ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมบทความการศึกษา  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

ปฏิรูปการศึกษาที่ห้องเรียนจุดเริ่มต้นการเรียนรู้เด็ก-ครู


บทความการศึกษา 4 ธ.ค. 2558 เวลา 15:17 น. เปิดอ่าน : 11,902 ครั้ง

Advertisement

ปฏิรูปการศึกษาที่ห้องเรียนจุดเริ่มต้นการเรียนรู้เด็ก-ครู

ชุลีพร อร่ามเนตร

"ห้องเรียน"เป็นจุดเริ่มต้นของการเรียนรู้ระหว่างครู-เด็ก เด็ก-เด็ก และครู-ครู ล่าสุด คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับ บริษัท บิโก (ไทยแลนด์) จำกัด(มหาชน) เชิญ "ศ.มานาบุ ซาโต ศาสตราจารย์ มหาวิทยาลัยกักคุชุอิน และศาสตราจารย์กิตติคุณทางด้านการศึกษา มหาวิทยาลัยโตเกียว" ผู้ซึ่งเป็นทั้งนักคิด นักวิชาการ และนักวิจัยระดับแนวหน้าของโลก มานำเสนอแนวคิดเรื่อง "โรงเรียนคือชุมชนแห่งการเรียนรู้ : วิสัยทัศน์ ปรัชญา และระบบกิจกรรม" (School as Learning Community (SLC) : Vision, Philosophies and Activity Systems) แก่ผู้อำนวยการโรงเรียน และคุณครู จากโรงเรียนในกลุ่มสาธิต จำนวน 26 แห่ง

ศ.มานาบุ กล่าวว่า School as Learning Community : SLC หรือ แนวคิดโรงเรียนคือชุมชนของการเรียนรู้ เกิดขึ้นจากการบูรณาการทฤษฎีทั้งหลายเข้าด้วยกัน การปฏิรูปการศึกษาที่ห้องเรียน และในโรงเรียน ถือเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิรูปสังคม และเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิวัติทางวัฒนธรรม ซึ่งการดำเนินแนวคิด โรงเรียนในฐานะชุมชนแห่งการเรียนรู้ หรือ SLC ไม่ได้มุ่งเน้นเทคนิคในการพัฒนา แต่เป็นการบูรณาการ 3 องค์ประกอบสำคัญรวมเข้าด้วยกัน ได้แก่ วิสัยทัศน์ ปรัชญา และระบบกิจกรรม

"SLC เป็นเรื่องวิสัยทัศน์ ปรัชญาและระบบกิจกรรมเป็นการบูรณาการแนวปฏิบัติ เพื่อส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้อย่างกระตือรือร้น การเรียนรู้ที่เป็นไปอย่างร่วมมือร่วมพลัง และการเรียนรู้ที่เกิดจากการสะท้อนความคิดร่วมกัน โดยอาศัยการศึกษาผ่านบทเรียน ใช้การเรียนรู้เป็นศูนย์กลาง ให้ครูมีเพื่อนร่วมทางในเชิงวิชาชีพ โรงเรียนมีนโยบายที่เป็นอิสระและเป็นประชาธิปไตย โน้มน้าวให้ทุกคนตระหนักถึงสิทธิในการเรียนรู้ของเด็กที่การพัฒนาวิชาชีพครูต้องดำเนินการบนพื้นฐาน ความสัมพันธ์ในเชิงรับฟัง (Listening Relationship) และการฟังเสียงของผู้อื่น (Listening other's voice)" ศ.มานาบุ กล่าว

รศ.ดร.สิริพันธุ์ สุวรรณมรรคา ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาการเรียนรู้และวิชาชีพครู คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวว่า แนวคิด SLD จะเป็นการทำให้เห็นว่าวิสัยทัศน์ต้องอยู่ที่ห้องเรียน ชีวิตในชั้นเรียน ทำอย่างไรให้นักเรียนทุกคนไม่มีใครถูกทิ้งหรือโดดเดี่ยว แม้ว่าเด็กคนนั้นจะมีผลสัมฤทธิ์การเรียนที่ต่ำหรืออ่อนด้อยก็จะไม่ถูกทิ้ง

