ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมข่าวการศึกษา  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

กลับหัวลงทุนการศึกษาไทยเริ่มที่"เด็กปฐมวัย"


ข่าวการศึกษา 15 มี.ค. 2559 เวลา 10:14 น. เปิดอ่าน : 36,808 ครั้ง
Advertisement


Advertisement

กลับหัวลงทุนการศึกษาไทยเริ่มที่"เด็กปฐมวัย"

กลับหัวลงทุนการศึกษาไทยเริ่มที่‘เด็กปฐมวัย’ : ภมรศรี แดงชัย นักวิชาการสื่อสาร สสค. รายงาน

จุดเริ่มต้นของการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่สำคัญคือการให้น้ำหนักที่การดูแลเด็กตั้งแต่ปฐมวัย หรือตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 6 ขวบ ซึ่งเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันและถือเป็นการลงทุนด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างคุ้มค่าที่สุด

การจัดการศึกษาในระดับปฐมวัยที่มีคุณภาพจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการเรียนรู้และการพัฒนาทักษะอื่นๆ ในการดำรงชีวิตให้แก่เด็ก อย่างไรก็ตาม หากดูจากตัวเลขบัญชีรายจ่ายด้านการศึกษา ในปี 2556 จะพบว่าการลงทุนในเด็กปฐมวัยกลับอยู่ในลำดับรั้งท้าย โดยอันดับ 1 ประถมศึกษา 32.72% ตามด้วยอุดมศึกษา 21% มัธยมศึกษา 20.8% อนุบาล 10.94% อาชีวศึกษา 5.41% ขณะที่การศึกษาปฐมวัยหรือก่อนวัยเรียนอยู่ที่ 1.76%

คำถามที่เกิดขึ้นคือ หากภาครัฐจะกลับหัวการลงทุนโดยเริ่มต้นที่ “เด็กปฐมวัย” ทำอย่างไรถึงเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า ในการประชุมคณะอนุกรรมการพัฒนาคุณภาพเด็กปฐมวัย เมื่อวันที่ 7 มีนาคม ที่สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) มีการนำเสนอกรณีศึกษาการลงทุนที่คุ้มค่าของเด็กปฐมวัยผ่านศูนย์พัฒนาเด็กเล็กใน โครงการลดความเหลื่อมล้ำด้วยการศึกษาปฐมวัยที่มีคุณภาพ หรือ RIECE Thailand โดยการสนับสนุนของ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย (มกค.) ร่วมกับสำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.) และมหาวิทยาลัยมหาสารคาม (มมส.)

ผศ.ดร.วีระชาติ กิเลนทอง หัวหน้าโครงการ เล่าว่า เป้าหมายของโครงการต้องการสร้างทุนมนุษย์ที่มีประสิทธิภาพให้แก่เด็กและเยาวชนในท้องถิ่น ซึ่งพบว่าการลงทุนตั้งแต่เด็กปฐมวัยถือเป็นการลงทุนที่คุ้มค่าและมีประสิทธิภาพสูง ในการลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจสังคม จึงเริ่มสนับสนุนศูนย์พัฒนาเด็กเล็กจำนวน 49 ศูนย์ โดยการทำงานร่วมกับองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) จำนวน 29 แห่งใน จ.มหาสารคามและกาฬสินธุ์ ครอบคลุมเด็กปฐมวัย 2,000 คน โดยการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนในหลักสูตรไฮสโคป

เนื่องจากผลการวิจัยของ ดร.เจมส์ เฮ็กแมน นักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบล พบว่าเป็นรูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่ได้ผลตอบแทนคืนกลับสู่สังคมไม่ต่ำกว่า 7 เท่า และสาเหตุที่เลือกในพื้นที่จ.มหาสารคามและกาฬสินธุ์ เพราะมีทีมวิชาการที่เข้มแข็งจากคณะศึกษาศาสตร์ ม.มหาสารคาม และถือเป็นภาพจำลองของชนบทไทยได้อย่างดี

