ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมข่าวจากกระทรวงศึกษาธิการ  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

ครม.รับทราบโครงการลดภาระหนี้ครูของ ธ.ออมสิน


ข่าวจากกระทรวงศึกษาธิการ 10 ก.พ. 2559 เวลา 12:35 น. เปิดอ่าน : 11,880 ครั้ง
Advertisement

ครม.รับทราบโครงการลดภาระหนี้ครูของ ธ.ออมสิน

Advertisement

ครม.รับทราบโครงการลดภาระหนี้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาของธนาคารออมสิน

ศึกษาธิการ - พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เปิดเผยผลการประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันอังคารที่ 9 กุมภาพันธ์ 2559 ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงศึกษาธิการ คือ รับทราบโครงการลดภาระหนี้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา และเห็นชอบกรอบการดำเนินงานระยะ 3 ปี (พ.ศ.2559-2561) ของ สสค.

 

รับทราบโครงการลดภาระหนี้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

ธนาคารออมสิน ได้อนุมัติวงเงินสินเชื่อใหม่ให้กับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาที่สมัครใจเข้าร่วมโครงการ โดยใช้เงินทายาทจะได้รับในอนาคตเมื่อผู้กู้เสียชีวิตเพื่อใช้ค้ำประกัน อาทิ เงินฌาปนกิจสงเคราะห์ครอบครัว (ช.พ.ค.) หรือเงินบำเหน็จตกทอด เพื่อนำมาขอเงินสินเชื่อใหม่เพื่อลดภาระหนี้หรือปิดบัญชีหนี้ที่มีอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งธนาคารจะคิดอัตราดอกเบี้ยต่ำกว่าปกติ ในขณะที่กระทรวงการคลังรายงานผลที่จะได้รับว่าจะช่วยแก้ปัญหาหนี้สินให้กับครูและบุคลากรทางการศึกษาได้ประมาณ 283,000 ราย ช่วยลดภาระหนี้ได้เฉลี่ยรายละ 300,000-600,000 บาท ทำให้ลดภาระการผ่อนชำระหนี้เดิมลงเดือนละ 2,000-4,000 บาท หรือบางรายก็สามารถชำระหนี้ปิดบัญชีได้ พร้อมทั้งจะได้รับประโยชน์จากอัตราดอกเบี้ยที่ลดลงจากเดิมปีละ 5.85-6.70% เหลือปีละ 4% ทำให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาทั้งหมดจะมีขวัญกำลังใจในการทำงาน ช่วยให้เกิดการพัฒนาวิชาชีพครูในภาพรวมและคุณภาพการศึกษาของประเทศ

ทั้งนี้ มีข้อสังเกตจากนายกรัฐมนตรีและที่ประชุม คือ เมื่อธนาคารออมสินปล่อยสินเชื่อใหม่แล้ว ควรใช้วงเงินนี้ให้ตรงตามวัตถุประสงค์ คือ ต้องใช้หนี้เดิมก่อน ไม่ใช่ไปสร้างหนี้ใหม่ และนายกรัฐมนตรีได้มอบหมายให้กระทรวงการคลังไปหารือกับกระทรวงศึกษาธิการเพื่อพิจารณาแนวทางการป้องกันปัญหานี้ โดยการดำเนินโครงการดังกล่าวจะต้องมีการตรวจสอบสถานะของผู้กู้ที่เป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาก่อนที่จะอนุมัติวงเงินสินเชื่อใหม่ให้ โดยธนาคารออมสินก็มีหลักเกณฑ์การปล่อยกู้ที่เข้มงวดอยู่แล้ว พร้อมกับได้ตรวจสอบบัญชีของผู้กู้ด้วย จากนั้นเมื่อเห็นว่ามีความเหมาะสมที่ต้องเข้าให้ความช่วยเหลือรายที่มีความเดือดร้อนจริงๆ ก็พิจารณาปล่อยสินเชื่อให้ต่อไป

โครงการลดภาระหนี้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
ซึ่งดำเนินการโดยธนาคารออมสิน