"ห้องเรียนเป็นพื้นที่สาธารณะที่ทุกคนเข้ามาเรียนรู้ ไม่ว่าจะเป็น นักเรียน ครู ผู้ปกครอง ห้องเรียนจะเป็นการจัดแบบเปิดที่จะทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน ภายใต้ปรัชญาของความเป็นประชาธิปไตย คือการให้เกียรติกัน คิด ฟังเสียงของเด็ก ครู ทุกคนคือคนสำคัญ และทุกฝ่ายต้องรับผิดชอบร่วมกัน ร่วมมือกันพัฒนาการศึกษาเพื่อปวงชน ครูต้องรักเด็ก เด็กต้องรักครู เด็กต้องรักกัน" รศ.ดร.สิริพันธุ์ กล่าว

ต่อไปครูต้องทำหน้าที่ของตนเองให้ดีที่สุด โดยครูต้องมาช่วยกันคิด ออกแบบการเรียนรู้ ฝึกพัฒนาการเรียนรู้ และสะท้อนออกมา ให้สามารถพาเด็กก้าวกระโดดไปข้างหน้า ซึ่งมุมมองแบบนี้ โดยเฉพาะการจัดห้องเรียนเป็นมิติที่นักการศึกษาไทยไม่ได้พูดถึง หรือพูดถึงเป็นอันดับท้ายๆ ดังนั้น การปฏิรูปห้องเรียน ยกระดับให้โรงเรียนคือชุมชนแห่งการเรียนรู้ ต้องเปิดโอกาสให้เด็ก ครู ผู้ปกครอง และชุมชนเข้ามามีส่วนร่วม

ทั้งนี้ปรัชญาใน SLC มี 3 เรื่องสำคัญ ได้แก่ ปรัชญาของความเป็นสาธารณะ (Public Philosophy) โรงเรียนจะต้องเริ่มต้นเป็นที่สาธารณะเป็นพื้นที่เปิด และครูทุกคนควรเปิดชั้นเรียนของตัวเองแก่สาธารณะ เพื่อสร้างชุมชนการเรียนรู้เชิงวิชาชีพของตน ปรัชญาของความเป็นประชาธิปไตย(Democratic Philoso phy) ให้ความสนใจ วิถีของการมีชีวิตที่เชื่อมโยงกัน เพื่อให้สมาชิกทุกคนเป็นบุคคลสำคัญของโรงเรียน และ ปรัชญาของความเป็นเลิศ (Philosophy of Excel lence) กิจกรรมการสอน และการเรียนรู้ต้องจูงใจสู่ความเป็นเลิศ สร้างแรงจูงใจในการเรียนรู้อย่างกระตือรือร้น ต่อเนื่อง ส่วนระบบกิจกรรม ต้องประกอบด้วย 3 องค์ประกอบคือ เด็ก: การเรียนรู้อย่างร่วมมือในห้องเรียน ครู: ความเป็นเพื่อนร่วมวิชาชีพของครูที่เกิดจากกิจกรรมศึกษาผ่านบทเรียนที่ทุกคนดำเนินการร่วมกัน และผู้ปกครอง : การมีส่วนร่วมรับผิดชอบการเรียนรู้ของเด็กร่วมกับโรงเรียน

แนวคิดการเรียนการสอนแบบใหม่ที่ใช้การสื่อสารด้วยการพูดคุย ทุกคนสำคัญ และเน้นการเกื้อกูลต่อกัน คนเก่งต้องช่วยคนที่ไม่เก่ง ทำงานเป็นเครือข่าย นักเรียนทุกคน ครูทุกคน โรงเรียนทุกโรงเรียน เป็นศูนย์กลางของตนเอง และเชื่อมโยง แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน เพราะการศึกษาไม่ใช่การแข่งขันเพื่อเอาชนะ แต่เป็นการส่งเสริมการเรียนรู้ พัฒนาเด็กให้ประสบความสำเร็จบูรณาการทุกศาสตร์และความร่วมมือจากทุกภาคส่วนเข้าด้วยกัน

