Advertisement
โดย ชุลีพร อร่ามเนตร เกศกาญจน์ บุญเพ็ญ
อัตราการสอบเข้าแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้าเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาตำแหน่งครูผู้ช่วยกรณีทั่วไป ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.) ครั้งที่ 2/2558 ที่ผ่านมา พบมีผู้ที่สอบผ่านตามเกณฑ์ที่กำหนดไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60 เพียง 19,940 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 19.12 จากจำนวนผู้เข้าสอบทั้งสิ้น 104,265 คน เป็นตัวเลขที่สพฐ.บอกว่าไม่น้อยและสูงเกินกว่าเป้า
แต่ทำให้เกิดข้อกังขาถึงเรื่องคุณภาพการผลิตบัณฑิตครูในปัจจุบัน เหตุใดผู้ที่เรียนจบหลักสูตรครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์โดยตรงไม่สามารถสอบคัดเลือกเพื่อเป็น "ครู" ได้ มาตรฐานและคุณภาพการเรียนการสอนย่อหย่อนจนส่งผลกระทบต่อบัณฑิตครูที่จบมาไม่มีศักยภาพอย่างนั้นหรือ...คุณภาพครูถือเป็นปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อคุณภาพเด็ก ทำให้กระทรวงศึกษาธิการ(ศธ.) เฟ้นหามาตรการเพื่อพัฒนาคุณภาพครู แก้ไขและเยียวยาเพื่อคงครูที่มีคุณภาพอยู่ในระบบให้นานที่สุด ความพยายามล่าสุดมีแนวคิดจะคัดกรองสถาบันการศึกษาที่มีคุณภาพแท้จริงมาทำหน้าที่ผลิตครู โดยเฉพาะเบื้องต้นเสนอไอเดียให้ใช้วิธีการกำหนดเป้าหมายจำนวนบัณฑิตที่เข้าสู่วิชาชีพครูของแต่ละแห่งมาเป็นตัวชี้วัด เพื่อการันตีคุณภาพของสถาบันการศึกษานั้นๆ ซึ่งถ้าไม่มีคุณภาพจริงคงไม่สามารถผลิตบัณฑิตครูอย่างที่ต้องการได้ ไม่มีคนสนใจมาเลือกเรียน และอาจต้องปิดตัวไปในที่สุด
มองลึกลงไปถึงคุณภาพบัณฑิตครูผ่านการสอบคัดเลือก "รศ.ดร.สุขุม เฉลยทรัพย์"ประธานที่ปรึกษาอธิการบดีมหาวิทยาลัยสวนดุสิต ในฐานะผู้ดูแลการออกข้อสอบคัดเลือกครูให้สพฐ.มาหลายสมัย ให้ความเห็นว่า เวลานี้เราไม่มีข้อสอบกลางที่เป็นมาตรฐานเดียวกันเพื่อนำมาใช้จัดสอบ ไหนจะปัญหาเรื่องการทุจริตข้อสอบรั่วมาหลอกหลอนเป็นเหตุให้สพฐ.ต้องหาผู้บริหารจัดการสอบคือมหาวิทยาลัยต่างๆ มาทำหน้าที่ แต่พบว่ามีผู้ทำงานนี้ไม่มากเนื่องจากต้องมีความรับผิดชอบสูงและต้องยอมรับว่าการออกข้อสอบที่ผู้ออกข้อสอบต่างคนต่างสถาบันแม้จะกำหนดเนื้อหาสาระเดียวกันไว้มาตรฐานข้อสอบก็ยังแตกต่างกัน
"เรื่องมาตรฐานข้อสอบที่แตกต่างกันนี้เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้การสอบครูผู้ช่วยที่ผ่านๆ มาพบว่าบางเขตพื้นที่การศึกษามีคนสอบผ่านขึ้นบัญชีได้เยอะมาก ขณะที่บางเขตพื้นที่ฯ มีผู้ผ่านน้อย ซึ่งการที่มีผู้สอบผ่านน้อยก็อาจเกี่ยวข้องกับหลายปัจจัย ได้แก่ 1.ข้อสอบยากเกินไป 2.คุณสมบัติคนสมัครสอบต่างกัน และ 3.