ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมข่าวการศึกษา  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

"ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้" มุมมองพล.อ.ดาว์พงษ์


ข่าวการศึกษา 21 พ.ย. 2558 เวลา 20:44 น. เปิดอ่าน : 8,584 ครั้ง
Advertisement

"ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้" มุมมองพล.อ.ดาว์พงษ์

Advertisement

จาก'ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้'สู่'เพิ่มเวลาเรียนรู้นอกห้อง เปิดมุมมองเด็กไทยอย่างยั่งยืน' : สัมภาษณ์พิเศษ พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการการใช้เวลาเรียนของเด็กไทย ที่ผลสำรวจพบว่า ต้องใช้เวลากับการเรียนในห้องเรียนสูงเป็นอันดับสองของโลก” และผลที่ได้รับจากแนวคิดทางการศึกษาแบบเดิมๆ ที่สะท้อนภาพของ “การศึกษาและการวัดผลในด้านต่างๆ ที่ยังไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร กลายเป็นที่มาสำคัญของโครงการ “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้” ที่กำลังจะเปลี่ยนชื่อเป็น “เพิ่มเวลาเรียนรู้นอกห้อง เปิดมุมมองเด็กไทยอย่างยั่งยืน”

จากแนวคิดจาก พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เกี่ยวกับเวลาเรียนของเด็กไทย สู่การนำไปปฏิบัติโดยกระทรวงศึกษาธิการ จนเกิดกระแสตอบรับที่มีมาอย่างหลายรูปแบบจากสังคมไทย ที่มีทั้งเห็นด้วยและเห็นต่าง โดยเฉพาะในโลกโซเชียลกับโครงการ “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้” ของกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งเป็นที่มาของหลากหลายคำถามในช่วงแรกๆ โดยเฉพาะข้อกังขาว่า “เมื่อลดเวลาเรียนแล้ว จะส่งผลกระทบต่อการเรียนของเด็กหรือไม่?” “เมื่อลดเวลาเรียนลงแล้ว จะให้เด็กทำอะไร จะเกิดประโยชน์อะไร?”

พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ทำความเข้าใจเกี่ยวกับโครงการ “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้” ที่กำลังจะเปลี่ยนชื่อเป็น “เพิ่มเวลาเรียนรู้นอกห้อง เปิดมุมมองเด็กไทยอย่างยั่งยืน” ว่า ภาพรวมของโครงการ หลังเดินหน้าไปแล้วกว่า 1 เดือน เปรียบเสมือนการ “ลดไขมัน” จากหลักสูตรเดิมๆ ที่มีอยู่ และเข้าสู่กระบวนการ “เพิ่มเติมโปรตีน” เพื่อให้เกิดการ “เรียน” ที่จะนำไปสู่ “รู้” อย่างแท้จริง และนำไปปรับใช้จริง โดยกระทรวงศึกษาธิการดำเนินโครงการ ที่เริ่มนำร่องไปแล้วกว่า 4,100 โรงเรียน ทั้งสังกัดกระทรวงศึกษาฯ และที่สมัครใจเข้าร่วมโครงการ ในระดับประถมและมัธยมต้น

"ส่วนหนึ่งต้องยอมรับว่า เป็นเพราะหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการที่กำหนดให้เด็กประถมมีชั่วโมงเรียนนับ 1,000 ชั่วโมงต่อปี ในขณะที่ชั่วโมงเรียนจริงในปัจจุบันมีมากถึง 1,200 ชั่วโมงต่อปี ส่วนเด็กมัธยมต้น มีการกำหนดให้เด็กมีเวลาเรียนไม่น้อยกว่า 1,200 ชั่วโมงต่อปี ขณะที่เวลาเรียนจริงมี 1,400 ชั่วโมงต่อปี ทำให้โรงเรียนต้องหาวิชา หรือกิจกรรมนอกเหนือจากที่บังคับในหลักสูตร มาเพิ่มในชั่วโมงที่เหลือ ส่วนใหญ่ไม่ใช่เป็นการเสริทักษะให้เด็ก แต่มักมุ่งเน้นไปที่วิชาการในห้องเรียน ซึ่งมีมากพออยู่แล้ว เด็กประถมศึกษามีเวลาเรียนรู้นอกห้องเรียน ที่จะทำให้เกิดอีคิวและทักษะเพียง 160 ชั่วโมง หรือแค่ 13.34% เรียนในห้องเรียนถึง 1,040 ชั่วโมง หรือ 86.66 ชั่วโมง จากเวลาเรียนทั้งหมด 1,200 ชั่วโมง ขณะที่เด็กมัธยมต้น เรียนนอกห้องเรียนเพียง 160 ชั่วโมง หรือ 11.43% เรียนในห้องเรียน 1,240 ชั่วโมง หรือ 88.57 ชั่วโมง เหล่านี้ล้วนส่งผลกระทบต่อเด็กไทยในภาพรวมทั้งสิ้น"

