แทนที่จะใช้เวลา 5-10 ปีแรกสำหรับลองผิดลองถูกในการทำงาน ลองฟังเคล็ดลับจากคนที่ประสบความสำเร็จในโลกการทำงานมักทำดีกว่า นี่คือส่วนหนึ่งจากหนังสือ Are You Fully Charged? โดย ทอม แรธ
1.ใช้เวลา 80% กับการมอง
โลกในแง่ดี มีงานวิจัยหลายชิ้นที่ทำการศึกษาถึงปฏิกิริยาร่างกายเมื่อเราคิดบวกและคิดลบ ปรากฏว่า เมื่อใดที่เราต้องเจอกับสิ่งที่ทำให้เกิดปฏิกิริยาในทางลบไม่ว่าจะเป็นการวิพากษ์วิจารณ์หรือถูกปฏิเสธ ระดับฮอร์โมนคอร์ติซอล ซึ่งทำให้ร่างกายตกอยู่ในภาวะเครียดจะเพิ่มขึ้น และส่งผลให้ระบบการคิดถูกปิดกั้นกระตุ้นให้กลไกปกป้องตัวเองทำงานแทน ขณะที่เมื่อร่างกายมีปฏิกิริยาตอบกลับในทางบวกจะช่วยกระตุ้นการหลั่งออกซิโทซิน ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ทำให้เรารู้สึกดี ช่วยเพิ่มความสามารถในการสื่อสาร การทำงานร่วมกับผู้อื่น และความไว้วางใจผู้อื่นแทนดังนั้น ทำอย่างไรจึงจะรับพลังงานด้านบวกให้มาก เวลาอยู่ที่ทำงาน แล้วต้องมีการถกเถียงหาข้อสรุป ให้ใช้เวลาส่วนใหญ่กับการพูดถึงสิ่งที่กำลังทำอยู่และใช้เวลาส่วนที่เหลือไม่มากพูดถึงสิ่งที่ยังขาดตกบกพร่อง
2.ยึดเอาพันธกิจของตัวเอง
ไว้ในใจเสมอ ทุกวันที่มาทำงานขอให้คุณนึกถึงเหตุผลว่า ทำไมคุณถึงยังทำสิ่งที่ยังคงทำอยู่ทุกวันนี้ไว้ในใจ เพียงแค่นี้คุณก็สามารถสร้างศักยภาพในการทำงานแต่ละวันได้แล้ว
3.สัดส่วน 45/15 ผู้เขียนยก
ตัวอย่างกรณีศึกษาของห้องเรียนแห่งหนึ่ง ที่คุณครูแบ่งเวลาในห้องเรียน สำหรับเรียน 45 นาทีและอีก 15 นาที ให้นักเรียนได้พักเบรก ปรากฏว่า หลังจาก 15 นาทีผ่านไป นักเรียนที่กลับเข้ามาเรียนอีกครั้ง สามารถเรียนรู้สิ่งต่างๆ ได้ดีขึ้น วิธีนี้สามารถนำมาปรับใช้ในการทำงาน คุณอาจลองพักเบรกจากงานที่ทำอยู่ช่วงสั้นๆ เพื่อเป็นรีชาร์จตัวเองก่อนกลับมาลุยงานต่อ
4.ตั้งคำถามเพื่อเปิดฉาก
การสนทนา สำ หรับบางคนการเริ่มต้นสนทนากับคนอื่นอาจไม่ใช่เรื่องง่าย วิธีที่ฉลาดและเนียนสุดๆ คือ การตั้งคำถามดีๆ สักข้อ แล้วตั้งใจฟังสิ่งที่อีกฝ่ายตอบ อย่างน้อยวิธีนี้ก็ช่วยลดความกดดันลงได้ อย่าลืมว่าคนเราทุกคนชอบพูดถึงตัวเอง เรื่องนี้นักวิทยาศาสตร์อธิบายว่า การที่คนเราได้พูดถึงความรู้สึก ความคิดของตัวเอง เหมือนเป็นการให้รางวัลกับสมอง เทียบเท่ากับการได้กินอาหารหรือได้เงินเลยทีเดียว
5.กดปุ่ม “พัก” ก่อนจะ
ตอบโต้ ด้วยเทคโนโลยี ทำให้การสื่อสารเป็นไปอย่างรวดเร็วทางที่ดีคุณควรตั้งปุ่ม “pause”(ปุ่มพัก) ไว้ในใจ ก่อนจะพูด หรือพิมพ์สิ่งใดเพื่อตอบโต้อีกฝ่ายควรหยุดคิดประเมินให้ดีก่อนว่าสิ่งที่คิดนั้นมีเหตุผลเพียงพอหรือไม่ หรืออย่างน้อยก็เปิดโอกาสให้สมองได้พิจารณาอีกครั้งว่าปฏิกิริยาที่เราตอบกลับอีกฝ่ายเหมาะสมหรือยัง
โดย...สุวิทย์ คุณกิตติ
ที่มา โพสต์ทูเดย์