การกำหนดกรอบคิดเนื้อหาโครงสร้างการสอบแตกต่างกัน ซึ่งทั้งหมดนี้ส่วนหนึ่งต้องมองพื้นฐานการผลิตครูของแต่ละสถาบันที่จะมีจุดเน้นไม่เหมือนกัน ก็ส่งผลต่อคุณภาพบัณฑิตย่อมต่างกัน" รศ.ดร.สุขุมกล่าว สำหรับข้อสอบคัดเลือกบุคคลที่เหมาะสม จะแบ่งเป็น 3 ระดับ คือ ระดับพื้นฐานที่ควรรู้ เป็นความรู้พื้นฐานที่ควรรู้ในวิชาชีพครู ระดับกลาง มีความรู้ในเรื่องนั้นๆ แต่อาจจะไม่ลึกมาก และระดับการจำแนก ซึ่งสามารถคัดคนที่เก่งดีมีคุณภาพ ทำให้ได้ครูคุณภาพได้ เพราะฉะนั้นการจะคัดเลือกคน ความยาก-ง่ายของข้อสอบการคัดเลือกมีนัยสำคัญที่จะทำให้ได้ครูมีคุณภาพหรือครูไม่มีคุณภาพเช่นกัน
"ปัจจุบันการสอบคัดเลือกครูยังไม่ค่อยให้ความสำคัญในเรื่องของคุณภาพ แต่มุ่งเน้นเพื่อคัดเลือกคนที่จะมาบรรจุเป็นครูไปสอนเด็กเท่านั้นทั้งที่การสอบคัดเลือกเพื่อให้ได้ครูเก่งครูดีตรงนี้ถือเป็นขั้นตอนสำคัญที่สุดอยากให้ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบหันมามอง แต่เวลานี้เรายังวนเวียนกับหลุมดำของปัญหาการทุจริตข้อสอบรั่ว ทำให้การสอบแข่งขันเพื่อคัดเลือกครูผู้ช่วยแต่ละครั้งที่พุ่งเป้าไปที่การได้คนมาเป็นครูกระบวนการดำเนินการต้องไม่มีปัญหา เหล่านี้เป็นเรื่องใหญ่ ซึ่งผมเชื่อว่าถ้ากลับมามองในมิติคุณภาพมากขึ้นจุดนี้จะช่วยยกระดับคุณภาพการศึกษาไทยได้พอสมควร" รศ.ดร.สุขุมกล่าว
ขณะที่ฝ่ายสถาบันผลิตครูมองสถานการณ์ที่เกิดขึ้น "รศ.ดร.สุรชัย จิวเจริญสกุล" คณบดีคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวว่าปัจจัยที่อาจส่งผลให้ผู้ที่จบครูไม่สามารถสอบบรรจุครูได้นั้น ส่วนหนึ่งน่าจะเกิดจากสาขาที่เปิดรับไม่สอดคล้องกับความสามารถของครูที่จบ ซึ่งเมื่อครูไปสอบทำให้ไม่มีองค์ความรู้ในวิชานั้นๆ เท่าที่ควร
อีกทั้งเรื่องดังกล่าวยังสะท้อนถึงคุณภาพหลักสูตรได้ เพราะตอนนี้หลักสูตรของสถาบันผลิตครูแต่ละแห่งมีความอิสระในการบริหารจัดการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรของตนเอง ดังนั้นทำให้คุณภาพมาตรฐานของแต่ละหลักสูตรสถาบันการผลิตมีความแตกต่างกัน คุณภาพของบัณฑิตครูที่จบออกมาจึงแตกต่างกันด้วย
"สถาบันผลิตครูแต่ละแห่งมีแนวทางกระบวนการผลิตครูแตกต่างกันบางแห่งอาจมุ่งผลิตครูที่มีองค์ความรู้แต่ขาดทักษะการสอน หรือผลิตครูมีจิตวิญญาณของความเป็นครู มีองค์ความรู้และมีทักษะการสอน ซึ่งขึ้นอยู่กับเป้าหมายบริบทของครูแต่ละพื้นที่ แต่เชื่อว่าทุกแห่งมีการจัดการศึกษาเพื่อผลิตครูให้เป็นครูที่สมบูรณ์แบบ มีความรู้ในวิชาสอน มีจิตวิญญาณของความเป็นครู และที่สำคัญครูรุ่นใหม่ต้องรู้จักปรับเปลี่ยนตัวเอง จัดกิจกรรม มีวิธีการสอนใหม่ๆ ให้สอดคล้องกับลักษณะของเด็กรุ่นใหม่"
