได้ในขอบข่ายที่กว้างขึ้น เช่น การเปลี่ยนครูในโรงเรียนที่ขาดก็จะทำได้ดีขึ้น การบรรจุครูใหม่ก็เช่นเดียวกัน ส่วนผู้อำนวยการโรงเรียนก็มีตัวเลือกที่จะสามารถหมุนเวียนได้มากกว่าเดิม ทำให้เกิดความคล่องตัวในการบริหารงานมากขึ้น

 

 

 

 

 

 


2. การใช้อำนาจของ รมว.ศึกษาธิการในการแต่งตั้งคณะกรรมการ


การแต่งตั้งคณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัด (กศจ.) โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการในภูมิภาค

 

รมว.ศึกษาธิการ กล่าวว่า การคัดเลือกผู้แทนภาคประชาชนในท้องถิ่น จำนวน 2 คน, การคัดเลือกผู้แทนข้าราชการครูในท้องถิ่น จำนวน 2 คน และการคัดเลือกผู้ทรงคุณวุฒิ ไม่เกิน 3 คน เพื่อเป็นกรรมการนั้น ในทางปฏิบัติจะให้ผู้ว่าราชการจังหวัดในฐานะประธาน กศจ. เป็นผู้เสนอชื่อเข้ามา เนื่องจากผู้ว่าราชการจังหวัดจะรู้จักพื้นที่ดีกว่า รมว.ศึกษาธิการ

ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ได้กล่าวเพิ่มเติมถึงการแต่งตั้งศึกษาธิการภาคและรองศึกษาธิการภาค ว่าเพื่อทำให้เกิดการดำเนินการที่มีความคล่องตัว เนื่องจากศึกษาธิการภาคจะเป็นผู้กำกับดูแลศึกษาธิการจังหวัด ด้วยการเข้าไปติดตามว่าศึกษาธิการจังหวัดได้ดำเนินการไปตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการมากน้อยเพียงใด โดยศึกษาธิการภาคจะใช้ผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงศึกษาธิการ คือ ผู้ตรวจราชการ และจะมีการมอบหมายผู้บริหารระดับต้นบางท่านไปทำหน้าที่ศึกษาธิการภาคไปพลาง ๆ ก่อน เพราะมีผู้ตรวจราชการไม่ครบ 18 คน หลังจากนี้ ศึกษาธิการภาคจะเข้าไปเป็นรองประธาน กศจ.ของแต่ละจังหวัด สูงสุดได้ไม่เกิน 5 จังหวัด อีกทั้งจะทำหน้าที่ประสานงานกับจังหวัด เพื่อให้เกิดการประสานงานแบบบูรณาการได้มากขึ้น ทั้งนี้ ศึกษาธิการจังหวัดจะทำหน้าที่เป็นฝ่ายเลขานุการของ กศจ. พร้อมทั้งรายงานต่อ รมว.ศึกษาธิการ โดยตรง

สำหรับศึกษาธิการภาคเดิม จะปรับเป็นศึกษาธิการภาคใหม่ ส่วนภาคที่ยังไม่มีสำนักงานศึกษาธิการภาค ก็จะใช้สำนักงานของสำนักงานเขตพื้นที่มัธยมศึกษา (สพม.) ในจังหวัดนั้น ๆ เป็นสำนักงานศึกษาธิการภาค ในทางกลับกันทั้งสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาทั้ง 225 เขตพื้นที่ ก็ยังคงทำหน้าที่เช่นเดิม ไม่ได้ยุบเขตพื้นที่ ยังอยู่ครบทั้งหมด โดยกระทรวงศึกษาธิการไม่ได้ไปดำเนินการใด ๆ ที่เป็นการกระทบต่อสิทธิ์ของข้าราชการ

รมว.ศึกษาธิการ กล่าวถึงการยุบ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษาด้วยว่า ได้โอนอำนาจไปให้ กศจ.แล้ว แต่สำนักงาน ก.ค.ศ. ยังคงอยู่ ส่วนการพิจารณาในเรื่องอื่น ๆ เช่น การสอบครูผู้ช่วย ต้องรอให้แต่งตั้ง กศจ. ขึ้นมาก่อนจึงจะดำเนินการต่อไปได้ และในระหว่างที่ไม่มีศึกษาธิการจังหวัด ได้มอบหมายให้ผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเขต 1 ทำหน้าที่ดังกล่าว โดย สพป.เขต 1 จะสวมหมวก 3 ใบ คือ หน้าที่เดิม, เป็นศึกษาธิการจังหวัด และเป็นเลขา กศจ.

