ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมบทความการศึกษา  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

สแกน...ลดเวลาเรียน "3 สัปดาห์"บรรลุเป้า?


บทความการศึกษา 29 พ.ย. 2558 เวลา 05:27 น. เปิดอ่าน : 10,038 ครั้ง
สแกน...ลดเวลาเรียน "3 สัปดาห์"บรรลุเป้า?

Advertisement

โดย ขติยา มหาสินธ์

 

"ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้" เป็นนโยบายแรกๆ ที่ พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ประกาศเดินหน้าตามนโยบายของรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี นับแต่วันแรกที่เข้ามารั้งตำแหน่งเสมา 1 เมื่อ 3 เดือนก่อน คาดหวังให้เด็กลดการเรียนวิชาการที่หนักเกินไป และหันมาเรียนนอกห้องเรียนเพื่อเพิ่มทักษะด้านต่างๆ ให้มากขึ้น

ต้องยอมรับว่าเด็กไทยเรียนหนัก แต่ผลสัมฤทธิ์สวนทางซึ่งสร้างความไม่สบายใจให้แก่ผู้บริหารกระทรวงศึกษาฯมา ทุกยุคทุกสมัย มาถึงสมัยรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จึงหยิบยกปัญหานี้ขึ้นมาพูดคุยด้วยความห่วงใยตามเวทีต่างๆ อยู่บ่อยครั้ง นับตั้งแต่ก้าวเข้ามาบริหารประเทศ

โดยหลักการ ทุกฝ่ายเห็นตรงกันว่ารัฐบาลและกระทรวงศึกษาฯเดินมาถูกทาง เพราะเด็กไทยเรียนหนักจริง แถมเนื้อหาแต่ละระดับก็มีบางส่วนที่ซ้ำซ้อนกัน และที่สำคัญการบ้านมีแทบทุกวิชา แทนที่จะมอบเป็นโครงงานที่

บูรณาการวิชาต่างๆ เข้าด้วยกันซึ่งจะช่วยผ่อนภาระเด็ก จะได้มีเวลาไปทำกิจกรรมเสริมสร้างทักษะและช่วยงานบ้านพ่อแม่บ้าง

แต่คำถาม คือ แนวทางที่กระทรวงศึกษาฯทำอยู่ ตอบโจทย์ปฏิรูปการศึกษาแท้จริงแล้วหรือไม่ และที่สำคัญโครงการนี้ประสบความสำเร็จ สร้างความน่าพึงพอใจ 75% ดังที่ พล.อ.ดาว์พงษ์ ประเมินจริงหรือ?

เป็นคำถามที่ชวนขบคิดอย่างมาก...

นักวิชาการและนักบริหารอย่าง ดร.ภาวิช ทองโรจน์ อดีตเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา และอดีตผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำ ศธ. มองว่านโยบายการลดเวลาเรียนของ พล.อ.ดาว์พงษ์ น่าเป็นห่วง ไม่ว่ารัฐบาลจะบอกว่าประชาชนเห็นด้วยกับนโยบายดังกล่าว แต่ถ้าไปสอบถามครูในพื้นที่ จะพบว่าส่วนใหญ่ยังไม่พร้อม เพราะยังเน้นจัดการเรียนการสอนตามเนื้อหาวิชาเป็นหลัก โดยหลักการเห็นด้วยว่าเด็กไทยเรียนมากเกินไป แต่การลดเวลาเรียนต้องทำอย่างเป็นระบบ ค่อยเป็นค่อยไป เพราะหลักสูตรปัจจุบันจัดการเรียนการสอนโดยเน้นเนื้อหาสาระเป็นหลัก การปรับลำดับแรกจึงควรสร้างหลักสูตรใหม่ที่ลดความซ้ำซ้อนของเนื้อหา และจัดกิจกรรมที่สอดคล้องกับเนื้อหาวิชาที่เรียน

