เมื่อวันที่ 12 มกราคม 2559 ที่ผ่านมา ดร.สุวรรณ พิณตานนท์ (กูรูด้านการศึกษาแห่งกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น) ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟชบุ๊คฝากแชร์ในประเด็น "ความแตกต่างระหว่าง ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก กับ โรงเรียนอนุบาล" โดยมีเนื้อหา ดังนี้
ขอความกรุณาช่วยกันแชร์
เพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับความแตกต่างระหว่าง ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก กับ โรงเรียนอนุบาล
เนื่องจากในวงการศึกษาทั้งประเทศกำลังสับสนเกี่ยวกับการศึกษาปฐมวัย. แยกไม่ออกว่าอะไรเป็นสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย(ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก). และอะไรเป็นอนุบาล เอามาตรฐานการศึกษาปฐมวัยมาตีความกันมั่วไปหมด
จึงขออนุญาตอธิบายให้เกิดความเข้าใจกัน ดังนี้
ตามแนวคิดทฤษฎี ปฐมวัย หมายความถึง วัยตั้งแต่แรกเกิดไปจนถึงก่อนอายุ7ปี
ปฐมวัยจะแบ่งออกเป็น 2 ช่วงวัย คือ
1)ก่อนวัยเรียน แรกเกิดถึงก่อน4ปี)
อยู่ในความรับผิดชอบของพ่อแม่ผู้ปกครองและสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย(ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก)เป็นผู้รับผิดชอบในการอบรมเลี้ยงดู
2)วัยเรียน (ตั้งแต่ 4ปีขึ้นไปจนถึงก่อน7ปี)
อยู่ในความรับผิดชอบของโรงเรียน ซึ่งถือเป็นการศึกษาขั้นพื้นฐานในระดับก่อนประถมศึกษา
(ตาม พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติฯ แบ่งการศึกษาขั้นพื้นฐานออกเป็น3ระดับ คือ ระดับก่อนประถมศึกษา ระดับประถมศึกษา และระดับมัธยมศึกษา)
มาตรฐานการศึกษาปฐมวัย(2-5ปี) หมายความว่า เด็กสามารถเข้าสถานศึกษาได้ตั้งแต่อายุ2ปี โดย อายุ2-ก่อน4ปี เข้า สถานพัฒนาเด็กปฐมวัย(ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก). แล้วตั้งแต่4ปีขึ้นไปเข้าโรงเรียน
ดังนั้น. สถานพัฒนาเด็กปฐมวัย เป็นสถานศึกษาของการศึกษานอกระบบ ตาม พ.ร.บ.การศึกษา.
ส่วน โรงเรียนอนุบาล เป็นสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ระดับก่อนประถมศึกษา
ดังจะเห็นได้จากประกาศ ของ สพฐ. ที่ให้โรงเรียนมนสังกัดรับเด็กก่อนประถมศึกษาที่มีอายุ4ปีขึ้นไป
ดังนั้น สถานพัฒนาเด็กปฐมวัย(ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก)จึงไม่มีหน้าที่จัดการศึกษาในระดับอนุบาล
และโรงเรียน สพฐ. ก็ไม่ควรรับเด็กที่มีอายุต่ำกว่า4ปี
ฉนั้น. โรงเรียน สพฐ. ที่รับเด็กอายุต่ำกว่า4ปี ไม่ปฏิบัติตามประกาศของ สพฐ. อปท สามารถปฏิเสธไม่จ่ายเงินอุดหนุนได้. รร สพฐ. ที่ฝ่าฝืนประกาศต้องใช้เงินของตนเองจ่ายเป็นค่าอาหารเสริม(นม)และอาหารกลางวัน
ที่มาเนื้อหาและภาพประกอบจาก www.thailocalmeet.com