รมว.ศึกษาธิการ ย้ำว่า กระทรวงไม่ได้ปรับลดชั่วโมงเรียนในวิชาหลัก แต่ปรับลดเวลาในวิชาที่ซ้ำซ้อนและดูไม่เกิดประโยชน์มากนัก หลังจากได้ข้อเท็จจริงทั้งหมด ก็ระดมสมองข้าราชการ และส่วนที่เกี่ยวข้อง ได้ข้อสรุปว่า ควรปรับบทบาททั้งครู นักเรียน และผู้ปกครอง โดยมุ่งเน้นไปที่ 3 เรื่องคือ ปรับตารางการสอน ปรับเนื้อหาการเรียนการสอนให้กระชับ โดยไม่ตัดเนื้อหาในวิชาหลัก และเตรียมความพร้อมที่ครูชั้นประถมและมัธยมต้น หากได้ผลเป็นที่น่าพอใจก็ไม่ต้องปรับในส่วนมัธยมปลาย หรืออาชีวศึกษา เพราะเด็กระดับนี้เริ่มมีวุฒิภาวะแล้วจากโครงการนี้แล้ว

"เบื้องต้นชั้นประถมลดเวลาในห้องเรียนเหลือ 840 ชั่วโมง หรือ 70% และเพิ่มเวลานอกห้องเรียนเป็น 360 ชั่วโมง หรือ 30% ขณะที่ชั้นมัธยมต้น ลดเวลาในห้องเรียนเหลือ 1,040 ชั่วโมง หรือ 74.28% และเพิ่มเวลานอกห้องเรียนเป็น 360 ชั่วโมง หรือ 25.70% โดยรวมในชั้นประถมศึกษาชั่วโมงในห้องเรียนลดลง หรือชั่วโมงกิจกรรมเพิ่มขึ้นอีก 16.66% ส่วนมัธยมต้น ชั่วโมงในห้องเรียนลดลง หรือชั่วโมงกิจกรรมเพิ่มขึ้นอีก 14.29% น่าจะรองรับการศึกษา วัฒนธรรม รวมถึงวิถีชีวิตแบไทยๆ ได้"

สำหรับช่วงเวลาที่ว่างจากการเรียน เด็กๆ สามารถเรียนรู้ได้ในเรื่องต่างๆ ราว 390 กิจกรรม ใน 4 หมวดสำคัญ ซึ่งเด็กๆ คงจะมีเวลาสำหรับที่จะเลือกทำ มากกว่าที่จะว่างไปทำอย่างอื่น หมวดแรก เน้นแนวคิด คิดเก่ง คิดดี มีฝีมือ และแข็งแกร่ง คือมุ่งเน้นสร้างการพัฒนาสมอง ให้หัดคิด และวิเคราะห์เป็น หมวดที่สอง เน้นสร้างจิตใจดี มีคุณธรรมจริยธรรม หน้าที่พลเมือง หมวดที่สาม สร้างทักษะฝีมือ สร้างอีคิว และ หมวดสุดท้าย เน้นให้เกิดพลานามัยแข็งแรง ทั้งกีฬา และกิจกรรมต่างๆ ฉะนั้นตอบโจทย์ข้อนี้ได้เลยว่า ไม่ใช่ลดเวลาเรียนแล้วจะว่าง ที่พัฒนาในเรื่องสมอง โครงการเพิ่มเวลาเรียนรู้นอกห้อง เปิดมุมมองเด็กไทยอย่างยั่งยืน นี่คือสิ่งที่จะมาเติมและชดเชยให้แก่เวลาที่น้อยลงสำหรับการเรียนในห้องเรียน ที่จะทำให้ไอคิวไม่ลด แต่พัฒนาให้เด็กไทยมีอีคิว และเอ็มคิว ในระยะยาว

Advertisement

โครงการนี้เด็กยังเลิกเรียนเวลาเดิม เพียงแต่ลดเวลาในห้องเรียนลงเท่านั้น เด็กไม่ได้ไปไหน ยังอยู่ที่โรงเรียน ทำกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้นอกห้องเรียน หรือในบริเวณโรงเรียน ยังเลิกเรียนเวลาเดิม เพียงแต่ลดเวลาในห้องเรียนลงเท่านั้น

