ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมบทความการศึกษา  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

เราสอบไปเพื่ออะไร?


บทความการศึกษา 22 ก.ย. 2558 เวลา 09:45 น. เปิดอ่าน : 21,917 ครั้ง

Advertisement

เราสอบไปเพื่ออะไร?

คอลัมน์ เหลาดินสอ รอสอน: เราสอบไปเพื่ออะไร?

โดย สาธร อุพันวัน CEO โรงเรียนกวดวิชาออนดีมานด์

ทุกวันนี้เราสอบไปเพื่ออะไร หลายๆ ท่านคงสงสัยใช่ไหมครับ เด็กทุกวันนี้ทำไมเรียนกันเยอะ ไม่ใช่แค่เรียนเยอะเท่านั้นนะครับ การสอบของไทยก็เยอะตาม แล้วซับซ้อนกว่าสมัยก่อนมาก

ปัจจุบันการสอบมีหลายแบบ เช่น การสอบตรงของแต่ละคณะ แต่ละมหาวิทยาลัย ข้อสอบใช้กันคนละข้อสอบ รวมไปถึงการสอบ Admissionกลาง ทำให้เด็กต้องสอบหลายรอบ ข้อสอบก็ยาก ทำให้เด็กมีภาวะกดดันและเกิดความเครียด จนอาจเป็นที่มาของคำถามว่า เราสอบไป เพื่ออะไร? ที่ทำอยู่มันใช่ไหม? แล้วต้อง ปรับเปลี่ยนอย่างไร?

สมัยก่อนตอนที่ยังเรียกการสอบเข้ามหาวิทยาลัยว่าการสอบ Entrance เด็กที่สอบติดหมอหรือวิศวะอย่างน้อยๆ ก็ต้องได้คะแนนจากการสอบคณิตศาสตร์ 80-90% ขึ้นไป ซึ่งตอนนี้เปลี่ยนมาเป็นการสอบคณิตศาสตร์ที่เรียกว่า PAT1 สิ่งที่น่าตกใจมากคือ มีนักเรียนที่สอบ PAT1 กว่า 239,345 คน มีเพียง 621 คน ที่ได้คะแนนมากกว่า 50% แต่จำนวนรับแพทย์,ทันตแพทย์ในปีที่ผ่านมาทั้งสิ้น1,487คน แสดงว่ามีน้องที่ติดหมอแล้วได้คะแนนต่ำกว่า50% หรือสอบตกมากกว่า 866 คน

ถามว่าน้องที่สอบติดหมอ เรียนหนักขนาดนั้น ไม่เก่งหรือไม่ตั้งใจเรียนจนทำให้ได้คะแนนแค่นี้หรือ ผมบอกเลยว่าความจริงไม่ใช่เป็นเพราะข้อสอบนั้นยากเกินไปและมีการตอบคำถามที่ซับซ้อนเกินไป นอกจากนั้นข้อสอบแบบนี้จะวัดความสามารถเด็กอ่อนไม่ได้เลยเพราะขนาดเด็กเก่งยังได้คะแนนแค่นี้ ซ้ำร้ายเคยมีกรณีสอบตรง เข้านิเทศศาสตร์ จุฬา ซึ่งมีข้อกำหนดว่า เด็กต้องสอบ PAT1 ได้เกิน 60%ขึ้นไป จึงจะมีสิทธิผ่านเข้าสัมภาษณ์ต่อไป

แต่สิ่งที่เกิดขึ้นคือไม่มีใครผ่านเกณฑ์แม้แต่คนเดียว สุดท้ายก็ไม่รู้ว่ามีกระบวนการแก้ไขกันอย่างไรถึงจัดการรับเข้าให้เสร็จสิ้นได้ ตรงข้ามกับการสอบของต่างประเทศอย่าง SAT เด็กไทยมักได้คะแนน 90% ขึ้นไป เช่นเดียวกับ GMAT ที่ใช้คะแนนในการสอบเข้าปริญญาโท เด็กไทยส่วนมากสอบได้ 90%ขึ้นไปหรือได้ 100 เต็มก็เยอะเช่นเดียวกัน

ในกรณีนี้สิ่งที่จะชี้ให้เห็นก็คือ การสอบของต่างประเทศนั้น เค้าทำข้อสอบขึ้นมาเพื่อให้เด็กทำได้ ออกในสิ่งที่บอกกล่าวไว้ล่วงหน้า ออกในสิ่งที่สอนอย่างมีมาตรฐานที่เหมาะสม ในขณะที่ข้อสอบของไทยติดนิสัยที่ต้องออกข้อสอบให้ยาก การแต่งตัวเลือก ก็ให้ยากๆ ใครเผลอจะเลือกตัวเลือกที่ผิด คิดแต่ว่าจะออกข้อสอบอย่างไรให้เด็กทำไม่ได้

