Advertisement
บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการจัดการศึกษา
*สิริภูมิ แสงพลาย
***************************************************************************************************
ด้วยผู้เขียนกำลังศึกษาระดับปริญญาโท สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ณ สถานีบริการสาระสนเทศโรงเรียนบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรีมีความสนใจศึกษาเรื่องบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการจัดการศึกษา
การศึกษาขั้นพื้นฐานในช่วงชั้นที่3และช่วงชั้นที่4เป็นช่วงการศึกษาที่มีความสำคัญมากเพราะเป็นการศึกษาที่จัดไว้สำหรับเยาวชนที่สามารถออกไปเป็นแรงงาน
ของชาติได้โดยทันทีแรงงานกลุ่มนี้สามารถนำไปดัดแปลงต่อเติมเพื่อใช้พัฒนาประเทศได้หลายด้านสถานศึกษาเป็นสถาบันหนึ่งที่สังคมคาดหวังให้ทำหน้าที่
อันพึงปรารถนาดังนั้นการจัดการศึกษาระดับนี้จึงเป็นการจัดการศึกษาให้ผู้เรียนมีความรู้ความสามารถทางด้านวิชาการและวิชาชีพสำนักงานคณะกรรมการการศึกษา
ขั้นพื้นฐานมีความประสงค์จะให้สถานศึกษาอยู่ในระดับมาตรฐานทั้งด้านคุณภาพและปริมาณควบคู่กันไปผู้บริหารสถานศึกษาต้องบริหารงานให้เป็นไปตามขอบข่าย
และภารกิจการบริหารและจัดการสถานศึกษาดังกล่าวเพื่อให้สถานศึกษาทุกแห่งในประเทศมีมาตรฐานและมีคุณภาพการศึกษาใกล้เคียงกันอันจะเชื่อถือได้ว่าการดำเนิน
งานของสถานศึกษาจะเป็นไปด้วยความก้าวหน้าตรงตามเจตนารมณ์ของการจัดการศึกษาสมพงษ์เกษมสิน(2524.หน้า6)กล่าวว่าการบริหารคือการใช้ศาสตร์และศิลป์
ในการนำเอาทรัพยากรการบริหารมาประกอบกันตามกระบวนการที่ผู้บริหารใช้อำนาจตลอดจนทรัพยากรต่างๆเช่นคนเงินวัสดุอุปกรณ์ที่มีหรือคาดว่าจะมีการดำเนินงาน
ของหน่วยงานหรือสถาบันนั้นๆให้ดำเนินไปสู่จุดมุ่งหมายที่ต้องการวิโรจน์สารรัตนะ(2545.หน้า3อ้างอิงจากแครอลล์และกิลเลน(CallorandGillen.1987)กล่าวว่า
การบริหารเป็นการดำเนินงานเพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายขององค์การ โดยอาศัยหน้าที่ทางการบริหารที่สำคัญ คือ การวางแผน (Planning) การจัดการองค์การ (Organizing) การนำ (Leading) และการควบคุม(Controlling) ธงชัย สันติวงษ์ (2536. หน้า 13) อธิบายว่า ผู้บริหาร คือบุคคลซึ่ง
1.เป็นหัวหน้า หรือ “ผู้นำ” ของกลุ่มคนในองค์การ
2.เป็นผู้จัดระเบียบทรัพยากรต่าง ๆ และประสานการปฏิบัติงานของบุคคลฝ่ายต่าง ๆ
3.เป็นผู้รับผิดชอบทำให้งานเสร็จตามเป้าหมาย โดยอาศัย “คน” เป็นผู้นำ
ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์ (2535. หน้า 29) ให้ความเห็นว่า กระบวนการบริหารจะช่วยให้การบริหารงานประสบความสำเร็จ ดังนี้
1. ช่วยให้การบริหารสะดวกรวดเร็ว เพราะมองเห็นความสำคัญของงาน ลดปัญหาซ้ำซ้อนและสามารถมอบหมายได้ถูกต้อง
2. ช่วยให้ผู้บริหารสามารถนำเทคนิคต่าง ๆ มาใช้ปรับปรุงการทำงานให้ทันความเปลี่ยนแปลง และความก้าวหน้าของสังคม
3. ช่วยให้สถานศึกษา ได้งาน ที่มีความเจริญเติบโต และก้าวหน้าสามารถมองเห็นปัญหา เพื่อให้บุคคลปฏิบัติหน้าที่ด้วยความเต็มใจ
4. ช่วยส่งเสริมตัวบุคคล ในการทำงาน การจัดหน่วยงาน การบริหารงานได้เหมาะกับบุคคล เพื่อให้บุคคลปฏิบัติหน้าที่ด้วยความเต็มใจ
5. ช่วยให้ผู้บริหาร ได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์ กระให้บุคคลในองค์การทำงานอย่างมีอิสระและมีความคิดริเริ่ม
6. ช่วยในการจัดหมวดหมู่งาน ให้เป็นไปตามความเหมาะสมและรวดเร็ว
7. ช่วยให้มีการประเมินผล และการติดตามผลของการปฏิบัติงาน
วิจิตร ศรีสะอ้าน (2536. หน้า 4) กล่าวว่ากระบวนการบริหารเป็นขั้นตอนการทำงานของผู้บริหารที่ดำเนินการจนทำให้งานสำเร็จตามวัตถุประสงค์ตามที่กำหนดไว้ และการบริหารเป็นกระบวนงานมีขั้นตอนที่เกี่ยวเนื่องกันการบริหารที่ดีต้องอาศัยกระบวนการบริหารหลักชาญชายอาจินสมาจาร(2542:8)กล่าวว่า
