ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมเกาะกระแสโลกสังคมออนไลน์  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

เกิดทันไหม ประกาศผลเอ็นทรานซ์ ยุคเริ่มแรกและ ยุคปี 2530


เกาะกระแสโลกสังคมออนไลน์ 10 ม.ค. 2559 เวลา 17:35 น. เปิดอ่าน : 14,407 ครั้ง
Advertisement


Advertisement

เกิดทันไหม ประกาศผลเอ็นทรานซ์ ยุคเริ่มแรกและ ยุคปี 2530

ย้อนไปดูกันตั้งแต่ยุคเริ่มแรกที่มีการสอบเข้ามหา'ลัย ที่เรียกว่าการสอบ 'เอนทรานซ์' จนมาถึงยุคปัจจุบัน 'แอดมินชั่น' 58

ส่วนหนึ่งจากประสบการณ์หมอเอง

ปี 2504 จุดเริ่มต้นการสอบเอนทรานซ์ ยุคนั้นการเรียนมัธยมเขาใช้ชื่อเรียกว่า มศ. ซึ่งก่อนจะสอบเข้ามหาลัยได้ต้องจบ มศ.5 กันก่อน (ก็เทียบกับจบ ม.6 ในสมัยนี้นั่นเอง) ซึ่งในตอนนั้นโรงเรียนที่ต่างจังหวัดส่วนมากจะมีให้เรียนถึงแค่ช่วง ม.ต้น หากจะเข้ามหาลัยก็ต้องมาเรียนต่อ ม.ปลายในกรุงเทพ

ปี 2504 นั้น ถือเป็นการเริ่มต้นการสอบเอนทรานซ์เข้ามหาวิทยาลัย จึงมีเพียงแค่ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ (อ้างอิงจากวิกิพีเดีย) ที่เปิดสนามให้สอบ โดยกติกาการสอบเอนทรานซ์นั้น เลือกได้ 6 คณะ ต่อมาเหลือเพียง 4 คณะ

ดูผลสอบที่สนามจุ๊บ
ถ้าไม่อยากนอนดึกแล้วรู้ผลเลยก็ค่อยไปดูประกาศที่มหาลัยดีกว่า ยุคแรกๆ จริงๆ จะมีประกาศรายชื่อติดไว้ที่สนามส่วนกลาง ซึ่งยุคแรกเลยคือ สนามจุ๊บ หรือ สนามกีฬาจารุเสถียร ซึ่งปัจจุบันเป็นสนามกีฬาของสโมสรฟุตบอลจามจุรี ยูไนเต็ด คนอยู่ต่างจังหวัดก็เดินทางมาดูกันด้วย และสิ่งที่ขาดไม่ได้เลยคือ
“คืนส่องเทียนอันแสนขมขื่น”

ระบบเอาเทียนไปส่องน่าจะเกิดก่อนระบบประกาศผลโทรทัศน์ ที่ต้องเอาเทียนไปส่อง เพราะเจ้าหน้าที่จะติดผลสอบ 1 คืนก่อนวันประกาศจริงแถวๆ สนามจุ๊บ คนที่อยากรู้ล่วงหน้า ก็ต้องเอาเทียนไปส่อง (ทำไมไม่ใช้ไฟฉาย ก็ไม่รู้) เพราะเค้าไม่เปิดไฟ มันมืดมาก เขาจะติดบอร์ดตอนกลางคืน 4-5ทุ่มจะมีคนเอาไฟฉายไปส่องดู จนเป็นตำนาน "คืนส่องเทียน"

แต่คืนส่องเทียน จะมีบรรยากาศที่เศร้ามาก ใครเคยไปจะรู้ เพราะจะได้ยินคนร้องไห้ตลอดคืนจากคนที่ผิดหวัง (สอบไม่ติด) ซึ่งเป็นส่วนมาก มากกว่าคนสอบติดประมาณ 10 ต่อ 1 และในสมัยก่อนก็ไม่มีมหาลัยเอกชนมารองรับเยอะแยะเหมือนปัจจุบัน คนเอ็นไม่ติดจะค่อนข้างเขว้งขว้าง ปัจจุบันไม่มีแล้วครับ

ความรู้สึกมันบีบหัวใจมาก ๆ ยังไม่พอ ต้องถือเทียนไปส่องตามบอร์ดด้วย นั้นล่ะ มันถึงจะเข้าถึงอารมณ์ เด็กๆ สมัยนี้สบายกว่าเยอะมาก

การจุดเทียนไปดูผลสอบ สาเหตุที่ต้องจุดเทียนไปดูก็เพราะว่าเขาจะติดป้ายประกาศกันตอนช่วงค่ำ ซึ่งแน่นอนว่าใครก็อยากจะรู้ผลเร็วๆ กันทั้งนั้น เลยรอไปดูตอนเช้ากันไม่ไหว เด็กนักเรียนสมัยนั้นจึงต้องพกเทียน พกไฟฉายไปนั่งรอ เพื่อจะได้ส่องดูผลสอบเมื่อเขามาติดกระดาษประกาศผลบนบอร์ด

