Advertisement
โดย ฟาฏินา วงศ์เลขา
"...อาชีพครูถือว่าสำคัญอย่างยิ่ง เพราะครูมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาประเทศให้เจริญมั่นคง และก่อนที่จะพัฒนาบ้านเมืองให้เจริญได้นั้น จะต้องพัฒนาคน ซึ่งก็ได้แก่เยาวชนของชาติเสียก่อน เพื่อให้เยาวชนเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณค่าสมบูรณ์ทุกด้าน จึงจะสามารถช่วยกันสร้างความเจริญให้แก่ชาติต่อไปได้ ..." ความตอนหนึ่งของพระราโชวาทของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาจากวิทยาลัยครู ณ อาคารใหม่สวนอัมพร เมื่อวันพุธที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2526
"ครู" คือผู้ที่ทำหน้าที่สอนให้ศิษย์เกิดความรู้ ความสามารถ มีคุณธรรมจริยธรรม นำประโยชน์ให้แก่สังคมและประเทศชาติในอนาคต จะเห็นได้ว่าอาชีพครูนั้นเป็นอาชีพที่มีความสำคัญ และได้รับการยกย่องว่าเป็นอาชีพที่มีเกียรติมาตั้งแต่ในอดีต ผู้ที่เป็นครูจะต้องรับภาระหน้าที่ต่อสังคมและชาติบ้านเมืองอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะถ้าหากครูปฏิบัติหน้าที่บกพร่องก็อาจจะส่งผลกระทบไปถึงความเสื่อมของชุมชน สังคม และประเทศชาติได้ ดังนั้น ความสำคัญของครูซึ่งเป็นวิชาชีพที่มีความสำคัญต่อประเทศชาติบ้านเมือง สำคัญต่อการพัฒนาคุณภาพของเด็ก เยาวชน และผู้คนในสังคมเป็นอย่างมาก
เรามักจะได้ยินคำพูดเชิงเปรียบเทียบหรือเปรียบเปรยมากมายที่มักได้ยินบ่อยครั้ง เช่น "ครู คือปูชนียบุคคล" เนื่องจากครูเป็นผู้ที่ต้องเสียสละ เอาใจใส่เพื่อความเจริญก้าวหน้าของศิษย์ ซึ่งเป็นบุคคลที่ควรได้รับความเคารพเทิดทูนของศิษย์และบุคคลทั่วไป ดังนั้นภารกิจจำเป็นที่ครูต้องปฏิบัติในฐานะปูชนียบุคคล เช่น ลด ละ เลิกพฤติกรรมไม่ดีทั้งปวง ฝึกฝนพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องทั้งกายและใจให้เป็นผู้ที่มีความสุจริต และมีความขยันหมั่นเพียรใฝ่เรียนรู้สั่งสมวิชาความรู้ทั้งทางโลกและทางธรรมอย่างสม่ำเสมอ ในอดีตครูนั้นมักได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้ที่รอบรู้ รู้จริง รู้แจ้ง ถือได้ว่าเป็นปราชญ์และผู้รู้ ซึ่งเป็นที่ยอมรับในฐานะที่เป็นคนดี คนเก่งในวิชาความรู้แขนงต่าง ๆ
การเป็นแบบอย่างที่ดีของครูเพื่อให้ศิษย์ได้ประพฤติปฏิบัติตนตามแบบอย่าง จึงได้ชื่อว่า "ครูคือแม่พิมพ์ของชาติ" อาชีพครูเป็นอาชีพที่ไม่ก่อให้เกิดความร่ำรวย ครูต้องมีความพึงพอใจในความเป็นอยู่อย่างสันโดษ ไม่หวั่นไหวต่อลาภ ยศ สรรเสริญ และความสะดวกสบายต่าง ๆ จึงมีการเปรียบเปรยว่า "ครูคือผู้แจวเรือจ้าง" อีกทั้งอาชีพครูยังเป็นผู้ชี้นำแสงสว่างแห่งปัญญาให้แก่ศิษย์ จึงมีการเปรียบเทียบว่า "ครูคือแสงเทียน"