โรงเรียนนำร่อง 4,100 แห่ง ที่เข้าร่วมโครงการกับกระทรวง ไม่ได้ถูกบังคับ เพราะเดิมทีตั้งเป้าไว้แค่ 3,000 โรงเรียน แต่ที่่น่าดีใจคือ หลายโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ ถึงกับบอกว่า ทำไมไม่คิดทำเรื่องแบบนี้มาตั้งนานแล้ว ส่วนโรงเรียนที่ยังไม่เคยมีกิจกรรม กระทรวงได้จัดทำคู่มือการเรียนการสอน การทำเวิร์กช็อป ติวเข้มครูผู้สอน ซึ่งกระทรวงติดตามอย่างใกล้ชิดทุกโรงเรียน เพราะกระทรวงเตรียมการรองรับไว้แล้ว ด้วยการจัดทีมเจ้าหน้าที่ (สตาฟฟ์) หรือที่เรียกว่า สมาร์ม ทีม จากทางกระทรวงศึกษาธิการ ลงพื้นที่ เป็นพี่เลี้ยงให้แต่ละโรงเรียน ให้ความช่วยเหลือโรงเรียนในทุกด้าน และจะเริ่มมีการประเมินผลโดยทีมเจ้าหน้าที่ ร่วมกับทางผู้บริหารของกระทรวง โดยรัฐมนตรีจะลงพื้นสำรวจความคิดเห็นเร็วๆ นี้

"ที่ผ่านมาการเรียนตามหลักสูตรโดยเวลาปกติในห้องเรียน มีการประเมิน และมีข้อศึกษาวิจัยหลายด้าน ที่เห็นว่า มีความซ้ำซ้อนของแต่ละวิชา แนวคิดการลดเวลาเรียน ไม่ใช่การลดความสำคัญ หรือลดเนื้อหาในหลักสูตร แต่เป็นการลดความซ้ำซ้อนของเนื้อหาในหลักสูตรให้กระชับ พูดง่ายๆ เป็นเพียงแค่การปรับโครงสร้างเวลาเรียน ให้เนื้อหากระชับ ไม่มีการปรับเนื้อหาในวิชาหลัก เช่น คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และอื่นๆ แต่จะปรับในส่วนที่ซ้ำซ้อน เช่น คณิตศาสตร์ 1 คณิตศาสตร์ 2 หรือเนื้อหาที่มีความซ้ำซ้อน และไม่จำเป็นที่เบียดบังช่วงที่เด็กควรจะได้รับการผ่อนคลาย ผมขอยืนยันว่า ไม่ได้หมายความถึงการลดคุณภาพของหลักสูตรที่จะเรียน แต่ลดปริมาณของเวลาที่ใช้ และใช้เวลาที่ได้มาไปเติมในส่วนที่ขาด เพราะฉะนั้น โครงการนี้จะไม่ส่งผลกระทบต่อการเรียนการสอน รวมถึงผลการเรียนเด็กอย่างแน่นอน"

ที่สำคัญ ไม่ต้องกังวลด้วยว่า ลูกหลานจะได้วิชาการน้อยลง เพราะมีการส่งผลวิจัยไปให้ผู้ออกข้อสอบโอเน็ต และเอ็นที วิเคราะห์แล้วว่า แนวทางนี้ ไม่ส่งผลกระทบใดๆ ต่อการสอบของเด็ก แต่ตรงกันข้าม กลับทำให้เด็กก้าวข้ามสิ่งที่เกินจะเรียนรู้ในภาวะขณะนั้นได้

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวอย่างภูมิใจว่า เวลานี้มีหลายโรงเรียนแสดงเจตจำนงที่จะขอเข้าร่วมโครงการเพิ่มเติม ซึ่งกระทรวงศึกษาฯ มีความยินดีที่จะช่วยเหลือ และพร้อมขยายโครงการนี้ ต่อไปยังโรงเรียนในพื้นที่อื่นๆ ทั่วประเทศ ช่วงแรกอาจมีความเข้าใจคลาดเคลื่อนไปบ้าง แต่ขณะนี้เชื่อว่าผู้บริหารโรงเรียน ครู ผู้ปกครอง รวมถึงเด็กนักเรียน ก็เริ่มมีความเข้าใจที่ถูกต้อง และเห็นด้วยกับโครงการนี้แล้ว

กระทรวงศึกษาธิการตั้งเป้าหมายจะดำเนินการต่อเนื่อง ให้ครอบคลุมทุกโรงเรียน ทุกสังกัด ทั่วประเทศ ภายในปี 2559 และเตรียมขยายเข้าสู่โรงเรียนสอนศาสนา ทุกศาสนา รวมถึงโรงเรียนปอเนาะ และโรงเรียนสอนศาสนาอิสลามทั่วประเทศ จะเน้นหลักความเท่าเทียมเป็นหลัก และกระทรวงศึกษาธิการพร้อมให้การสนับสนุนทุกโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการนี้ ทุกๆ ด้านอย่างต่อเนื่องด้วย 

 