หลักการ

ธนาคารออมสินอนุมัติวงเงินสินเชื่อใหม่เพิ่มเติมให้กับผู้กู้ที่เป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาที่สมัครใจเข้าร่วมโครงการ โดยใช้เงินที่ทายาทจะได้รับในอนาคตเพื่อค้ำประกัน ได้แก่ เงินฌาปนกิจสงเคราะห์ครอบครัว (ช.พ.ค.) และ/หรือ เงินบำเหน็จตกทอด เพื่อนำเงินสินเชื่อใหม่มาลดภาระหนี้ หรือปิดบัญชีหนี้ที่มีอยู่ในปัจจุบัน ในการนี้ ธนาคารออมสินกำหนดวงเงินสินเชื่อใหม่ให้จำนวนไม่เกินสิทธิที่ทายาทจะได้รับเงินเมื่อผู้กู้เสียชีวิต โดยกำหนดอัตราดอกเบี้ยต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยปกติของธนาคารออมสิน และผู้กู้ไม่ต้องผ่อนชำระหนี้วงเงินสินเชื่อใหม่ตลอดอายุสัญญา

ทั้งนี้ ผู้กู้สามารถขอสินเชื่อใหม่ได้ 2 วงเงิน โดยผู้กู้สามารถเลือกใช้วงเงินใดวงเงินหนึ่งหรือทั้งสองวงเงินได้ โดยมีรายละเอียดของการค้ำประกัน ดังนี้

1. วงเงินกู้ที่ใช้เงิน ช.พ.ค. ค้ำประกัน เงิน ช.พ.ค. หมายถึง เงินสงเคราะห์ให้แก่ครอบครัวหรือทายาทสมาชิก โดยเมื่อมีสมาชิก ช.พ.ค. เสียชีวิต สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา (สกสค.) จะเรียกเก็บเงินจากสมาชิกที่ยังมีชีวิตอยู่ศพละ 1 บาท และจ่ายให้กับทายาทของสมาชิก

2. วงเงินกู้ที่ใช้เงินบำเหน็จตกทอดค้ำประกัน เงินบำเหน็จตกทอด หมายถึง เงินตอบแทนความชอบที่ได้รับราชการ ซึ่งจ่ายเป็นเงินก้อนครั้งเดียว โดยรัฐบาลจ่ายให้ทายาทเมื่อข้าราชการถึงแก่กรรม ดังนี้

(1) กรณีเสียชีวิตระหว่างราชการ = เงินเดือนสุดท้าย คูณ ระยะเวลาราชการ

(2) กรณีรับบำนาญและเสียชีวิต = 30 เท่าของบำนาญ ลบ เงินบำเหน็จดำรงชีพส่วนที่ขอรับไปแล้ว ทั้งนี้ ผู้เกษียณอายุราชการสามารถขอรับเงินบำเหน็จดำรงชีพจำนวน 15 เท่าของเงินบำนาญ แต่ไม่เกิน 200,000 บาท

วิธีดำเนินการ

โครงการลดภาระหนี้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามีขั้นตอนการดำเนินการ ดังนี้

1. วงเงินกู้ที่ใช้เงิน ช.พ.ค. ค้ำประกัน

(1) ธนาคารออมสินตั้งวงเงินสินเชื่อใหม่ให้กับผู้กู้รายเดิม จำนวนไม่เกินสิทธิที่ทายาทจะได้รับเงินเมื่อผู้กู้เสียชีวิต โดยกำหนดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้แบบลดต้นลดดอก (Effective Rate) ในอัตราร้อยละ 4 ต่อปี ผู้กู้ไม่ต้องผ่อนชำระหนี้วงเงินสินเชื่อใหม่ตลอดอายุสัญญา และทายาทยินยอมให้นำเงิน ช.พ.ค.มาค้ำประกันเงินกู้กับธนาคารออมสิน

(2) ผู้กู้ต้องเป็นสมาชิก ช.พ.ค. อายุ 50 ปีขึ้นไป ระยะเวลาการกู้ 20 ปี ยกเว้นกรณีที่อายุผู้กู้เมื่อรวมกับระยะเวลาการกู้แล้วอายุผู้กู้เกิน 75 ปี ธนาคารออมสินจะลดระยะเวลาการกู้ลงให้รวมแล้วอายุผู้กู้ไม่เกิน 75 ปี