“จ.มหาสารคาม ไม่ใช่เมืองใหญ่อย่างกรุงเทพฯ และไม่ใช่จ.แม่ฮ่องสอน แต่เป็นภาพสะท้อนของความเป็นชนบทไทยที่ดี จากการเก็บข้อมูลพบว่าเด็กจำนวนมากถึง 42.17% ไม่ได้อาศัยอยู่กับพ่อแม่ หรือเรียกว่าภาวะพ่อแม่ห่างลูกซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศ โดยเฉลี่ยอยู่ที่ 30% ภาวะนี้จะส่งผลกระทบต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของเด็ก เนื่องจากขาดกิจกรรมทางวิชาการ กิจกรรมการเรียนรู้ผ่านการเล่น และการอ่าน โดยพบความแตกต่างของช่วงเวลาที่มีคุณภาพระหว่างเด็กที่อาศัยอยู่กับพ่อแม่กับเด็กที่ไม่ได้อาศัยอยู่กับพ่อแม่ การตั้งศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเพื่อทำหน้าที่สร้างช่วงเวลาที่มีคุณภาพอย่างน้อย 6 ชั่วโมงต่อวัน ในการส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ที่จะพัฒนาไปสู่ต้นทุนชีวิตและคุณภาพชีวิตในอนาคต”

สำหรับรูปแบบการสอนแบบไฮสโคป ดร.วีระชาติ ให้ข้อมูลว่า หัวใจของกระบวนการเรียนรู้แบบไฮสโคปเน้น 3 ขั้นตอนสำคัญ คือ 1.การวางแผน (Plan) เพื่อให้เด็กได้รู้จักกำหนดเป้าหมาย ทำงานอย่างเป็นระบบก่อนลงมือปฏิบัติ 2.การลงมือปฏิบัติ (Do) เป็นการฝึกให้เด็กรู้จักสำรวจ สร้างสรรค์จินตนาการ รู้จักเข้าสังคมและทำงานเป็นกลุ่ม และ 3.การนำเสนอ (Review) เพื่อทบทวนกิจกรรมที่ได้ลงมือปฏิบัติด้วยการนำเสนอหน้าชั้นเรียนซึ่งเป็นการฝึกการสื่อสารจากการเล่าประสบการณ์ เด็กจะกล้าแสดงออก รู้จักคิดตั้งคำถามและเป็นผู้ฟัง นอกจากนี้การจัดสภาพแวดล้อมในห้องเรียนที่เหมาะสมกับกระบวนการเรียนรู้ของเด็กวัย 2-4 ขวบ โดยมีโครงร่างหรือสัญลักษณ์รูปภาพสิ่งของที่วางไว้เพื่อให้เด็กสามารถนำกลับมาเก็บไว้ที่เดิม รวมถึงกิจกรรมกลุ่มใหญ่เพื่อเสริมประสบการณ์เพื่อให้เด็กรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของสังคม

“ผลจากการทำงาน 1 ปีที่ผ่านมาพบว่าเด็กรู้จักหน้าที่ของตนเอง มีระเบียบวินัย มีสมาธิและทักษะการสื่อสารที่ดีภายในเวลาเพียง 9 เดือน สิ่งสำคัญในการพัฒนาศูนย์เด็กเล็กที่มีคุณภาพคือการอบรมครูประจำศูนย์เด็กเล็กด้วยวิธีฝึกปฏิบัติจริง พร้อมกับการเป็นพี่เลี้ยงให้คำปรึกษาแก่ครู นอกจากนี้ยังมีการตามเก็บข้อมูลเด็กและครอบครัวอย่างต่อเนื่อง โดยโครงการคาดหวังอยากให้มีการเชื่อมต่อระบบการสอนเด็กที่เน้นการส่งเสริมทักษะทางพฤติกรรมไปยังโรงเรียนอนุบาลและการศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในสังกัด สพฐ. รวมถึงการขยายผลสู่พื้นที่อื่นๆ ต่อไป เพราะการลงทุนในเด็กปฐมวัยยิ่งลงทุนเร็วเท่าไหร่ยิ่งคุ้มค่าที่สุด และมีประสิทธิภาพสูงในการลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจสังคม หวังว่าการใช้งบประมาณของภาครัฐต่อหัวหลังจากนี้จะเป็นการลงทุนที่ให้ความสำคัญแก่เด็กปฐมวัยเป็นอันดับ 1”

