Advertisement
ฉวีวรรณ คูหาภินันทน์
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
การอ่านเป็นกระบวนการของการใช้ภาษาในการเข้าใจสื่อต่างๆ การอ่านสามารถฝึกได้ตั้งแต่เล็กๆ เพื่อให้เกิดทักษะ มีประสิทธิภาพในการอ่านและมีนิสัยรักการอ่านการอ่านมีหลายระดับคือ อ่านออกหรืออ่านได้เป็นการอ่านที่ผสมสระพยัญชนะได้ แต่อาจไม่ถูกต้องนัก เข้าใจเฉพาะเรื่องง่ายๆ เท่านั้น และการอ่านเป็นคือ อ่านได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นการอ่านในระดับสูงขึ้นไป สามารถอ่านได้อย่างรวดเร็ว เข้าใจเนื้อเรื่องย่อหรือสรุปได้ สามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ทั้งในการศึกษาเล่าเรียน การประกอบอาชีพ และการใช้ชีวิตประจำวันได้ จะเรียกว่าการอ่านแตกก็ได้เหมือนกัน
การอ่านมี 2 ประเภทคือ อ่านในใจและอ่านออกเสียง การอ่านในใจจะมีประโยชน์ในการศึกษาค้นคว้าและใช้ในชีวิตประจำวันซึ่งจำเป็นจะต้องอ่านให้รวดเร็วเพื่อให้สามารถอ่านสื่อต่างๆ ได้จำนวนมาก
การอ่านออกเสียงมีความจำเป็นต้องใช้ในการอ่านออกเสียงให้คนทั่วไปได้รับฟังและใช้ประโยชน์ในการประกอบอาชีพที่ต้องใช้เสียงอ่านสื่อต่างๆ เช่น พิธีกร โฆษก นักจัดรายการวิทยุ โทรทัศน์ ฯลฯ
ดังนั้น การอ่านออกเสียงจึงมีความจำเป็นที่จะต้องออกเสียงให้ถูกต้องชัดเจนตามอักขรวิธี เว้นวรรคให้ถูกต้อง และออกเสียงควบกล้ำให้ถูกต้องเช่นเดียวกัน
นอกจากนี้ การอ่านยังมี 2 ประเภทคือ อ่านเล่น และอ่านจริง การอ่านเล่นเป็นการอ่านเพื่อความบันเทิง ทำให้เกิดความสนุกสนานและเพลิดเพลิน เช่น การอ่านนวนิยาย นิยาย นิทาน การ์ตูน ฯลฯ การอ่านเล่นไม่จำเป็นต้องจดจำอะไรมาก ยกเว้นถ้อยคำ สำนวนที่ต้องการนำไปใช้เท่านั้น หลายคนอ่านเป็นงานอดิเรก อ่านแก้เหงา เวลานั่งบนรถไฟ บนเครื่องบิน รอเพื่อน หรือรอรถโดยสาร เป็นต้น เมื่ออ่านจบแล้วอาจบริจาคให้กับห้องสมุดต่อไป หรือวางไว้ตามชั้นหนังสือสาธารณะ ตามโรงพยาบาล ฯลฯ เพื่อให้คนที่ชอบอ่านได้หยิบไปอ่านได้
ส่วนการอ่านจริงนั้นเป็นการอ่านอย่างละเอียดลึกซึ้ง สามารถนำไปใช้ในการเรียน การค้นคว้า เขียนรายงานและการวิจัยได้ การอ่านจริงมักจะเป็นการอ่านสื่อประเภทสารคดีต่างๆ ซึ่งจะมีเทคนิคและวิธีอ่านอย่างรวดเร็ว และทำให้ประสบความสำเร็จในการศึกษาเล่าเรียนได้เป็นอย่างดี และนำไปใช้ในการพัฒนาอาชีพได้