รศ.ดร.สุรชัย บอกอีกว่า หลักสูตรการผลิตครูมีแนวทางในการปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องและมีความทันสมัยมากขึ้น โดยพยายามมุ่งผลิตครูที่เน้นการสอนแบบคิดวิเคราะห์ มีจิตวิญญาณของความเป็นครู และมีทักษะในการสอน ซึ่งเรื่องการสอบเข้านั้นหากต้องการให้ครูสอบเข้าได้มากขึ้นไม่ใช่เพียงหน่วยงานที่รับผิดชอบอย่างสถาบันผลิตครูที่ต้องกลับมาทบทวนถึงกระบวนการเรียนการสอนการผลิตครูแต่ละสถาบันให้มีความเชื่อมโยงมุ่งไปในทิศทางมีมาตรฐานและคุณภาพที่เท่าเทียมกันเท่านั้น
"ระบบการผลิตครูในประเทศไทยมีแนวทางในการปฏิรูปปรับเปลี่ยนหลายต่อหลายครั้ง แต่ยังไม่สามารถยกระดับพัฒนาคุณภาพครูได้ตามความเป็นจริง กระทรวงศึกษาธิการและสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาหน่วยงานที่กำกับดูแลต้องเอาจริงเอาจัง มีระบบในการพัฒนาครูอย่างแท้จริงด้วย ต้องดูว่าบทบาทหน้าที่ของครูในปัจจุบันและอนาคตเป็นเช่นใดคนเป็นครูต้องมีลักษณะอย่างไร และสำรวจว่าคณะใด มหาวิทยาลัยใด มีศักยภาพในการผลิตครู แล้วครูมีความรู้ความสามารถสอบเข้าได้จำนวนมากหรือมีหลักในการพัฒนาครูที่ดีก็นำมาเป็นต้นแบบให้แก่สถาบันอื่นๆ ไม่ใช่ปล่อยปละละเลยสถาบันไหนผลิตครูดีก็ผลิตต่อไป ขณะเดียวกันหน่วยงานที่ใช้ครูอย่างสพฐ.เองก็ต้องบอกให้ได้ว่าต้องการเด็กแบบไหน ครูอย่างไร และในแต่ละวิชาต้องการสัดส่วนเท่าใด สถาบันผลิตครูได้ผลิตตอบโจทย์ รวมถึงสถาบันผลิตครูก็ต้องมุ่งผลิตครูคุณภาพไม่ใช่ปริมาณ" รศ.ดร.สุรชัยแนะนำทิ้งท้าย
ทุกฝ่ายทั้งคนผลิต คนใช้ คงต้องร่วมมือกันแก้ปัญหานี้
ที่มา คมชัดลึก วันที่ 11 มกราคม 2559
หน้าหนาวแล้ว คุณครูสนใจไหม DoDo เก้าอี้แคมป์ปิ้ง รับน้ำหนักได้เยอะ พร้อมกระเป๋าจัดเก็บ โครงอลูมิเนียมรับน้ำหนักได้200KG ในราคา ฿189 - ฿509 ที่ Shopeehttps://s.shopee.co.th/9pNuttuIUm?share_channel_code=6
Advertisement
เปิดอ่าน 8,720 ครั้ง เปิดอ่าน 8,282 ครั้ง เปิดอ่าน 50,312 ครั้ง เปิดอ่าน 11,219 ครั้ง เปิดอ่าน 38,492 ครั้ง เปิดอ่าน 12,438 ครั้ง เปิดอ่าน 48,182 ครั้ง เปิดอ่าน 18,813 ครั้ง เปิดอ่าน 8,843 ครั้ง เปิดอ่าน 18,790 ครั้ง เปิดอ่าน 21,147 ครั้ง เปิดอ่าน 32,889 ครั้ง เปิดอ่าน 9,118 ครั้ง เปิดอ่าน 9,372 ครั้ง เปิดอ่าน 8,880 ครั้ง เปิดอ่าน 13,042 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 8,818 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 10,000 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 10,324 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 12,135 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 11,884 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 8,249 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 21,039 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 17,827 ครั้ง |
เปิดอ่าน 14,502 ครั้ง |
เปิดอ่าน 15,881 ครั้ง |
เปิดอ่าน 33,641 ครั้ง |
เปิดอ่าน 25,778 ครั้ง |
|
|