ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมข่าวการศึกษา  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

นโยบายการพัฒนาคุณภาพการศึกษาเพื่อสร้างขวัญกำลังใจให้คนไทย


ข่าวการศึกษา 3 ก.พ. 2559 เวลา 10:30 น. เปิดอ่าน : 5,845 ครั้ง
Advertisement

นโยบายการพัฒนาคุณภาพการศึกษาเพื่อสร้างขวัญกำลังใจให้คนไทย

Advertisement

รมว.ศธ.ตอบกระทู้ถามในการประชุม สนช.
"นโยบายการพัฒนาคุณภาพการศึกษาเพื่อสร้างขวัญกำลังใจให้คนไทย"

รัฐสภา - พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ตอบกระทู้ถามของนายโกศล เพ็ชร์สุวรรณ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ครั้งที่ 4/2559 เมื่อวันอังคารที่ 22 มกราคม 2559 เรื่อง “นโยบายการพัฒนาคุณภาพการศึกษาเพื่อสร้างขวัญกำลังใจให้คนไทย”

 

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวขอบคุณผู้ตั้งกระทู้ถามที่ให้ความห่วงใยในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของไทย ถึงแม้ว่าในระยะนี้รัฐบาลมีปัญหาในเรื่องเศรษฐกิจ แต่นายกรัฐมนตรีก็ให้ความสำคัญกับการศึกษา มีการกล่าวถึงการศึกษาทุกครั้ง และทุกสัปดาห์ในการประชุมคณะรัฐมนตรี ไม่ว่าจะมีวาระของกระทรวงศึกษาธิการหรือไม่ ก่อนเลิกประชุม จะมีการกล่าวถึงการศึกษาทุกครั้ง

สำหรับการตอบคำถาม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการขอตอบในภาพรวมเพื่อให้สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติได้มองเห็นภาพรวม และบริบทของการศึกษาไทยว่าจะมีรูปแบบอย่างไร

ประเด็นปัญหาของการศึกษาไทย มี 6 กลุ่มใหญ่ ได้แก่

1.หลักสูตรและกระบวนการเรียนรู้
2.การผลิตและพัฒนาครู
3.การประเมินและการพัฒนามาตรฐานการศึกษา
4.การผลิต พัฒนากำลังคนและงานวิจัยที่สอดคล้องกับความต้องการของการพัฒนาประเทศ
5.ICT เพื่อการศึกษา และ
6.การบริหารจัดการ

แยกออกได้ 31 ปัญหาย่อย ซึ่งเป็นปัญหาที่ต้องแก้ไขและเป็นปัญหาในปัจจุบันนี้

การวิเคราะห์ปัญหาก่อนที่จะดำเนินการ จะต้องมีการวิเคราะห์ปัญหา เพื่อให้สามารถดำเนินการต่อไปได้ โดยนายกรัฐมนตรีให้แนวทางไว้ว่า การแก้ไขปัญหาทุกปัญหาจะต้องไม่สร้างให้เกิดปัญหาใหม่ เพราะฉะนั้นการแก้ไขปัญหาของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการจึงต้องมีการวาดภาพการเชื่อมโยงของปัญหา เพื่อให้มองเห็นภาพผลกระทบทั้งหมด แล้วแก้ไขปัญหาไปพร้อมๆ กัน ตามความจำเป็นเร่งด่วน และข้อมูลที่ได้มาทั้งหมด มาจากข้าราชการผู้ปฏิบัติหน้าที่ จากเสียงสะท้อนของสื่อสารมวลชน จากข้อคิดเห็นของนักวิชาการ โดยมีประเด็นที่นำมาวิเคราะห์ ดังนี้

• ปัญหาความรู้ภาษาอังกฤษ จากการสำรวจ 63 ประเทศที่ไม่ได้ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาหลัก คนไทยพูดภาษาอังกฤษได้อยู่ในอันดับที่ 48 ของโลก และอันดับ 5 ของอาเซียน อันดับ 1 ประเทศสิงคโปร์ อันดับ 2 ประเทศฟิลิปปินส์ อันดับ 3 ประเทศบรูไน ดารุสซาลาม และอันดับ 4 ประเทศมาเลเซีย

