ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมบทความการศึกษา  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

8 วิธีปรับโฉม "โรงเรียน" ใหม่ จัดอย่างไรให้เด็กเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ


บทความการศึกษา 17 ก.ย. 2558 เวลา 09:17 น. เปิดอ่าน : 20,808 ครั้ง
Advertisement


Advertisement

❝ นิตยสารไทม์ฉบับประจำเดือนกันยายน 2558 โดยอเล็กซานดร้า ซิฟเฟอร์ลีน คอลัมนิสต์ได้ประมวล“วิธีการปรับโฉมโรงเรียนให้ดีขึ้นได้อย่างไร เพื่อให้เด็กเยาวชนมีความสุขมากขึ้น” โดยได้รวบรวมบทเรียนที่น่าสนใจจากโรงเรียนทั่วประเทศสหรัฐอเมริกา และนโยบายของรัฐบาลกลางที่เป็นกรอบการพัฒนาให้โรงเรียนมีคุณภาพที่ดีขึ้น ❞

8 วิธีปรับโฉม "โรงเรียน" ใหม่ จัดอย่างไรให้เด็กเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ

เรียบเรียงโดย กนกวรรณ กลินณศักดิ์ นักวิชาการสื่อสาร สสค.

 

 

นิตยสารไทม์ฉบับประจำเดือนกันยายน 2558 โดยอเล็กซานดร้า ซิฟเฟอร์ลีน คอลัมนิสต์ได้ประมวล “วิธีการปรับโฉมโรงเรียนให้ดีขึ้นได้อย่างไร เพื่อให้เด็กเยาวชนมีความสุขมากขึ้น” โดยได้รวบรวมบทเรียนที่น่าสนใจจากโรงเรียนทั่วประเทศสหรัฐอเมริกา และนโยบายของรัฐบาลกลางที่เป็นกรอบการพัฒนาให้โรงเรียนมีคุณภาพที่ดีขึ้น

สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.) จึงขอประมวลประเด็นที่น่าสนใจเกี่ยวกับ “ 8วิธีการปรับโฉมโรงเรียนให้ดีขึ้นได้อย่างไร เพื่อให้เด็กเยาวชนมีความสุขมากขึ้น” โดยอเล็กซานดร้า ซิฟเฟอร์ลีน คอลัมนิสต์ของนิตยสารไทม์ ได้รวบรวมบทเรียนที่น่าสนใจจากโรงเรียนทั่วสหรัฐอเมริกา และนโยบายของรัฐบาลกลางที่เป็นกรอบการพัฒนาให้โรงเรียนมีคุณภาพที่ดีขึ้น

“เป็นช่วงเวลาที่ยากลำบากของเด็กในอเมริกา อย่างน้อยก็ในโรงเรียนประถมศึกษาและมัธยมศึกษา ที่พวกเขาต้องเผชิญกับสถานการณ์ที่มีเวลาเล่นมีน้อย กองการบ้านเริ่มกองสูงท่วมหัว อัตราโรคอ้วนเริ่มทะยานสูงเสียดฟ้า แถมยังหาเวลานอนอย่างมีคุณภาพแทบไม่ได้”


อเล็กซานดร้า ท้าวความถึงในอดีต ที่ทั้งผู้กำหนดนโยบาย และผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ได้หาหนทางแก้ปัญหาร่วมกันโดยการให้ความรู้แก่พ่อแม่ ถึงความสำคัญของดูแลสุขภาพการกิน และการสนับหนุนให้พวกเขาจำกัดเวลาลูกๆ จากหน้าจอทีวี แต่ปัจจุบันผู้เชี่ยวชาญต่างพยายามหาหนทางทีจะทำให้เกิดผลในเชิงนโยบายเพื่อเปลี่ยน“สภาพแวดล้อม” ที่เด็กได้เรียนรู้ในโรงเรียนแต่ละวันแทน

ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา โรงเรียนในสหรัฐอเมริกาพยายาม “ทดลอง” ปรับเปลี่ยนรูปแบบการเรียนการสอนในโรงเรียนเพื่อให้เด็กนักเรียนมีความสุขมากขึ้น สุขภาพดีขึ้น และสามารถเตรียมความพร้อมให้พวกเขาทำงานและอยู่ร่วมกับนักเรียนที่มาจากหลายหลากภูมิหลัง ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่าย โดยเฉพาะเมื่อถูกจำกัดโดยงบประมาณที่ลดลง

