ได้อ่านหนังสือเรื่อง อุ่นไอรัก…เกราะแห่งชีวิตและครอบครัว เขียนโดย พท.พญ.กมลพรรณ ชีวพันธุศรี ตอนสมองของลูกน้อย เห็นว่ามีประโยชน์ น่าสนใจ จึงได้นำสาระสำคัญมาฝากทุกท่าน ดังนี้
พอล มาคลีน ได้แบ่งสมองตามระดับความคิดเป็น 3 ส่วน คือ
1. ก้านสมอง เป็นสมองสำหรับคิดเพื่อการอยู่รอดเท่านั้น จะทำหน้าควบคุมร่าง
กายของเราในการต่อสู้เพื่อการอยู่รอดหรือเมื่อตกใจ
2. สมองชั้นใน เป็นสมองส่วนที่เกี่ยวกับอารมณ์และความรู้สึก รักษา สมดุลย์ของ
ร่างกาย
3. สมองชั้นนอก ทำหน้าที่เกี่ยวกับคำสั่งที่สลับซับซ้อน การคิด ตัดสินใจ
เป็นสมอง ส่วนที่นักเรียนจะต้องใช้มากที่สุดในการศึกษาหาความรู้
สมองถูกสร้างขึ้นตั้งแต่เด็กอยู่ในครรภ์มารดา ซึ่งปัจจัยที่ทำให้สมองเจริญเติบโต เช่น แม่ต้องมีอารมณ์ดี ได้รับสารอาหารครบถ้วน โดยเฉพาะธาตุ เหล็ก ไอโอดีน โปรตีน โฟลิก วิตามิน เด็กแรกเกิดจะมีจำนวนเซลล์สมองประมาณหนึ่งแสนล้านเซลล์ มีใยประสาทประมาณ 20 % ของผู้ใหญ่ หลังจากเกิดมาแล้ว จำนวนเซลล์สมองของมนุษย์ไม่ได้เพิ่มขึ้น แต่จะขยายตัวและเพิ่มสายใยประสาทเพื่อเชื่อมระหว่างเซลล์ จำนวนใยประสาทจะมากหรือน้อยขึ้นกับการกระตุ้นและสภาพแวดล้อม ถ้าใยประสาทมีมากความฉลาดก็จะมากขึ้นและเรียนรู้ได้เร็วขึ้น
สมองสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา ถ้าเราใช้สมองส่วนใดบ่อย สมองส่วนนั้นก็จะเจริญเติบโตได้ดี แต่ถ้าไม่ได้ถูกใช้ไปนานๆ ใยประสาทที่เชื่อมต่อระหว่างเซลล์สมองจะฝ่อ ทำให้สูญเสียความทรงจำ สมองของเด็กจะสร้างใยประสาทได้เร็วและง่ายกว่าผู้ใหญ่ ยิ่งมีการใช้บ่อยๆ ใยประสาทจะแข็งแรงขึ้น ข้อมูลจะเดินทางได้เร็วขึ้น เรียนรู้ได้ง่าย เด็กที่กินนมแม่จะฉลาดกว่าเด็กที่กิน นมผงเรื่องของสมองอย่างละเอียดจะไม่พูดถึง ณ ที่นี้วิธีการกระตุ้นเพื่อพัฒนาสมอง
1. กระตุ้นด้วยการอ่านและการใช้ภาษา
2. กระตุ้นด้วยการออกกำลังกาย เต้นรำ เล่นกีฬา เล่นเกม
3. กระตุ้นด้วยการคิดและการแก้ปัญหาที่ซับซ้อนและท้าทาย
4. กระตุ้นด้วยศิลปะ ดนตรี และสมาธิ
5. กระตุ้นด้วยสิ่งแวดล้อมรอบตัวที่ดี
ทุกท่านคงพอจะนำความรู้นี้ไปปรับใช้กับงานในหน้าที่ ครอบครัว และตนเองได้บ้าง ขอบคุณเจ้าของข้อมูล