• การจัดอันดับชั่วโมงเรียนที่นักเรียนนั่งเรียนในห้องเรียน พบว่าเด็กไทยใช้เวลาเรียนหนังสือในห้องเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 เป็นอันดับ 2 ของโลก ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เป็นอันดับ 1 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เป็นอันดับ 1 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เป็นอันดับ 5 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เป็นอันดับ 8

• ผลการทดสอบวิชาคณิตศาสตร์ขั้นพื้นฐานของนักเรียนไทยชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และ 4 เทียบเท่ากับนักเรียนในประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศกลุ่มยุโรปของ PISA พบว่าเด็กไทยต่ำกว่ามาตรฐาน แต่ไม่ใช่ทั้งหมด ยังมีนักเรียนในกลุ่มโรงเรียนสาธิต และโรงเรียนจุฬาภรณ์ 12 แห่ง จะสูงกว่ามาตรฐาน จุดอ่อนของนักเรียนไทยคือคิดวิเคราะห์ไม่เป็น วิธีการสอนแบบให้จำ ให้เข้าใจ แต่ข้อสอบของ PISA เป็นการสอบแบบคิดวิเคราะห์

• จำนวนครูที่ไม่ครบชั้น ทั้งประเทศมีจำนวน 26,607 คน คิดเป็น 22 % การไม่ครบชั้นมีหลายสาเหตุ 1) โรงเรียนขนาดเล็กที่มีนักเรียนไม่ถึง 120 คน มีจำนวน 10,000 โรงเรียน นักเรียนไม่ถึง 20 คน มีจำนวนกว่า 1,000 โรงเรียน และมีบางโรงเรียนที่ไม่ถึง 20 คน แต่ทำการเรียนการสอนครบทุกชั้น เช่น ป.1 มี 2 คน ป. 2 มี 3 คน ทำให้ไม่สามารถจัดครูครบชั้นได้ บางโรงเรียนครูคนเดียวต้องสอนครบทุกชั้น กระทรวงศึกษาธิการ แก้ไขปัญหาโดยจัดกลุ่มโรงเรียน หรือใช้การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (DLTV) ช่วยในการจัดการเรียนการสอน

• จำนวนโรงเรียนที่ไม่ผ่านการประเมิน ซึ่งสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) (สมศ.) ทำการประเมิน พบว่าไม่ผ่านการประเมินประมาณ 7,000 แห่ง เป็นโรงเรียนขนาดเล็ก ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการได้หารือกับ สมศ.เกี่ยวกับแบบประเมินว่าอาจจะต้องจำแนกแบบประเมินว่าแต่ละกลุ่มจะประเมินอย่างไร เพื่อให้โรงเรียนเหล่านั้นมีกำลังใจในการพัฒนา อาจจะแบ่งเป็น Division 1 Division 2 และ Division 3 เพื่อให้มีการไต่ระดับการพัฒนาของโรงเรียน

• การจัดอันดับของ World Economic Forum เปรียบเทียบ 3 ปี พบว่าปี 2012 และ 2013 ประเทศไทยอยู่ในอัน 8 ต่ำกว่ากัมพูชา ปี 2014 ประเทศไทยอยู่ในอันดับ 6 และประเทศสาธารณรัฐประชาชนลาว อยู่ในอันดับ 5 การประเมินดังกล่าวเป็นการประเมินด้านเศรษฐกิจ วิธีการสำรวจจะดำเนินการโดยสอบถามผู้ประกอบการว่าพอใจหรือไม่กับบัณฑิตที่เรียนจบมา ตรงกับความต้องการหรือไม่ ซึ่งแต่ละประเทศมี Scale เศรษฐกิจไม่เหมือนกัน เช่น ประเทศลาวมี Scale เศรษฐกิจแคบมากก็พอใจที่บัณฑิตจบมาแล้วตรงกับความต้องการ แต่เมื่อเปรียบเทียบประเทศไทยแล้ว Scale ใหญ่กว่ามาก และมีแนวโน้มจะเพิ่มมากขึ้น เพราะฉะนั้นความต้องการของผู้ประกอบการเอกชนมีความต้องการสูงกว่าหลายประเทศ ส่งผลให้ประเทศไทยอยู่อันดับล่าง แต่การประเมินดังกล่าวสามารถสะท้อนให้เห็นชัดเจนว่า ประเทศไทยผลิตบัณฑิตไม่ตรงกับความต้องการ ซึ่งมีบัณฑิตตกงานอยู่ประมาณ 23 %

