ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมบทความการศึกษา  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

"การผลิต" กับการศึกษาประเทศสิงคโปร์


บทความการศึกษา 24 ก.พ. 2559 เวลา 08:11 น. เปิดอ่าน : 13,348 ครั้ง
Advertisement

"การผลิต" กับการศึกษาประเทศสิงคโปร์

Advertisement

คอลัมน์สิงคโปร์หลากมิติ โดย นันทนุช อุดมละมุล

หากจะพูดถึงความสำเร็จในการจัดการด้านการศึกษาและระบบการศึกษาของประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก แน่นอนว่าชื่อประเทศสิงคโปร์จะต้องขึ้นแท่นเป็นอันดับแรก ๆ ที่ถูกกล่าวถึงเพราะหลักฐานความสำเร็จของระบบการศึกษาสิงคโปร์นั้นมีให้เห็นได้ในระดับสากล เช่น สถานศึกษาระดับอุดมศึกษาของสิงคโปร์ได้รับการจัดอันดับอยู่ใน Top 50 ของโลก และ Top 10 ของทวีปเอเชีย จากสถาบันการจัดอันดับหลายแห่ง นี่จึงเป็นเหตุผลที่ทำให้สิงคโปร์ถูกหยิบยกขึ้นมาเป็นแบบอย่างในด้านการจัดระบบการศึกษา ในงานวิจัยไทยหรือสื่อสิ่งพิมพ์ไทยอยู่บ่อยครั้ง

แต่กว่าที่สิงคโปร์จะผงาดขึ้นมาเป็นหนึ่งในประเทศจากภูมิภาคเอเชีย ที่เข้าจับจองพื้นที่ในตารางการจัดอันดับสถาบันอุดมศึกษาระดับโลกได้อย่างในปัจจุบันนั้น ระบบการศึกษาของประเทศสิงคโปร์ต้องผ่านกระบวนการวางกลยุทธ์นโยบายของรัฐบาล เพื่อตอบสนองการพัฒนาประเทศ นับตั้งแต่การประกาศเอกราชและแยกตัวจากมาเลเซียในปี ค.ศ. 1965

เนื่องจากข้อจำกัดทางด้านพื้นที่และทรัพยากรของสิงคโปร์ รวมไปถึงความยากลำบากในอดีตของประเทศที่ต้องล้มลุกคลุกคลานในการ "ตั้งไข่" ทำให้ไอเดียเรื่องการเผชิญหน้ากับวิกฤตและการเอาตัวรอดกลายเป็นมายาคติของคนสิงคโปร์ และนำไปสู่บทบาทของรัฐในการจัดสรรนโยบาย ทรัพยากร และสร้างเครื่องมือกลไกในการสร้างอุดมการณ์ของรัฐ เช่น โรงเรียน และหน่วยงานรัฐบาล เพื่อพัฒนาความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ

ในบทบรรณาธิการของวารสาร Discourse : Studies in the Cultural Politics of Education ฉบับพิเศษ ว่าด้วยระบบการศึกษาของประเทศสิงคโปร์ ซึ่งตีพิมพ์ในปี 2557 ผู้เขียนคือ แอรอน โก๊ะ และเทอเรนซ์ ชอง ได้พูดถึงแนวคิดเรื่อง "การผลิต" ที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของการศึกษาสิงคโปร์ไว้อย่างน่าสนใจ โดยเชื่อมโยงให้เห็นความสัมพันธ์ของเศรษฐกิจ การเมือง การศึกษาและการพัฒนาประเทศโดยองค์รวมที่มีพื้นฐานร่วมกันบนแนวคิดเรื่อง "การผลิต"หรือเรียกได้ว่าแนวคิดเรื่องการผลิตนั้นเป็นอุดมการณ์หลักของชาติเลยทีเดียว

