ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมบทความการศึกษา  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

คลี่ปม "หนี้ครู" 1.2 ล้านล้านบาทมาจากไหน?


บทความการศึกษา 22 ม.ค. 2559 เวลา 08:47 น. เปิดอ่าน : 15,224 ครั้ง
Advertisement


Advertisement

คลี่ปม "หนี้ครู" 1.2 ล้านล้านบาทมาจากไหน?

กลายเป็นประเด็นที่สังคมให้ความสนใจตลอดทั้งปีที่ผ่านมา จากกรณีพ่อพิมพ์แม่พิมพ์ของชาตินับพันคน ถูกธนาคารออมสินฟ้องล้มละลาย เพราะไม่ชำระหนี้เงินกู้ตามสัญญาที่ระบุไว้ จน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี มีคำสั่งให้กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เดินหน้าแก้ปัญหา

ทว่าการคลี่คลายปัญหาหนี้ครูที่สะสมยาวนานเป็นสิบปีไม่ใช่เรื่องง่าย แม้ที่ผ่านมาจะมีโครงการช่วยเหลือจาก ศธ. และธนาคารออมสินอย่างต่อเนื่อง

ครูไทยเป็นหนี้จากการกู้สูงถึง 1.2 ล้านล้านบาท
ข้อมูลล่าสุด เดือน ธ.ค. 2558 จากธนาคารออมสิน ระบุว่า จำนวนครูและบุคคลากรทางการศึกษาที่เป็นหนี้กับธนาคารออมสินมีทั้งหมดประมาณ 500,000 คน คิดเป็นวงเงิน 500,000 ล้านบาท เฉลี่ยคนละ 1 ล้านบาท โดยเป็นยอดจากเงินในโครงการสวัสดิการเงินกู้ฌาปนกิจสงเคราะห์ช่วยเพื่อนครูและบุคคลากรทางการศึกษา (ช.พ.ค.) ของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคคลากรทางการศึกษา (สกสค.) ที่ธนาคารออมสินดูแลอยู่ถึง 4.7 แสนล้านบาท ซึ่งคาดว่ามีผู้กู้ราว 4.7 แสนคน

ขณะที่ข้อมูลจากกระทรวงศึกษาธิการพบว่า ยอดหนี้เงินกู้รวมทั้งหมดของครูและบุคคลากรทางการศึกษาสูงถึง 1.2 ล้านล้านบาท แบ่งเป็นหนี้จากการกู้สหกรณ์ออมทรัพย์ครูทั่วประเทศ 700,000 ล้านบาท กู้จากธนาคารออมสิน 4.7 แสนล้านบาท และอื่นๆ อีก 50,000 ล้านบาท

เมื่อเทียบกับจำนวนครูและบุคคลากรทางการศึกษาทั้งประเทศในปัจจุบันที่มีอยู่ราว 900,000 คน ในจำนวนนี้มีครูและบุคลากรทางการศึกษาที่เกษียณแล้วประมาณ 2-3 แสนคน พบว่าทั้งหมดกว่าร้อยละ 80-90 ล้วนเป็นหนี้จากการกู้ทั้งสิ้น โดยลักษณะการขอกู้กระจายตัวอยู่ทั่วประเทศ ไม่ได้กระจุกอยู่ภาคใดภาคหนึ่ง

"ฐานะทางสังคม" ต้นเหตุอันดับ 1 ทำ "ครู" เป็นหนี้
"สาเหตุสำคัญที่ทำให้ครูเป็นหนี้มากที่สุด คือการกู้เพื่อซื้อสะสมทรัพย์สิน สร้างฐานะทางสังคม เนื่องจากค่านิยมในสังคมไทยมองว่าครูเป็นผู้มีหน้ามีตา ต้องมีบ้าน มีรถ เสียหน้าไม่ได้ รวมถึงค่าใช้จ่ายทางสังคมอื่นๆ ครูจำนวนไม่น้อยจึงต้องกู้หนี้ยืมสินจากหลายช่องทาง และโปะหนี้ไปมาจนอยู่ในภาวะหนี้สินเรื้อรังซ้ำซ้อน นอกนั้นเป็นการกู้ทั่วไปเพื่อใช้กรณีฉุกเฉิน เช่น บุพการีป่วย หรือกู้เพื่อลงทุนทำอาชีพเสริมสร้างรายได้" รศ.นพ.กำจร ตติยกวี ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ระบุ