• ครูบางส่วนใช้เวลากับกิจกรรมนอกชั้นเรียนที่ไม่ใช่การสอน 84 วัน ใน 200 วันที่เปิดเรียน แต่หลังจากที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เข้ามาบริหารจัดการ เริ่มตั้งแต่อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (พลเรือเอก ณรงค์ พิพัฒนาศัย) มีการปรับให้ครูกลับสู่ห้องเรียนให้มากที่สุด 2 ปีที่ผ่านมาลดไปแล้ว 19 วัน เหลือ 65 วัน ซึ่งใน 84 วันที่ครูอยู่นอกชั้นเรียน เป็นภารกิจเกี่ยวข้องกับการประเมิน 43 วัน (ประเมินโรงเรียน ประเมินครู ประเมินนักเรียน) และส่วนที่เหลือเป็นกิจกรรมนอกสถานศึกษา เช่น เป็นงานพิธี เป็นกรรมการต่าง ๆ

• หนี้สินครู กระทรวงศึกษาธิการมีแหล่งเงินกู้จากส่วนราชการ 4 แห่งและหนี้นอกระบบ 1 แห่ง ปัจจุบันครูและบุคลากรทางการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ มีทั้งหมดกว่า 880,000 คน (เป็นครูประมาณ 400,000 คน) แต่เป็นหนี้ 1,300,770 บัญชี หมายความว่า 1 คน เป็นหนี้มากกว่า 1 บัญชี ปล่อยให้กู้ง่าย วงเงินกู้หลายล้านบาท ผู้ค้ำประกัน 5 คนบ้าง 1 คนบ้าง ทำให้ครูเป็นหนี้อยู่ในขณะนี้ ซึ่งเป็นอันตรายมาก

• การผลิตแบบเรียน ในแต่ละวิชามีการผลิตสื่อแบบเรียนหลายสำนักพิมพ์ ซึ่งครูจะสามารถเลือกใช้สำนักพิมพ์ใดก็ได้ และส่งผลต่อการออกข้อสอบของสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สทศ.) เพราะ สทศ.จะต้องนำสื่อของแต่ละวิชา ของทุกสำนักพิมพ์มาออกข้อสอบ ในขณะที่ครูแต่ละโรงเรียนเลือกใช้บางสำนักพิมพ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเคยมีแนวคิดจะให้ใช้แบบเรียนเฉพาะของกรมวิชาการ แต่มีความเสี่ยงต่อการถูกฟ้องร้องจากสำนักพิมพ์เอกชน เนื่องจากผิดรัฐธรรมนูญ จึงต้องหาวิธีการแก้ไขปัญหาใหม่ โดยวิเคราะห์หลักสูตรเพื่อปรับปรุง สิ่งไหนที่นักเรียนต้องรู้ และสิ่งไหนที่นักเรียนควรรู้ ทุกสำนักพิมพ์และครูจะต้องทำความเข้าใจว่าสิ่งที่นักเรียนต้องรู้จะต้องมีในแบบเรียน

• นโยบายการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและการแก้ไขปัญหา จะต้องมีทั้งระยะสั้นและระยะยาว เพื่อความสุขของคนไทย ก่อนที่จะทำความสุขให้คนไทย กระทรวงศึกษาธิการจะต้องดูแลแก้ไขปัญหาให้คนเหล่านี้ก่อน คือ นักเรียนระดับชั้นอนุบาลถึงระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 10,434,148 คน นักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช. , ปวส.) จำนวน 977,649 คน นักศึกษาระดับปริญญาตรี จำนวน 1,994,922 คน และครู อาจารย์ จำนวน 624,758 คน

• แผนระยะยาว หรือกรอบแนวคิดการพัฒนาคนตลอดช่วงชีวิต ตามกรอบนโยบายของนายกรัฐมนตรี ที่มีดำริว่า กระทรวงศึกษาธิการจะต้องผลิต New Generation ที่เก่ง ดี (มีคุณธรรม จริยธรรม) และมีวินัย ภายใน 20 ปี วิธีการดำเนินงานจะต้องมีอย่างน้อย 4 กระทรวงที่เกี่ยวข้อง คือ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และกระทรวงสาธารณสุข โดยกระทรวงศึกษาธิการจะเป็นหลักในการดำเนินการ ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการจะจัดทำยุทธศาสตร์การปฏิรูปและขับเคลื่อนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และระบบการศึกษาให้ชัดเจน เพื่อให้คนในกระทรวงศึกษาธิการเข้าใจว่าจะต้องทำอะไร อย่างไร

