Advertisement
นโยบาย "ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้" ที่ทำให้ครูต้องปรับบทบาทกันยกใหญ่อยู่ในขณะนี้ นับเป็นเรื่องที่สร้างความตื่นตัวให้กับวงการศึกษาไทยเป็นอย่างมาก บางโรงเรียนได้เข้าร่วมโครงการแล้ว บางโรงเรียนก็กำลังศึกษาแนวทางกันอยู่ แต่ไม่ว่าใครจะอยู่ในระยะใดย่อมต้องพิจารณาประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นกับนักเรียนเป็นเรื่องสำคัญ
เรื่องดังกล่าวจึงเป็นหนึ่งในหัวข้อสำคัญของงาน "แม็คเอ็ดดูก้า 2016 (MACEDUCA 2015) ปฏิรูปการเรียนรู้...ครูคือหัวใจ" ครั้งที่ 2 โดยได้รับเกียรติจากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ ในแวดวงการศึกษาหลายท่าน มาร่วมแนะ แนวทางให้ครูที่เข้าอบรมว่าหลังจากนี้ควรจะปรับตัวอย่างไร
ดร.บุญรักษ์ ยอดเพชร ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้กล่าวถึงนโยบาย "ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้" ว่า การที่ รัฐบาลมีนโยบายให้ลดเวลาสอนของครูและเพิ่มเวลาเรียนรู้ในทักษะต่างๆ ที่จำเป็นต่อ ตัวเด็ก เพื่อส่งเสริมให้การเรียนการสอนนั้น เกิดประสิทธิผลได้มากขึ้น ปัจจุบันนี้เด็กจะเรียนด้วยรูปแบบเดิมที่เน้นท่องจำและฟังจากครูอย่างเดียวหรือเรียกว่า Passive Learning ไม่ได้อีกแล้ว ครูจำเป็นต้องเปลี่ยนวิธีการสอนเป็นแบบ Active Learning ที่เน้นการลงมือทำ ปฏิบัติจริง เพื่อให้เด็กได้มีโอกาสเพิ่มทักษะด้านต่างๆ ในชีวิต ให้เด็กเกิดการพัฒนาทางด้านพุทธพิสัย จิตพิสัย และทักษะพิสัยไปถึงระดับที่คิด วิเคราะห์ ตัดสินใจ และประเมินผล ได้ด้วยตัวเอง
"อีกทั้งยังเป็นการสร้างให้เด็กเข้าสู่การศึกษาในระดับอาชีวศึกษาเพื่อช่วยลดปัญหาเศรษฐกิจของบ้านเราที่ขาดแคลนกำลังคน ที่มีทักษะและความชำนาญอยู่ในขณะนี้ เพราะการเปิดโอกาสให้เด็กได้รู้จักและเข้าใจในสาขาวิชาชีพต่างๆ ตั้งแต่เริ่มต้น ได้เห็นแนวทาง การเติบโตในสาขาวิชาชีพ จะทำให้เด็กกล้าที่จะเลือกเรียนในสายอาชีวศึกษามากขึ้น" ดร.บุญรักษ์กล่าว
ด้าน ผศ.ดร.ชัยฤทธิ์ ศิลาเดช อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง ราชบุรี กล่าวว่า เพื่อให้นโยบายลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ สัมฤทธิผล ครูต้องเน้นการสร้างกิจกรรมให้เด็กได้เรียนรู้ทักษะในด้านต่างๆ โดยเป็นกิจกรรมที่ตอบสนองความสนใจ ความถนัด และความต้องการของผู้เรียน และกิจกรรมเหล่านั้นจะต้องมีความหมายและเชื่อมโยงกับการใช้ชีวิตจริงของเด็กๆ ด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในศตวรรษที่ 21 ที่โลกกำลังเปลี่ยนแปลงไปทุกวัน