นอกเหนือจากเหตุผลฐานะทางสังคมแล้ว เพดานการปล่อยกู้ของธนาคารออมสินที่ขยายเพิ่มจาก 5 แสนบาท เป็น 3 ล้านบาท ตามอัตราเงินเดือน อาจเป็นอีกปัจจัยที่ทำให้ครูและบุคคลากรทางการศึกษาเป็นหนี้มากขึ้น

ส่งผลให้ปี 2558 ธนาคารออมสินยื่นคำเตือนครูและบุคคลากรทางการศึกษาที่ขาดผ่อนชำระหนี้เกินเกณฑ์ 3 เดือนขึ้นไป ให้มาชำระตามเงื่อนไข 13,000 คน ในจำนวนนี้กลับมาติดต่อชำระหนี้กับทางธนาคาร 7,000 คน โดยมี 1,100 คน เลื่อนสถานะกลับมาเป็นลูกหนี้ปกติหลังจากเข้าโครงการขอปรับโครงสร้างหนี้ ส่วนกลุ่มที่ผิดนัดชำระหนี้จนต้องส่งฟ้องคดีล้มละลายเพื่อยึดทรัพย์มีประมาณหลักพันคนเท่านั้น

ออมสินเชื่อไตรมาสแรกปี 59 แก้หนี้ครูเห็นผลเป็นรูปธรรม
ปัญหาหนี้ครูที่เข้าขั้นร้ายแรงกับเม็ดเงินกู้จำนวน 1.2 ล้านล้านบาท แต่ในมุมของ ชาติชาย พยุหนาวีชัย ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน กลับระบุว่า หนี้ครูไม่ได้เป็นปัญหาใหญ่จนแก้ไขไม่ได้

ซึ่งหลังจากธนาคารออมสินออกมาตรการแก้ไขร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการ ในการปรับโครงสร้างหนี้ครูใน 4 มาตรการ ช่วงกลางปี 2558 ที่ผ่านมา เช่น 1.ชะลอการฟ้องร้องดำเนินคดีหรือบังคับคดีไม่เกิน 3 ปี โดยต้องมีระยะเวลาฟ้องคดีเหลือไม่น้อยกว่า 2 ปี สำหรับกลุ่มครูและบุคลากรทางการศึกษาที่เป็นลูกหนี้วิกฤต 2.พักชำระดอกเบี้ยไม่เกิน 3 ปี แต่ให้ชำระเงินต้น สำหรับกลุ่มลูกหนี้ใกล้วิกฤต ให้พักชำระดอกเบี้ยไม่เกินครึ่งหนึ่งเป็นเวลาไม่เกิน 2 ปี และ 3.ให้พักชำระเงินต้นไม่เกิน 2 ปี แต่ให้ชำระดอกเบี้ย สำหรับกลุ่มครูที่เป็นลูกหนี้ปกติ พบว่า มีครู 51,000 คน เข้าร่วมโครงการ ในวงเงิน 70,000 ล้านบาท

"หนี้เสียหรือเอ็นพีแอลจากหนี้ครู ปัจจุบันอยู่ร้อยละ 0.3 จาก หรือ 2,000 ล้านบาท จากจำนวนกู้ 4.7 แสนล้านบาท ขณะที่เอ็นพีแอลทั่วประเทศอยู่ที่ร้อยละ 3 ถือหนี้เสียจากหนี้ครูไม่เยอะและไม่ใช่ปัญหาร้ายแรง และผมเชื่อมั่นว่าภายในไตรมาสแรกของปี 59 การแก้ไขปัญหาหนี้สินครูและบุคลากรทางการศึกษาจะเห็นผลเป็นรูปธรรม" ผอ.ธนาคารออมสิน กล่าว

ส่วนมาตรการช่วยเหลือนับจากนี้ ชาติชายเปิดเผยว่า เตรียมโครงการขยายเวลาชำระหนี้ให้นานขึ้น ซึ่งช่วยให้ครูจ่ายหนี้ต่อเดือนน้อยลง ขณะเดียวกันจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง และอาจตั้งวงเงินเอนกประสงค์ไว้อีกส่วนหนึ่ง ถือว่าเป็นของขวัญปีใหม่จากธนาคารให้มอบครูอีก 4.5 แสนคน ที่ยังไม่ได้เข้าร่วมโครงการปรับสร้างหนี้

