เมื่อวันที่ 14 มีนาคม รศ.ดร.ประพันธ์ศิริ สุเสารัจ คณบดีคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัย ศรีนครินทร์วิโฒ (มศว) กล่าวว่า จากกรณีที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดให้ผู้ที่จบปริญญาตรีสายวิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี สามารถเข้าสอบแขง่ขันเพื่อบรรจุเข้ารับราชการครูและบุคลากรทงการศึกษา ตำแหน่งครูผู้ช่วยได้เช่นเดียวกับผู้ที่จบด้านศึกษาศาสตร์วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี ไม่ได้เก่งไปกว่าผู้ที่จบครูของมหาวิทยาลัยต่างๆ เช่น มศว จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย ม.ขอนแก่น
ซึ่งดูได้จากคะแนนการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อสถาบันอุดมศึกษาในระบบกลางการรับนิสิต นักศึกษา หรือแอดมิชชั่นส์ ในช่วง 2-3 ปี ที่ผ่านมา เด็กสายครูมีคะแนนแอดมิชชั่นส์สูงมากและมีเด็กวิศวกรรมศาสตร์และวิทยาศาตร์หลายคนที่คะแนนต่ำกว่าเด็กสายครู นอกจากนี้ตอนสอบเข้ามหาวิทยาลัยเด็กเหล่านี้ก็ไม่ได้สอบวัดความถนัดทางวิชาชีพครู หรือ แพต 5 เมื่อเป็นเช่นนี้ จะประกันคุณภาพได้อย่างไรว่าจะมาเป็นครูที่ดี
ทั้งนี้ นักศึกษาครูต้องเรียน 5 ปี และทุกคนจะรู้ว่าแนวทางการสอนสะเต็มศึกษา ซึ่งเป็นการบูรณาการความรู้ระหว่างศาสตร์วิชาต่างๆ ทั้งวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรม และคณิตศาสตร์ว่าเป็นอย่างไร นอกจากนี้นักศึกษาต้องเรียน 10 มาตรฐานวิชาชีพ ได้เรียนรู้วิธีการสอน การวัดประเมินผล การทำสื่อ จรรยาบรรณความเป็นครู รวมทั้งต้องฝึกสอนก่อนจบการศึกษาด้วย แต่เด็กวิศวะและวิทยาศาสตร์ ไม่ได้ฝึกสอนเลย จึงอยากให้ ศธ.ทบทวนเรื่องนี้
ด้าน ผศ.ดร.กิติเดช สันติชัยอนันต์ คณบดีคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) กล่าวว่า เปิดให้ผู้ที่จบสายวิศวกรรมศาสตร์ หรือวิทยาศาสตร์ มาเป็นครูได้จะช่วยเติมเต็มการสอนสะเต็มศึกษาได้ 10-20% ซึ่งยังเชื่อมั่นว่าครูด้านวิทยาศาสตร์ที่ผลิตกันอยู่ในเวลานี้ มีความสามารถพอที่จะสอนสะเต็มศึกษาได้ นอกจากนี้ยังเป็นห่วงว่าผู้ที่จบวิศวกรรมศาสตร์ หรือวิทยาศาสตร์หลักสูตรที่เด็กเหล่านี้เรียนมาเน้นการออกแบบ และการคำนวณขณะที่ครูช่างต้องเน้นปฏิบัติค่อนข้างมาก
ที่มา คมชัดลึก ฉบับวันที่ 16 มี.ค. 2559 (กรอบบ่าย)