เลขาธิการ ก.ค.ศ. กล่าวว่า สำนักงาน ก.ค.ศ. ยังคงปฏิบัติหน้าที่อยู่ ส่วนในเรื่องของความเชื่อมโยงเรื่องการบริหารงานบุคคลและการดำเนินงานทางวินัยนั้น หาก กศจ. ดำเนินการเรียบร้อยแล้ว สามารถส่งตรงมายังสำนักงาน ก.ค.ศ. ได้เลย สำหรับเรื่องการจัดสรรงบประมาณจะกันงบประมาณไว้สำหรับจังหวัดนั้น ๆ และจะดูสัดส่วนอีกครั้งหนึ่ง

 


3. การใช้อำนาจของคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษา ของกระทรวงศึกษาธิการในภูมิภาค

รมว.ศึกษาธิการ กล่าวว่า ในทางปฏิบัติจะใช้อำนาจเหล่านี้เมื่อจำเป็น และจะใช้เมื่อมีปัญหาเร่งด่วน อาทิเช่น กรณีการสอบสวนเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่ใช้เวลาดำเนินการสอบประมาณ 2-3 ปี แต่ก็ยังดำเนินการไม่แล้วเสร็จก็ต้องใช้อำนาจที่มีดำเนินการ มิเช่นนั้นการกระทำดังกล่าวจะเป็นตัวอย่างที่ส่งผลให้เกิดการกระทำผิดอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม เป็นที่แน่นอนว่าการใช้อำนาจใด ๆ ต้องผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการฯ ก่อน ไม่ใช่ว่ารัฐมนตรีจะมาแต่งตั้งหรือโยกย้ายใครก็ได้

 


4. แผนการดำเนินงาน

กระทรวงศึกษาธิการมีแผนการดำเนินงานขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการในภูมิภาค และบริหารราชการของกระทรวงศึกษาธิการในภูมิภาค ดังนี้

 

4.1 ดำเนินการประชุมชี้แจงผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษาทั่วประเทศ ภายหลังแถลงข่าวครั้งนี้ โดยเฉพาะ ผอ.สพป.เขต 1 ที่จะทำหน้าที่ศึกษาธิการจังหวัด

4.2 ประสานงานและซักซ้อมความเข้าใจกับผู้ว่าราชการจังหวัด ถึงบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัด (กศจ.) และการทำงานร่วมกับสำนักงาน กคศ. ผ่านช่องทาง VTC ของกระทรวงมหาดไทย ซึ่งจะเชิญกรรมการโดยตำแหน่งเข้าร่วมรับฟังพร้อมกัน

4.3 จัดทำเอกสารมอบให้ผู้เกี่ยวข้องในการปฏิบัติงานตามคำสั่งนี้

4.4 ขับเคลื่อนนโยบายปฏิรูปการศึกษาที่สำคัญ โดยกำหนดเป็น KPIs ประเมินผลงานของศึกษาธิการภาค, ศึกษาธิการจังหวัด, ผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษา และผู้อำนวยการสถานศึกษา ส่วนในระดับจังหวัดก็จะมี KPIs ซึ่งจะมีแนวทางการดำเนินงานให้ เพราะแต่ละพื้นที่มีความแตกต่างกันเพื่อให้เกิดความยืดหยุ่น


5. ขับเคลื่อนภารกิจเร่งด่วนตามประเด็นปฏิรูปการศึกษา

กระทรวงศึกษาธิการ มีภารกิจเร่งด่วนในการปฏิรูปการศึกษา อาทิ ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้, คืนครูสู่ห้องเรียน, การผลิตและพัฒนาครู, การจัดการเรียนการสอน STEM ในสถานศึกษา, ยกระดับความรู้ภาษาอังกฤษ, การอ่านออกเขียนได้ของนักเรียน, ทวิภาคีหรือทวิศึกษา,อาชีวศึกษาเป็นเลิศ, มหาวิทยาลัยอุดมศึกษาพี่เลี้ยง, โครงการประชารัฐ และการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารในสถานศึกษา โดยการเข้าสู่ตำแหน่งของผู้อำนวยการสถานศึกษา


ทั้งหมดนี้เป็นสิ่งที่ต้องเร่งทำ และเชื่อว่าการปรับโครงสร้างครั้งนี้จะช่วยให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพ และมีความรวดเร็วมากขึ้น 

 

ที่มา ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ วันที่ 22 มีนาคม 2559

ดาวน์โหลดที่นี่! ไฟล์ประกอบการแถลงข่าวของ รมว.ศธ. (การบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการในภูมิภาค)
 


สรุปการแถลงข่าวการขับเคลื่อนปฏิรูปการศึกษาและการบริหารราชการ ของกระทรวงศึกษาธิการในภูมิภาคสรุปการแถลงข่าวการขับเคลื่อนปฏิรูปการศึกษาและการบริหารราชการของกระทรวงศึกษาธิการในภูมิภาค