ดร.ไกรยส ภัทราวาท ผู้เชี่ยวชาญด้านนโยบายเศรษฐศาสตร์การศึกษา สสค. ย้ำว่า การเรียนรู้ในช่วงเด็กปฐมวัยถือเป็นยุคทองของช่วงเวลาที่สมองเปิดรับได้ดีที่สุด โดยเฉพาะทักษะด้านพฤติกรรม (non-cognitive skills) เช่น ความรับผิดชอบ ความมีวินัย ความมุ่งมั่นตั้งใจ ความพยายาม ความอดทนอดกลั้น และความสามารถในการคิด ซึ่งทักษะเหล่านี้เป็นทักษะพื้นฐานที่จะต่อยอดไปสู่การพัฒนาทักษะการเรียนรู้ที่สูงขึ้น เช่น ทักษะการแก้ไขปัญหาที่ซับซ้อน การคิดวิเคราะห์ ความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งเป็นทักษะที่ตลาดแรงงานทั่วโลกต้องการในปี 2020 หากพ้นช่วงเวลาที่สำคัญนี้ไปจะเป็นการทำลายโอกาสการพัฒนาทักษะสำคัญในการเรียนรู้และการดำเนินชีวิตที่ประสบความสำเร็จ

รศ.นิตยา คชภักดี ประธานอนุกรรมการพัฒนาคุณภาพเด็กปฐมวัย สะท้อนว่า รูปแบบการพัฒนาศูนย์พัฒนาเด็กเล็กโดยใช้กระบวนการจัดการเรียนการสอนแบบไฮสโคปเป็นสิ่งที่ดี โดยเฉพาะผลที่พิสูจน์ได้ว่าเด็กมีพฤติกรรมสนใจใฝ่รู้และเด็กมีส่วนร่วมในการวางแผนการเรียนรู้ตั้งแต่เริ่มต้น ซึ่งเป็นการฝึกให้รู้จักวางแผนซึ่งเป็นทักษะที่คนไทยยังขาดอยู่ ทั้งนี้หากมีการเชื่อมโยงกับโปรแกรมเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย หรือ DSPM ของกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งเป็นระบบการเก็บข้อมูลพัฒนาการที่สมวัยของเด็กเล็กโดยโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทั่วประเทศ หากนำมาเป็นข้อมูลพื้นฐานให้โครงการในการเจาะลึกที่จ.มหาสารคามและกาฬสินธุ์ จะเป็นฐานข้อมูลสำคัญในการศึกษาถึงความเชื่อที่ผิดของพฤติกรรมการเลี้ยงดูของพ่อแม่และผู้ปกครองในชนบทไทย ซึ่งปัจจุบันเด็กเล็กมากกว่า 40% ไม่ได้ถูกเลี้ยงดูโดยพ่อแม่ เพื่อแก้ปัญหาได้ตรงจุดและยั่งยืนต่อไป

 

ที่มา คมชัดลึก วันที่ 14 มีนาคม 2559


กลับหัวลงทุนการศึกษาไทยเริ่มที่"เด็กปฐมวัย"

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

:: เรื่องปักหมุด ::

แนวทางการดำเนินการให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งผู้บริหารการศึกษา มีวิทยฐานะและเลื่อนวิทยฐานะ

แนวทางการดำเนินการให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งผู้บริหารการศึกษา มีวิทยฐานะและเลื่อนวิทยฐานะ

