Advertisement
วันนี้นำสาระความรู้ดีดีเรื่องโยเกิร์ตอาหารมหัศจรรย์
ที่ทพ. จักรชัย สมพลพงษ์ เขียนเอาไว้
น่าสนใจมาก นึกไม่ถึงจริงๆ... ตามนี้ค่ะ
โยเกิร์ต นมเปรี้ยวที่คนไทยรู้จักในรูปแบบต่างๆ อาจจะไม่ใช่นมเปรี้ยวที่เรากำลังจะกล่าวถึงเพราะ โยเกิร์ตหรือนมเปรี้ยวที่ดีจะต้องมีแบคทีเรียที่ยังมีชีวิตอยู่ จุดประสงค์ของการรับประทานนมเปรี้ยวที่ถูกต้องคือ การรับประทานแบคทีเรียที่ยังมีชีวิตจำนวนมาก(ประมาณ หมื่นล้านต้วต่อกรัม)เพื่อหวังผลต่อสุขภาพ
ส่วนนมเปรี้ยวที่เราหาซื้อกันในท้องตลาดทำขึ้นโดยมีการปรุงแต่งรสชาติให้อร่อย บางชนิดไม่สมควรเรียกว่าโยเกิร์ตเสียด้วยซ้ำเพราะนำไปพาสเจอร์ไรซ์(ฆ่าเชื้อที่อุณหภูมิสูง)และนำมาบรรจุกล่อง ที่จริงน่าจะเรียกว่าซากโยเกิร์ต บางชนิดก็มีการใส่น้ำตาลมากจนน่าสงสัยว่าท่านจะได้ประโยชน์ได้เต็มที่หรือไม่ บางชนิดก็มีการเจือจางจนปริมาณแบคทีเรียเหลืออยู่น้อยมาก
แบคทีเรียที่ดีในโยเกิร์ต ได้แก่ แลคโตบาซิลัส เอซิโดฟิลลัส( Lactobacillus acidophillus) แลคโตบาซิลัส บัลการิคัส ( Lactobacillus bulgaricus) และ สเตรปโตคอคคัส เทอร์โมฟิลลัส ( Streptococcus thermophillus)
โยเกิร์ตสามารถ ทำได้จากนมชนิดต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น นมสด นมพร่องมันเนย หรือ นมถั่วเหลือง โดยการใช้แบคทีเรีย แลคโตบาซิลัส เอซิโดซิส และ สเตรปโตคอคคัส เทอร์โมฟิลลัส เป็นหลักใส่ลงไปหมักผลิตภัณฑ์นมต่างๆ แบคทีเรียเหล่านี้ช่วยย่อยน้ำตาลแลคโตสในนมให้เป็นกรดแลคติคทำให้มีภาวะกรดและมีรสเปรี้ยว
ดังนั้นโยเกิร์ตที่ดีควรทำจากนมชนิดต่างๆและแบคทีเรียที่ดีเท่านั้น ไม่ควรมีส่วนผสมอย่างอื่นเข้าไปเจือปน ไม่ว่าจะเป็นน้ำตาล สี สารเจลาติน รสสังเคราะห์ ส่วนผสมเหล่านี้ล้วนทำให้คุณค่าของโยเกิร์ตด้อยลง แม้ว่าเราอาจจะไม่คุ้นเคยต่อรสโยเกิร์ตธรรมชาติ แต่ขอให้คำนึงถึงประโยชน์ที่จะได้รับ ท่านก็จะสามารถรับประทานโยเกิร์ตธรรมชาติด้วยความสบายใจและอร่อย
คุณประโยชน์จากโยเกิร์ต
1. โยเกิร์ตย่อยง่าย เพราะน้ำตาลแลคโตสเป็นตัวหลักที่ทำให้เกิดการแพ้นมหรือท้องเสียถูกเปลี่ยนเป็นกรดแลคติกที่ย่อยง่าย นอกจากนนี้แบคทีเรียในโยเกิร์ตยังมีเอนไซม์ช่วยย่อยโปรตีนนม เคซีน ซี่งเป็นโปรตีนย่อยยาก ทำให้ร่างกายสามารถดูดซึมได้ง่ายขึ้น ลดปัญหาภูมิแพ้ต่อน้ำตาลแลคโตสและ โปรตีนเคซีน
2. เสริมสร้างภูมิคุ้มกันและช่วยยับยั้งจุลชีพที่ไม่เป็นมิตรในลำไส้ กรดแลคติคจะช่วยต่อต้านจุลชีพที่อาจให้โทษต่อร่างกายเช่น เชื้อซัลโมเนลา (Salmonella typhidie) อี โคไล ( E. Coli) โคลินแบคทีเรีย( Corynebacteria diphtheriae) ทำให้เชื้อเหล่านี้ไม่สามารถทำอันตรายต่อร่างกายได้ เราควรจะรับประทานโยเกิร์ตอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้มีกลุ่มแบคทีเรียที่ดีอาศัยอยู่ภายในลำไส้