ไม่ต่างจากนักวิชาการฝีปากกล้าอย่าง ดร.สมพงษ์ จิตระดับ อาจารย์คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่มองคล้ายๆ กัน ว่าการลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ เป็นหนทางที่ทำให้ปฏิรูปการศึกษาสำเร็จซึ่งหลายประเทศดำเนินการมาแล้ว แต่ถ้าลดเวลาเรียนโดยหลักสูตร การวัดผลประเมินผลและระบบการคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัยยังไม่เปลี่ยนแปลงให้ สอดคล้องกับนโยบายลดเวลาเรียน ก็เป็นเรื่องที่ไม่ง่ายนักที่จะผลักดันนโยบายนี้ให้สำเร็จ

โดยเฉพาะต้องสร้างความเข้าใจให้ครูและผู้ปกครอง เพราะได้พูดคุยกับผู้บริหารโรงเรียนต่างจังหวัดพบว่าสิ่งที่โรงเรียนบางแห่งทำ คือ ย้ายกิจกรรมที่ทำช่วงเช้ามาอยู่ช่วงบ่าย และแทนที่จะทำกิจกรรมในห้องเรียน ก็ย้ายออกไปทำกลางสนาม ก็ถือว่าทำกิจกรรมนอกห้องเรียนแล้ว แต่วิชาการก็ยังเรียนหนักเหมือนเดิม สะท้อนว่าโรงเรียนยังตีความคำว่าลดเวลาเรียนไม่ตรงกัน หรืออีกนัยหนึ่งยังไม่เข้าใจคอนเซ็ปต์ของนโยบายนี้ดีพอ เช่นเดียวกับผู้ปกครอง ที่ทุกวันนี้หลังเลิกทำกิจกรรม ก็พาเด็กไปติววิชาหลัก อาทิ วิทยาศาสตร์ ฯลฯ หนักขึ้น เพราะวิตกว่าการลดเวลาเรียน จะทำให้ลูกอ่อนวิชาการจนสอบเข้ามหาวิทยาลัยไม่ได้ ผลจึงตกกับเด็กที่ต้องเรียนหนักขึ้น

นักวิชาการมองด้วยว่าโรงเรียน สังกัด สพฐ.ที่นำร่องโครงการนี้ เป็นโรงเรียนที่พร้อม แต่ถามว่าโรงเรียนส่วนใหญ่ที่เป็นโรงเรียนทั่วไป 90% พร้อมหรือไม่ ซึ่งเชื่อว่าไม่พร้อม รัฐมนตรีว่าการ ศธ.ต้องระมัดระวังกับสิ่งที่ข้าราชการรายงาน ครูเคยชินกับวิธีการสอนแบบเดิมๆ มาเป็น 10-20 ปี จึงเป็นไปไม่ได้ที่ครูจะมาเปลี่ยนวิธีการสอนได้สำเร็จภายใน 3 สัปดาห์

กระทรวงศึกษาฯ โดย พล.อ.ดาว์พงษ์ ต้องมองความสำเร็จของนโยบายที่ยั่งยืน และเล็งผลในทางปฏิบัติที่ยาวนาน เพราะหลายนโยบายที่ผ่านมามักอยู่ไม่นาน ก็ไปพร้อมกับเจ้ากระทรวง แต่หากปรับหลักสูตร ระบบการวัดผลประเมินผล ตลอดจนระบบการคัดเลือกนักศึกษาเข้ามหาวิทยาลัย ควบคู่ไปกับสร้างความพร้อมให้แก่ครูและทำความเข้าใจกับผู้ปกครองให้เข้าใจ หลักการที่ถูกต้องตรงกัน ก็เชื่อว่าจะตอบโจทย์ปฏิรูปการศึกษาที่คาดหวังให้เด็กไทย "เก่ง ดี มีสุข" ได้ไม่ยาก... 

 

ที่มา มติชนออนไลน์ วันที่ 28 พฤศจิกายน 2558


สแกน...ลดเวลาเรียน "3 สัปดาห์"บรรลุเป้า?สแกน...ลดเวลาเรียน3สัปดาห์บรรลุเป้า?