จากปัญหาดังที่ได้กล่าว แบ่งได้ 6 กลุ่มปัญหา และ 31 ปัญหาย่อย กระทรวงศึกษาธิการ นำมากำหนดเป็นยุทธศาสตร์เร่งด่วนที่จะต้องดำเนินการ 6 เรื่อง ดังนี้

1) หลักสูตรและกระบวนการเรียนรู้ เพื่อลดภาระเด็กเครียด เด็กเรียนเยอะ เด็กไม่มีความสุขกับการเรียน/ผลสัมฤทธิ์ต่ำ เนื้อหาไม่สอดคล้องกับบริบทของสังคมที่เปลี่ยนแปลง และกระบวนการเรียนรู้

2) การผลิตและพัฒนาครู เพื่อเพิ่มครูเก่ง (ครูบางส่วนไม่เก่ง) จัดครูให้ครบชั้น (ครูไม่ครบชั้น สอนไม่ตรงเอก) ภาระงานเยอะ และครูขาดขวัญกำลังใจ

3) การประเมินและการพัฒนามาตรฐานการศึกษา โดยปรับปรุงการประเมินครู ประเมินผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน และการประเมินสถานศึกษา

4) การผลิตพัฒนากำลังคนและงานวิจัยที่สอดคล้องกับความต้องการของการพัฒนาประเทศ เพื่อแก้ปัญหาขาดกำลังแรงงานสายวิชาชีพ มาตรฐานฝีมือยังไม่เป็นที่ยอมรับจากสถานประกอบการ การผลิตบัณฑิตในสาขาวิชาที่ไม่เป็นไปตามความต้องการของประเทศทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ และงานวิจัยไม่สามารถนำไปใช้งานได้จริง อนึ่ง เมื่อวันที่ 21 มกราคม 2559 ได้มีการประชุมคณะกรรมการสานพลังประชารัฐ ซึ่งหน่วยงานเอกชนเข้าร่วม 31 บริษัท เพื่อร่วมมือกันผลิตผู้เรียนอาชีวศึกษาให้ตรงกับความต้องการ

5) ICT เพื่อการศึกษา ได้เตรียมการเพื่อพัฒนาและบูรณาการโครงสร้างพื้นฐาน ระบบฐานข้อมูล และระบบการจัดการเนื้อหาสาระ/องค์ความรู้ เนื่องจากโครงสร้างพื้นฐานของกระทรวงศึกษาธิการมีไม่เพียงพอ โรงเรียนเกือบ 8,000 แห่ง ยังเข้าไม่ถึง กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารได้รับการจัดสรรงบประมาณในการพัฒนาอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงซึ่งจะแล้วเสร็จภายในปี 2560 ระบบฐานข้อมูลไม่ทันสมัย ขาดการบูรณาการ มีการทับซ้อนทั้งระบบและเนื้อหา กระทรวงศึกษาธิการหวังว่าคงจะสามารถแก้ไขปัญหาได้

6) การบริหารจัดการ เพื่อแก้ปัญหาระบบงบประมาณที่ไม่สอดคล้องต่อการดำเนินงาน การกำกับดูแลขาดประสิทธิภาพ ขาดการบูรณาการ การกระจายอำนาจ ให้เป็นไปตามหลักธรรมาภิบาล ตลอดจนการกำกับดูแลระบบที่เป็นอยู่ขององค์กรหลักทั้ง 5 แห่ง ยังไปไม่ถึงส่วนภูมิภาค

วิธีการคิด โดยการยึดหลักอริยสัจ 4 คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค โดยนำปัญหามาสู่การเรียนรู้ นำปัญหามาเป็นตัวตั้ง แล้วหาสาเหตุ นำไปสู่แนวทางแก้ไขปัญหา ทำวิธีการเดียวกันทั้ง 6 ปัญหาหลัก ซึ่งในการปฏิบัติได้ดำเนินการเสร็จแล้วบางส่วน มี Outcome แล้ว มี 3 ระยะ คือ โครงการที่มี Outcome แล้ว หรือดำเนินการแล้วและมีผลสัมฤทธิ์แล้ว โครงการที่อยู่ระหว่างดำเนินการ และโครงการที่กำลังผลักดันให้เกิดขึ้น ซึ่งบุคลากรทั้งหมดในกระทรวงศึกษาธิการจะต้องรู้ และเข้าใจแผนนี้ เพื่อให้รู้หน้าที่ของตนเองว่าจะต้องทำอะไร โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการคอยกำกับติดตาม

แนวทางแก้ไขปัญหาทั้งหมดมี 65 โครงการ แก้ไขแล้วและมีผลสัมฤทธิ์แล้วบางส่วน จำนวน 16 โครงการ โครงการที่เริ่มต้นทำแล้วหรืออยู่ระหว่างดำเนินการ จำนวน 37 โครงการ และโครงการที่ต้องผลักดันให้เกิดขึ้นอีก จำนวน 12 โครงการ ต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จกลางปี 2560

 

• การแก้ไขปัญหาเฉพาะครู มี 3 โครงการ ได้แก่

1) คืนครูให้ห้องเรียน คืนครูผู้ทรงคุณค่าแห่งแผ่นดิน สรรหาครูเกษียณอายุราชการและมีจิตอาสาเข้าร่วมโครงการเฉพาะสาขาที่ขาดแคลน เริ่มดำเนินการปี 2559 จำนวน 1,097 คน และปี 2560 จำนวน 10,000 คน

2) ลดภาระครู เป็นการปรับลดภาระการประเมิน การตอบแบบสำรวจ การรายงานข้อมูล การเข้ารับการอบรม การขอความร่วมมืองดกิจกรรมที่ไม่เกี่ยวกับการสอน

3) การสร้างขวัญและกำลังใจให้ครู

- ปรับปรุงบ้านพักครูให้ครบทุกแห่งภายในปี 2561 บ้านพักครูทั้งประเทศมีจำนวน 40,000 หลัง ไม่ได้รับงบประมาณในการปรับปรุงซ่อมแซม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการคาดว่าภายใน 2 ปี จะต้องดำเนินการซ่อมแซมบ้านพักครูทั้งหมดให้แล้วเสร็จ ซึ่งบรรจุไว้ในแผนปฏิบัติการประจำปีเรียบร้อยแล้ว และในปี 2559 ปรับแผนงบประมาณ ได้ 1,000 หลัง

- การโยกย้ายครู เป็นการปรับกฎ ระเบียบ เนื่องจากการเข้าสู่ตำแหน่งของผู้บริหารสถานศึกษาจะต้องได้รับความเห็นชอบจาก อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่ และมีเสียงลือว่าการโยกย้ายจะต้องมีการจ่ายเงินโดยคิดเงินตามระยะทางเป็นกิโลเมตร

- การแก้ปัญหาหนี้สินครู จะต้องดำเนินการ 2 ส่วน คือ 1) ต้องหารือกับผู้ปล่อยกู้ เพราะเงื่อนไขในการปล่อยกู้ง่ายเกินไป พบช่องโหว่เยอะมาก โดยเฉพาะธนาคารออมสิน สหกรณ์ออมทรัพย์ครู 2) การแก้ปัญหาระยะยาว จะต้องสร้างความรับผิดชอบ โดยให้ผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษา และผู้อำนวยการโรงเรียนร่วมรับผิดชอบในการอนุมัติและรับผิดชอบการกู้ (อาจจะกำหนดวงเงินกู้แต่ละระดับที่รับผิดชอบ) ปัญหาครูที่ค้างชำระหนี้ แบ่งเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1 ขั้นวิกฤต จำนวน 1,721 ราย กลุ่มที่ 2 ใกล้วิกฤต จำนวน 1,972 ราย กลุ่มที่ 3 ค้างชำระไม่เกิน 12 งวด จำนวน 18,344 ราย และกลุ่มที่ 4 ลูกหนี้ปกติ จำนวน 29,333 ราย

• โครงการผลิตครูเพื่อพัฒนาท้องถิ่น (คุรุทายาท) หลักการ คือ การคัดเด็กเรียนเก่งเกรดเฉลี่ยชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ไม่ต่ำกว่า 3.00 สมัครเรียนครู โดยมีที่เรียนให้ และมีตำแหน่งรองรับ ไม่ต้องสอบบรรจุแต่อย่างใด และหลักเกณฑ์ คือ ต้องกลับไปบรรจุในภูมิลำเนาของตนเอง ปีละ 4,000 คน โดยจัดสรรจากตำแหน่งของครูเกษียณอายุราชการ 25 % และอีก 75 % เปิดให้สอบแข่งขัน เพราะฉะนั้นกระทรวงศึกษาธิการจะได้ครูที่มีจิตใจในความเป็นครูตั้งแต่ศึกษาอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6