เด็กจำเป็นต้องเพิ่มศักยภาพตัวเอง เพื่อใช้ชีวิตในโลกยุคใหม่ เตรียมตัวเป็นทั้ง พลเมืองไทย พลเมืองอาเซียน และพลเมืองโลก โดยศักยภาพในด้านต่างๆ นั้น ได้แก่ ความรู้ พื้นฐานในยุคดิจิตอล ความสามารถในการคิดประดิษฐ์อย่างสร้างสรรค์ มีทักษะการสื่อสารอย่างมีประสิทธิผล มีความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต และความสามารถในการใช้เทคโนโลยีที่ต้องใช้ให้เป็นและเกิดคุณค่าต่อตัวเองและผู้อื่น
ครูในวันนี้ จะต้องเป็นผู้สร้างโอกาสให้เด็กได้พัฒนาศักยภาพเหล่านี้ ผ่านการได้สัมผัสกับเหตุการณ์จริง สิ่งที่เป็นเรื่องจริงไม่ใช่เพียงแค่เข้าใจจากตัวหนังสือในตำราเรียน เช่น สอนให้เด็กรู้จักการอดทนอดกลั้นจากเหตุการณ์จริง เข้าใจการรอคอยด้วยเหตุและผลที่จะเกิดขึ้นในชีวิตจริง หรือหากสถานที่หรือสิ่งแวดล้อมในสถานศึกษาไม่อำนวย จะต้องมองในชุมชนว่ามีพื้นที่หรือสิ่งอำนวยความสะดวกใดสามารถจัดการเรียนรู้ให้กับเด็กได้ เช่น เด็กต้องการเล่นกีฬาแต่โรงเรียนไม่มีสนามกีฬา ก็ต้องไปขอความร่วมมือจากองค์การบริหารส่วนตำบล วัด หรือพื้นที่สาธารณะใกล้เคียงโรงเรียน เพื่อให้เด็กได้ทำกิจกรรมเหล่านั้น ขณะเดียวกันก็สามารถขอความร่วมมือกับหน่วยงานเอกชนภายนอกมาร่วมสร้างกิจกรรมให้กับเด็กได้ด้วย เช่นกัน และขณะที่เด็กกำลังเรียนรู้อยู่นั้น ครู ต้องเป็นผู้ชี้แนะ ชี้ถูกผิด บอกวิธีแก้ไข แนะ แนวทางที่เหมาะสมที่จะจัดการกับสถานการณ์ต่างๆ เหล่านั้น ครูควรมีความใกล้ชิดกับเด็กให้มากขึ้นโดยเฉพาะจิตใจ เพื่อให้เด็กเกิดความ ไว้วางใจ กล้าที่จะถามและปรึกษา
ด้าน ครูปริญญรัตน์ พลวิชัย หัวหน้ากิจกรรมพัฒนาผู้เรียน โรงเรียนวัดนวลนรดิศ ซึ่งได้เริ่มเข้าร่วมโครงการ "ลดเวลาเรียน เพิ่ม เวลารู้" แสดงความเห็นว่าเป็นโครงการที่ดี เพราะความรู้ในปัจจุบันเป็นสิ่งที่หาได้จากโลกออนไลน์ แต่เรื่องของทักษะการใช้ชีวิตนั้นเป็นสิ่งที่ครูและนักเรียนต้องค้นหาเองจากประสบการณ์ตรงที่เกิดขึ้น ทำให้เด็กๆ ได้ออกมาเรียนรู้โลกกว้าง ได้ลงมือทำจริง จะทำให้เด็กมีความสุขในการมาโรงเรียนมากขึ้น โดยโรงเรียนเริ่มทำกับนักเรียนระดับมัธยมต้น เปิดให้ครูทุกกลุ่มสาระส่งกิจกรรมนำเสนอเข้ามา ขณะนี้มีกว่า 100 กิจกรรม อาทิ กิจกรรมอาสาพาท่องเที่ยว กิจกรรมออกกำลังกาย กิจกรรมดนตรี กิจกรรมภาษา จีน ญี่ปุ่น เป็นต้น เพื่อให้เด็กๆ ได้เลือกเรียนสิ่งที่ตนเองชอบ ซึ่งเด็กจะมีสมุดตารางกิจกรรมเพื่อเลือกเข้าร่วมทำ กิจกรรมต่างๆ หลังจากเข้าร่วมแล้ว ต้องสรุปในสมุดถึงประโยชน์ที่ได้รับจากกิจกรรม ดังกล่าว ถือเป็นการประเมินตัวเองและประเมินกิจกรรมที่ครูจัดให้ไปด้วย ทำให้นำไปพัฒนาในกิจกรรมอื่นๆ ต่อไป โดยส่วนตัวเชื่อว่าการทำกิจกรรมดังกล่าว จะสามารถพัฒนาทักษะเด็กได้จริง เด็กจะเข้าใจในเนื้อหาของบทเรียนได้มากขึ้น และทำให้เรียนรู้ที่จะเลือกวิชาชีพของตัวเองต่อไป
