...ภูมิใจ..และปลื้มที่..ผลงานเพลงอีแซว สายเลือดสุพรรณฯ
ในฐานะเลือดสุพรรณฯเหมือนกัน..ผมขอหยิบยกมาให้ผู้อ่านได้สัมผัสถึงความสามารถของนักเรียน
โรงเรียนบรรหารแจ่มใสวิทยา 1 ..ที่มีความสามารถในการอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีพื้นบ้าน...ถึงแม้
ผมจะจบกรรณสูต แต่ผม..ก็ปลื้มกับน้องๆทุกคนครับ ขอสนับสนุนส่งเสริมคุณงามความดีนี้ตลอดไป
มหัศจรรย์เด็กไทย(ความน่าพิศวง ประหลาดใจ)
เมื่อเด็กไทยทำได้จริง ๆ
1-3 พฤศจิกายน 2550
ที่ ฮอลล์ 8
การที่เด็ก ๆ เขาสามารถเรียนรู้ได้ ฝึกปฏิบัติได้จนถึงขั้นมีความชำนาญ คล่องแคล่ว ไม่มีติดขัด (ความจริงมีบ้างตามประสาเด็ก ๆ) นับว่าผู้เรียนกลุ่มนั้นได้มีพัฒนาการไปอีกระดับหนึ่ง สติปัญญาของคนเราสามารถเรียนรู้ได้ แต่จะต้องใช้เวลาที่แตกต่างกัน คนเรามองเห็นในสิ่งเดียวกันแต่เห็นคนละแง่คนละมุม มนุษย์จึงมีความแตกต่างกันในความคิด จิต วิญญาณ บางคนคิดว่าตนเองเก่ง ทั้งที่มีความสามารถแค่พอใช้ (ไม่มีการประเมินตนเอง) บางคนคิดว่าตนเองด้อย ทั้งที่เขามีจุดเด่น มีความสามารถสูงมาก (ประเมินค่าตนเองต่ำ)
เด็ก ๆ ของผมหลายคน ไม่อาจที่จะชี้บอกตนเองได้ว่า เขายืนอยู่จุดใด ถ้าจะดูที่ผลการเรียน มีนักเพลงหลายคนที่ได้ผลการเรียนค่อนข้างต่ำ คือได้เกรดเฉลี่ยน้อยกว่า 1.50 และก็มีอีกหลายคนที่มีผลการเรียนค่อนข้างสูง คือได้เกรดเฉลี่ยมากกว่า 3.00 แต่ในจำนวนนักแสดงที่สังกัดอยู่ในวงเพลงพื้นบ้านของครูชำเลือง มณีวงษ์ โรงเรียนบรรหารแจ่มใสวิทยา 1 สพท.สพ.เขต 2 มีความน่าพิศวงให้ท่านได้พิสูจน์ความจริงได้ ที่หน้าเวทีการแสดง คือ
1. เด็ก ๆ เหล่านี้มีความสามารถเล่นเพลงพื้นบ้านได้มากกว่า 10 ชนิด
2. มีความสามารถร้องเพลงอีแซว ร้องเพลงแหล่แบบด้นกลอนสด ชนิดฉับพลันทันที
3. มีความสามารถถึงขั้นได้รับเชิญไปแสดงอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปีเป็นอาชีพมีรายได้
