ดช.ปัญญาเป็นเด็กที่เกิดในเมืองแต่ย้ายไปอยู่ในชนบท
วันหนึ่งไปซื้อแพะจากชาวนาในราคา 1000 บาท ซึ่งชาวนายินดีที่จะส่งมอบแพะในวันรุ่งขึ้น
พอวันรุ่งขึ้น ชาวนาก็ไปหาดช.ปัญญาแล้วบอกว่า
'ข่าวร้ายหนูเพราะแพะเพิ่งตายไปเมื่อคืนที่แล้วเอง'
ดช.ปัญญา ก็บอกว่า 'ไม่เป็นไร ถ้าเช่นนั้นคืนเงินให้ผมก็แล้วกัน'
'โอ เสียใจด้วยจริงๆ แต่ฉันใช้เงินนั่นหมดไปแล้ว' ชาวนาพูดด้วยสีหน้าเศร้าๆ
'ไม่เป็นไร ถ้างั้นเอาแพะตัวนั้นมาให้ฉัน'
'หนูจะเอาแพะตายไปทำอะไร' ชาวนาถามด้วยความฉงน
'ฉันจะเอาไปจับฉลากขาย'
'จะไปจับฉลากแพะที่ตายได้อย่างไร ใครจะไปซื้อ'
'ได้ซิ คอยดูละกัน'
จากนั้นชาวนาก็มอบแพะที่ตายให้ดช.ปัญญาไป
หนึ่งเดือนผ่านไป......ชาวนาพบกับดช.ปัญญาจึงถามว่าตกลงเอาแพะที่ตายไปทำอะไร
'ฉันก็ทำฉลาก 500 ใบ ขายใบละ 10 บาท
แล้วบอกว่าใครดวงดีจับฉลากได้ก็ได้แพะไปเลย 1 ตัว'
'ฉันได้เงินมา 5000 บาท ได้กำไรหลังจากหักที่จ่ายให้ลุงชาวนาไปแล้ว 3990 บาท'
'แล้วไม่มีคนโวยวายหรือ(เพราะแพะตายแล้ว)' ชาวนาถามด้วยความสงสัย
'ก็มี มีคนเดียวคือคนที่จับฉลากได้ และฉันก็แค่คืนเงินค่าฉลากจำนวน 10 บาทให้คนๆนั้นไป'
ในเรื่องบอกว่า ดช.ปัญญาต่อมาเติบโตและเป็นนักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จในชีวิตอย่างมาก......
เรื่องราวแบบนี้เป็นสิ่งที่คนอินเดียสอนกัน........
ที่สำคัญก็คือการแก้ไขปัญหาและแก้ไขสถานการณ์ที่เผชิญหน้าหรือคิดคำตอบโจทย์ที่ยากๆ
ซึ่งคนอินเดียจะเก่งในเรื่องแบบนี้มาก