แม้ว่าจะมีข้อถกเถียงกันในกลุ่มสมาพันธ์สหภาพครู และมาตรฐานกลางเพื่อดึงความสนใจในระหว่างที่การเลือกตั้งในปี 2016 ที่ใกล้จะมาถึง นักนวัตกรรมจึงพยายามหยิบแง่มุมใหม่ๆ ขึ้น เพื่อเริ่มตามติด หรือยกระดับการเปลี่ยนแปลงในห้องเรียนในอเมริกา ซึ่งประกอบด้วย 8 ประเด็นที่น่าจับตามอง ได้แก่

1) การปรับโฉม “การบ้าน” ยุคใหม่: วิจัยล่าสุดพบว่า นักเรียนในระดับประถมศึกษาไม่ได้รับประโยชน์จากการทำการบ้านหลังเลิกเรียนกับผู้ปกครอง โดยมีโรงเรียนหลายแห่ง เช่น Gaithers-burg ในรัฐแมรีแลนด์ ปรับเปลี่ยนการบ้านเป็นให้นักเรียนเลือกอ่านหนังสือที่ชอบเป็นเวลา 30 นาทีทุกวันแทน โดยครูใหญ่ได้กล่าวว่า นักเรียนของเธอดูมีความสนอกสนใจบทเรียนมากขึ้น ตั้งแต่โรงเรียนเริ่มปรับเปลี่ยนการบ้านตั้งแต่ปี 2011 โดยมีเด็กหลายคนที่มีพัฒนาการที่สูงขึ้นมากกว่าเด็กที่ยังได้รับการบ้านในแบบเดิม

2) การปรับลดการเรียนในห้อง และเพิ่มการเรียนรู้นอกห้อง: ในปัจจุบันเด็กวัยรุ่นประสบปัญหา “โรคอ้วน” สูงกว่าเมื่อ 30 ปีที่ผ่านมา ถึง 4 เท่า ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า ถึงเวลาที่เราต้องลดเวลาเรียน ไม่ใช่แค่การหยุดพัก เพื่อสร้างโอกาสให้เด็กได้ขยับเขยื้อนร่างกายบ้าง ซึ่งจะลงผลดีแก่ร่างกายและจิตใจ โดยนักกุมารเวชศาสตร์ได้ให้คำแนะนำว่า กิจกรรมที่เอื้อให้เกิดการเคลื่อนไหวนั้นจะช่วยเพิ่มพลังให้สมองเด็ก หลังจากต้องเรียนถึง 7 ชม.ต่อวัน ซึ่งในเวลา 2-3 ปีที่ผ่านมา มีโรงเรียนในอเมริกาประมาณ 40% ที่ลดช่วงเวลาดังกล่าวไปเพื่อเตรียมเด็กให้พร้อมในการสอบ หรือการเรียนในระดับมหาวิทยาลัย อย่างไรก็ตามโรงเรียนในย่าน Bronx เพิ่มชั่วโมงฟิตเนสเข้าเป็นเวลาเรียนในทุกวัน

3) การเฝ้าระวังการป่วยทางจิต: แม้ว่านักเรียนในระดับประถมศึกษาเกือบทั้งหมดจะถูกจับตามองและรับฟังเสียงสะท้อนต่างๆ อยู่เป็นปกติ แต่ยังขาดเครื่องมือในการตรวจวัดความผิดปกติด้านสภาพจิตใจ เช่น สภาพความหดหู่ หรือความวิตกกังวล เป็นต้น ซึ่งการรักษาที่ล่าช้า จะทำให้อาการแย่ลง โดยโรงเรียนบอสตันมีระบบที่พยายามป้องกันอาการดังกล่าวด้วยการตรวจสภาพทางด้านจิตใจ อารมณ์และพฤติกรรมเด็กปีละ 2 ครั้ง