ที่มา คมชัดลึก วันที่ 21 พฤศจิกายน 2558

หน้าหนาวแล้ว คุณครูสนใจไหม DoDo เก้าอี้แคมป์ปิ้ง รับน้ำหนักได้เยอะ พร้อมกระเป๋าจัดเก็บ โครงอลูมิเนียมรับน้ำหนักได้200KG ในราคา ฿189 - ฿509 ที่ Shopee

https://s.shopee.co.th/9pNuttuIUm?share_channel_code=6


"ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้" มุมมองพล.อ.ดาว์พงษ์ลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้มุมมองพล.อ.ดาว์พงษ์

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

Advertisement


:: เรื่องปักหมุด ::

การนำแนวทางโปรแกรมประเมินสมรรถนะนักเรียนมาตรฐานสากล (PISA) มาใช้ในการประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน และการสรรหาโดยการสอบแข่งขัน/คัดเลือกฯ บุคลากร สังกัด สพฐ.

การนำแนวทางโปรแกรมประเมินสมรรถนะนักเรียนมาตรฐานสากล (PISA) มาใช้ในการประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน และการสรรหาโดยการสอบแข่งขัน/คัดเลือกฯ บุคลากร สังกัด สพฐ.

เปิดอ่าน 2,518 ☕ 27 พ.ย. 2567

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
ผลการคัดเลือกโรงเรียนวิถีพุทธชั้นนำ รุ่นที่ 15
ผลการคัดเลือกโรงเรียนวิถีพุทธชั้นนำ รุ่นที่ 15
เปิดอ่าน 291 ☕ 22 ธ.ค. 2567

สพฐ.สำรวจความต้องการขอรับจัดสรรอัตราว่างจากผลการเกษียณอายุราชการของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในสถานศึกษา ตำแหน่งครูผู้สอนเพิ่มเติม
สพฐ.สำรวจความต้องการขอรับจัดสรรอัตราว่างจากผลการเกษียณอายุราชการของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในสถานศึกษา ตำแหน่งครูผู้สอนเพิ่มเติม
เปิดอ่าน 205 ☕ 22 ธ.ค. 2567

เกียรติบัตรสำหรับสถานศึกษาที่เข้าร่วมการประกวดคลิปวีดิทัศน์ "Meditation Clip Contest"
เกียรติบัตรสำหรับสถานศึกษาที่เข้าร่วมการประกวดคลิปวีดิทัศน์ "Meditation Clip Contest"
เปิดอ่าน 444 ☕ 20 ธ.ค. 2567

ชื่อเต็ม ชื่อย่อ ของหน่วยงานและผู้บริหารระดับสูง ในสังกัด สพฐ.
ชื่อเต็ม ชื่อย่อ ของหน่วยงานและผู้บริหารระดับสูง ในสังกัด สพฐ.
เปิดอ่าน 817 ☕ 19 ธ.ค. 2567

ประกาศรายชื่อผู้ได้รับรางวัล "ครูดีในดวงใจ" ครั้งที่ 22 ประจำปี พ.ศ. 2568
ประกาศรายชื่อผู้ได้รับรางวัล "ครูดีในดวงใจ" ครั้งที่ 22 ประจำปี พ.ศ. 2568
เปิดอ่าน 1,827 ☕ 19 ธ.ค. 2567

ศธ. เปิดตัวระบบTRS ย้ายครูออนไลน์ทุกกรณี แก้ปัญหาทุจริตโยกย้ายไม่เป็นธรรม
ศธ. เปิดตัวระบบTRS ย้ายครูออนไลน์ทุกกรณี แก้ปัญหาทุจริตโยกย้ายไม่เป็นธรรม
เปิดอ่าน 734 ☕ 17 ธ.ค. 2567

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

วิธีแก้ the dependency service or group failed to start ใน Win7
วิธีแก้ the dependency service or group failed to start ใน Win7
เปิดอ่าน 46,009 ครั้ง

แนวทางการเยี่ยมบ้านนักเรียน
แนวทางการเยี่ยมบ้านนักเรียน
เปิดอ่าน 27,738 ครั้ง

ส่งท้ายปีเก่า 2553
ส่งท้ายปีเก่า 2553
เปิดอ่าน 11,215 ครั้ง

จดหมายฉบับที่ 36 ถึงนายกรัฐมนตรี+รมว.ศธ. เรื่อง ยกเลิกวิธีนำร่องในการปรับลดเวลาเรียน
จดหมายฉบับที่ 36 ถึงนายกรัฐมนตรี+รมว.ศธ. เรื่อง ยกเลิกวิธีนำร่องในการปรับลดเวลาเรียน
เปิดอ่าน 11,115 ครั้ง

ระวัง! สารฟอกขาวในตะเกียบ
ระวัง! สารฟอกขาวในตะเกียบ
เปิดอ่าน 10,804 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