โยงจ่ายหนี้เชื่อมวิทยฐานะ กฎเหล็กจาก ศธ. หวังสร้างวินัยการเงินให้พ่อพิมพ์-แม่พิมพ์ชาติ
ขณะที่ รศ.นพ.กำจรกล่าวว่า เพื่อให้การแก้ไขปัญหาหนี้ครูมีศักยภาพและเห็นผลมากขึ้น เนื่องจากกระทรวงศึกษาธิการพบว่า มีครูและบุคลากรทางการศึกษาจำนวนหนึ่ง "ตั้งใจไม่ชำระหนี้" จึงนำเอาการให้หรือเลื่อนระดับวิทยาฐานะ มาผูกโยงการวินัยจ่ายชำระหนี้ของครู โดยใช้เป็นมาตรการขั้นสุดท้ายหากครูหรือบุคลากรทางการศึกษาไม่ให้ความร่วมมือ

ที่ผ่านมากระทรวงศึกษาธิการยืนยันว่า ได้แก้ไขปัญหาหนี้ครู ด้วยการมุ่งเน้นให้คำปรึกษา และให้การช่วยเหลือกลุ่มวิกฤตที่ค้างชำระกับทางธนาคาร 3 เดือนขึ้นไป แต่บางคนพบว่าค้างชำระมากถึง 1 ปี พร้อมกันนั้นยังหาผู้เชี่ยวชาญมาแนะนำการบริหารเงินและการชำระหนี้ แต่ได้ผลน้อยกว่าที่คาดหวังไว้ จึงเป็นที่มาของการนำเอาเรื่องวิทยฐานะมาเป็นตัวสร้างวินัยทางการเงินของครูไทยอย่างยั่งยืน เพราะ แน่ชัดแล้วว่า ศธ.จะไม่นำเงินงบประมาณ มาช่วยชำระหนี้ให้ครูเด็ดขาด

"จริง ๆ ศธ.ไม่อยากใช้วิธีการลงโทษหนัก เพราะครูเป็นพ่อพิมพ์แม่พิมพ์ของชาติ เป็นผู้สร้างอนาคตให้กับเยาวชน แต่หากเบี้ยวนัดชำระหนี้ โดยเฉพาะในกลุ่มที่ตั้งใจ ซึ่งถือว่าไม่มีจรรยาบรรณ สังคมก็ต้องช่วยพิจารณาว่าสมควรเป็นครูหรือไม่" ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ทิ้งปมให้คิด

ด้าน ผอ.ธนาคารออมสิน เห็นด้วยกับมาตรการนี้ โดยให้ความเห็นว่า มาตรการดังกล่าวจะทำให้ภาพพจน์ของครูดูดีขึ้น เมื่อครูชำระหนี้ตรงเวลาไม่กลายเป็นหนี้เสีย ทางสถานบันการเงินก็สามารถปล่อยสินเชื่อได้อย่างสบายใจ

ออมสินชวนรู้ ครูควรเป็นหนี้เท่าใดจึงปลอดภัยต่อการบริหารเงิน
"อัตราส่วนการเป็นหนี้ที่เหมาะสมที่สุดที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดไว้คือ 60 ต่อ 40 หมายถึงเป็นหนี้แค่ร้อยละ 40 และเหลือรายได้อีกร้อยละ 60 ไว้ใช้จ่ายต่อเดือน แต่ในส่วนของออมสินเปิดกว้างให้ผู้กู้หรือกลุ่มครูเป็นหนี้ได้ถึงร้อยละ 70 ต่อเดือน หากระดับเงินเดือนสูงมากพอที่จะจ่ายชำระหนี้ โดยไม่เดือดร้อนการดำรงชีวิตประจำวัน" ชาติชาย ระบุ

ผอ.ธนาคารออมสินกล่าวต่อว่า ส่วนยอดเงินกู้ต่อคนนั้น หากคิดตามฐานเงินเดือนของครูและบุคลากรทางการศึกษาในอัตราเฉลี่ยที่ 24,000 บาท ครู 1 คน ไม่ควรกู้เงิน 1.5 ล้านบาท เพื่อให้ภาระการผ่อนเงินในระยะ 20-30 ปี ไม่บีบรัดจนเกินไป ทั้งนี้ ทางธนาคารได้คำนวณอัตราการปล่อยกู้และผ่อนจ่ายให้แล้วว่า หลังเกษียณครูและบุคลากรต้องมีหนี้ไม่เกิน 6 แสนบาท เพื่อให้รายได้จากเงินเกษียณเพียงพอกับการจ่ายหนี้ในแต่ละเดือน โดยที่ทางธนาคารขยายอายุการชำระหนี้ให้ครูและบุคลากรทางการศึกษาไว้ที่ 75 ปี

