จากผลการจัดอันดับศักยภาพทางการศึกษาวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ ของกลุ่มประเทศ OECD ปี 2015 ประเทศเวียดนามอยู่อันดับ 12 ของโลก
ปัจจัยที่ทำให้การศึกษาของเวียดนามล้มเหลว
1. เน้นดูแลเด็กแบบองค์รวม ไม่เสริมสร้างศักยภาพเด็กเป็นรายบุคคล
2. เน้นการถ่ายทอดองค์ความรู้ให้เด็ก มากกว่าส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตัวเอง
3. หนังสือเรียนและการเรียนการสอนเน้นทฤษฎีมากเกินไป
4. การสอนเน้นให้เด็กได้ความรู้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ จึงเรียนหนักเกินไป
เวียดนามจึงเลือกใช้โมเดลการศึกษาของประเทศโคลอมเบีย คือ Escuela Nueva หรือโรงเรียนใหม่ โดยในห้องเรียน Escuela Nueva มีรูปแบบดังนี้
1. เด็กจะไม่นั่งฟังครูสอนอย่างเดียว แต่แบ่งเป็นกลุ่มย่อย 4-6 คน
2. มีหัวหน้ากลุ่มคอยดูแล นำการสนทนา ปรึกษา ถกเถียงเนื้อหาในแต่ละวิชา
3. เด็กมีสิทธิ์เลือกเนื้อหาและวิธีการเรียนให้สอดคล้องกับวิถีชีวิต
4. โรงเรียนจะจัดมุมชุมชนในโรงเรียน เพิ่มบทบาทของชุมชนและผู้ปกครองในการเรียนการสอน
5. มีบอร์ดแสดงผลงานของนักเรียน เพื่อให้นำเสนอผลงานต่อชุมชนและเพื่อนนักเรียน
6. ครูเปลี่ยนบทบาทเป็นผู้อำนวยความสะดวกในห้องเรียน ให้คำปรึกษาและข้อมูล
7. มีแรงจูงใจให้ครูที่ทำหน้าที่ได้ดี และส่งเสริมศักยภาพเชิงสร้างสรรค์ของครู
เวียดนามเริ่มใช้ระบบ Escuela Nueva ตั้งแต่ปี 2010 โดยมีโรงเรียนนำร่อง 24 โรงเรียนเท่านั้น เมื่อผ่านไปประมาณ 1-2 ปี เวียดนามได้ทำการประเมินออกและพบว่า ประสบความสำเร็จสูงมาก ผู้ปกครองพอใจ เด็กมีความกล้าแสดงออก มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และสื่อสารกับคนรอบข้างได้ดีขึ้น
ปัจจุบันมีโรงเรียนที่ใช้ระบบ Escuela Nueva โดยความช่วยเหลือของ World Bank อยู่มากถึง 1,400 กว่าโรงเรียนและเด็กที่เรียนในระบบทั้งหมด 440,000 คน ปีนี้จะเป็นปีแรกที่รัฐบาลของเวียดนามจะเปลี่ยนระบบการศึกษาให้เป็น Escuela Nueva ทั้งประเทศ
ปัญหาด้านการศึกษาที่ยังคงมีอยู่ในเวียดนาม คือ
- เด็กนิยมเรียนต่อระดับอุดมศึกษาในต่างประเทศมากกว่าในประเทศ
- 37% ของเด็กอายุ 15 ปี ยังไม่ได้อยู่ในโรงเรียน
ชมคลิป
ที่มา: http://news.voicetv.co.th/thailand/312636.html
เรียบเรียงเนื้อหาโดย http://campus.sanook.com/1380369/