จากสภาพความเป็นจริงที่ปรากฏในปัจจุบัน วิชาชีพครูกำลังด้อยลงไปในแง่ของความรู้สึก เนื่องจากเป็นวิชาชีพที่คนมักจะมองว่าเป็นวิชาชีพที่มีรายได้ต่ำ เป็นครูแล้วจะมีฐานะยากจน มีหนี้สินมากจนล้นพ้นตัว ดังนั้นผู้ปกครองที่มีการศึกษาสูงและมีฐานะทางเศรษฐกิจดี จึงมักจะไม่ส่งเสริมให้บุตรหลานเข้าศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาในสาขา ที่จบออกไปเพื่อประกอบวิชาชีพครู และตัวเด็กเองหรือคนเก่ง ๆ ก็ไม่อยากเข้าศึกษาในสาขาวิชาชีพครู จึงไปศึกษาต่อในสายวิชาชีพ อื่น ๆ เมื่อจบออกมาก็สามารถประกอบอาชีพและสร้างรายได้ในอัตราที่สูงกว่าเช่นกัน ดังนั้นภาพที่เรามักเห็นคือผู้ที่สมัครเข้าศึกษาต่อในสาขาวิชาชีพครูมักจะเป็นผู้ที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนค่อนข้างต่ำ ซึ่งไม่สามารถไปสอบแข่งขันเข้าศึกษาต่อในสาขาวิชาชีพอื่นได้ จึงจำเป็นต้องเบนเข็มมาศึกษาในสาขาวิชาชีพครู สรุปง่าย ๆ ก็คือ คนเก่งไม่เรียนครู และสาขาครุศาสตร์หรือศึกษาศาสตร์เป็นอันดับสุดท้ายที่เด็กจะเลือกเรียน นี่เป็นปัญหาหนึ่งที่สำคัญไม่น้อย ซึ่งผู้มีอำนาจในการบริหารจะต้องหาแนวทางแก้ไขก่อนที่จะสายเกินแก้
อย่างไรก็ตาม ด้วยความก้าวไกลทางเทคโนโลยีทำให้เกิดนวัตกรรมใหม่ ๆ ขึ้นมามากมายอย่างรวดเร็ว สังคมการศึกษาก็ต้องพัฒนาก้าวตามให้ทันโลกที่กำลังเปลี่ยนแปลงไป ครูผู้สอนจะยังคงสอนในรูปแบบเดิม ๆ ก็คงไม่ได้อีกต่อไป จะต้องปรับการเรียนเปลี่ยนการสอนจากเดิมที่ครูเป็นศูนย์กลางในการสอน มาเป็นเด็กเป็นศูนย์กลางในการเรียนรู้ โดยครูต้องทำหน้าที่ในการชี้แนะ ให้คำปรึกษา ช่วยแก้ปัญหาให้กับผู้เรียน ครูต้องแสวงหาสื่อและวิธีการสอนที่แตกต่างหลากหลายเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ทั้งในและนอกห้องเรียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้องสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลแต่ละยุคสมัย อย่างเช่นปัจจุบันต้องเน้นเรื่องของการ "ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้" เป็นต้น
ครูในยุคปัจจุบันจะต้องนำเทคโนโลยีและระบบเครือข่ายมาใช้ในการจัดการเรียนรู้เพื่อเป็นช่องทางให้ผู้เรียนได้แสวงหาความรู้ในโลกกว้างที่หลากหลายมากขึ้น สำหรับคุณลักษณะที่จำเป็นสำหรับครูที่มีผู้รวบรวมไว้มีหลายประการ ซึ่งสิ่งที่จำเป็นที่สุดและขาดไม่ได้สำหรับครูนั่นคือเป็นผู้เชี่ยวชาญเนื้อหาที่สอน