การอ่านจริงช่วยได้ตั้งแต่ระดับการเรียนประถมถึงปริญญาเอก และเป็นนักวิจัยได้ดีอีกด้วย ดังเช่นการอ่านหรือการค้นคว้า พจนานุกรม (Dictionary) และสารานุกรม (Encyclopedia) จะต้องรู้จักใช้เครื่องมือในการค้นคว้า เพื่อหาคำศัพท์ได้อย่างรวดเร็ว จะต้องรู้จักใช้ดัชนีริมกระดาษหรือดัชนีหัวแม่มือ (Thumb Index) รู้จักใช้คำนำทาง (Guide Word) ที่อยู่ตอนบนของหน้ากระดาษทุกหน้า ส่วนสารคดีเล่มอื่นๆ รู้จักใช้สารบัญและดัชนีท้ายเล่ม เพื่อค้นคว้าได้รวดเร็ว และรู้จักใช้บรรณานุกรมเพื่อค้นคว้าเพิ่มเติมได้อีกด้วย
สำหรับการอ่านหนังสือประเภทวรรณกรรม (Literature) ซึ่งเป็นงานประพันธ์ทุกชนิดทั้งร้อยแก้วและร้อยกรองในรูปแบบหนังสือหรือสื่อประเภทต่างๆ มีทั้งดีและไม่ดี เวลาอ่านบางครั้งต้องไม่รวดเร็วเกินไป โดยเฉพาะหนังสือปรัชญา ต้องรู้จักวิธีวิเคราะห์ วิจารณ์ (ไม่หลงเชื่อคำโฆษณา) ตีความได้ จับใจความสำคัญได้ สรุปได้ ตอบคำถามหรือตั้งคำถามได้ เขียนบันทึกได้และเขียนแผนภูมิการบันทึกย่อได้ เพื่อทบทวนและจดจำง่าย ส่วนการอ่านวรรณคดีซึ่งเป็นวรรณกรรมที่ได้รับการยกย่องว่าแต่งดี มีคุณค่าเชิงวรรณศิลป์ ที่ควรจำและนำไปประยุกต์ใช้นำถ้อยคำสำนวนไปใช้ให้เป็นอุทาหรณ์สอนใจได้หรือนำไปอ้างอิงได้ แต่ต้องมีมารยาทรู้จักเขียนบอกแหล่งที่มาว่านำมาจากหนังสือหรือสื่อต่างๆ เรื่องอะไร หน้าอะไร วรรณคดีสำคัญที่เป็นแบบฉบับที่ควรอ่านได้แก่ อิเหนา รามเกียรติ์ พระอภัยมณี ขุนช้างขุนแผน มัทนะพาธา สามก๊ก ฯลฯ
วรรณคดีหรือที่เรียกว่าวรรณคดีคลาสสิกนั้นไม่มีวันล้าสมัย อ่านได้ทุกยุคทุกสมัย ยิ่งอ่านยิ่งได้ความรู้เพิ่มเติมได้ข้อคิดต่างๆ เพิ่มมากขึ้น ตอนเป็นเด็กอ่านไม่ค่อยเข้าใจ ยิ่งโตขึ้นมีวุฒิภาวะเพิ่มมากขึ้น จะได้อรรถรสและสุนทรีย์เพิ่มขึ้น ผู้อ่านจะต้องอ่านช้าๆ ไม่ต้องรีบเร่งอ่านให้จบภายในวันเดียว รู้จักจดจำถ้อยคำ สำนวนบันทึกไว้ใช้ ทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ ทำให้สามารถเขียนผลงานทั้งร้อยแก้วและร้อยกรองได้ มีความรอบรู้ภาษาไทย วรรณคดีไทย เป็นนักกลอนและนักเขียนที่มีชื่อเสียง เป็นนักเรียนนักศึกษาที่เรียนเก่ง เฉลียวฉลาด รอบรู้
สำหรับนวนิยาย (Fiction, Novel) ซึ่งเป็นวรรณกรรมประเภทหนึ่ง โดยเขียนขึ้นจากจินตนาการของนักประพันธ์ที่เลียนแบบชีวิตจริงได้สมเหตุสมผล (ไม่น้ำเน่า) มีหลายเรื่องที่นำไปสร้างเป็นภาพยนตร์และบทละครโทรทัศน์ จะเห็นได้ว่ามีการนำไปดัดแปลงได้ตาม ความเหมาะสม แต่อย่างไรก็ตามควรคำนึงถึงต้นฉบับเดิม โดยต้องเคารพจินตนาการของผู้เขียนและเคารพผู้อ่านด้วย