ในขณะที่ข้อสอบ SAT ส่วนใหญ่ไม่เป็นแบบนั้น จะมีเพียงท้ายข้อสอบที่ต้องการวัดระดับเด็กเท่านั้น ผมก็ไม่รู้ว่าทัศนคตินี้ เริ่มเป็นกันมาตั้งแต่สมัยไหน แต่ประเทศเราเป็นแบบนี้ ความจริงเราควรมาคิดกันใหม่เรื่องการศึกษาว่า เราควรสอนอะไรเด็ก เด็กควรมีความรู้แค่ไหน และออกข้อสอบให้เหมาะสม เมื่อเด็กทำได้ก็แสดงว่า เด็กนั้นได้ความรู้ สร้างความสำเร็จให้เด็ก การศึกษาของเราประสบความสำเร็จตาม ไม่ใช่การออกข้อสอบยากให้เด็กทำไม่ได้โดยที่เราก็ไม่รู้ว่าเราสอบไปเพื่ออะไร

มาถึงตรงนี้ ผมไม่ได้บอกว่าระบบสอบคัดเด็กเข้ามหาวิทยาลัยของประเทศไทยนั้นไม่ดี หลายๆ เรื่องเป็นสิ่งที่น่าชื่นชมและ ผลักดันต่อ ทั้งการสอบ Admission ปีละ2ครั้ง เป็นแนวทางที่ดีช่วยลดความกดดันของเด็กลงได้มาก, การประกาศคะแนนก่อนแล้วค่อยเลือกคณะ ก็เป็นการจัดระบบที่ทำให้เด็กสามารถเลือกในสิ่งที่ตรงกับความถนัดและความสามารถของตนเองได้มากขึ้น รวมถึง การรับตรงก็เป็นนโยบายที่ถูกทาง ที่ทำให้คนอยู่ในท้องถิ่น เด็กๆ มีความสนใจและภาคภูมิใจที่จะได้เรียนมหาวิทยาลัย ในท้องถิ่นอย่างที่ไม่เคยเป็นมา รวมทั้งเป็นการกระจายคนเก่งไม่ให้เกิดการกระจุกตัวที่มหาวิทยาลัยหนึ่งๆ มากเกินไป

ประเด็นสำคัญที่ต้องปรับเปลี่ยน เปลี่ยนเพียงเล็กน้อยแต่ลดผลกระทบที่เกิดขึ้นได้อย่างมาก คือ การใช้การสอบมาตรฐานกลางซึ่งมีอยู่แล้ว โดยสามารถยื่นคะแนนได้กับทุกคณะ ทุกมหาวิทยาลัย ลดการจัดสอบกันเองของแต่ละมหาวิทยาลัย การทำแบบนี้จะลดการสอบที่ไม่จำเป็น เด็กเองจะรู้คะแนนก่อน ได้คะแนนเท่านี้ควรนำไปยื่นที่คณะไหน มหาวิทยาลัยใดที่เหมาะกับตัวเอง เป็นการลดความกดดันของเด็ก ลดการเหลื่อมล้ำ เพิ่มโอกาสทางการศึกษา ไม่เสียเวลาเตรียมตัวสอบหลายที่ ทั้งยังช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายผู้ปกครองจากค่าสอบและค่าเดินทาง

อีกประเด็นหนึ่ง คือ ถ้าถามว่าแก่นของการสอบที่แท้จริงนั้นอยู่ที่ไหน มันคือกระบวนการสร้างความรู้ให้เด็ก มันคือการคัดคนจากความรู้ที่เราสร้างให้ ดังนั้นเราควรสร้างค่านิยมใหม่ เปลี่ยน "ความยากเกินไป" ซึ่งใช้วัดอะไรไม่ได้ มาเป็น "ความยากในระดับมาตรฐาน" ซึ่งใช้วัด "ความสามารถที่แท้จริงของเด็ก" เพื่อคัดเลือกเด็กเข้าคณะที่เหมาะสมกับความสามารถของเด็ก

ยุทธศาสตร์ที่ดีของการแก้ปัญหาต้องให้หนักและตรงประเด็น หลายคนชอบพูดว่าการศึกษาไทยแก้ไม่ได้ ผมว่าไม่ใช่ มันแก้ได้ สิ่งที่เสนอไม่ได้ยากแค่สองข้อ

หนึ่ง คือ ใช้การสอบมาตรฐานกลางที่มีอยู่แล้วยื่นได้หลายคณะ ไม่ต้องเปลืองพลังเยอะ และ สอง คือ การปรับเปลี่ยนการออกข้อสอบให้มีความยากระดับมาตรฐาน ไม่ยากจนเกินไป ที่วัดความสามารถของเด็กได้จริง

สิ่งเหล่านี้ทำได้ง่ายกว่าที่เรากำลังทำอยู่ในปัจจุบัน ขึ้นอยู่ที่ว่าเราจะทำหรือไม่ เราจะเสียสละผลประโยชน์บางอย่างหรือไม่ ถ้าช่วยกันทำ มันก็แก้ได้ แล้วสุดท้ายพวกเราทุกคนจะพบกับคำตอบร่วมกันว่า เราไม่ได้สอบเพื่อสร้างความกดดันให้เด็ก เราไม่ได้สร้างกิจกรรมที่มันไม่เกิดมูลค่า แต่เราสอบเพื่อสร้างกระบวนการให้ความรู้เด็ก เราสอบเพื่อคัดเลือกเด็กไปพัฒนาต่อได้อย่างฉลาดและมีประสิทธิภาพ..

