คณบดีศึกษาศาสตร์ มข.อัดก.ค.ส.เขต ตีความมั่วหลักสูตรครูมข.ไม่มีวิชาเอก ขาดคุณสมบัติสอบครูผู้ช่วย ส่งผลกระทบคนถือปริญญามข.อีกหลายพันคน
ผศ.ดร.ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์ คณบดีคณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น แถลงข่าวกรณีบัณฑิตคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ถูกปฏิเสธและตัดสิทธิ์ในการสมัครสอบบรรจุครูผู้ช่วย ในพื้นที่ สำนักงานเขตพื้นที่มัธยมศึกษาเขต 24 (สพม.24) จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยกล่าวว่า ตามประกาศชื่อบัณฑิตที่ไม่มีสิทธิ์และเสียสิทธิ์จำนวน 12 คน การสอบบรรจุครูที่ผ่านมาไม่เคยมีปัญหา แต่กรณีของ สพม.24 กลับมีปัญหาปฏิเสธบัณฑิตศึกษาศาสตร์ครูหลักสูตร 5 ปีที่เรียนจบจากมหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยอ้างว่า คุณสมบัติหรือวิชาเอกไม่ตรงกับประกาศของ ก.ค.ศ.เขต ทั้งที่ ก.ค.ส. กลางไม่มีคำว่าวิชาเอก น่าจะเป็นการผิดพลาดในระดับปฏิบัติ ท ำไมไม่ตีความเป็นประโยชน์กับบัณฑิต จะเป็นไปได้อย่างไรที่บัณฑิตที่มีศักดิ์และสิทธิ์ตามปริญญา ซึ่งมีสิทธิสอบทั้งทุนครู แต่สมัครสอบครูไม่ได้ คือความไม่สมเหตุสมผลในการใช้อำนาจ ที่สำคัญไม่รู้ใช้อำนาจไหนมาเขียนในประกาศแนบท้ายเกี่ยวกับวิชาเอก
มหาวิทยาลัยขอนแก่นมีความก้าวหน้าไปเรื่อยๆ ก็ต้องมีการใช้ชื่อที่มีความเหมาะสม ซึ่งมข.ก็มีการคำว่า ศึกษาต่อท้ายในสาขาวิชาเช่นคณิตศาสตร์ศึกษา แตกต่างจากที่คนบรรจุรู้ ซึ่งก็ต้องติดตามเอาเอง ทั้งที่ ก.ค.ศ.กลางให้แนวทางปฏิบัติก็ไม่ต้องดูชื่อ ก็ให้ดูว่าหากหลักฐานการศึกษา มิได้ระบุสาขาวิชาเอก ย้ำว่า อกคส.กลางไม่เคยใช้คำว่าวิชาเอก ที่ศึกษาไว้ หรือระบุไว้แตกต่างจากการประกาศรับสมัคร ให้นับจำนวนหน่วยกิตของวิชาที่ศึกษาในระบบทวิภาค เป็นเกณฑ์ในการพิจารณาโดยให้ถือหลักว่า ต้องศึกษาเนื้อหาวิชานั้นๆ ไม่น้อยกว่า 30 หน่วยกิต โดยให้ดูในทรานสคริป
เรื่องนี้ตนพยายามท้วงติงไปแล้วก็ไม่สนใจยืนยันว่าทำถูกต้องตามประกาศและอำนาจที่มี และมข.เองนั้นเป็นที่ผลิตครูที่ได้รับการยอมรับ สอบทุนครูพันธุ์ใหม่ได้มากที่สุดในประเทศ ผู้สำเร็จหลักสูตรการศึกษา 4 ปีและ5 ปี ต้องศึกษาเนื้อหาวิชานั้นๆไม่น้อยกว่า 30 หน่วยกิต เพียงแต่ว่าในทรานสคริปมหาวิทยาลัยไม่ใช้คำว่าวิชาเอก แต่ใช้ว่าสาขาวิชา ที่เป็นเนื้อหาโครงสร้างหลักสูตร
ระหว่างที่มีการรับสมัครและบัณฑิตที่ถูกปฎิเสธเพราะวิชาเอกไม่ตรง ก็ได้มาปรึกษาที่คณะ และได้มีการออกหนังสือรับรองการสำเร็จการศึกษาหลักสูตรศึกษาศาสรบัณฑิต หลักสูตร 5 ปี ที่มีรายวิชากลุ่มวิชาเอกคณิตศาสตร์ 59 หน่วยกิต ให้กับบัณฑิต ไปประกอบการสมัคร แต่สุดท้ายมีประกาศออกมาว่าทั้ง 12 คนไม่มีสิทธิ์สอบ