เปิดอ่าน 3,407 ☕ 17 ต.ค. 2567

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
สมศ.ขานรับนโยบาย "บิ๊กอุ้ม"  ภายใน 5 ปี ประเมินสถานศึกษาครบกว่า 5.8 หมื่นแห่ง
สมศ.ขานรับนโยบาย "บิ๊กอุ้ม" ภายใน 5 ปี ประเมินสถานศึกษาครบกว่า 5.8 หมื่นแห่ง
เปิดอ่าน 506 ☕ 19 พ.ย. 2567

คุรุสภาเปิดรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับ (ร่าง) ข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพครูปฐมวัย พ.ศ. ... และ (ร่าง) ข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพครูการศึกษาพิเศษ พ.ศ. ... ระหว่างวันที่ 15 - 30 พฤศจิกายน 2567
คุรุสภาเปิดรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับ (ร่าง) ข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพครูปฐมวัย พ.ศ. ... และ (ร่าง) ข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพครูการศึกษาพิเศษ พ.ศ. ... ระหว่างวันที่ 15 - 30 พฤศจิกายน 2567
เปิดอ่าน 678 ☕ 15 พ.ย. 2567

"สุเทพ" แนะศึกษาธิการจังหวัดสร้างศรัทธาในการทำงานพร้อมร่วมมือพันธมิตรในพื้นที่ขับเคลื่อนปฏิรูปการศึกษา
"สุเทพ" แนะศึกษาธิการจังหวัดสร้างศรัทธาในการทำงานพร้อมร่วมมือพันธมิตรในพื้นที่ขับเคลื่อนปฏิรูปการศึกษา
เปิดอ่าน 770 ☕ 15 พ.ย. 2567

ปฏิทินการบริหารงานบุคคล สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปี พ.ศ. 2568
ปฏิทินการบริหารงานบุคคล สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปี พ.ศ. 2568
เปิดอ่าน 3,373 ☕ 13 พ.ย. 2567

ประกาศรายชื่อโรงเรียนที่ได้รับคัดเลือกระดับชาติเพื่อเป็นโรงเรียนต้นแบบการจัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (DLTV) ประจำปี 2567
ประกาศรายชื่อโรงเรียนที่ได้รับคัดเลือกระดับชาติเพื่อเป็นโรงเรียนต้นแบบการจัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (DLTV) ประจำปี 2567
เปิดอ่าน 2,059 ☕ 13 พ.ย. 2567

สพฐ.แจ้งแนวทางการอนุญาตให้บุคลากรในสังกัดทำหน้าที่ผู้ประเมินคุณภาพภายนอก
สพฐ.แจ้งแนวทางการอนุญาตให้บุคลากรในสังกัดทำหน้าที่ผู้ประเมินคุณภาพภายนอก
เปิดอ่าน 953 ☕ 13 พ.ย. 2567

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

ชมหรือยัง เพลงหาเสียงผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม.
ชมหรือยัง เพลงหาเสียงผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม.
เปิดอ่าน 9,485 ครั้ง

ลายมือคนใจมีเมตตาธรรม
ลายมือคนใจมีเมตตาธรรม
เปิดอ่าน 15,351 ครั้ง

ความในใจครูไร้สัญชาติถึงนายกฯ หวังได้สัญชาติไทยเพื่อรับราชการครู
ความในใจครูไร้สัญชาติถึงนายกฯ หวังได้สัญชาติไทยเพื่อรับราชการครู
เปิดอ่าน 8,680 ครั้ง

10 สรรพคุณ ประโยชน์ของหน่อไม้
10 สรรพคุณ ประโยชน์ของหน่อไม้
เปิดอ่าน 14,022 ครั้ง

16 ของมงคล แต่งบ้านเสริมฮวงจุ้ย!!
16 ของมงคล แต่งบ้านเสริมฮวงจุ้ย!!
เปิดอ่าน 22,312 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