ประกาศสำนักงาน ก.พ. เรื่อง รับสมัครสอบแข่งขันเพื่อรับทุนรัฐบาลเพื่อดึงดูดผู้มีศักยภาพสูง ที่กำลังศึกษาอยูในสถาบันการศึกษาในประเทศ ประจำปี 2559
ด้วยสำนักงาน ก.พ. จะดำเนินการสอบแข่งขันเพื่อรับทุนรัฐบาลเพื่อดึงดูดผู้มีศักยภาพสูงที่กำลังศึกษาอยู่ในสถาบันการศึกษาในประเทศ ประจำปี 2559 ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 13 (9)แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 และระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยทุนของรัฐบาล พ.ศ. 2551 จึงประกาศรับสมัครสอบแข่งขัน พร้อมทั้งกำหนดหลักสูตรและวิธีการสอบแข่งขันเพื่อรับทุน ดังต่อไปนี้
1. ทุนที่รับสมัครสอบ จำนวน 43 หน่วย รวม 65 ทุน
(รายละเอียดของทุนแต่ละหน่วยตามเอกสารแนบท้าย 1)
2. กำหนดช่วงเวลาการให้ทุน แบ่งเป็น 2 ระยะ คือ
2.1 ระยะที่ 1 ให้ทุนรัฐบาลเพื่อศึกษาในชั้นปีสุดท้ายจนสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีตามโครงสร้างหลักสูตร ทั้งนี้ ต้องใช้ระยะเวลาศึกษาไม่เกิน 1 ปี
2.2 ระยะที่ 2 ให้ทุนรัฐบาลเพื่อศึกษาต่อระดับปริญญาโทในหรือต่างประเทศ ตามเงื่อนไขที่ ก.พ. กำหนด โดยภายหลังสำเร็จการศึกษาต้องกลับมาปฏิบัติราชการชดใช้ทุนในส่วนราชการเดิมที่ได้รับการบรรจุ
3. ข้อผูกพันในการรับทุน
3.1 เมื่อสำเร็จการศึกษาตามระยะเวลาให้ทุนระยะที่ 1 ผู้ได้รับทุนจะต้องปฏิบัติราชการชดใช้ทุนในส่วนราชการที่ ก.พ. กำหนด เป็นเวลา 2 เท่าของระยะเวลาที่ได้รับทุน
3.2 กรณีที่ผู้ได้รับทุนไม่เข้าปฏิบัติราชการชดใช้ทุนตามสัญญาที่ได้ทำไว้กับสำนักงาน ก.พ.นอกจากจะต้องชดใช้เงินทุนที่ได้จ่ายไปแล้วทั้งสิ้น ยังจะต้องชดใช้เงินอีก 2 เท่าของจำนวนเงินทุนดังกล่าวให้เป็นเบี้ยปรับอีกด้วย
3.3 ในระหว่างการปฏิบัติราชการชดใช้ทุนระยะที่ 1 ผู้ได้รับทุนจะต้องพัฒนาข้อเสนอในการปรับปรุงและพัฒนางาน
4. เงื่อนไขการให้ทุนระยะที่ 2 เพื่อศึกษาต่อระดับปริญญาโท
4.1 ผู้ได้รับทุนต้องมีผลการศึกษาระดับปริญญาตรีตามเกณฑ์ที่กำหนด
4.2 ผู้ได้รับทุนต้องพัฒนาข้อเสนอในการปรับปรุงและพัฒนางาน และได้รับความเห็นชอบจากส่วนราชการ ภายในระยะเวลา 2 ปีภายหลังจากการสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ทั้งนี้ ส่วนราชการอาจขอขยายระยะเวลาได้ แต่ระยะเวลารวมกันต้องไม่เกิน 3 ปี โดยเสนอให้ ก.พ. พิจารณาให้ความเห็นชอบเป็นกรณี ๆ ไปรวมทั้งมีผลการประเมินผลการปฏิบัติราชการตั้งแต่ระดับดีมากขึ้นไป และเสนอ ก.พ. พิจารณาให้ความเห็นชอบผลการประเมิน
4.3 ผู้ได้รับทุน จะต้องรับทุนระยะที่ 2 เพื่อไปศึกษาต่อในระดับปริญญาโทตามโครงการที่ส่วนราชการต้นสังกัดและสำนักงาน ก.พ. กำหนด ภายในระยะเวลาไม่เกิน 3 ปีงบประมาณ นับตั้งแต่วันที่เริ่มบรรจุเข้ารับราชการ ทั้งนี้ ส่วนราชการอาจขอขยายระยะเวลาได้แต่ระยะเวลารวมกันต้องไม่เกิน 4 ปีงบประมาณ โดยเสนอให้ ก.พ. พิจารณาให้ความเห็นชอบเป็นกรณี ๆ ไป ทั้งนี้ ส่วนราชการจะเป็นผู้ประเมินศักยภาพและความเหมาะสมของผู้ได้รับทุนในการศึกษาต่อในหรือต่างประเทศ
4.4 ผู้ได้รับทุนต้องปฏิบัติราชการชดใช้ทุนในส่วนราชการที่ ก.พ. กำหนดเป็นเวลา 2 เท่าของระยะเวลาที่รับทุน
4.5 รายละเอียดภารกิจและงานที่จะมอบหมายภายหลังจากสำเร็จการศึกษาสำหรับหน่วยทุนต่าง ๆ ตามเอกสารแนบท้าย 2
คุณสมบัติของผู้มีสิทธิสมัครสอบ
1) ผู้มีสิทธิสมัครสอบจะต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้