ด้าน นายคมพิชญ์ พนาสุภน ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการบริษัท แม็คเอ็ดดูเคชั่น จำกัด กล่าวว่า งานแม็คเอ็ดดูก้า นอกจากเรื่อง "ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้" แล้ว ยังมีเนื้อหาอื่นๆ ที่มุ่งเน้นการเพิ่มพูนทักษะและจัดการการเรียนรู้ของครูผู้สอนทั้งในระดับพื้นฐาน และระดับอาชีวศึกษา และยังได้เพิ่มความเข้มข้นของเนื้อหาสู่การเป็นครูในยุคที่สื่อดิจิทัลเข้ามามีบทบาทในชีวิตของผู้เรียนอย่างมาก ขอบเขตของการเรียนรู้ไม่มีสิ่งใดมาขวางกั้นอีกแล้ว ดังนั้นบทบาทของครูจึงต้องเปลี่ยนแปลงให้ทัน โดยครูต้องก้าวข้ามจากบทบาทการสอนเพียงเพื่อให้ใช้เทคโนโลยีเป็น เป็นการสอนให้ผู้เรียนคิด วิเคราะห์ได้ และมีวิจารณญาณในการใช้สื่อดิจิตอลอย่างมีประสิทธิภาพ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการที่ต้องการลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ให้กับเด็ก ครูจึงควรใช้โอกาสนี้ สร้างทักษะให้กับลูกศิษย์ในการรู้จักเลือก ใช้สื่อดิจิตอลให้เป็น เพื่อให้เด็กได้รับข้อมูล ข่าวสารที่เป็นประโยชน์อย่างแท้จริง สามารถ นำความรู้เหล่านั้นไปพัฒนาศักยภาพตัวเองได้ต่อไป
ที่มา มติชน ฉบับวันที่ 9 ม.ค. 2559 (กรอบบ่าย)
Advertisement
เปิดอ่าน 8,807 ครั้ง เปิดอ่าน 10,288 ครั้ง เปิดอ่าน 10,009 ครั้ง เปิดอ่าน 46,260 ครั้ง เปิดอ่าน 27,036 ครั้ง เปิดอ่าน 32,746 ครั้ง เปิดอ่าน 9,654 ครั้ง เปิดอ่าน 9,076 ครั้ง เปิดอ่าน 20,197 ครั้ง เปิดอ่าน 8,946 ครั้ง เปิดอ่าน 9,987 ครั้ง เปิดอ่าน 6,509 ครั้ง เปิดอ่าน 12,131 ครั้ง เปิดอ่าน 7,362 ครั้ง เปิดอ่าน 10,683 ครั้ง เปิดอ่าน 9,070 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 13,652 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 9,795 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 8,542 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 25,042 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 12,510 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 16,485 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 19,583 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 11,371 ครั้ง |
เปิดอ่าน 21,297 ครั้ง |
เปิดอ่าน 12,347 ครั้ง |
เปิดอ่าน 2,192 ครั้ง |
เปิดอ่าน 16,990 ครั้ง |
|
|