หลายฝ่ายออกมาตรการช่วยเหลือ เพื่อสะสาง แก้ไข ปมปัญหาหนี้ครูและบุคลากรทางการศึกษาที่มีมายาวนาน ซึ่งปฏิเสธไม่ได้ว่าปัญหาดังกล่าวกระทบต่อการเรียนการสอนที่มีต่อนักเรียนไม่น้อย ที่เหลือจึงขึ้นอยู่ว่า "ครู" จะร่วมมือ มีวินัย และบริหารจัดการระบบการเงินของตัวเอง เพื่อให้พ้นจากโซ่ตรวนแห่งการเป็นหนี้ได้มากน้อยเพียงใด

สิรินภา อิ่มศิริ
ผู้สื่อข่าวไทยพีบีเอสออนไลน์

ที่มา ไทยพีบีเอส วันที่ 7 มกราคม 2559

 


คลี่ปม "หนี้ครู" 1.2 ล้านล้านบาทมาจากไหน?คลี่ปมหนี้ครู1.2ล้านล้านบาทมาจากไหน?

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

บทบาทผู้นำองค์กร 2020

บทบาทผู้นำองค์กร 2020


เปิดอ่าน 8,798 ครั้ง
ปัจจัยฉุดรั้งการศึกษา (จบ)

ปัจจัยฉุดรั้งการศึกษา (จบ)


เปิดอ่าน 8,542 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

การศึกษาชำรุด-เด็กไม่รู้จักตัวเอง ปรับระบบสอบแค่แก้ปัญหาปลายเหตุ

การศึกษาชำรุด-เด็กไม่รู้จักตัวเอง ปรับระบบสอบแค่แก้ปัญหาปลายเหตุ

เปิดอ่าน 16,982 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
การปฏิรูปการศึกษา การศึกษายุค 4.0 : โดย ประเสริฐ ตันสกุล
การปฏิรูปการศึกษา การศึกษายุค 4.0 : โดย ประเสริฐ ตันสกุล
เปิดอ่าน 29,960 ☕ คลิกอ่านเลย

เด็กๆ ควรใช้นิ้วมือในการนับเลขหรือไม่
เด็กๆ ควรใช้นิ้วมือในการนับเลขหรือไม่
เปิดอ่าน 37,084 ☕ คลิกอ่านเลย

แบ่งชนชั้นโดยการศึกษา โดย วีรพงษ์ รามางกูร
แบ่งชนชั้นโดยการศึกษา โดย วีรพงษ์ รามางกูร
เปิดอ่าน 26,981 ☕ คลิกอ่านเลย

เรียนยังไงให้ "เก่ง" และต้องเก่งกว่าครูบาอาจารย์ คำแนะนำจากนักเรียนทุนชื่อ "ดร.ป๋วย"
เรียนยังไงให้ "เก่ง" และต้องเก่งกว่าครูบาอาจารย์ คำแนะนำจากนักเรียนทุนชื่อ "ดร.ป๋วย"
เปิดอ่าน 13,545 ☕ คลิกอ่านเลย

ทำไมคนไทยปฏิรูปการศึกษาไม่ได้ผล
ทำไมคนไทยปฏิรูปการศึกษาไม่ได้ผล
เปิดอ่าน 15,704 ☕ คลิกอ่านเลย

เทคนิคการอ่านเพื่อให้เกิดทักษะ
เทคนิคการอ่านเพื่อให้เกิดทักษะ
เปิดอ่าน 17,960 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

"หัวใจเต้นผิดจังหวะ" แค่ตื่นเต้นหรือป่วย
"หัวใจเต้นผิดจังหวะ" แค่ตื่นเต้นหรือป่วย
เปิดอ่าน 42,097 ครั้ง

อารยธรรมกรีกโบราณ
อารยธรรมกรีกโบราณ
เปิดอ่าน 44,663 ครั้ง

เรียนคณิต ใครว่ายาก
เรียนคณิต ใครว่ายาก
เปิดอ่าน 17,152 ครั้ง

เตือนคนไทยระวัง "โรคลมร้อน"
เตือนคนไทยระวัง "โรคลมร้อน"
เปิดอ่าน 9,687 ครั้ง

10 วิธีน้ำหนักลด โดยไม่รู้ตัว
10 วิธีน้ำหนักลด โดยไม่รู้ตัว
เปิดอ่าน 13,122 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