ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมบทความการศึกษา  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

กระทรวงศึกษาธิการกับการปรับโครงสร้าง


บทความการศึกษา 26 พ.ย. 2558 เวลา 13:29 น. เปิดอ่าน : 23,590 ครั้ง
Advertisement

กระทรวงศึกษาธิการกับการปรับโครงสร้าง

Advertisement

โดย ผศ.รัฐพงศ์ บุญญานุวัตร

ภายหลังรัฐบาลให้ความสำคัญกับการปฏิรูปการศึกษา กระแสการปรับโครงสร้างกระทรวงศึกษาธิการก็กลับมาเป็นที่กล่าวขานกันอีกครั้งก่อนหน้านี้กระทรวงศึกษาธิการได้มีการบริหารจัดการเพื่อพัฒนาการศึกษาของชาติ โดยแบ่งโครงสร้างออกเป็น 14 กรม แต่ภายหลังเมื่อมีการปฏิรูปการศึกษาตาม พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 โครงสร้างของกระทรวงศึกษาธิการถูกปรับจาก 14 กรม เป็น 5 องค์กรหลัก ประกอบด้วย สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา, สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาและสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา

การปรับโครงสร้างการบริหารมาเป็น 5 องค์กรหลัก คณะกรรมการปรับเปลี่ยนโครงสร้างในขณะนั้นคงได้ทำการศึกษาและวิเคราะห์ข้อดีข้อเสียอย่างรอบคอบและชัดเจนแล้วว่าการบริหารจัดการของกระทรวงศึกษาธิการคงจะเหมาะสมและสอดคล้องกับการปฏิรูป ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา มักจะมีบางองค์กรหลักพบว่าการบริหารจัดการเกิดความไม่คล่องตัวและมีปัญหา จึงได้มีความคิดและเสนอทางออกในการขอปรับโครงสร้างมาเป็นระยะฯ โดยเฉพาะชาวสถาบันอุดมศึกษาที่ผู้บริหารมหาวิทยาลัยเสนอขอให้สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาแยกออกมาจากกระทรวงศึกษาธิการไปเข้าสู่องค์กรใหม่ เช่น กระทรวงการอุดมศึกษาและการวิจัย และกระทรวงอุดมศึกษา หรือแยกออกมาเป็นทบวงอย่างในอดีต อย่างไรก็ตาม แนวโน้มของการปรับโครงสร้างกระทรวงศึกษาธิการทำท่าว่าจะเป็นจริง เมื่อมีไฟเขียวจากผู้บริหารระดับสูงให้แต่ละองค์การไปเสนอแนวทางตลอดจนรูปแบบและภารกิจเพื่อเสนอให้คณะกรรมการนโยบายและพัฒนาการศึกษาหรือซุปเปอร์บอร์ดการศึกษาพิจารณาต่อไป

Advertisement

เมื่อมีประเด็นการเสนอการปรับโครงสร้างกระทรวงศึกษาธิการทุกครั้งก็จะมีเสียงสะท้อนออกมาหลากหลายมิติ ทั้งอดีตผู้บริหาร นักวิชาการและผู้เกี่ยวข้องทั้งที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย ข้อเสนอหรือมุมมองของบุคคลต่างๆ ที่มีต่อกรณีนี้ถือได้ว่าเป็นข้อเสนอที่มีผู้เกี่ยวข้องจะต้องรับฟังและนำไปสังเคราะห์ วิเคราะห์เพื่อประโยชน์โดยรวมของการศึกษาชาติ และถือได้ว่าผู้ที่ออกมาเสนอมุมมองต่างได้เข้ามามีส่วนร่วมด้วยความมุ่งหวังให้การศึกษาของชาติมีการพัฒนาไปข้างหน้าและทำให้มีความเท่าเทียมกับนานาประเทศ

นายจรูญ ชูลาภ อดีตปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ได้กล่าวถึงกระแสการปรับโครงสร้างของกระทรวงศึกษาธิการในการที่จะมีปลัดกระทรวงเป็นหัวหน้าส่วนราชการระดับ 11 เพียงคนเดียว (Single Command) และจะสลายองค์กรหลักแตกเป็นกรมที่มีอธิบดีระดับ 10 เป็นผู้บังคับบัญชา ว่าโดยส่วนตัวเห็นด้วยกับแนวคิดดังกล่าว คือโครงสร้างควรจะกลับไปเป็นแบบเดิมก่อนที่จะปรับให้มีองค์กร 5 แท่งเช่นในปัจจุบัน ซึ่งไม่ใช่เป็นการถอยหลังแต่เพื่อความชัดเจนในการจัดและพัฒนาการศึกษา เพราะตลอดระยะเวลา 10 ปีที่ปฏิรูปการศึกษาและปรับโครงสร้างกระทรวงศึกษาธิการก็ยังไม่ประสบความสำเร็จ ไปไม่ถึงเป้าหมายที่วางไว้ ผลการประเมินหรือจัดอันดับการศึกษาของประเทศก็ถอยไปเรื่อยๆ จากที่เคยอยู่อันดับ 40 กว่า ก็มาเป็น 80 กว่า ดังนั้น เมื่อไม่ถึงเป้าหมายก็ต้องมีการปรับเปลี่ยน (ไทยโพสต์, 9 พฤศจิกายน 2558)