คนที่สพม. ี่ทมีหน้าที่รับบุคลากรต้องศึกษาหาความรู้ ไม่ใช่ดูรายชื่อวิชาไม่ตรงกับที่รู้ก็โยนทิ้ง อันนี้เรียกว่าไม่รู้ไม่ศึกษา ไม่หาความรู้ ไม่รู้ว่ามหาวิทยาลัย ทำอะไร ประกาศระเบียบที่ ก.ค.ส.กลางกำหนด ก็ไม่อ่านไม่ศึกษา คือใช้แค่ความรู้ความเข้าใจของตัวเองเท่าที่มีอยู่ ศัพท์วิชาเอก ซึ่งเป็นศัพท์โบราณมาตั้งนานมาแล้ว ก.ค.ศ.กลางก็ยังไม่ใช้เลย ก็ยังใช้สาขาวิชาชัดๆ
"ถ้ามองภาพใหญ่คงต้องมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก เพราะได้มีการหยิบยกเรื่อง ร่างแก้พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ ในประเด็นการกระจายอำนาจ ไปให้เขตพื้นที่ และ ก.ค.ส.เขตพื้นที่ ทำแบบนี้กระทบคนมากมายขาดจิตสำนึก คนที่จบปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัยขอนแก่น คณะศึกษาศาสตร์ 48 ปี แล้ว และยังมี มศว.ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยหลักของรัฐ และเป็นมหาวิทยาลักของประเทศ ได้รับผลกระทบด้วยเช่นกัน มีเฉพาะบัณฑิตของราชภัฎที่มีคำว่าวิชาเอกได้รับการยอมรับเท่านั้น อย่างนี้ทำให้กระทบต่อการตัดสินใจเข้าเรียนต่อของนักเรียนโดยเฉพาะคนเก่งๆ ที่ไม่กล้าจะสอบเข้ามข. เพราะว่าเรียนจบแล้วไม่สามารถสอบบรรจุครูผู้ช่วยได้ บางคนจบหลักสูตรครูภาษาจีนซึ่งได้สองปริญญา เรียนภาษาจีนที่ประเทศจีน 2 ปี ก็ไม่ได้ ซึ่งมีบัณฑิตของมศว.ประสานมิตร ด้านดนตรีที่โดนตัดสิทธิ์ด้วย"ผศ.ดร.ประสิทธิ์ กล่าว
ผศ.ดร.ไมตรี กล่าวอีกว่า ที่ผ่านมาโดยเฉพาะสาขาวิชาการต่างๆ เจาะจงที่มข. ที่ได้ทุนครูพันธุ์ใหม่มากที่สุดในประเทศ แต่กลายเป็นว่าสมัครสอบบรรจุครูผู้ช่วยไม่ได้ ด้วยการตีความแบบนี้ของ ก.ค.ศ. เขต ค่อนข้างกระทบสิทธิของบัณฑิต และมหาวิทยาลัยขอนแก่น ซึ่งในฐานะที่เป็นสถาบันการศึกษา ผู้สอนตามหลักสูตร และปริญญาที่ออกไปก็ไม่ควรถูกกระทบแบบนี้ แนวทางคือในระดับภาพใหญ่คงต้องทบทวนกันเยอะมากในเรื่องอำนาจ และตอนนี้เป็นการกระจายอำนาจ ที่จะกระจายกันไปจนถึงโรงเรียน ปัญหาแบบนี้จะว่าอย่างไร ครั้งนี้ถือว่าเป็นสถานการณ์ที่สะท้อนสภาพ หมักหมมของการศึกษาบ้านเรา อย่างหนักมาก อันนี้แค่พูดถึงเอาคนเข้า ยังเรื่องอื่นอีกที่มีอีกมากมาย การศึกษาบ้านเราจะเป็นอย่างไรถ้า สถานการณ์ประเทศเป็นแบบนี้
"ขณะนี้อธิการบดีมข. เตรียมที่จะทำบันทึกความอนุเคราะห์รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งเป็นประธาน อก.คส.โดยตำแหน่ง ให้พิจารณาทบทวนเรื่องนี้ รวมทั้งได้มีการเตรียมปรึกษาหารืออธิบดีศาลปกครอง ขอนแก่น เพื่อจะหาทาง ช่วยเหลือบัณฑิตที่กำลังประสบความเดือดร้อนอยูในขณะนี้ อาจะมีการคุ้มครองชั่วคราว เพื่อระงับการสอบ ซึ่งนอกจากจะเป็นการรักษาสิทธิของผู้เสียหายโดยตรง ยังเป็นการใช้สิทธิของมหาวิทาลัยในแง่ผู้ให้ปริญญาแล้วถูกกระทบซึ่งมีบัณฑิตที่ถือปริญญา คณะศึกษาศาสรต์อีกไม่น้อยกว่าปีละ 500 คน อีกด้วย"ผศ.ดร.ไมตรี กล่าว
ที่มา กรุงเทพธุรกิจ วันที่ 29 กันยายน 2558