นี่แหละครับ คำตอบว่า เราสอบไป เพื่ออะไร?

สอบเพื่อคัดเลือกเด็กไปพัฒนาต่อได้อย่างฉลาดและมีประสิทธิภาพ
 

 

ที่มา กรุงเทพธุรกิจ วันที่ 20 กันยายน 2558


เราสอบไปเพื่ออะไร?

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

ตอบโจทย์ "ปฏิรูปการศึกษา"?

ตอบโจทย์ "ปฏิรูปการศึกษา"?


เปิดอ่าน 7,869 ครั้ง
เฉลยข้อสอบอัตนัยด้วย FACEBOOKLIVE

เฉลยข้อสอบอัตนัยด้วย FACEBOOKLIVE


เปิดอ่าน 14,283 ครั้ง
เราสอบไปเพื่ออะไร?

เราสอบไปเพื่ออะไร?


เปิดอ่าน 21,917 ครั้ง
เคล็ดลับเรียนแล้วรวย

เคล็ดลับเรียนแล้วรวย


เปิดอ่าน 7,724 ครั้ง
ระบบการศึกษาไม่สมดุล (2)

ระบบการศึกษาไม่สมดุล (2)


เปิดอ่าน 8,045 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

ปฏิรูปการศึกษา : มุ่งการขยายโครงสร้าง คือเลือกทางสู่ความล้มเหลว โดย ประเสริฐ ตันสกุล

ปฏิรูปการศึกษา : มุ่งการขยายโครงสร้าง คือเลือกทางสู่ความล้มเหลว โดย ประเสริฐ ตันสกุล

เปิดอ่าน 12,804 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
ทางออกในการบริหารคุณภาพการศึกษา : การบริหารผู้ประเมินภายนอกแนวใหม่
ทางออกในการบริหารคุณภาพการศึกษา : การบริหารผู้ประเมินภายนอกแนวใหม่
เปิดอ่าน 8,666 ☕ คลิกอ่านเลย

8 โรงเรียนนวัตกรรมโลกตามหลัก Education 4.0 : สรุปให้รู้ตามทันโลกการศึกษา EP.3
8 โรงเรียนนวัตกรรมโลกตามหลัก Education 4.0 : สรุปให้รู้ตามทันโลกการศึกษา EP.3
เปิดอ่าน 4,128 ☕ คลิกอ่านเลย

การพัฒนาการบริหารจัดการศึกษา 4.0 ภายใต้พลวัตแห่งศตวรรษที่ 21 สู่การเป็นประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียนอย่างยั่งยืนของการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานไทย
การพัฒนาการบริหารจัดการศึกษา 4.0 ภายใต้พลวัตแห่งศตวรรษที่ 21 สู่การเป็นประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียนอย่างยั่งยืนของการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานไทย
เปิดอ่าน 69,904 ☕ คลิกอ่านเลย

ชำแหละ "ข้อสอบระดับชาติ" เพิ่มเด็กด้อยโอกาส-ไม่สะท้อนความรู้ในห้องเรียน
ชำแหละ "ข้อสอบระดับชาติ" เพิ่มเด็กด้อยโอกาส-ไม่สะท้อนความรู้ในห้องเรียน
เปิดอ่าน 13,698 ☕ คลิกอ่านเลย

เฉลยข้อสอบอัตนัยด้วย FACEBOOKLIVE
เฉลยข้อสอบอัตนัยด้วย FACEBOOKLIVE
เปิดอ่าน 14,283 ☕ คลิกอ่านเลย

ปัดฝุ่น "สถาบันฝึกหัดครู" พัฒนาพลเมืองการศึกษาศตวรรษ 21
ปัดฝุ่น "สถาบันฝึกหัดครู" พัฒนาพลเมืองการศึกษาศตวรรษ 21
เปิดอ่าน 9,273 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

เตือนน้ำมังคุด ไม่ได้ช่วยรักษาโรค
เตือนน้ำมังคุด ไม่ได้ช่วยรักษาโรค
เปิดอ่าน 14,491 ครั้ง

พระกฤษณะ
พระกฤษณะ
เปิดอ่าน 26,096 ครั้ง

แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของแม็คเคลแลนด์
แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของแม็คเคลแลนด์
เปิดอ่าน 87,591 ครั้ง

หน่วยรับข้อมูล (Input Unit) / หน่วยแสดงผลข้อมูล (Output Unit)
หน่วยรับข้อมูล (Input Unit) / หน่วยแสดงผลข้อมูล (Output Unit)
เปิดอ่าน 190,064 ครั้ง

Download แบบอาคารเรียนแบบ สปช. 105/29 ปรับปรุง 2 ชั้น 10 ห้องและ 2 ชั้น 8 ห้อง ใต้ถุนโล่ง
Download แบบอาคารเรียนแบบ สปช. 105/29 ปรับปรุง 2 ชั้น 10 ห้องและ 2 ชั้น 8 ห้อง ใต้ถุนโล่ง
เปิดอ่าน 54,871 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