การบริหารสถานศึกษาหมายถึงการทำงานร่วมกันการช่วยให้ตระหนักในเป้าหมายและวัตถุประสงค์ของการศึกษาการให้บริการแก่สังคมเป็นเรื่องทีเกี่ยวข้องกับบุคคล
ได้แก่ครูนักเรียนผู้ปกครองและประชาชนเพื่อให้เกิดความร่วมมือระหว่างบุคคลเหล่านี้และให้การใช้ทรัพยากรได้ประโยชน์สำหรับการศึกษามากที่สุดบรรลุวัตถุประสงค์
โดยผ่านวิธีการของการจัดองค์การการสั่งการการอำนวยความสะดวกและการปรับปรุงการทำงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมายทางการศึกษาเทื้อนทองแก้ว(2545:37)
ให้แนวคิดว่าการบริหารสถานศึกษาให้มีคุณภาพนั้นจำเป็นที่ผู้บริหารจะต้องได้พัฒนาภาวะผู้นำให้มีความสามารถในการเป็นผู้บริหารอยู่ในระดับสูงและมีรูปแบบที่
สอดคล้องกับสถานการณ์ที่จะทำให้เกิดการจูงใจ ให้มีวิสัยทัศน์ในองค์การ การวางแผนกลยุทธ์และปัจจัยต่าง ๆ
บทบาทของผู้บริหารนั้นจะต้องใช้ศาสตร์และศิลป์ในการบริหารเพื่อให้การดำเนินงานของหน่วยงานหรือสถาบันนั้นๆให้บรรลุจุดมุ่งหมายขององค์การโดยอาศัยหน้าที่
ทางการบริหารที่สำคัญคือการวางแผน(Planning)การจัดการองค์การ(Organizing)การนำ(Leading)และการควบคุม(Controlling)การบริหารโรงเรียนเป็นการดำเนิน
งานที่มีเป้าหมายสำคัญอยู่ที่การพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพซึ่งเป็นหน้าที่ของผู้บริหารโรงเรียนที่จะดำเนินการตามบทบาทและหน้าที่เพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายดังกล่าว การบริหารโรงเรียนเป็นการร่วมมือกันทำงานของบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาเพื่อให้โรงเรียนมีคุณภาพโดยใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์กับการศึกษา
มากที่สุดผู้เรียนเกิดการพัฒนาด้านความรู้ความสามารถทักษะทัศนคติค่านิยมคุณธรรมจริยธรรมผู้บริหารมีภาวะผู้นำสามารถบริหารโรงเรียนไปสู่ความสำเร็จตามเป้าหมาย และบรรลุตามวัตถุประสงค์ของการจัดการศึกษา
………………
เอกสารอ้างอิง
สมพงษ์ เกษมสิน (2524. หน้า 6)
วิโรจน์ สารรัตนะ (2545. หน้า 3 อ้างอิงจาก แครอลล์ และ กิลเลน (Callor and Gillen. 1987)
ธงชัย สันติวงษ์ (2536. หน้า 13)
ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์ (2535. หน้า 29)
วิจิตร ศรีสะอ้าน (2536. หน้า 4)
ชาญชาย อาจินสมาจาร(2542 : 8)
เทื้อน ทองแก้ว(2545 : 37)
วันที่ 3 เม.ย. 2552
Advertisement
เปิดอ่าน 7,144 ครั้ง เปิดอ่าน 7,144 ครั้ง เปิดอ่าน 7,158 ครั้ง เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง เปิดอ่าน 7,153 ครั้ง เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง เปิดอ่าน 7,141 ครั้ง เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง เปิดอ่าน 7,147 ครั้ง เปิดอ่าน 7,149 ครั้ง เปิดอ่าน 7,207 ครั้ง เปิดอ่าน 7,142 ครั้ง เปิดอ่าน 7,169 ครั้ง เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง เปิดอ่าน 7,142 ครั้ง เปิดอ่าน 7,142 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 7,144 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,146 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,142 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,150 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,139 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,147 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,142 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 11,636 ครั้ง |
เปิดอ่าน 19,414 ครั้ง |
เปิดอ่าน 31,755 ครั้ง |
เปิดอ่าน 14,706 ครั้ง |
เปิดอ่าน 19,897 ครั้ง |
|
|