นอกจากนี้ก็ยังมีพวกรุ่นพี่มาช่วยเชียร์รุ่นน้องด้วย ใครติดก็เฮลั่นดีใจ ใครไม่ติดบางคนก็ร้องไห้กันตรงนั้นเลย แต่ยุคต่อมาย้ายไปประกาศที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน (ซึ่งปัจจุบันนี้นี้ไม่มีแล้ว)

ดูผลสอบทางจดหมาย,หนังสือพิมพ์

เป็นการแจ้งชื่อที่อยู่ไว้ พอสอบเสร็จเจ้าหน้าที่ก็จะดำเนินการส่งผลสอบไปให้ทางไปรษณีย์ นักเรียนก็รอจดหมายประกาศผลสอบอยู่กับบ้าน ฟีลลิ่งแบบไปรษณีย์มาส่งของทีไรต้องวิ่งออกไปพร้อมกับอาการใจเต้นตุ่มๆ ต่อมๆ ว่าใบผลสอบมาหรือยัง เปิดดูแล้วจะร้องดีใจ หรือร้องไห้หนักมากเพราะไม่ติด นอกจากนี้ก็ยังมีประกาศลงบนหนังสือพิมพ์ อาทิเช่น หนังสือพิมพ์วัฎจักร ไม่แน่ใจว่าประกาศลงบนหนังสือพิมพ์หัวอื่นๆ ด้วยหรือเปล่า

ดูผลสอบทางทีวี
เริ่มตั้งแต่ช่วงประมาณ พ.ศ.2530 สมัยก่อนการประกาศผลเอ็นทรานซ์ (สอบเข้ามหา'ลัย) จะประกาศทางโทรทัศน์ช่อง 9 อสมท. โดยจะเริ่มประกาศตอนเที่ยงคืนเป็นต้นไป เรียงตามรหัสตั้งแต่คนแรกไปถึงคนสุดท้าย น้องๆและกองเชียร์ เด็กม.6 รวมทั้ง เด็กสอบเทียบ เด็กซิ้ว จะต้องนั่งลุ้นแบบ วิต่อวินาทีเพราะ รายชื่อ ประกาศผลเอ็นทรานส์ จะไหลไปแบบเขื่อนแตก คือ เร็วมากๆ ดูแล้วตื่นเต้นจริงๆ ไม่เหมือนสมัยนี้ มีอินเตอร์เน็ต มือถือ เช็คผลการสอบ ต่างๆได้อย่างสะดวกรวดเร็ว

โดยเฉพาะถ้าบ้านไหนมีลูกมีหลานอยู่ ม 6 ที่ต้องลุ้นผลโต้รุ่งกันเลยทีเดียว พอรู้ผลก็ตะโกนดังไม่ได้ เพราะอาจถูกข้างบ้านด่า และรายชื่อจะไหลเร็วมาก เผลอลุกไปห้องน้ำไม่ได้เลย ดูแล้วตื่นเต้นแทน

ผู้ประกาศข่าวในยุคนั้นคือ คุณวิทวัส สุนทรวิเนตร์ พิธีกรรายการตีสิบ และคุณอรุณโรจน์ เลี่ยมทอง (ยังละอ่อนอยู่เลยนะ )

บทส่งท้าย
1 สมัยอดีตวันวาน ต้องลุ้นมากๆ นอนไม่หลับไปหลายคืนก่อนวันรู้ผล บางทีก็คิดว่า น่าจะกลับไปเหมือนวันวาน ที่เป็นตำนาน เป็นความภาคภูมิใจ เป็นประสบการณ์ที่น่าจดจำ อดีตที่หวนคิดถึงครั้งใด ก็จะเป็นความทรงจำที่ดี ครั้งหนึ่งในชีวิตของนักเรียน ม ปลาย หลายๆคน

2 สมัยหมอสอบ ไม่ทันยุคดูผลสอบทางทีวี แต่ทันดูผลสอบทางจดหมาย,หนังสือพิมพ์ และ ตำนาน "คืนส่องเทียน" แต่ที่รู้เรื่องราวเพราะสมัยช่วง ม ต้น ได้ติดตามพี่ๆ ญาติๆไปซึมซับบรรยากาศเหล่านั้น
เคยนั่งดูเป็นเพื่อนพี่ๆญาติๆลุ้นผลไปด้วยกัน classic มากๆๆ น่าจดจำ เป็นเรื่องราวที่ดีๆ บรรยากาศเพื่อนฝูงที่คอยให้กำลังใจกัน ไปดูผลสอบกัน อยู่ด้วยกันดึกๆดื่นๆ กอดคอกันร้องไห้ดีใจ ปลอบใจ มันเป็นบรรยากาศที่อธิบายด้วยตัวหนังสือได้ไม่หมดจริงๆ ไม่เหมือนยุคสมัยนี้เลย