4) จัดโรงอาหารให้เอื้อต่อสุขภาพการกินที่ดี: แม้ว่าโรงเรียนในอเมริกาจะจัดให้มีอาหารที่ถูกหลักสุขภาพในโรงอาหาร แต่การชักชวนให้เด็กหันมาเลือกรับประทานกลับเป็นเรื่องยากลำบาก โดยมหาวิทยาลัยจอห์น ฮอปกินส์ บูมเมอร์ สคูล ออฟ พับลิค เฮลธ์ ค้นพบงานวิจัยที่ชี้ว่า มีนักเรียนเพียงครึ่งเดียวที่เลือกซื้อผักและผลไม้เป็นอาหารกลางวัน และเด็กจำนวนน้อยที่เลือกกินผักผลไม้ และเพื่อจะแก้ปัญหาดังกล่าว โรงเรียนบักกิ่งแฮม คันทรี่ K-5 ในเดลวิลล์ เวอร์จิเนีย ปรับเปลี่ยนห้องครัวในโรงอาหารใหม่ เพื่อให้นักเรียนได้เห็นอาหารสดใหม่ที่กำลังถูกเตรียมพร้อม และโรงเรียนยังสนับสนุนให้นักเรียนผลิตวัตถุดิบเองในสวนของโรงเรียน เพื่อที่จะทำให้โรงเรียนเป็นจุดเริ่มต้นและส่งต่อการส่งเสริมการกินอย่างมีคุณภาพ

5) การให้ความสำคัญกับการเรียนรู้ในความแตกต่าง: ผลวิจัยพบว่า การเข้าเรียนในโรงเรียนที่มีความแตกต่างทางชาติพันธุ์ร่วมกันทั้งคนผิวขาว และผิวสีนั้นจะนำไปสู่ความสำเร็จที่สูงกว่า และเป็นการเตรียมความพร้อมเด็กสู่โลกแห่งการทำงานจริง โดยมีโรงเรียนในหลายรัฐที่พยายามสร้างให้เกิดสภาพการเรียนรู้ของเด็กที่มาจากพื้นฐานทางครอบครัวที่ต่างกัน และหลากชาติพันธุ์ร่วมกัน โดยในปี 2012-2013 พบว่า ในห้องเรียนประกอบด้วย เด็กผิวขาว 30.2 % เด็กผิวดำ 31.4% เด็กละติน 30.5% และเด็กเอเชีย 4.4% ซึ่งมีค่าเฉลี่ยด้านความหลากหลายทางชาติพันธุ์ที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยในระดับประเทศ

6) เปลี่ยนการจัดระเบียบ ‘วินัย’ ให้เป็น ‘ข้อตกลงร่วม’: การลงโทษ จำพวก ‘กักบริเวณ’ หรือ ‘การพบครูใหญ่’ เพื่อแก้ปัญหา แทนที่จะให้นักเรียนเรียนรู้ว่าทำผิดนั้น คุณครูในโรงเรียนเดอแรม คอมมูนิตี้ ในรัฐเมนกลับเลือกใช้ “ข้อตกลงร่วม” แทน “ระเบียบวินัย” เช่น ถ้านักเรียนกระโดดโลดเต้นระหว่างชั่วโมงเรียน ครูจะถามนักเรียนว่า เขามีความคิดอย่างไรในการทำแก้พฤติกรรมที่รบกวนระหว่างเรียน อาทิ ยืนนั่ง 10 นาทีในห้องเรียน ซึ่งวิธีการนี้จะช่วยพัฒนาพฤติกรรม โดยรอสส์ กรีนี นักจิตวิทยาในปี 2011 พบกว่า ระหว่างปี 2012-2013 มีการก่อกวนชั้นเรียนเพียง 8 ครั้งเท่านั้น ซึ่งลดลงจากเดิม 103 ครั้งหลังจากที่นำวิธีการนี้มาปรับใช้


7) ให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการจัดตารางการเรียนรู้: เด็กเรียนรู้ได้ดีเมื่อพวกเขาสนใจ ซึ่งปัจจุบันคอมพิวเตอร์กลายเป็นความสนใจร่วม ซึ่งสร้างให้เกิดผลการเรียนรู้ที่ดี โดยหนึ่งในเครื่องมือที่ประสบผลสำเร็จในอเมริกาขณะนี้คือ อุปกรณ์ที่เรียกว่า “Knewton” ซึ่งเป็นช่องทางการเรียนรู้เสมือนจริงที่สามารถปรับให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน เช่น ใครที่ติดขัดในการคำนวณ Knewton จะให้คำแนะนำการแก้ปัญหา เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจ และเพิ่มศักยภาพในการเรียนรู้ได้ตรงจุด เป็นต้น