• การแก้ปัญหาร่วมกับภาคเอกชน โดยคณะทำงานร่วมภาครัฐ-เอกชน-ประชาชน เดิมเป็นการดำเนินการแบบ CSR คือการเอาเป้าหมายของบริษัทเป็นหลักในการให้ความช่วยเหลือ แต่แบบใหม่จะต้องเป็น Social Enterprise ต้องเป้าหมายเดียวกัน ซึ่งโชคดีมากที่หลายบริษัทให้ความร่วมมือ มีการ Quick Win ร่วมกันและแบ่งกันชัดเจนทั้งของรัฐและเอกชน กระทรวงศึกษาธิการรับทำข้อตกลง กับ 2 คณะ คือ 1) คณะทำงานด้านการยกระดับคุณภาพวิชาชีพ โดยคุณรุ่งโรจน์ รังสิโยภาส บริษัทปูนซีเมนต์ไทยฯ ลงนาม MOU เมื่อวันที่ 21 มกราคม 2559 Quick Win สร้างแรงจูงใจให้ครูสายวิชาชีพ โดยมี Career Path ในการเติบโต พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี Excellence Model School ขยายผลโครงการทวิภาคี Database of Demand & Supply รองรับการขยายตัวธุรกิจ เน้น 10 กลุ่มอุตสาหกรรมใหม่ Re-branding สร้างแรงจูงใจให้เห็นความก้าวหน้าในสายวิชาชีพ 2) คณะทำงานด้านการศึกษาขั้นพื้นฐานและการพัฒนาผู้นำ โดยคุณศุภชัย เจียรวนนท์ บริษัทเครือเจริญโภคภัณฑ์ จะลงนาม MOU ในเร็วๆ นี้ โดย Quick Win เป้าหมายจะเริ่มดำเนินการ 7,424 โรงเรียนใน 7,424 ตำบล อาจจะแบ่งเป็นเฟส ๆ ละ 2,000 ตำบล จะต้องสำรวจความต้องการของโรงเรียนก่อนดำเนินการ อาจจะเปิดสอนคอร์สภาวะผู้นำให้กับผู้อำนวยการโรงเรียน ซึ่งเอกชนมีความชำนาญ

นายกรัฐมนตรี มีดำริว่าให้ทุกโครงการของทุกกระทรวงระบุระยะเวลาการดำเนินงานให้เห็นเป็นรูปธรรมชัดเจน จบเมื่อไร ดำเนินการอะไร ปี 2560 จะแล้วเสร็จแค่ไหน และจะส่งต่อให้รัฐบาลใหม่อย่างไร กระทรวงศึกษาธิการได้ดำเนินการโดยเรียกว่า ตาราง 3 ช่อง ซึ่งองค์กรหลักและหน่วยงานในกำกับของกระทรวงศึกษาธิการ จะต้องจัดทำ Mind map แบบอริยสัจ 4 และตาราง 3 ช่องทุกโครงการ ให้มีการปรับแผน การปฏิบัติได้ในช่วงเวลา 3 เดือน แต่ต้องมีเหตุผลในการปรับ อาจจะมีการมองว่าอยู่ในกระดาษ แต่องคาพยพทั้งหมดผู้ปฏิบัติจะเข้าใจ และรู้ว่าจะถูกติดตามอย่างไร คนที่เป็นผู้กำกับหน่วยหรือผู้บังคับบัญชาใช้กำกับได้ จึงจะสามารถแก้ปัญหาได้ทั้งระบบ

ในส่วนการทดสอบแบบอัตนัย จะเริ่มใช้กับเด็กประถมศึกษาก่อน ประมาณ 20% อันดับแรกเป็นวิชาภาษาไทย แล้วค่อยๆ พัฒนาต่อไปทีละก้าว ภาษาอังกฤษจะเริ่มปีนี้ และใช้กับมหาวิทยาลัยเพื่อให้นำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ แต่จะต้องหารูปแบบที่เหมาะสม จากข้อสังเกตของผู้ตั้งกระทู้ถาม ให้ออกข้อสอบเพื่อสอบเข้ามหาวิทยาลัยเป็นแบบอัตนัยนั้น ขณะนี้กฎหมายไม่เอื้อให้รัฐมนตรีสั่งการมหาวิทยาลัยได้ แต่ก็มีการพูดคุยหารือไปบ้างแล้ว