ครูต้องมีทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์เพราะถือเป็นเครื่องมือหนึ่งที่มีความสำคัญในการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้และครูต้องติดอาวุธทางปัญญาให้กับผู้เรียนที่จะนำไปใช้ในการเรียนรู้ในโลกกว้างได้อย่างไม่มีขอบเขตจำกัด ครูต้องเข้าใจแนวคิดที่ว่าผู้เรียนสามารถสร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตัวเอง โดยการได้ลงมือทำกิจกรรมใด ๆ ให้เกิดการสร้างสรรค์ความรู้ใหม่ที่เชื่อมโยงกับประสบการณ์หรือความรู้เดิม ครูต้องมีทักษะในการจัดกิจกรรมที่เชื่อมโยงระหว่างผู้เรียนด้วยกัน เพื่อนครูทั้งในโรงเรียนเดียวกันและต่างโรงเรียน หรือเชื่อมโยงโรงเรียน บ้าน และชุมชนเข้าเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนรู้ของผู้เรียน ครูต้องมีทักษะในการสื่อสารกับผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ครูต้องเป็นผู้ที่มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์กิจกรรมการเรียนรู้ ครูต้องเป็นผู้มีมุทิตาจิต มีความรัก ความห่วงใยผู้เรียน
ไม่ว่าจะเปรียบเทียบว่า "ครู" คือ "ปูชนียบุคคล" "แม่พิมพ์ของชาติ" "ผู้แจวเรือจ้าง" "แสงเทียน" หรือจะเปรียบเปรยเป็นอย่างอื่นก็ตามที ขอโปรดจงรู้ไว้ว่าครูเป็นผู้ที่มีความสำคัญยิ่งในการปลูกฝังความรู้ ความคิด และจิตใจให้แก่เด็กและเยาวชน เพื่อให้ได้เติบโตขึ้นไปเป็นพลเมืองที่ดี จึงถือว่าครูเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการสร้างสรรค์ประเทศชาติ เพราะเด็กในวันนี้คืออนาคตของชาติในวันหน้า.
ที่มา เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 5 ม.ค. 2559 (กรอบบ่าย)
ตัวนี้เอาอยู่! สำหรับคุณครูที่ทั้ง "ร้อง เล่น เต้น สอน เปิดเพลง" รุ่นนี้เอาอยู่ ลองดู Sherman TS-101 Trolley Speaker Amplifier ลำโพงบลูทูธล้อลาก ขนาด 6.5 นิ้ว กำลังขับ 60W
฿1,790https://s.shopee.co.th/3VUQ2Kf9NU?share_channel_code=6
Advertisement
!["การศึกษาหันหลัง" คอลัมน์ชั้น 5 ประชาชาติ โดย สาโรจน์ มณีรัตน์ "การศึกษาหันหลัง" คอลัมน์ชั้น 5 ประชาชาติ โดย สาโรจน์ มณีรัตน์](news_pic/p70974371400.jpg) เปิดอ่าน 10,792 ครั้ง ![8 วิธีปรับโฉม "โรงเรียน" ใหม่ จัดอย่างไรให้เด็กเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ 8 วิธีปรับโฉม "โรงเรียน" ใหม่ จัดอย่างไรให้เด็กเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ](news_pic/p89884820917.jpg) เปิดอ่าน 20,957 ครั้ง ![การศึกษาไทยด้อยคุณภาพ....แล้วจะปฏิรูปอย่างไร? การศึกษาไทยด้อยคุณภาพ....แล้วจะปฏิรูปอย่างไร?](news_pic/p44797041246.jpg) เปิดอ่าน 8,745 ครั้ง ![เจาะลึกความสำเร็จการบริหารโรงเรียนตามแนวทาง SLC ของร.ร.