(3) วงเงินสินเชื่อตามข้อ (1) จะถูกแบ่งเป็น 2 ส่วน ได้แก่
ส่วนที่ 1 นำไปชำระหนี้เงินกู้บัญชีเดิม ซึ่งอัตราดอกเบี้ยเฉลี่ยอยู่ที่ ร้อยละ 5.85-6.70 ต่อปี
ส่วนที่ 2 กันไว้เพื่อชำระดอกเบี้ยและเงินค่ารายศพ ช.พ.ค.รายเดือนที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เพื่อรักษาสถานภาพสมาชิก (เฉลี่ยเดือนละประมาณ 600 บาท) และทยอยเบิกจ่ายรายเดือนจนครบอายุสัญญา

(4) บัญชีเงินกู้เดิมซึ่งได้นำเงินจากข้อ (1) มาลดเงินต้น ธนาคารออมสินจะปรับลดเงินงวดตามจำนวนเงินกู้และระยะเวลาการกู้ที่เหลืออยู่ตามสัญญาเดิม โดยยังคงมีผู้ค้ำประกันและประกันสินเชื่อ (ถ้ามี) รองรับความเสี่ยง

(5) เมื่อผู้กู้เสียชีวิต ธนาคารออมสินจะนำเงิน ช.พ.ค. หรือเงินประกันสินเชื่อ (ถ้ามี) มาชำระหนี้ปิดบัญชี

(6) หากครบระยะเวลาการกู้แต่ผู้กู้ยังไม่เสียชีวิต ธนาคารออมสินจะให้ผู้กู้ผ่อนชำระเฉพาะดอกเบี้ยและจ่ายเงินค่ารายศพ ช.พ.ค. รายเดือนจากเงินบำนาญที่ได้รับ หรือผู้กู้สามารถขอให้ธนาคารออมสินตั้งวงเงินกู้เพิ่มจนกว่าจะเสียชีวิต

2. วงเงินกู้ที่ใช้เงินบำเหน็จตกทอดค้ำประกัน

(1) ธนาคารออมสินตั้งวงเงินสินเชื่อใหม่ให้กับผู้กู้รายเดิมจำนวนไม่เกินสิทธิที่ทายาทจะได้รับเมื่อผู้กู้เสียชีวิต โดยกำหนดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้แบบลดต้นลดดอก (Effective Rate) ในอัตราร้อยละ 4 ต่อปี ผู้กู้ไม่ต้องผ่อนชำระหนี้วงเงินสินเชื่อใหม่ตลอดอายุสัญญา และทายาทยินยอมให้นำเงินบำเหน็จตกทอดมาค้ำประกันเงินกู้กับธนาคารออมสิน

(2) ผู้กู้ต้องมีสิทธิรับเงินบำนาญ ระยะเวลาการกู้ 20 ปี ยกเว้นกรณีที่อายุผู้กู้เมื่อรวมกับระยะเวลาการกู้แล้วอายุผู้กู้เกิน 75 ปี ธนาคารออมสินจะลดระยะเวลาการกู้ลงให้รวมแล้วอายุผู้กู้ไม่เกิน 75 ปี

(3) วงเงินสินเชื่อตามข้อ (1) จะถูกแบ่งเป็น 2 ส่วน ได้แก่
ส่วนที่ 1 นำไปชำระหนี้เงินกู้บัญชีเดิม ซึ่งอัตราดอกเบี้ยเฉลี่ยอยู่ที่ ร้อยละ 5.85-6.70 ต่อปี
ส่วนที่ 2 กันไว้เพื่อชำระดอกเบี้ยและทยอยเบิกจ่ายรายเดือนจนครบอายุสัญญา

