คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ จับมือ สสส. คัด 12 กิจกรรมเด่น สร้างเสริมสุขภาวะที่ดีให้เด็ก-เยาวชน เตรียมเสนอ ศธ. และ สพฐ. หวังใช้เป็นต้นแบบการจัดกิจกรรมในโครงการลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้
วันนี้ (10 พ.ย.) ศ.ดร.สมพงษ์ จิตระดับ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาด้านเด็กและเยาวชน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยว่า ตามที่คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ ร่วมกับ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ลงพื้นที่เพื่อพัฒนากิจกรรมที่ดี เพื่อสร้างเสริมสุขภาวะที่ดีให้แก่เด็กและเยาวชน จึงได้คัดเลือกกิจกรรมที่โดดเด่น 12 เรื่อง เสนอต่อกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) และสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เพื่อหวังให้เป็นต้นแบบของกิจกรรมในโครงการ ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ ทั้งนี้ 12 โครงการ ประกอบด้วย
1.โครงการหาดสองแคว จักรยานสานฝัน กับการสานสร้างท้องถิ่นจัดการตนเอง จังหวัดอุตรดิตถ์ มีการจัดการขยะ การจัดลานนมชมจันทร์แทนลานเบียร์ ช่วยลดปัญหายาเสพติด และแอลกอฮอล์อย่างได้ผล
2.โครงการเดินป่าผจญภัย สร้างผู้นำรุ่นใหม่ที่คลองน้ำไหล จังหวัดกำแพงเพชร
3.โครงการเด็กนำผู้ใหญ่หนุน จังหวัดเชียงใหม่ เน้นสืบสานวิถีดั้งเดิมของชุมชน
4.โครงการเครือข่ายจิตอาสาป้องกันปัญหาเด็กหญิงแม่ จังหวัดสระแก้ว
ศ.ดร.สมพงษ์ กล่าวต่อไปว่า
5.โครงการเรื่องเล่าชุมชนบ้านขาว จังหวัดสงขลา มีการสานต่อศิลปะท้องถิ่น
6.โครงการรักษ์ผืนป่า จังหวัดนครพนม
7.โครงการเรื่องเล่าจากไทอุบลฯในพื้นที่ไทโย้ย จังหวัดสกลนคร ดึงเด็กรุ่นใหม่ให้กลับมาอนุรักษ์การทำผ้าย้อมคราม และคิดลายใหม่
8.โครงการพลังเด็กร่วมใจ จังหวัดฉะเชิงเทรา
9.โครงการจอมบึง... ถิ่นสร้างสรรค์เด็ก จังหวัดราชบุรี
10.โครงการบ้านหนองเต่า ชุมชนปราชญ์ธรรมชาติแห่งปกาเกอะญอ จังหวัดเชียงใหม่
11.โครงการลอกคลองด้วยพลังเด็กและเยาวชน จังหวัดนนทบุรี โดยเด็กและเยาวชน ร่วมกันลอกคลองกำจัดผักตบชวา และฟื้นฟูการวัฒนธรรมท้องถิ่น การท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ และ
12.โครงการเบื้องหลัง หนังควนโดน จังหวัดสตูล ซึ่งเยาวชนร่วมกันนำเสนอโครงการบ้านฉันมีดี นำเสนอของดีในชุมชนในรูปแบบสารคดี โดยใช้นักข่าวเยาวชน เป็นหลักในการนำเสนอและผลิตเนื้อข่าวต่อสาธารณะ
อ่านต่อที่ : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ วันที่ 10 พฤศจิกายน 2558