ในขณะที่ ศ.ดร.สมพงษ์ จิตระดับ อาจารย์คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในฐานะอนุกรรมการแก้ไขร่าง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ....... กล่าวว่า ขณะนี้ถึงเวลาที่จะมาคุยกันเรื่องโครงสร้างกระทรวงศึกษาธิการให้สอดคล้องกับกฎหมายและแผนการศึกษาชาติที่กำลังปรับปรุงอยู่ ซึ่งเน้นที่ภารกิจโดยแบ่งออกเป็น 5 กลุ่มภารกิจหลัก ได้แก่ 1.กลุ่มผู้กำหนดนโยบายและแผนการศึกษา อาทิ สภาการศึกษา 2.กลุ่มผู้กำกับการศึกษา ได้แก่ สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษาและสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ 3.กลุ่มผู้จัดการศึกษา ได้แก่ ภาครัฐ องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น วัด มูลนิธิ ภาคเอกชน 4.กลุ่มผู้สนับสนุนการจัดการศึกษา อาทิ สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และพัฒนาคุณภาพเอกชน 5.กลุ่มผู้สนับสนุนงบประมาณและทรัพยากร อาทิ สำนัก งบประมาณกองทุนต่างๆ เป็นต้น

พร้อมกันนั้น ศ.ดร.สมพงษ์สะท้อนให้เห็นว่าสิ่งที่พบขณะนี้คือ ข้าราชการ ศธ.เกิดภาวะแตกตื่นหรือตื่นตระหนกกับโครงสร้างใหม่ ทำให้ทุกคนคิดถึงแต่ตัวเองโดยเฉพาะเรื่องตำแหน่งซึ่งจะทำให้การปฏิรูปการศึกษาเรื่องอื่นๆ เงียบหายไป เช่น การปฏิรูปการเรียนรู้ คุณภาพและการประเมินที่สำคัญ การให้ข้าราชการประจำปรับโครงสร้างตัวเองจะไม่สามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้ ควรให้หน่วยงานหรือคนที่ไม่มีส่วนได้เสีย เช่น ทีดีอาร์ไอเป็นผู้จัดโครงสร้างและให้ข้าราชการประจำเข้าไปมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็น (ไทยรัฐ, 12 พฤศจิกายน 2558)

การปรับโครงสร้างของกระทรวงนั้นในทรรศนะของผู้เขียนเห็นว่าหากมีความจำเป็นและเพื่อขจัดปัญหาตลอดจนอุปสรรคต่างๆ ที่ผู้ปฏิบัติเผชิญและส่งผลดีต่อการปฏิรูปการศึกษาของชาติก็สมควรยิ่ง แต่อย่างไรก็ตาม หากมีการปรับแล้วประโยชน์ที่ได้รับตกอยู่กับผู้บริหารโดยไม่ส่งผลไปยังเด็กซึ่งเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีความสำคัญนั้น ก็คงจะเกิดผลเสียมากกว่าผลดีอย่างแน่นอน บุคคลที่มีบทบาทในการขับเคลื่อนต่อการปรับโครงสร้างในครั้งนี้คงไม่พ้น รศ.นพ.กำจร ตติยกวี ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ที่จะต้องเป็นแกนกลางในการรับฟังความคิดเห็นของทุกภาคส่วน โดยเฉพาะบุคคลและหน่วยงานภายนอกรวมถึงผู้ปกครองนักเรียน นักศึกษา ตลอดจนนักวิชาการเพื่อหลอมรวมแนวคิดให้ตกผลึกก่อนเสนอให้ผู้มีอำนาจหรือคณะกรรมการนโยบายและพัฒนาการศึกษาที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานพิจารณาต่อไป