ในความน่าพิศวงนี้บริษัทมาลา ถนนลาดพร้าว ซอย 96 ผู้ประสานงานมหัศจรรย์เด็กไทย ได้เล็งเห็นคุณค่า ในคุณภาพของการศึกษาที่สูงกว่า การเรียนรู้ มีความรู้ ทำเป็น แต่กลุ่มคนเหล่านี้ (มีทั้งนิสัยดี เรียบร้อย และมีเกะกะ เกเรบ้าง) แต่พวกเขามีความเป็นพิเศษ ที่ยังมีบางคนมองข้ามไปโดยมองไม่เห็นคุณค่าแห่งจิต วิญญาณของบรรพบุรุษที่ส่งต่อมาถึงคนเพียงกลุ่มเดียวและกลุ่มเล็ก ๆ ที่จะต้องตะลอน ๆ ไปแสดง ณ สถานที่ต่าง ๆ ไกลแสนไกลที่พวกเขาเดิน ทางไปกับครู (ถ้าไม่กระทบกระเทือนกับการเรียนของพวกเขา) สิ่งนั้นคือ เจตคติ หรือ ทัศนคติที่เด็ก ๆ 22 คนมีต่อคำว่า “การแสดงเพลงพื้นบ้าน”
การเรียนรู้และฝึกปฏิบัติที่โรงเรียนบรรหารแจ่ม ใสวิทยา 1 กระทำแบบสั่งสม มิได้กระทำวงเพลงเพียงเพื่อการแสดงงานใดงานหนึ่ง แล้วก็เลิก ราไป แต่มีครูผู้ริเริ่มทำสิ่งนี้ทำไปตามธรรมชาติของชีวิต ที่ต่อเนื่องมายาวนานตั้งแต่รู้จักตัวตน
1. ผมสอนให้เด็ก ๆ เขาเรียนรู้ในคุณค่า ศิลปะการแสดงที่เป็นธรรมชาติ เริ่มต้นจากเพลงฉ่อย เป็นเพลงแรก (จังหวะช้าทำนองเรียบง่าย) แล้วตามมาด้วยเพลงอีแซว เพลงพวงมาลัย เพลงเต้นกำ เพลงเรือ เพลงระบำบ้านไร่ เพลงขอทาน เพลงแหล่ เพลงลำตัด ลิเกและขับเสภา ยังมีพิธีทำขวัญนาคอีกอย่างหนึ่งที่ผมถ่ายทอดความรู้ไปสู่เด็ก ๆ ที่เขาสนใจ การที่ทายาททางเพลงของเราทำได้ ร้องได้ เล่นได้ ออกไปแสดงหน้าเวทีได้ มีผู้ชมมาดูให้กำลังใจ ก็ถือได้ว่าแน่แล้ว แต่มีความไม่แน่นอนอยู่ในตัวของมันเอง เพราะนั่นคือการแสดงออกในระยะสั้น ๆ ที่ไม่อาจยืนยันได้ว่า เป็นการสืบสาน เพื่อรักษาไว้ หรือเพียงแค่ เพื่อให้ได้มาซึ่งจุดประสงค์อะไรสักอย่าง แต่การที่เราสั่งสมประสบการณ์ ความรู้และนำเอามาถ่ายทอดสู่ทายาท (ลูกศิษย์) อย่างช้า ๆ และอย่างต่อเนื่องมายาวนานเกือบจะ 20 ปี คงพอที่จะให้ท่านได้พิสูจน์ความ มหัศจรรย์ ขอเชิญเข้ามาตามหาร่องรอยที่เป็นความจริงได้ อย่างชัดแจ้ง แต่ว่าในเพลงพื้นบ้าน 10 ชนิดนี้ มิได้ฝังอยู่ในตัวคนเพียงคนเดียว แต่กระจายอยู่ในวงเพลงอีแซว สายเลือดสุพรรณฯ (เวลาเป็นข้อจำกัดในการสั่งสมความรู้ ความสามารถ) และสามารถสนองความต้องการของชุมชน สังคมในกิจกรรมสำคัญได้อย่างทันทีทันใด
