Advertisement
❝ ประเภทของการอ่าน
การอ่านในใจ เป็นการอ่านที่ไม่ต้องออกเสียงในขณะที่อ่าน ผู้อ่านจะอ่านข้อความ เก็บความ แปลความตามความเข้าใจของผู้อ่าน
ลักษณะการอ่านในใจ ผู้อ่านจะอ่านข้อความ เก็บความและแปลความตามความเข้าใจของผู้อ่าน นิยมใช้เพื่อต้องการเก็บความรู้จากเรื่องที่อ่าน ซึ่งการอ่านในใจนี้ผู้อ่านไม่ต้องกังวลว่าจะตรงตามฉันทลักษณ์ของเรื่องที่อ่าน เพราะเป็นการอ่านเพื่อความเข้าใจด้วยตัวเองเท่านั้น การอ่านในใจไม่นิยมใช้ในการอ่านเพื่อความบันเทิงโดยใช้เสียงประกอบ เช่น การร้องเพลง การขับร้องทำนองเสนาะ เพราะเราจะไม่ได้อรรถรสของเรื่องที่อ่าน แต่เป็นการอ่านเพื่อรับสาร จับใจความสำคัญ หรืออ่านเพื่อหาความรู้ หาความบันเทิงจากอรรถรสของเรื่อง
หลักการอ่านในใจที่ดี คือ ต้องมีสมาธิในการอ่าน
การอ่านออกเสียง เป็นการสื่อสารด้วยการอ่านรูปแบบหนึ่ง ใช้อยู่เสมอใน
ชีวิตประจำวัน ทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ โดยมีผู้ส่งสารคือผู้อ่านออกเสียง และผู้รับสาร คือผู้ฟัง การอ่านออกเสียงคล้ายการพูดกับผู้ฟัง
องค์ประกอบการอ่านออกเสียง การอ่านออกเสียงที่มีประสิทธิภาพต้องอาศัย
องค์ประกอบ ดังต่อไปนี้
๑. ผู้ฟังรับสารจากการอ่านออกเสียงอย่างครบถ้วน
๒. ผู้ฟังมีความสนใจตลอดเวลาขณะที่รับสาร
หลักการอ่านออกเสียงเบื้องต้น
๑. ผู้อ่านทำความเข้าใจบทอ่าน ศึกษาความหมาย จับใจความสำคัญ
๒. อ่านออกเสียง ดัง ชัดเจน มีจังหวะ อ่านถูกต้องตามอักขรวิธี
๓. ใช้น้ำเสียงในการอ่านที่เหมาะสมกับเนื้อเรื่อง
❞
วันที่ 2 เม.ย. 2552
Advertisement
เปิดอ่าน 7,143 ครั้ง เปิดอ่าน 7,253 ครั้ง เปิดอ่าน 7,143 ครั้ง เปิดอ่าน 7,134 ครั้ง เปิดอ่าน 7,177 ครั้ง เปิดอ่าน 7,145 ครั้ง เปิดอ่าน 7,141 ครั้ง เปิดอ่าน 7,141 ครั้ง เปิดอ่าน 7,138 ครั้ง เปิดอ่าน 7,145 ครั้ง เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง เปิดอ่าน 7,181 ครั้ง เปิดอ่าน 7,145 ครั้ง เปิดอ่าน 7,151 ครั้ง เปิดอ่าน 7,143 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 7,139 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,145 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,141 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,139 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,169 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,140 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,136 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 66,605 ครั้ง |
เปิดอ่าน 107,278 ครั้ง |
เปิดอ่าน 52,956 ครั้ง |
เปิดอ่าน 17,738 ครั้ง |
เปิดอ่าน 68,699 ครั้ง |
|
|