หลังจากแยกตัวจากมาเลเซีย สิงคโปร์ในยุค "แรกเริ่ม" เดิมทีมีสถานะเป็นรัฐเปราะบาง กระบวนการสร้างชาติจึงเป็นสิ่งที่ต้องกระทำเป็นลำดับแรก รัฐบาลของพรรค PAP (People"s Action Party) จึงมุ่งเน้นการสร้างความเจริญเติบโตของเศรษฐกิจ รวมไปถึงการผลิตประชากร หรือการผลิต "ทุนมนุษย์" เพื่อตอบสนองการขยายตัวของการผลิตในเชิงเศรษฐกิจ เห็นได้จากนโยบายการให้โบนัสตอบแทนสำหรับการมีบุตร และนโยบายเปิดรับแรงงานต่างด้าวเข้ามาทำงานเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจและการผลิตภายในประเทศ เป็นต้น

ในด้านการศึกษาสิ่งที่เห็นได้ชัดเจนที่สุด คือ บทบาทของการศึกษาในฐานะเครื่องมือกลไกในการสร้างชาติของสิงคโปร์ นอกจากการผลิตทรัพยากรมนุษย์ที่มีความเป็นชาตินิยมเพื่อตอบสนองต่ออุดมการณ์ของรัฐแล้ว การศึกษายังเป็นการผลิตทุนมนุษย์เพื่อตอบสนองในด้านเศรษฐกิจของประเทศด้วย เห็นได้จากการสนับสนุนสถาบันอาชีวศึกษา เพื่อสร้างแรงงานที่มีทักษะสำหรับการผลิตในภาคอุตสาหกรรม และต่อมาคือการสนับสนุนแรงงานสร้างสรรค์ เพื่อสนับสนุนเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ด้วยเหตุนี้รัฐบาลสิงคโปร์จึงทุ่มเม็ดเงินลงทุนด้านการศึกษาเป็นหลัก โดยเห็นได้จากงบประมาณที่เพิ่มมากขึ้นถึง 40% ในปี 2012 เมื่อเทียบกับงบประมาณในหมวดเดียวกันในปี 2007 โดยรัฐบาลมีเป้าหมายทั้งเพิ่มความมั่งคั่งทางด้านเศรษฐกิจ และการผลักดันให้สิงคโปร์มีสถานะเป็นเมืองหลักของโลก (Global City) และประชากรสิงคโปร์มีความเป็นพลเมืองโลก (Cosmopolitanism)

เรียกได้ว่า "การผลิต" ในทางเศรษฐกิจ และ "การผลิต" ในด้านการศึกษาของสิงคโปร์นั้นมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกันชนิดที่แยกออกจากกันไม่ได้ และแม้ว่านักเรียนสิงคโปร์นั้นจะสามารถเลือกเส้นทางการศึกษาของตนเองได้ตามความถนัดและระดับความสามารถ ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดของสิงคโปร์ในเรื่องระบบการพัฒนาบุคคลตามความสามารถ (Meritocracy) แต่ในท้ายที่สุดแล้วทุกคนก็ล้วนถูก "ผลิต" ในฐานะ "ทุนมนุษย์" ที่มีความรู้และทักษะที่เหมาะสมสำหรับการเสริมเศรษฐกิจของประเทศ ระบบการศึกษาและโรงเรียนจึงทำหน้าที่เหมือนเครื่องจักรหล่อหลอมความคิดและสร้างทรัพยากรมนุษย์ เพื่อการส่งต่อทุนมนุษย์เข้าสู่ระบบเศรษฐกิจของสิงคโปร์นั่นเอง

แต่อย่างไรก็ดี กระบวนการผลิตทุนมนุษย์เพื่อสนับสนุนการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศสิงคโปร์นั้น ไม่ใช่เส้นทางที่ปลอดโปร่งโล่งสบายเหมือนถนนวิภาวดีรังสิตในช่วงวันหยุดยาว หากแต่ยังต้องเผชิญหน้ากับอุปสรรคความท้าทาย ทั้งในด้านความขัดแย้งในเชิงนโยบายที่สะท้อนอุดมการณ์ของรัฐที่มีการเปลี่ยนแปลงตามสภาวการณ์ หรือปัญหาที่เกิดจากระบบการพัฒนาบุคคลตามความสามารถและอุดมการณ์ของชนชั้นกลาง ที่ไปกันได้ไม่ดีนักกับนโยบายในการสร้างแรงงานเพื่อการพัฒนาประเทศ เป็นต้น ซึ่งประเด็นปัญหาเหล่านี้จะได้ถูกหยิบยกมาพูดถึงกันในตอนต่อ ๆ ไปของ "สิงคโปร์หลากมิติ"  