พุทธจักรวิทยา สร้างฐานการเรียนรู้ที่เข้มแข็งให้นักเรียน ดันคะแนนเฉลี่ยโอเน็ตปี62 พุ่ง เจาะลึกความสำเร็จการบริหารโรงเรียนตามแนวทาง SLC ของร.ร.พุทธจักรวิทยา สร้างฐานการเรียนรู้ที่เข้มแข็งให้นักเรียน ดันคะแนนเฉลี่ยโอเน็ตปี62 พุ่ง](news_pic/p45383051746.jpg) เปิดอ่าน 44,571 ครั้ง ![นโยบายการศึกษามาจากไหน-ทำไมถึงไม่สำเร็จ นโยบายการศึกษามาจากไหน-ทำไมถึงไม่สำเร็จ](news_pic/p89476480850.jpg) เปิดอ่าน 10,324 ครั้ง ![ว่าด้วยกรณีมหาวิทยาลัยปิดเปิดเทอมตามอาเซียน??? โดย สุพจน์ เอี้ยงกุญชร ว่าด้วยกรณีมหาวิทยาลัยปิดเปิดเทอมตามอาเซียน??? โดย สุพจน์ เอี้ยงกุญชร](news_pic/p34806591250.jpg) เปิดอ่าน 14,347 ครั้ง ![คุณครูหายไปไหนครับ? คุณครูหายไปไหนครับ?](news_pic/p49298861945.jpg) เปิดอ่าน 20,878 ครั้ง ![มือถือและคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กควรอยู่ในห้องเรียนหรือไม่? โดย : ทีปกร วุฒิพิทยามงคล มือถือและคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กควรอยู่ในห้องเรียนหรือไม่? โดย : ทีปกร วุฒิพิทยามงคล](news_pic/p46691711257.jpg) เปิดอ่าน 20,342 ครั้ง ![เด็กไทยเรียนฟรี เมื่อไหร่?เป็นจริง เด็กไทยเรียนฟรี เมื่อไหร่?เป็นจริง](news_pic/p34865750613.jpg) เปิดอ่าน 7,096 ครั้ง ![การศึกษาไทยจะเอา "คุณภาพ" หรือ "คุณธรรม" การศึกษาไทยจะเอา "คุณภาพ" หรือ "คุณธรรม"](news_pic/p89443120606.jpg) เปิดอ่าน 23,960 ครั้ง ![โอนการศึกษาขั้นพื้นฐานให้ อปท.เพื่อแก้ปัญหาความล้าหลังการศึกษาของไทย (บทความ โดย ถวิล ไพรสณฑ์) โอนการศึกษาขั้นพื้นฐานให้ อปท.เพื่อแก้ปัญหาความล้าหลังการศึกษาของไทย (บทความ โดย ถวิล ไพรสณฑ์)](news_pic/p97115300929.jpg) เปิดอ่าน 27,556 ครั้ง ![ผลึกความรู้นิทรรศการวันครูสู่การปฏิบัติในสถานศึกษา : เดชาพัชร สมหมาย ผลึกความรู้นิทรรศการวันครูสู่การปฏิบัติในสถานศึกษา : เดชาพัชร สมหมาย](news_pic/p58916932309.jpg) เปิดอ่าน 39,224 ครั้ง ![ทำไมจึงไม่ควรให้ผู้ไม่มีใบประกอบอาชีพครูมีสิทธิสอบครูได้ : โดย รศ.ดร.สมาน อัศวภูมิ ทำไมจึงไม่ควรให้ผู้ไม่มีใบประกอบอาชีพครูมีสิทธิสอบครูได้ : โดย รศ.ดร.สมาน อัศวภูมิ](news_pic/p89579351427.jpg) เปิดอ่าน 68,424 ครั้ง ![หนี้การศึกษา หนี้การศึกษา](news_pic/p18771601017.jpg) เปิดอ่าน 8,289 ครั้ง ![Area-Based Education สร้างการศึกษาตอบโจทย์จังหวัด Area-Based Education สร้างการศึกษาตอบโจทย์จังหวัด](news_pic/p33884090732.jpg) เปิดอ่าน 9,400 ครั้ง ![ปัญหาขาดแคลนครูในโรงเรียนขนาดเล็ก แก้ไขอย่างไรดี ปัญหาขาดแคลนครูในโรงเรียนขนาดเล็ก แก้ไขอย่างไรดี](news_pic/p76735341114.jpg) เปิดอ่าน 20,551 ครั้ง