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

ความคิดสร้างสรรค์ (1)

ความคิดสร้างสรรค์ (1)


เปิดอ่าน 8,492 ครั้ง
บทบาทผู้นำองค์กร 2020

บทบาทผู้นำองค์กร 2020


เปิดอ่าน 8,578 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

การศึกษา สู่สนามแข่งขันเวทีอาเซียน ให้จับตาเวียดนาม

การศึกษา สู่สนามแข่งขันเวทีอาเซียน ให้จับตาเวียดนาม

เปิดอ่าน 10,291 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
จริงหรือที่คนมีสมองขนาดใหญ่ฉลาดมากกว่าคนที่มีสมองขนาดเล็ก ? หาคำตอบได้ที่นี่!
จริงหรือที่คนมีสมองขนาดใหญ่ฉลาดมากกว่าคนที่มีสมองขนาดเล็ก ? หาคำตอบได้ที่นี่!
เปิดอ่าน 8,440 ☕ คลิกอ่านเลย

มารู้จัก ทุน"เสมาพัฒนาชีวิต"กันเถอะ
มารู้จัก ทุน"เสมาพัฒนาชีวิต"กันเถอะ
เปิดอ่าน 10,229 ☕ คลิกอ่านเลย

ยุบ สพฐ. จัดตั้งของใหม่ คิดกันดีแล้วเหรอ?? ไม่เหนื่อยต่อการพายเรือในอ่างหรือ?!
ยุบ สพฐ. จัดตั้งของใหม่ คิดกันดีแล้วเหรอ?? ไม่เหนื่อยต่อการพายเรือในอ่างหรือ?!
เปิดอ่าน 21,976 ☕ คลิกอ่านเลย

การใช้อินเทอร์เน็ตและผลกระทบต่อคะแนนวิทยาศาสตร์ : FOCUS ประเด็นจาก PISA : ฉบับที่ 33 (กันยายน 2561)
การใช้อินเทอร์เน็ตและผลกระทบต่อคะแนนวิทยาศาสตร์ : FOCUS ประเด็นจาก PISA : ฉบับที่ 33 (กันยายน 2561)
เปิดอ่าน 38,127 ☕ คลิกอ่านเลย

เจาะลึกความสำเร็จการบริหารโรงเรียนตามแนวทาง SLC ของร.ร.พุทธจักรวิทยา  สร้างฐานการเรียนรู้ที่เข้มแข็งให้นักเรียน ดันคะแนนเฉลี่ยโอเน็ตปี’62 พุ่ง
เจาะลึกความสำเร็จการบริหารโรงเรียนตามแนวทาง SLC ของร.ร.พุทธจักรวิทยา สร้างฐานการเรียนรู้ที่เข้มแข็งให้นักเรียน ดันคะแนนเฉลี่ยโอเน็ตปี’62 พุ่ง
เปิดอ่าน 43,907 ☕ คลิกอ่านเลย

PISA ที่ผ่านมาบอกอะไรให้เราทราบบ้าง
PISA ที่ผ่านมาบอกอะไรให้เราทราบบ้าง
เปิดอ่าน 9,614 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

พระประจำวันเกิด
พระประจำวันเกิด
เปิดอ่าน 41,189 ครั้ง

วิเคราะห์พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ หมวดที่ 9 เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา มาตรา 63-69
วิเคราะห์พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ หมวดที่ 9 เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา มาตรา 63-69
เปิดอ่าน 64,698 ครั้ง

ต้นสาคู
ต้นสาคู
เปิดอ่าน 51,355 ครั้ง

8 การออกกำลังดีที่สุด และแย่ที่สุดสำหรับหัวใจ
8 การออกกำลังดีที่สุด และแย่ที่สุดสำหรับหัวใจ
เปิดอ่าน 12,150 ครั้ง

ชิคุนกุนยา โรคร้าย ที่มากับยุงลาย
ชิคุนกุนยา โรคร้าย ที่มากับยุงลาย
เปิดอ่าน 11,031 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