(4) บัญชีเงินกู้เดิมซึ่งได้นำเงินจากข้อ (1) มาลดเงินต้น ธนาคารออมสินจะปรับลดเงินงวดตามจำนวนเงินกู้และระยะเวลาการกู้ที่เหลืออยู่ตามสัญญาเดิม โดยยังคงมีผู้ค้ำประกันและประกันสินเชื่อ (ถ้ามี) รองรับความเสี่ยง

(5) เมื่อผู้กู้เกษียณอายุราชการและมีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จดำรงชีพจำนวน 15 เท่าของเงินบำนาญ แต่ไม่เกิน 200,000 บาท ผู้กู้สามารถนำเงินดังกล่าวไปใช้จ่ายในการดำรงชีพ หรือยินยอมนำเงินบำเหน็จดำรงชีพบางส่วนตั้งแต่ร้อยละ 60 ขึ้นไป มาชำระหนี้ได้ตามความสมัครใจ

(6) เมื่อผู้กู้เสียชีวิต ธนาคารออมสินจะนำเงินบำเหน็จตกทอดหรือเงินประกันสินเชื่อ (ถ้ามี) มาชำระหนี้ปิดบัญชี

(7) หากครบระยะเวลาการกู้แต่ผู้กู้ยังไม่เสียชีวิต ธนาคารออมสินจะให้ผู้กู้ผ่อนชำระเฉพาะดอกเบี้ย โดยหักจากเงินบำนาญที่ได้รับ หรือผู้กู้สามารถขอให้ธนาคารออมสินตั้งวงเงินกู้เพิ่มจนกว่าจะเสียชีวิต

3. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

(1) สามารถแก้ไขบรรเทาปัญหาหนี้สินครูและบุคลากรทางการศึกษาได้ประมาณ 283,000 ราย และสามารถลดภาระหนี้ของครูและบุคลากรทางการศึกษาได้เฉลี่ยรายละ 300,000 – 600,000 บาท ทำให้ลดภาระการผ่อนชำระหนี้เดิมลง 2,000 – 4,000 บาทต่อเดือน หรือบางรายสามารถชำระหนี้ปิดบัญชีได้

(2) ครูและบุคลากรทางการศึกษาจะได้รับประโยชน์จากอัตราดอกเบี้ยที่ลดลงจากเดิมร้อยละ 5.85 – 6.70 ต่อปี เป็นอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 4 ต่อปี ซึ่งเป็นการแบ่งเบาภาระในระยะยาว อีกทั้ง ผู้กู้ไม่ต้องผ่อนชำระหนี้วงเงินสินเชื่อใหม่ตลอดอายุสัญญา

(3) ครูและบุคลากรทางการศึกษามีขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานดีขึ้น ทำให้เกิดการพัฒนาวิชาชีพครูในภาพรวมและส่งผลถึงคุณภาพของประชาชนในประเทศ

(4) ช่วยให้ครูและบุคลากรทางการศึกษามีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

 เห็นชอบกรอบการดำเนินงานระยะ 3 ปี (พ.ศ.2559-2561) ของ สสค.

คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการดำเนินงานที่ผ่านมาของสำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.) และเห็นชอบในหลักการกรอบแผนการดำเนินงานและความต้องการงบประมาณของ สสค.

1. ผลการดำเนินงานของ สสค. ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา สสค.ได้ปฏิบัติภารกิจตามอำนาจหน้าที่ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีฯ และตามที่คณะรัฐมนตรีได้มอบหมายเพิ่มเติมจนสำเร็จลุล่วงตามเป้าหมาย โดยเฉพาะเกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ของเด็กและเยาวชนประมาณ 350,000 คน ซึ่งในจำนวนนี้เป็นเด็กและเยาวชนด้อยโอกาสประมาณ 250,000 คน อันเป็นการช่วยลดความเหลื่อมล้ำในโอกาสทางการเรียนรู้ และสร้างเสริมสุขภาวะแก่เด็กในโรงเรียนห่างไกลและลำบากได้เป็นอย่างดี