3. เป็นแหล่งวิตามิน บี โดยเฉพาะวิตามิน บี1(ไรโบฟลาวิน) แบคทีเรียในโยเกิร์ตยังช่วยสังเคราะห์วิตามิน บีและวิตามิน เค ในลำไส้
4. ช่วยรักษาโรค ท้องเสีย ท้องเดิน และแผลในกระเพาะ จากการวิจัยพบว่าผู้ป่วยเด็กหายจากอาการท้องเสียเร็วขึ้น หลังจากได้รับประทานโยเกิร์ต
5. ช่วยทำให้ร่างกายดูดซึมแคลเซียมดีขึ้น กรดแลคติคในโยเกิร์ตช่วยทำให้การย่อยแคลเซียมในนมดีขึ้นและทำให้ร่างกายดูดซึมแคลเซียมง่ายขึ้น
6. เป็นแหล่งโปรตีนชั้นดี ในโยเกิร์ตจะมีโปรตีนมากกว่าในนม 20% และยังเป็นโปรตีนที่ย่อยง่าย ร่างกายสามารถดูดซึมไปใด้ด
7. ช่วยป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจ แลคโตบาซิลัสช่วยควบคุมปริมาณโคเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ในเลือดได้
8. ช่วยป้องกันมะเร็ง แลคโตบาซิลัสสามารถจับกับสารก่อมะเร็ง สามารถจับกับโลหะหนัก และกรดน้ำดีซึ่งมีพิษ แลคโตบาซิลัสช่วยยับยั้งกลุ่มแบคทีเรียในลำไส้ที่สร้างสารไนเตรทได้ (สารในเตรทเป็นสารก่อมะเร็งตัวหนึ่ง) และแลคโตบาซิลัสยังช่วยเปลี่ยนสารฟลาโวนอยด์จากพืชให้เป็นสารต้านมะเร็งได้
รู้อย่างนี้แล้ว หันมาใส่ใจสุขภาพกันค่ะจะได้สุขภาพดีมีอายุยืนยาว วันนี้คุณรับประทานโยเกิร์ตกันหรือยัง....
จิราภรณ์ หอมกลิ่น
วันที่ 4 เม.ย. 2552
หนาวแล้ว ออกแคมป์กันเถอะ! ⛺ เตาแก๊สปิคนิค พกพาสะดวก ออก Outdoor ได้สบายๆ รุ่น KJ-101 แถมฟรี!!กล่องเก็บเตา ในราคา ฿244https://s.shopee.co.th/7fJQKGPCjr?share_channel_code=6
Advertisement
เปิดอ่าน 7,186 ครั้ง เปิดอ่าน 7,169 ครั้ง เปิดอ่าน 7,225 ครั้ง เปิดอ่าน 7,160 ครั้ง เปิดอ่าน 7,170 ครั้ง เปิดอ่าน 7,206 ครั้ง เปิดอ่าน 7,161 ครั้ง เปิดอ่าน 7,155 ครั้ง เปิดอ่าน 7,166 ครั้ง เปิดอ่าน 7,168 ครั้ง เปิดอ่าน 7,161 ครั้ง เปิดอ่าน 7,157 ครั้ง เปิดอ่าน 7,164 ครั้ง เปิดอ่าน 7,158 ครั้ง เปิดอ่าน 7,170 ครั้ง เปิดอ่าน 7,160 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 7,162 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,155 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,166 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,274 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,157 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,156 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,163 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 8,922 ครั้ง |
เปิดอ่าน 13,111 ครั้ง |
เปิดอ่าน 20,279 ครั้ง |
เปิดอ่าน 176,503 ครั้ง |
เปิดอ่าน 22,775 ครั้ง |
|
|