 

ที่มา ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2559

 


นโยบายการพัฒนาคุณภาพการศึกษาเพื่อสร้างขวัญกำลังใจให้คนไทย

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

:: เรื่องปักหมุด ::

การคัดเลือกบุคคลเพื่อบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งศึกษานิเทศก์ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ครั้งที่ 2 ปี พ.ศ. 2567

การคัดเลือกบุคคลเพื่อบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งศึกษานิเทศก์ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ครั้งที่ 2 ปี พ.ศ. 2567

เปิดอ่าน 3,100 ☕ 5 พ.ย. 2567

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
นโยบายและจุดเน้นของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568-2569
นโยบายและจุดเน้นของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568-2569
เปิดอ่าน 508 ☕ 22 พ.ย. 2567

ซักซ้อมความเข้าใจเกี่ยวกับการย้ายข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ
ซักซ้อมความเข้าใจเกี่ยวกับการย้ายข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ
เปิดอ่าน 434 ☕ 22 พ.ย. 2567

สมศ.ขานรับนโยบาย "บิ๊กอุ้ม"  ภายใน 5 ปี ประเมินสถานศึกษาครบกว่า 5.8 หมื่นแห่ง
สมศ.ขานรับนโยบาย "บิ๊กอุ้ม" ภายใน 5 ปี ประเมินสถานศึกษาครบกว่า 5.8 หมื่นแห่ง
เปิดอ่าน 548 ☕ 19 พ.ย. 2567

คุรุสภาเปิดรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับ (ร่าง) ข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพครูปฐมวัย พ.ศ. ... และ (ร่าง) ข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพครูการศึกษาพิเศษ พ.ศ. ... ระหว่างวันที่ 15 - 30 พฤศจิกายน 2567
คุรุสภาเปิดรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับ (ร่าง) ข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพครูปฐมวัย พ.ศ. ... และ (ร่าง) ข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพครูการศึกษาพิเศษ พ.ศ. ... ระหว่างวันที่ 15 - 30 พฤศจิกายน 2567
เปิดอ่าน 721 ☕ 15 พ.ย. 2567

"สุเทพ" แนะศึกษาธิการจังหวัดสร้างศรัทธาในการทำงานพร้อมร่วมมือพันธมิตรในพื้นที่ขับเคลื่อนปฏิรูปการศึกษา
"สุเทพ" แนะศึกษาธิการจังหวัดสร้างศรัทธาในการทำงานพร้อมร่วมมือพันธมิตรในพื้นที่ขับเคลื่อนปฏิรูปการศึกษา
เปิดอ่าน 825 ☕ 15 พ.ย. 2567

ปฏิทินการบริหารงานบุคคล สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปี พ.ศ. 2568
ปฏิทินการบริหารงานบุคคล สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปี พ.ศ. 2568
เปิดอ่าน 3,475 ☕ 13 พ.ย. 2567

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

ข้อคิดเห็นต่อการปรับโครงสร้าง กระทรวงศึกษาธิการ
ข้อคิดเห็นต่อการปรับโครงสร้าง กระทรวงศึกษาธิการ
เปิดอ่าน 12,262 ครั้ง

ระบียบว่าด้วยการลาของข้าราชการ พ.ศ. 2535
ระบียบว่าด้วยการลาของข้าราชการ พ.ศ. 2535
เปิดอ่าน 49,468 ครั้ง

ปฏิรูปการศึกษาไทย เป็นเรื่องที่เหลวไหลและเลื่อนลอย
ปฏิรูปการศึกษาไทย เป็นเรื่องที่เหลวไหลและเลื่อนลอย
เปิดอ่าน 16,095 ครั้ง

คลี่ปม "หนี้ครู" 1.2 ล้านล้านบาทมาจากไหน?
คลี่ปม "หนี้ครู" 1.2 ล้านล้านบาทมาจากไหน?
เปิดอ่าน 15,234 ครั้ง

เสียงสะท้อนจากเยาวชน ต่อนโยบายลดเวลาเรียน
เสียงสะท้อนจากเยาวชน ต่อนโยบายลดเวลาเรียน
เปิดอ่าน 15,666 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