2. กรอบแผนการดำเนินงานในระยะต่อไป คณะกรรมการ สสค. ได้เห็นชอบแผนงานพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้เพื่อลดความเหลื่อมล้ำและเพื่อรองรับการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ 4 จังหวัด มีสาระสำคัญ คือ เพื่อตอบสนองนโยบายรัฐบาลเรื่องการสร้างคุณภาพของคนไทยให้สามารถเรียนรู้ พัฒนาตนเองได้เต็มศักยภาพ ลดความเหลื่อมล้ำ และพัฒนากำลังคนให้เป็นที่ต้องการเหมาะสมกับพื้นที่ ทั้งด้านการเกษตร อุตสาหกรรมและธุรกิจบริการ และส่งเสริมการขับเคลื่อนประเทศตามนโยบาย “ประชารัฐ” โดยการพัฒนาทักษะอาชีพของผู้เรียนและแรงงานตามความต้องการของตลาดแรงงานในพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษตามนโยบายของรัฐบาล จึงสมควรดำเนินงานพัฒนายกระดับคุณภาพการเรียนรู้เพื่อลดความเหลื่อมล้ำและพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก โดยใช้พื้นที่เป็นฐาน (Area-Based) และมีส่วนร่วมระหว่างภาครัฐ ท้องถิ่น เอกชน และประชาสังคม ในลักษณะการปฏิบัติการควบคู่กับการศึกษาวิจัย เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงอย่างแท้จริงในพื้นที่ พร้อมกับสร้างองค์ความรู้อันนำไปสู่การสังเคราะห์นโยบาย

ยุทธศาสตร์/แนวทางการดำเนินงาน ในลักษณะการปฏิบัติการควบคู่ไปกับการศึกษาวิจัย ซึ่งใช้ยุทธศาสตร์ 3 ประการ คือ การสร้างความรู้เชิงระบบ (Knowledge) การพัฒนาหุ้นส่วนความร่วมมือ (Partnership) และการสาธิตปฏิบัติการให้เห็นผล (Action) ในพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษระยะที่ 1 จำนวน 4 จังหวัด ได้แก่ ตราด ตาก สระแก้ว และหนองคาย เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงจริงในพื้นที่พร้อมกับสร้างองค์ความรู้เชิงระบบที่จำเป็นในการพัฒนาข้อเสนอนโยบายต่อรัฐบาล มุ่งเน้นสนับสนุนจังหวัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ในเชิงบูรณาการ การสนับสนุนทางวิชาการ และการเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติการโดยดำเนินงาน 2 ระดับ ทั้งระดับจังหวัดและระดับตำบล โดยกรอบดังกล่าวมีระยะเวลาดำเนินการ 3 ปี (พ.ศ.2559-2561)

ทั้งนี้ กรอบแผนการดำเนินงานนี้เป็นการเสริมภารกิจของกระทรวงศึกษาธิการ โดย สสค. จะเน้นกลุ่มเป้าหมายทั้งกำลังแรงงานและเยาวชนกลุ่มเสี่ยง และให้ความสำคัญกับพื้นที่ยากจนหรือประชากรที่มีรายได้ค่อนข้างต่ำในลักษณะเชื่อมโยงกันด้วยระบบและกลไกในพื้นที่เข้ากับนโยบายการศึกษากับเขตเศรษฐกิจพิเศษผ่านธุรกิจท้องถิ่นขนาดกลางและขนาดย่อมที่มีสถานศึกษาเป็นจุดเชื่อมต่อ รวมถึงจัดศึกษาวิจัยร่วมไปกับการพัฒนาตามกรอบระยะเวลาของการศึกษาวิจัย ดังนั้น กรอบการดำเนินการตามที่เสนอจึงเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากรในพื้นที่อย่างเต็มตามศักยภาพ และหนุนเสริมนโยบายของรัฐบาลให้บรรลุผลไปพร้อม ๆ กัน

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1) เกิดการพัฒนากำลังคนวัยเรียน โดยจะทำให้เด็กและเยาวชน (อายุ 15-21 ปี) จำนวน 20,000 คน ในเขตพื้นที่ยากจน มีทักษะการทำงานตรงตามความต้องการในเขตเศรษฐกิจพิเศษหรือชุมชนของตนเอง และอัตราการมีงานทำของผู้จบมัธยมศึกษาในพื้นที่เพิ่มขึ้นภายใน 3 ปี