 

 

ที่มา: หนังสือพิมพ์คมชัดลึก 


ปฏิรูปการศึกษาที่ห้องเรียนจุดเริ่มต้นการเรียนรู้เด็ก-ครู

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

ความคิดสร้างสรรค์ (จบ)

ความคิดสร้างสรรค์ (จบ)


เปิดอ่าน 7,419 ครั้ง
โรงเรียนยุคมิลเลนเนียล

โรงเรียนยุคมิลเลนเนียล


เปิดอ่าน 8,335 ครั้ง
อย่ากวดวิชาอย่างเดียว

อย่ากวดวิชาอย่างเดียว


เปิดอ่าน 7,640 ครั้ง
คืนครูสู่ห้องเรียน

คืนครูสู่ห้องเรียน


เปิดอ่าน 16,777 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

ผลิต ใช้ และพัฒนาครูอย่างไร จึงจะนำไปสู่การเพิ่มคุณภาพผู้เรียน

ผลิต ใช้ และพัฒนาครูอย่างไร จึงจะนำไปสู่การเพิ่มคุณภาพผู้เรียน

เปิดอ่าน 9,792 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
ความสำคัญของการศึกษาปฐมวัย
ความสำคัญของการศึกษาปฐมวัย
เปิดอ่าน 25,610 ☕ คลิกอ่านเลย

"อัดความรู้" แต่แบเบาะ สร้างอนาคตเด็กได้จริงหรือ?
"อัดความรู้" แต่แบเบาะ สร้างอนาคตเด็กได้จริงหรือ?
เปิดอ่าน 10,975 ☕ คลิกอ่านเลย

ปฏิรูปการศึกษาเรียนรู้จากผู้ประสบความสำเร็จ: "สิงคโปร์"
ปฏิรูปการศึกษาเรียนรู้จากผู้ประสบความสำเร็จ: "สิงคโปร์"
เปิดอ่าน 9,984 ☕ คลิกอ่านเลย

ปลูกวินัย "แม่พิมพ์ของชาติ"
ปลูกวินัย "แม่พิมพ์ของชาติ"
เปิดอ่าน 11,622 ☕ คลิกอ่านเลย

การศึกษาไทย…ไปถึงไหนแล้ว?? ผู้เขียน สหัส แก้วยัง
การศึกษาไทย…ไปถึงไหนแล้ว?? ผู้เขียน สหัส แก้วยัง
เปิดอ่าน 51,125 ☕ คลิกอ่านเลย

การศึกษาในอนาคต
การศึกษาในอนาคต
เปิดอ่าน 20,826 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

เกมส์วันเกิด 30 ปีของ PAC-MAN
เกมส์วันเกิด 30 ปีของ PAC-MAN
เปิดอ่าน 18,068 ครั้ง

สีเขียว ช่วยให้คุณครีเอทีฟ
สีเขียว ช่วยให้คุณครีเอทีฟ
เปิดอ่าน 11,087 ครั้ง

ประวัติไข้หวัดใหญ่ที่เคยระบาดบนโลก
ประวัติไข้หวัดใหญ่ที่เคยระบาดบนโลก
เปิดอ่าน 16,878 ครั้ง

อำนาจหน้าที่ของศึกษาธิการจังหวัด
อำนาจหน้าที่ของศึกษาธิการจังหวัด
เปิดอ่าน 75,885 ครั้ง

คุณค่าทางโภชนาการของ "หอยหวาน"
คุณค่าทางโภชนาการของ "หอยหวาน"
เปิดอ่าน 50,501 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