- เป็นผู้มีคุณสมบัติทั่วไปและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 (รายละเอียดตามเอกสารแนบท้าย 3) และเป็นผู้มีคุณสมบัติเฉพาะตามที่กำหนดไว้ในทุนแต่ละหน่วยตามเอกสารแนบท้าย 1
- เป็นผู้ที่จะศึกษาในชั้นปีสุดท้ายของสถาบันการศึกษาในประเทศในปีการศึกษา 2559 ตามโครงสร้างของหลักสูตรระดับปริญญาตรี ในสาขาวิชาตามที่กำหนดในคุณสมบัติเฉพาะแต่ละหน่วยทุน และต้องได้คะแนนเฉลี่ยสะสมรวมทุกภาคการศึกษาที่ผ่านมาในระดับปริญญาตรีไม่ต่ำกว่า 2.75หรือ 3.00 และเมื่อสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีแล้ว จะต้องได้คะแนนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตรปริญญาตรีไม่ต่ำกว่า 2.75 หรือ 3.00 ตามที่ได้กำหนดไว้ในแต่ละหน่วยทุนตามเอกสารแนบท้าย 1 (ในระบบการวัดผลที่คิดคะแนนให้ A=4, B=3, C=2, D=1, E หรือ F=0) หรือร้อยละ 70 หรือร้อยละ 75 หรือเทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้และมีอายุไม่เกิน 25 ปี นับถึงวันที่ปิดรับสมัคร (วันที่ 19 พฤศจิกายน 2558) ผู้สมัครสอบที่มีผลการเรียนเฉลี่ยสะสมทุกภาคการศึกษาที่ผ่านมา หรือตลอดหลักสูตร การศึกษาไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ จะต้องมีหนังสือรับรองผลการเรียนจากสถานศึกษามาแสดงว่าเป็นผู้มีผลการเรียนเทียบได้กับผลการเรียนที่กำหนดไว้ในแต่ละหน่วยทุน หากผู้ใดไม่มีหนังสือรับรองผลการเรียนมาแสดงจะถือว่าขาดคุณสมบัติในการสมัครสอบครั้งนี้
2) เป็นผู้ไม่อยู่ระหว่างการรับทุนที่มีข้อผูกพันในการชดใช้ทุน
3) เป็นผู้ที่มีศีลธรรม วัฒนธรรม และความประพฤติดี
4) สำหรับภิกษุสามเณร ทางราชการไม่รับสมัครสอบและไม่อาจให้เข้าสอบแข่งขันเพื่อรับทุนรัฐบาลฯ ทั้งนี้ ตามหนังสือกรมสารบรรณคณะรัฐมนตรีฝ่ายบริหาร ที่ นว 89/2501 ลงวันที่ 27 มิถุนายน 2501และตามความในข้อ 6 ของคำสั่งมหาเถรสมาคม ลงวันที่ 17 มีนาคม 2538
การรับสมัครสอบ
1. ผู้ประสงค์จะสมัครสอบ ดูรายละเอียดได้ในเว็บไซต์ของสำ นักงาน ก.พ.
ที่ http://www.ocsc.go.th หรือ http://uis.ocsc.go.th พร้อมทั้งสามารถพิมพ์แบบฟอร์มที่ใช้ในการสมัครสอบจากเว็บไซต์ดังกลาวได้
2. กำหนดวันรับสมัครสอบ และวิธีการสมัคร ผู้ประสงค์จะสมัครสอบ สมัครได้ตั้งแตวันที่ 15 ตุลาคม 2558 ถึง 19 พฤศจิกายน 2558 ทางอินเทอร์เน็ตตลอด 24 ชั่วโมง ไมเว้นวันหยุดราชการ ตามขั้นตอนดังนี้
(1) เปิดเว็บไซต์ http://uis.ocsc.go.th
(2) กรอกข้อความในใบสมัครให้ถูกต้องและครบถ้วน ปฏิบัติตามขั้นตอนที่กำหนด ระบบจะออกแบบฟอร์มการชำระเงินผานเคาน์เตอร์ บมจ. ธนาคารกรุงไทย ให้โดยอัตโนมัติ
(3) พิมพ์แบบฟอร์มการชำระเงินลงในกระดาษขนาด A4 จำนวน 1 แผ่น หรือหากไม่มีเครื่องพิมพ์ในขณะนั้น ให้บันทึกข้อมูลเก็บไว้ในรูปแบบ File ลงในสื่อบันทึกข้อมูล ในกรณีที่ไมสามารถพิมพ์แบบฟอร์มการชำระเงินหรือบันทึกข้อมูลได้ ผู้สมัครสอบสามารถเข้าไปพิมพ์แบบฟอร์มการชำระเงิน หรือบันทึกข้อมูลลงในสื่อบันทึกข้อมูลใหมได้อีก แต่จะแก้ไขข้อมูลในการกรอกใบสมัครในครั้งแรกที่สมบูรณ์แล้วไม่ได้
นำแบบฟอร์มการชำระเงินไปชำระเงินคาธรรมเนียมในการสมัครสอบเฉพาะที่เคาน์เตอร์ บมจ. ธนาคารกรุงไทย ทุกสาขาทั่วประเทศ ตั้งแตวันที่ 15 ตุลาคม 2558 ถึง 20 พฤศจิกายน 2558 ภายในเวลาทำการของธนาคาร การสมัครสอบจะมีผลสมบูรณ์เมื่อชำระค่าธรรมเนียมในการสมัครสอบแล้ว
ค่าธรรมเนียมในการสมัครสอบ ประกอบด้วย
(1) ค่าธรรมเนียมสอบ หน่วยละ 100 บาท
(2) ค่าธรรมเนียมธนาคารรวมค่าบริการทางอินเทอร์เน็ต จำนวน 30 บาท
ค่าธรรมเนียมในการสมัครสอบจะไม่จ่ายคืนให้ไมวากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น