2) เกิดการพัฒนากำลังคนวัยแรงงาน โดยจะเพิ่มแรงงานฝีมือ (Skilled Labour) ที่มีทักษะอาชีพตรงตามกิจการเป้าหมายและได้รับการจ้างงานในพื้นที่ตรงขีดความสามารถ มีทักษะการประกอบอาชีพ 30,000 คน และจำนวนแรงงานสำเร็จการศึกษาวุฒิมัธยมศึกษาตอนปลาย/ประกาศนียบัตรวิชาชีพ เพิ่มขึ้นร้อยละ 25

 

ที่มา ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2559


ครม.รับทราบโครงการลดภาระหนี้ครูของ ธ.ออมสินครม.รับทราบโครงการลดภาระหนี้ครูของธ.ออมสิน

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

:: เรื่องปักหมุด ::

โปรดเกล้าฯแล้ว"ครม.ประยุทธ์ 1"ตรวจสอบรายชื่อ+ประวัติ ใครนั่งเก้าอี้รัฐมนตรีกระทรวงไหน คลิก

โปรดเกล้าฯแล้ว"ครม.ประยุทธ์ 1"ตรวจสอบรายชื่อ+ประวัติ ใครนั่งเก้าอี้รัฐมนตรีกระทรวงไหน คลิก

เปิดอ่าน 12,639 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
ครม.เห็นชอบปรับปรุงค่าตอบแทนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
ครม.เห็นชอบปรับปรุงค่าตอบแทนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
เปิดอ่าน 43,361 ☕ คลิกอ่านเลย

ผลประชุมผู้บริหารองค์กรหลัก กระทรวงศึกษาธิการ 1 มิถุนายน 2559
ผลประชุมผู้บริหารองค์กรหลัก กระทรวงศึกษาธิการ 1 มิถุนายน 2559
เปิดอ่าน 9,139 ☕ คลิกอ่านเลย

ผลการประชุมกระทรวงศึกษาธิการ ครั้งที่ 5/2556
ผลการประชุมกระทรวงศึกษาธิการ ครั้งที่ 5/2556
เปิดอ่าน 14,174 ☕ คลิกอ่านเลย

ผลประชุมกระทรวงศึกษาธิการ 2/2558
ผลประชุมกระทรวงศึกษาธิการ 2/2558
เปิดอ่าน 8,625 ☕ คลิกอ่านเลย

ผลประชุมองค์กรหลัก ศธ. เมื่อวันที่ 30 ธ.ค.2558
ผลประชุมองค์กรหลัก ศธ. เมื่อวันที่ 30 ธ.ค.2558
เปิดอ่าน 6,940 ☕ คลิกอ่านเลย

ยุทธศาสตร์พัฒนาเด็กปฐมวัย
ยุทธศาสตร์พัฒนาเด็กปฐมวัย
เปิดอ่าน 8,176 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

ทฤษฎี 3 องค์ประกอบ
ทฤษฎี 3 องค์ประกอบ
เปิดอ่าน 21,996 ครั้ง

ไปรษณีย์ไทย เเจ้ง ส่งไปรษณีย์ต้องแสดงบัตรประชาชน เริ่ม 8เม.ย.นี้
ไปรษณีย์ไทย เเจ้ง ส่งไปรษณีย์ต้องแสดงบัตรประชาชน เริ่ม 8เม.ย.นี้
เปิดอ่าน 15,355 ครั้ง

กรมอนามัย แนะ "4 ดี เสริม 4 ห้องหัวใจแข็งแรง"
กรมอนามัย แนะ "4 ดี เสริม 4 ห้องหัวใจแข็งแรง"
เปิดอ่าน 1,346 ครั้ง

ADSL ทำงานอย่างไร?
ADSL ทำงานอย่างไร?
เปิดอ่าน 14,471 ครั้ง

งานหนักมาก เหนื่อย ทำอย่างไรดี
งานหนักมาก เหนื่อย ทำอย่างไรดี
เปิดอ่าน 10,491 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