วันนี้หากมีการปรับโครงสร้างกระทรวงศึกษาธิการเป็นจริง คำถามที่ตามมาคือ ถ้าปรับแล้วผลการจัดการศึกษายังไม่มีการเปลี่ยนแปลง ยังมีลักษณะเหมือนอดีตที่ผ่านมาแล้วเราจะหาคำตอบจากใคร ดังนั้น ก่อนการเปลี่ยนแปลงการฟังความรอบด้านจึงมีความจำเป็นยิ่ง และไม่ควร มองข้าม "การปรับโครงสร้างของกระทรวงนั้น...หากมีการปรับแล้วประโยชน์ที่ได้รับตกอยู่กับผู้บริหารโดยไม่ส่งผลไปยังเด็กซึ่งเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีความสำคัญนั้น ก็คงจะเกิดผลเสียมากกว่าผลดีอย่างแน่นอน"

 

ที่มา มติชน ฉบับวันที่ 27 พ.ย. 2558 (กรอบบ่าย) 

🖼สำหรับคุณครูไว้ใส่เกียรติบัตรสวยและถูก🖼 กรอบป้ายอะคริลิคตั้งโต๊ะ A4 แนวนอน 30x21.5 cm อะคริลิคใส 1 หน้า ทรง L (A4L1P) คลิกเลย👇👇

฿129

https://s.shopee.co.th/1qLFIZVf4t?share_channel_code=6


กระทรวงศึกษาธิการกับการปรับโครงสร้าง

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

บทบาทผู้นำองค์กร 2020

บทบาทผู้นำองค์กร 2020


เปิดอ่าน 8,999 ครั้ง
คืนครูสู่ห้องเรียน

คืนครูสู่ห้องเรียน


เปิดอ่าน 17,293 ครั้ง
Advertisement


:: เรื่องปักหมุด ::

ปฏิรูปโครงสร้างการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยโอนโรงเรียนให้ท้องถิ่น

ปฏิรูปโครงสร้างการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยโอนโรงเรียนให้ท้องถิ่น

เปิดอ่าน 12,165 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
เด็กไทยเรียนฟรี เมื่อไหร่?เป็นจริง
เด็กไทยเรียนฟรี เมื่อไหร่?เป็นจริง
เปิดอ่าน 7,210 ☕ คลิกอ่านเลย

ไขคำตอบ "โรงเรียน ครู อยู่อย่างไรในยุค4.0?"
ไขคำตอบ "โรงเรียน ครู อยู่อย่างไรในยุค4.0?"
เปิดอ่าน 41,720 ☕ คลิกอ่านเลย

‘ครู’กับ‘ศิษย์’ ใกล้ชิดแค่ไหน? จึงจะ‘พอดี’ : โดย รศ.ดร.สุขุม เฉลยทรัพย์
‘ครู’กับ‘ศิษย์’ ใกล้ชิดแค่ไหน? จึงจะ‘พอดี’ : โดย รศ.ดร.สุขุม เฉลยทรัพย์
เปิดอ่าน 15,287 ☕ คลิกอ่านเลย

เจาะ..."ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้"ครูควรรับมืออย่างไร ?
เจาะ..."ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้"ครูควรรับมืออย่างไร ?
เปิดอ่าน 9,496 ☕ คลิกอ่านเลย

ปฏิรูปการศึกษาไทย พายเรือในอ่าง (จบ)
ปฏิรูปการศึกษาไทย พายเรือในอ่าง (จบ)
เปิดอ่าน 10,195 ☕ คลิกอ่านเลย

อุดมศึกษาไทยเสื้อไซซ์เดียว
อุดมศึกษาไทยเสื้อไซซ์เดียว
เปิดอ่าน 8,544 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

แนะนำหนังสือน่าอ่าน
แนะนำหนังสือน่าอ่าน
เปิดอ่าน 10,858 ครั้ง

AutoPlay Media Studio
AutoPlay Media Studio
เปิดอ่าน 25,014 ครั้ง

วารดิถี หรือ วาระดิถี คำไหนถูก-ผิด และใช้อย่างไร
วารดิถี หรือ วาระดิถี คำไหนถูก-ผิด และใช้อย่างไร
เปิดอ่าน 659 ครั้ง

ทำไมเครื่องบินกระดาษจึงบินได้
ทำไมเครื่องบินกระดาษจึงบินได้
เปิดอ่าน 66,546 ครั้ง

หลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของบุคลากรทางการศึกษาอื่นตามาตรา 36 ค.(2)
หลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของบุคลากรทางการศึกษาอื่นตามาตรา 36 ค.(2)
เปิดอ่าน 17,707 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.

Thailand Web Stat

Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