3 สมัยหมอ สอบเทียบ ม 2 ขึ้น ม3 ได้ สอบเทียบ ม 4 และ ม5 ขึ้น ม 6 ได้ เรียนหลักสูตร ม ปลาย 2 ปีได้ ไม่แปลกใจเลยที่ หนุ่มสาวสมัยก่อนจะเรียนมหาวิทยาลัยตั้งแต่อายุยังน้อย 15 ปีก็มีให้เห็น ยิ่งเป็นคณะแพทย์ด้วยแล้ว คำนำหน้า ยังเป็น ดช หรือ ดญ ตบเท้าเรียงแถวกันมาเรียนหมอก็มีให้เห็นเรื่อยๆนะครับ

4 รูปภาพบรรยาเก่าๆ เอามาให้ดูกัน ภาพขาวดำที่เห็น ถ่ายเมื่อประมาณยี่สิบกว่าปีมาแล้ว เป็นภาพบรรยากาศที่นักเรียนมาดูบอร์ดประกาศผลซึ่งตั้งเรียงรายอยู่รอบนอกของสนามจุ๊บ คลาคล่ำไปด้วยนักเรียนที่พกความตื่นเต้นมาดูผลสอบ

 

  

Good night krub
หมอ เอง ^^

 

ขอบคุณที่มาภาพและเนื้อหาจาก เฟซบุ๊ค เรื่องเล่าหมอ x exclusive

  


เกิดทันไหม ประกาศผลเอ็นทรานซ์ ยุคเริ่มแรกและ ยุคปี 2530เกิดทันไหมประกาศผลเอ็นทรานซ์ยุคเริ่มแรกและยุคปี2530

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

:: เรื่องปักหมุด ::

สุดประทับใจ! ครูสาวแบกนร.หญิงป่วยหนัก เดินลงจากดอยไปส่งรพ.

สุดประทับใจ! ครูสาวแบกนร.หญิงป่วยหนัก เดินลงจากดอยไปส่งรพ.

เปิดอ่าน 19,364 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
น่าชื่นชม!!เด็กม.3รับแปลภาษาจีนรายได้ร่วม3หมื่นต่อเดือน
น่าชื่นชม!!เด็กม.3รับแปลภาษาจีนรายได้ร่วม3หมื่นต่อเดือน
เปิดอ่าน 30,928 ☕ คลิกอ่านเลย

หมอขายครีม ผิดจรรยาบรรณ?
หมอขายครีม ผิดจรรยาบรรณ?
เปิดอ่าน 22,569 ☕ คลิกอ่านเลย

ฮอตมาก อาจารย์สถาปัตย์ มทร.ศรีวิชัย ดัดแปลงเพลงฮิต "ไสว่าสิบ่ถิ่มกัน" ทวงการบ้านนักศึกษา
ฮอตมาก อาจารย์สถาปัตย์ มทร.ศรีวิชัย ดัดแปลงเพลงฮิต "ไสว่าสิบ่ถิ่มกัน" ทวงการบ้านนักศึกษา
เปิดอ่าน 12,761 ☕ คลิกอ่านเลย

"มองการศึกษาในมุมใหม่" การ์ตูนสะท้อนการศึกษาไทย ที่ "ผู้ใหญ่" ควรทำความเข้าใจ
"มองการศึกษาในมุมใหม่" การ์ตูนสะท้อนการศึกษาไทย ที่ "ผู้ใหญ่" ควรทำความเข้าใจ
เปิดอ่าน 23,564 ☕ คลิกอ่านเลย

10 ประการที่ญี่ปุ่นก้าวหน้าระดับโลก
10 ประการที่ญี่ปุ่นก้าวหน้าระดับโลก
เปิดอ่าน 11,258 ☕ คลิกอ่านเลย

สดุดี ‘ครูทองล้อม’ เกษียณกว่า 20 ปี ยังมาสอนเลข แต่งเพลงให้เด็กจำ ผ่านยกห้อง
สดุดี ‘ครูทองล้อม’ เกษียณกว่า 20 ปี ยังมาสอนเลข แต่งเพลงให้เด็กจำ ผ่านยกห้อง
เปิดอ่าน 118,110 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

2 สูตรความงามจากน้ำผึ้ง
2 สูตรความงามจากน้ำผึ้ง
เปิดอ่าน 9,072 ครั้ง

เกร็ดความรู้ เกี่ยวกับน้ำตาลในผัก
เกร็ดความรู้ เกี่ยวกับน้ำตาลในผัก
เปิดอ่าน 19,105 ครั้ง

การปฐมพยาบาล
การปฐมพยาบาล
เปิดอ่าน 13,568 ครั้ง

หนังสือเสียงสร้างสุขในโลกมืด
หนังสือเสียงสร้างสุขในโลกมืด
เปิดอ่าน 9,992 ครั้ง

หมู่บ้านอยู่แล้วรวยตามฮวงจุ้ย
หมู่บ้านอยู่แล้วรวยตามฮวงจุ้ย
เปิดอ่าน 10,653 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