2. ผมเริ่มสอนให้เขามองไปที่ผมเวลาออกไปแสดงหน้าเวที ผมไม่เคยซ้อมทีม (เล่นเป็นวง) กับเด็ก ๆ เลยทั้งนี้เพราะว่า ผมร้องกลอนสด ๆ ทุกทำนองเพลงพื้นบ้านที่ผมสนใจ 19 อย่าง ถ้าผมเล่นบทท่องจำ หรือกลอนแห้ง ผู้ดูคงไม่ได้อารมณ์ ยิ่งถ้าเป็นงานบุญในครอบครัว ก่อนที่จะมีการแสดง เจ้าภาพจะเข้ามาหาผมและบอกว่า “อาจารย์ค่ะ ช่วยร้องเรื่องประวัติ และอาชีพของคุณพ่อให้ด้วย รวมทั้งการสร้างฐานะที่มั่นคงด้วยคุณธรรมที่คุณพ่อยึดถือมาจนวันที่ท่านจากลูก ๆ ไป” เมื่อผมได้โจทย์มา ผมจะต้องรีบถอดรหัสและออกไปร้องเป็นท่วงทำนองเพลง ทำได้อย่างนี้ทุกงาน ทุกสถานที่ เป็นอย่างนี้มาตั้งแต่ผมอายุ 15 ปี เด็ก ๆ ของผม รุ่นแล้วรุ่นเล่า ที่ใกล้ชิดติดตามดูการแสดงของผมนับตั้งแต่ผมยืนอยู่บนเวทีกับเด็ก ๆ เมื่อปี พ.ศ. 2535 ผ่านมา 16 ปีกว่าแล้ว จนมาถึง ปี พ.ศ. 2547 เมื่อ 3-4 ปีที่ผ่านมา ผมได้รับการติดต่อจากรายการคุณพระช่วยให้จัดเด็ก ม.ต้น ไปประชันแหล่ด้นสด ๆ ทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 9 (โมเดิร์นไนน์)
อิม-หทัยกาญจน์ เมืองมูล เป็นลูกศิษย์คนแรก ที่ถอดความสามารถด้นกลอนสดของผมไปสู่ตัวของเขาได้ ต่อจากนั้นก็ตามมาเป็นตับเลย ยุ้ย-รัตนา ผัดแสน ท็อป-ธีระพงษ์ พูลเกิด แต่ว่าตามมาอย่างช้า ๆ (ผมรอได้) การศึกษาจะต้องใช้เวลา จนถึงปีนี้ เมื่อต้นปี ฝึกหัดให้ น้อง เจ-จิระพงษ์แป้ง-ภาธิณี และน้องเบียร์-สหรัฐ เขาฝึกร้องด้นโดยผมแนะนำผังคำกลอน และร้องให้ฟังเพียงบทสั้น ๆ เด็ก ๆ เขาก็พอทำได้ แต่ก็ยังไม่สละสลวยนัก เป็นไปตามประสาเด็ก ๆ สุดท้ายก็คือ มีศิลปินคนเก่ง เขาเป็นดาราชื่อดังมาก มาขอฝึกหัดเพลงพื้นบ้านและวิธีการร้องแหล่ด้นกลอนสด รายละเอียดทั้งหมด จะขอนำเอาไปถอดรหัสที่เมืองทองธานี ฮอลล์ 8 ครับ
3. การที่จะมีโอกาสได้รับเชิญไปแสดงในงานต่าง ๆ มิใช่ว่าอยู่ ๆ จะมีคนมาเชิญหรือติดต่อเราไปแสดงได้ ศิลปินทุกแขนงจะต้องสะสมความดีเด่น ความสามารถมายาวนาน ซึ่งบางคณะ บางวงก็ไม่มีโอกาสที่จะไปได้ถึงจุดนั้น ทั้งนี้เพราะมุ่งหวังในการทำงานสูงกว่าสภาพจริงที่ตนเองมทำได้ มีความสามารถระดับหนึ่ง แต่คาดคิดว่าตนมีคุณภาพสูงถึงขั้นที่อยู่เหนือขึ้นไป จึงทำให้ขาดไป ในเรื่องการอาชีพ ซึ่งในความเป็นจริง