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

:: เรื่องปักหมุด ::

ผลการประชุมคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ครั้งที่ 11/2567 เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2567

ผลการประชุมคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ครั้งที่ 11/2567 เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2567

เปิดอ่าน 14,292 ☕ 31 ต.ค. 2567

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
สมศ.ขานรับนโยบาย "บิ๊กอุ้ม"  ภายใน 5 ปี ประเมินสถานศึกษาครบกว่า 5.8 หมื่นแห่ง
สมศ.ขานรับนโยบาย "บิ๊กอุ้ม" ภายใน 5 ปี ประเมินสถานศึกษาครบกว่า 5.8 หมื่นแห่ง
เปิดอ่าน 183 ☕ 19 พ.ย. 2567

คุรุสภาเปิดรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับ (ร่าง) ข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพครูปฐมวัย พ.ศ. ... และ (ร่าง) ข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพครูการศึกษาพิเศษ พ.ศ. ... ระหว่างวันที่ 15 - 30 พฤศจิกายน 2567
คุรุสภาเปิดรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับ (ร่าง) ข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพครูปฐมวัย พ.ศ. ... และ (ร่าง) ข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพครูการศึกษาพิเศษ พ.ศ. ... ระหว่างวันที่ 15 - 30 พฤศจิกายน 2567
เปิดอ่าน 521 ☕ 15 พ.ย. 2567

"สุเทพ" แนะศึกษาธิการจังหวัดสร้างศรัทธาในการทำงานพร้อมร่วมมือพันธมิตรในพื้นที่ขับเคลื่อนปฏิรูปการศึกษา
"สุเทพ" แนะศึกษาธิการจังหวัดสร้างศรัทธาในการทำงานพร้อมร่วมมือพันธมิตรในพื้นที่ขับเคลื่อนปฏิรูปการศึกษา
เปิดอ่าน 581 ☕ 15 พ.ย. 2567

ปฏิทินการบริหารงานบุคคล สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปี พ.ศ. 2568
ปฏิทินการบริหารงานบุคคล สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปี พ.ศ. 2568
เปิดอ่าน 2,989 ☕ 13 พ.ย. 2567

ประกาศรายชื่อโรงเรียนที่ได้รับคัดเลือกระดับชาติเพื่อเป็นโรงเรียนต้นแบบการจัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (DLTV) ประจำปี 2567
ประกาศรายชื่อโรงเรียนที่ได้รับคัดเลือกระดับชาติเพื่อเป็นโรงเรียนต้นแบบการจัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (DLTV) ประจำปี 2567
เปิดอ่าน 1,927 ☕ 13 พ.ย. 2567

สพฐ.แจ้งแนวทางการอนุญาตให้บุคลากรในสังกัดทำหน้าที่ผู้ประเมินคุณภาพภายนอก
สพฐ.แจ้งแนวทางการอนุญาตให้บุคลากรในสังกัดทำหน้าที่ผู้ประเมินคุณภาพภายนอก
เปิดอ่าน 794 ☕ 13 พ.ย. 2567

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

วันจักรี วันแห่งการระลึกถึงราชวงศ์จักรี 6 เมษายนของทุกปี
วันจักรี วันแห่งการระลึกถึงราชวงศ์จักรี 6 เมษายนของทุกปี
เปิดอ่าน 20,848 ครั้ง

ทางออกของวิกฤตการศึกษาไทยภายใต้การใช้อำนาจตาม ม.44 ของ คสช.
ทางออกของวิกฤตการศึกษาไทยภายใต้การใช้อำนาจตาม ม.44 ของ คสช.
เปิดอ่าน 15,763 ครั้ง

"หินถ่วงบวบ"ไอเดียปลูกบวม ได้ผลใหญ่ สวย และยาวมาก
"หินถ่วงบวบ"ไอเดียปลูกบวม ได้ผลใหญ่ สวย และยาวมาก
เปิดอ่าน 29,011 ครั้ง

ยอดวิวเยอะมาก รายการ "ดูให้รู้ ตอน คุณครูฮาร์ดคอร์"
ยอดวิวเยอะมาก รายการ "ดูให้รู้ ตอน คุณครูฮาร์ดคอร์"
เปิดอ่าน 16,278 ครั้ง

แรงบันดาลใจ ถ่ายรูปให้ลูกมุมเดิม 14 ปี ตั้งแต่เด็กจนโต ชมคลิป
แรงบันดาลใจ ถ่ายรูปให้ลูกมุมเดิม 14 ปี ตั้งแต่เด็กจนโต ชมคลิป
เปิดอ่าน 20,570 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