 

ที่มา ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2559


"การผลิต" กับการศึกษาประเทศสิงคโปร์การผลิตกับการศึกษาประเทศสิงคโปร์

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

แสงส่องทางจากการศึกษา

แสงส่องทางจากการศึกษา


เปิดอ่าน 12,255 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

ความเสียหายจากมหาวิทยาลัยไทยปิดเปิดเทอมตามอาเซียน

ความเสียหายจากมหาวิทยาลัยไทยปิดเปิดเทอมตามอาเซียน

เปิดอ่าน 12,623 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
เรียนยังไงให้ "เก่ง" และต้องเก่งกว่าครูบาอาจารย์ คำแนะนำจากนักเรียนทุนชื่อ "ดร.ป๋วย"
เรียนยังไงให้ "เก่ง" และต้องเก่งกว่าครูบาอาจารย์ คำแนะนำจากนักเรียนทุนชื่อ "ดร.ป๋วย"
เปิดอ่าน 13,545 ☕ คลิกอ่านเลย

6 ปัญหาที่เด็กม.ปลายต้องเจอและผ่านไปให้ได้
6 ปัญหาที่เด็กม.ปลายต้องเจอและผ่านไปให้ได้
เปิดอ่าน 30,727 ☕ คลิกอ่านเลย

ขับเคลื่อนการศึกษาไทยอย่างไร จึงถูกใจประชาชน โดย ดร.ดำรงค์ ชลสุข
ขับเคลื่อนการศึกษาไทยอย่างไร จึงถูกใจประชาชน โดย ดร.ดำรงค์ ชลสุข
เปิดอ่าน 10,171 ☕ คลิกอ่านเลย

เจาะ 40 ปีการศึกษาไทย เป๋ไปเป๋มา...ดิ่งลงเหว!! : ศ.พิเศษ ดร.ภาวิช ทองโรจน์
เจาะ 40 ปีการศึกษาไทย เป๋ไปเป๋มา...ดิ่งลงเหว!! : ศ.พิเศษ ดร.ภาวิช ทองโรจน์
เปิดอ่าน 46,260 ☕ คลิกอ่านเลย

Meritocracy กับการศึกษาสิงคโปร์  มูลค่าของความสามารถ
Meritocracy กับการศึกษาสิงคโปร์ มูลค่าของความสามารถ
เปิดอ่าน 10,166 ☕ คลิกอ่านเลย

ปฏิรูปการศึกษานับหนึ่งใครเป็นใคร
ปฏิรูปการศึกษานับหนึ่งใครเป็นใคร
เปิดอ่าน 12,431 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

สอนภาษาอังกฤษแบบไม่ต้องสอนคืออะไร ไขข้อข้องใจได้ที่นี่
สอนภาษาอังกฤษแบบไม่ต้องสอนคืออะไร ไขข้อข้องใจได้ที่นี่
เปิดอ่าน 7,609 ครั้ง

จอดรถแบบนี้ เจ๊ซื้อใบขับขี่มาจากไหน
จอดรถแบบนี้ เจ๊ซื้อใบขับขี่มาจากไหน
เปิดอ่าน 19,620 ครั้ง

มหัศจรรย์อาหารไทย
มหัศจรรย์อาหารไทย
เปิดอ่าน 9,410 ครั้ง

"เด็กรุ่นใหม่" ไม่ได้เลวร้ายอย่างที่คิด?
"เด็กรุ่นใหม่" ไม่ได้เลวร้ายอย่างที่คิด?
เปิดอ่าน 13,097 ครั้ง

แหล่งกำเนิดพลังงานของดวงอาทิตย์
แหล่งกำเนิดพลังงานของดวงอาทิตย์
เปิดอ่าน 18,543 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