เล็งยกหนี้เน่าเงินกู้เรียน กรอ.ผนึกกยศ. แก้กฎหมายรวบรวม เล็งดึงกรมสรรพากรเข้าร่วม ให้รับภาระแทนนักศึกษาที่ค้างชำระ จ่อออกมาตรการจูงใจล่อเด็กเบี้ยวหนี้ให้กลับมาชำระ
นายเปรมประชา ศุภสมุทร กรรมการกองทุนเงินให้กู้ยืมที่ผูกกับรายได้ในอนาคต (กรอ.) เปิดเผยว่า ขณะนี้คณะกรรมการร่วมกรอ. และกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) เตรียมเสนอให้แก้ไขเพิ่มเติมข้อกฏหมายการควบรวมกองทุนกรอ.และกยศ.เข้าด้วย กัน หลังจากที่ผ่านมาได้เสนอร่างกฎหมายดังกล่าวให้ที่ประชุมครม.แล้ว แต่ยังอยู่ระหว่างการรอบรรจุเข้าสู่วาระการประชุม ซึ่งสาระสำคัญของการแก้ไขข้อกฎหมายฉบับนี้ จะให้กรมสรรพากรเข้ามารับชำระหนี้แทนผู้กู้ที่ค้างชำระ โดยในรายละเอียดของการดำเนินการดังกล่าว คณะกรรมการร่วมจะพิจารณารูปแบบที่แน่ชัดอีกครั้ง และประสานกรมสรรพากร ก่อนเสนอให้ ครม.เห็นชอบต่อไป
"ล่าสุดครม.ก็ได้เห็นชอบให้ควบรวมทั้งสองกองทุนเข้าด้วย กันเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ส่วนข้อกฎหมายที่จะรองรับการดำเนินการดังกล่าวที่ผ่านมาคณะกรรมการร่วม ได้เสนอข้อกฎหมายไปรอที่ครม.แล้วคาดว่า ในเร็วๆ นี้ จะผ่านการเห็นชอบ จากนั้นจึงส่งให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ตรวจพิจารณา โดยในช่วงที่กฤษฎีกากำลังตรวจ จะเสนอให้แก้ไขรายละเอียดเพิ่มเติม ด้วยการเสนอให้กรรมสรรพากรจะเข้ามามีส่วนร่วมด้วย ซึ่งเรื่องนี้ก็เป็นไปตามนโยบายของทางกระทรวงการคลัง"
Advertisement
รายงานข่าวจากกระทรวงการคลัง กล่าวว่า ขณะนี้กระทรวงการคลังได้มอบหมายให้กรมสรรพากรเข้าไปศึกษาข้อกฎหมายและวิธี การดำเนินงานเกี่ยวกับการตรวจสอบการยื่นแสดงเสียภาษีบุคคลธรรมดา โดยเฉพาะผู้ที่กู้ยืมเงินของกยศ. ว่ามีรายได้และเข้าข่ายเสียภาษีหรือไม่ เพื่อประกอบในการพิจารณาเกี่ยวกับวงเงินที่ค้างชำระในกองทุนดังกล่าว ซึ่งตามหลักแล้ว หากประชาชนทั่วไปหรือผุ้ที่กู้ยืมเงินจากกองทุนเข้าข่ายเกณฑ์เสียภาษีบุคคลธรรมดาที่กำหนดไว้ ก็ต้องยื่นแสดงรายการเสียภาษีในแต่ละปี หาช่องแก้กฎหมายดึงสรรพากรแก้เด็กเบี้ยวหนี้กยศ. คณะกรรมการร่วมฯ รอครม.ผ่านร่างกฎหมายควบรวมกองทุนกรอ.-กยศ. ก่อนเสนอเข้าสนช.จะขอแก้รายละเอียดเพิ่มเติม
พร้อมกันนี้ เชื่อว่า การศึกษาข้อกฎหมายและวิธีการดำเนินงานเกี่ยวกับการตรวจสอบการยื่นแสดงเสียภาษีบุคคลธรรมดา จะช่วยให้ทราบถึงข้อมูลของผู้ที่ค้างชำระในเงินกองทุนดังกล่าวได้ชัดเจนมาก ขึ้น หากมีรายได้ที่ต้องเสียภาษี แต่ไม่ยอมเข้ามาชำระเงินกู้ที่กู้จากกองทุนไปก็ต้องตรวจสอบว่าเพราะเหตุใด ถึงไม่ยอมชำระหนี้ดังกล่าว
อย่างไรก็ตามที่ผ่านมา กยศ.ได้เชิญชวนองค์กรนายจ้างร่วมทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ เพื่อสร้างความรับผิดชอบให้บุคลากรที่เป็นผู้กู้ยืมชำระหนี้คืนในโครงการ กยศ. กรอ. เพื่อชาติโดยเสนอมาตรการจูงใจบุคลากรในสังกัดองค์กรนายจ้างที่เข้าร่วม โครงการ ตั้งแต่บัดนี้ - 30 ก.ย.59เนื่องจากหน่วยงานองค์กรนายจ้างจะช่วยป้องกันความเสี่ยงของ บุคลากรที่เป็นผู้กู้ยืมเงินกองทุนไม่ให้ถูกฟ้องร้องดำเนินคดีหรือถูกบังคับ คดี รวมทั้ง ยังมีส่วนร่วมเพื่อช่วยเหลือสังคมในการส่งเสริมบุคลากรในหน่วยงานให้มี วินัยทางการเงินและจิตสำนึกความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม
สำหรับหรับมาตรการจูงใจ ประกอบด้วย หากกรณีผู้กู้ยืมยินยอมให้นายจ้างหักเงินเดือน สำหรับผู้กู้ที่ไม่ค้างชำระ เมื่อชำระเสร็จสิ้นแล้วจะได้เงินคืน 1%ของเงินต้นคงเหลือ สำหรับผู้กู้ที่ค้างชำระ หากยินยอมชำระหนี้เป็นปกติ จะได้ลดเบี้ยปรับ 100% หรือหากไม่สามารถชำระหนี้ให้เป็นปกติได้ กองทุนจะปรับโครงสร้างหนี้ใหม่ให้กับผู้กู้ยืมพร้อมลดเบี้ยปรับ 50% และมีระยะเวลาผ่อนชำระหนี้ตามระยะเวลาที่เหลืออยู่ตามสัญญาส่วนกรณีผู้กู้ ยืมปิดบัญชี สำหรับผู้กู้ที่ไม่ค้างชำระจะได้เงินคืน 3%ของเงินต้นคงเหลือ แต่สำหรับผู้กู้ที่ค้างชำระจะได้ลดเบี้ยปรับ 100%
อ่านต่อที่ : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ วันที่ 16 พฤศจิกายน 2558