นวนิยายจะแตกต่างจากนิยาย ตำนาน นิทาน (Tale) ซึ่งมีอภินิหารเหาะเหินเดินอากาศทำให้เด็กๆ ชอบ นิยาย นิทาน ตำนาน มักจะเป็นเรื่องเล่าสืบต่อกันมาปากต่อปาก (Oral Literature) ไม่มีชื่อผู้แต่ง เนื้อเรื่องอาจผิดเพี้ยนไปได้ถ้านำมาเขียนหรือเล่าใหม่ เช่นนิทาน ชาดก นิทานอีสป เป็นต้น นิทานสมัยใหม่ก็อาจจะมีนักเขียนแต่งขึ้นมาใหม่ได้เช่นเดียวกัน
สำหรับการนำนิยาย นิทาน หรือนวนิยายไปสร้างเป็นบทละครหรือภาพยนตร์นั้นย่อมทำได้ แต่อยากจะให้ผู้เขียนบทและผู้สร้างได้ตระหนักว่าการนำวรรณคดีคลาสสิกไปดัดแปลงนั้นเหมาะสมหรือไม่เพียงใด
ผู้ดูที่เป็นเด็กยังไม่มีวุฒิภาวะ หรือผู้ใหญ่ที่ไม่มีวุฒิภาวะ ดูแล้วอาจจะไขว้เขวหรือเข้าใจวรรณคดีไทยผิดๆ ได้ จนไม่อยากอ่านวรรณคดี ต้นแบบ ซึ่งเป็นที่น่าเสียดายมาก
ข้อสำคัญ นอกจากการอ่านให้เก่งและมีประสิทธิภาพแล้วนั้น จะต้องรู้จักถนอมหนังสือและไม่มีนิสัยเสียในการอ่าน เช่น ถ้ายังอ่านไม่จบให้ใช้ที่คั่นหนังสือบางๆ ไม่ควรพับมุมกระดาษหรือคว่ำหน้าหนังสือ ควรเปิดหนังสืออย่างถูกวิธีไม่ให้หน้ากระดาษยับหรือรูปภาพยับ ไม่ทำหนังสือเปียกน้ำ เปียกฝน และตกหล่น เป็นต้น ถ้าเด็กไทยมีพ่อ-แม่ ครู และบรรณารักษ์ช่วยชี้แนะเทคนิคการอ่านสื่อต่างๆ เหล่านี้อย่างถูกต้อง จะทำให้เด็กมีนิสัยรักการอ่านและเรียนเก่งแน่นอน
ที่มา มติชน ฉบับวันที่ 7 ม.ค. 2559 (กรอบบ่าย)
Advertisement
เปิดอ่าน 8,203 ครั้ง เปิดอ่าน 30,727 ครั้ง เปิดอ่าน 13,079 ครั้ง เปิดอ่าน 11,449 ครั้ง เปิดอ่าน 16,622 ครั้ง เปิดอ่าน 10,240 ครั้ง เปิดอ่าน 8,193 ครั้ง เปิดอ่าน 21,667 ครั้ง เปิดอ่าน 9,882 ครั้ง เปิดอ่าน 9,340 ครั้ง เปิดอ่าน 12,943 ครั้ง เปิดอ่าน 9,153 ครั้ง เปิดอ่าน 9,331 ครั้ง เปิดอ่าน 19,348 ครั้ง เปิดอ่าน 23,732 ครั้ง เปิดอ่าน 10,553 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 10,288 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 15,225 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 19,876 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 32,809 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 9,271 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 8,193 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 10,878 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 21,458 ครั้ง |
เปิดอ่าน 14,103 ครั้ง |
เปิดอ่าน 36,655 ครั้ง |
เปิดอ่าน 4,251 ครั้ง |
เปิดอ่าน 9,858 ครั้ง |
|
|