|
![นัยสำคัญยุทธศาสตร์การศึกษาในพลวัตศตวรรษที่ 21 สู่การเป็นประชาคมอาเชียน อย่างยั่งยืนสำหรับการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานไทย นัยสำคัญยุทธศาสตร์การศึกษาในพลวัตศตวรรษที่ 21 สู่การเป็นประชาคมอาเชียน อย่างยั่งยืนสำหรับการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานไทย](news_pic/p26704280344.jpg)
เปิดอ่าน 3,513 ☕ คลิกอ่านเลย |
![การใช้อินเทอร์เน็ตและผลกระทบต่อคะแนนวิทยาศาสตร์ : FOCUS ประเด็นจาก PISA : ฉบับที่ 33 (กันยายน 2561) การใช้อินเทอร์เน็ตและผลกระทบต่อคะแนนวิทยาศาสตร์ : FOCUS ประเด็นจาก PISA : ฉบับที่ 33 (กันยายน 2561)](news_pic/p78857810517.jpg)
เปิดอ่าน 38,578 ☕ คลิกอ่านเลย | ![การศึกษาขั้นพื้นฐานมุ่งสู่อนาคต (Basic Education for Future) : ทีปกร จิร์ฐิติกุลชัย การศึกษาขั้นพื้นฐานมุ่งสู่อนาคต (Basic Education for Future) : ทีปกร จิร์ฐิติกุลชัย](news_pic/p81623020858.jpg)
เปิดอ่าน 48,286 ☕ คลิกอ่านเลย | ![แบบเรียนที่ไม่ได้มีไว้เลียนแบบ : นิ้วกลม แบบเรียนที่ไม่ได้มีไว้เลียนแบบ : นิ้วกลม](news_pic/p77266300911.jpg)
เปิดอ่าน 10,200 ☕ คลิกอ่านเลย | ![ปฏิรูปการศึกษา เรียนรู้จากผู้ประสบผลสำเร็จ : "เกาหลีใต้" ปฏิรูปการศึกษา เรียนรู้จากผู้ประสบผลสำเร็จ : "เกาหลีใต้"](news_pic/p99114881009.jpg)
เปิดอ่าน 21,361 ☕ คลิกอ่านเลย | ![ราชภัฏมหาวิทยาลัยในศตวรรษที่ 21 ราชภัฏมหาวิทยาลัยในศตวรรษที่ 21](news_pic/p53473260945.jpg)
เปิดอ่าน 10,361 ☕ คลิกอ่านเลย | !["ของเล่นบ้านๆ" สื่อพัฒนาทักษะเด็กปฐมวัยในยุคดิจิทัล "ของเล่นบ้านๆ" สื่อพัฒนาทักษะเด็กปฐมวัยในยุคดิจิทัล](news_pic/p60808070447.jpg)
เปิดอ่าน 24,529 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡ ![ปลูกเมล่อนหน้าแล้ง ปลูกเมล่อนหน้าแล้ง](news_pic/p16248931008.jpg)
เปิดอ่าน 19,881 ครั้ง | ![การเลี้ยงกบคอนโดร่วมกับปลาดุก เพลินๆ สร้างรายได้ รับชมกันได้เลยครับ การเลี้ยงกบคอนโดร่วมกับปลาดุก เพลินๆ สร้างรายได้ รับชมกันได้เลยครับ](news_pic/p95485620807.jpg)
เปิดอ่าน 16,694 ครั้ง | ![ปฏิทินการรับสมัครนักเรียน ปี 2559 ปฏิทินการรับสมัครนักเรียน ปี 2559](news_pic/p80953911338.jpg)
เปิดอ่าน 16,400 ครั้ง | ![คำบุพบท คำบุพบท](news_pic/p27267680818.jpg)
เปิดอ่าน 52,909 ครั้ง | ![มารู้จัก Flower Ball กันเถอะ มารู้จัก Flower Ball กันเถอะ](news_pic/p18040340222.jpg)
เปิดอ่าน 25,972 ครั้ง |
|
|