มหรสพเพลงพื้นบ้าน หางานเล่นยาก พูดง่าย ๆ ว่าหากินยาก ถ้าเป็นเด็ก ๆ ก็อาศัยเล่นงานโรงเรียน งานวัด งานชุมชน ได้เท่านี้ก็โก้แล้ว ในความมืดย่อมจะมีความสว่างแม้ว่า จะมีเพียงเล็กน้อย ขอให้ท่านจับจุดเล็ก ๆ นำเอาไปขยายทำวงเพลงพื้นบ้าน ลิเก ลำตัด เพลงอีแซว เพลงทรงเครื่อง โดยลดละเลิกในบางอย่าง แล้วตั้งใจศึกษา เทียบเคียงผลงานของตนกับศิลปินที่เขาอยู่บนเวที จากนั้นปั้นดินที่ไม่เหนียว ที่ไม่สามารถก่อตัว ปั้นเป็นรูปร่างไม่ได้ (ปั้นยากมาก) จงตั้งใจปั้นให้ขึ้นเป็นรูปร่างตามธรรมชาติของชีวิต แล้วรอคอยการผลิดอกออกผล ให้ออกมาเป็นผลผลิตที่สวยงามน่ารัก น่าเอ็นดู และน่าที่จะให้ความเมตตา
ผมสอนให้ลูก ๆ (ลูกศิษย์) ทุกคนสงบให้รู้จักเสงี่ยมเจียมตัว หากไม่ถึงที่สุดแล้ว อย่าไปเถียงหรือโต้แย้ง เพราะ ณ ที่ตรงนั้น ไม่ใช่ที่ทำกินของเราซึ่งมีเพียงที่เดียว เรายังมีพื้นที่อีกทั่วประเทศไทย ที่ผมได้พาเด็ก ๆ 20-22 คน ตระเวนไปแสดงมาแล้วมากว่า 500 ครั้ง ได้รับรางวัลในระดับต่าง ๆ จนถึงระดับประเทศมากกว่า 150 รายการ ได้รับการเผยแพร่ผลงานผ่านสื่อโทรทัศน์ 60 ครั้ง สื่อสิ่งพิมพ์ฉบับใหญ่ ๆ อย่างต่อเนื่อง ทำให้ผู้คนรู้จักวงเพลงอีแซว สายเลือดสุพรรณฯ แล้วติดตามมาหา ติดต่อไปแสดงยังสถานที่ต่าง ๆ จากงานที่ 1 งานที่ 2 ตามมาอย่างไม่ขาด สายธารน้ำใจไม่ว่าจะเป็นที่ไหน ๆ ผมกราบขอบพระคุณผู้ที่ให้โอกาส ให้ความอุปถัมภ์จนเด็ก ๆ ทำให้เขามีรายได้นำเอาไปใช้ซื้ออาหารรับประทาน ใช้ในการซื้ออุปกรณ์ในการเรียนรู้ รายละเอียดที่ลึกซึ้งกว่านี้ จะขอนำเอาไป ถอดรหัสที่ฮอลล์ 8 เมืองทองธานี ครับ
ผมและเด็ก ๆ จะรออยู่ที่บูธ 32 และที่เวทีแสดง (ของภาคกลาง) เพียงแต่ว่างานนี้ครูช่วยเด็กถอดรหัสไม่ได้ เด็ก ๆ เขาจะต้องแก้ปัญหากันเอาเอง ทั้งที่บูธและบนเวที งานนี้ท้าทายที่สุดในชีวิต สิ่งที่เด็กเขาทำได้ ที่ว่าเล่นเก่ง มืออาชีพ อาจจะต้องถูกกดดันจนระดับอุณหภูมิต่ำลงมาบ้าง แต่นั่นคือ บทเรียนที่ทุกคนในทีม จะต้องเก็บข้อมูลนำมาคิดวิเคราะห์ แก้ปัญหากันต่อไป
ขอบคุณที่มาgotoknow.org/blog/maneewong4/142884 - 62k -