8) เริ่มชั้นเรียนหลัง 8.30 น.: วัยรุ่นต้องการการพักผ่อนอย่างน้อย 8 ชม.เพื่อให้มีสุขภาพที่แข็งแรง และหากพักผ่อนไม่เพียงพอก็จะเป็นสาเหตุนำไปสู่น้ำหนักที่เพิ่มขึ้น ขาดสมาธิ ศักยภาพการเรียนรู้ที่ลดลง ซึ่งขัดแย้งกับสภาพร่างกายของวัยรุ่นที่สามารถตื่นได้ถึงเที่ยงคืน จึงเป็นสาเหตุให้รัฐบาลกลางและผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์เรียกร้องให้โรงเรียนในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาเริ่มเรียนหลังจาก 8.30 น. (แม้ว่าจะมีโรงเรียนน้อยกว่า 1 ใน 5 ในอเมริกาที่ให้ความร่วมมือ) โดยงานวิจัยของมหาวิทยาลัยมินิโซตาพบว่า นักเรียน 60 % จะได้พักผ่อนอย่างน้อย 8 ชม. ซึ่งถือเป็นความพยายามในการปรับเปลี่ยนตารางชีวิตของวัยรุ่นที่เห็นได้ชัด

 

 

ขอบคุณที่มาจาก สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.) วันที่ 9 กันยายน 2558

 

ขายดีมากครับคุณครู (พร้อมส่ง) เครื่องเคลือบบัตรA4 รุ่นSL200 เครื่องเคลือบกระดาษA4 A3 A5 ABSป้องกันการ์ด ในราคา ฿368 - ฿999 ที่ Shopee

https://s.shopee.co.th/4VLvxbi7ho?share_channel_code=6


8 วิธีปรับโฉม "โรงเรียน" ใหม่ จัดอย่างไรให้เด็กเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ8วิธีปรับโฉมโรงเรียนใหม่จัดอย่างไรให้เด็กเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

ภาษาอังกฤษไม่แข็ง

ภาษาอังกฤษไม่แข็ง


เปิดอ่าน 10,410 ครั้ง
อย่ากวดวิชาอย่างเดียว

อย่ากวดวิชาอย่างเดียว


เปิดอ่าน 7,880 ครั้ง
ปัจจัยฉุดรั้งการศึกษา (จบ)

ปัจจัยฉุดรั้งการศึกษา (จบ)


เปิดอ่าน 8,597 ครั้ง
โรงเรียนยุคมิลเลนเนียล

โรงเรียนยุคมิลเลนเนียล


เปิดอ่าน 8,582 ครั้ง
อ่านอะไร...คนไทย?

อ่านอะไร...คนไทย?


เปิดอ่าน 8,049 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

“การพิจารณาการประพฤติผิดจรรยาบรรณของวิชาชีพ”

“การพิจารณาการประพฤติผิดจรรยาบรรณของวิชาชีพ”

เปิดอ่าน 31,954 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
"โรงเรียนแบบไหนที่สร้างเด็กให้ฉลาด" โดย ดร.สุพาพร เทพยสุวรรณ
"โรงเรียนแบบไหนที่สร้างเด็กให้ฉลาด" โดย ดร.สุพาพร เทพยสุวรรณ
เปิดอ่าน 56,141 ☕ คลิกอ่านเลย

แบ่งชนชั้นโดยการศึกษา โดย วีรพงษ์ รามางกูร
แบ่งชนชั้นโดยการศึกษา โดย วีรพงษ์ รามางกูร
เปิดอ่าน 27,048 ☕ คลิกอ่านเลย

ปรับระบบสอบคัดเลือกปีการศึกษา 2561"เคลียริ่งเฮาส์" สะเทือนสังคมไทย : ใครได้-ใครเสีย...?
ปรับระบบสอบคัดเลือกปีการศึกษา 2561"เคลียริ่งเฮาส์" สะเทือนสังคมไทย : ใครได้-ใครเสีย...?
เปิดอ่าน 12,243 ☕ คลิกอ่านเลย

"การศึกษาหันหลัง" คอลัมน์ชั้น 5 ประชาชาติ โดย สาโรจน์ มณีรัตน์
"การศึกษาหันหลัง" คอลัมน์ชั้น 5 ประชาชาติ โดย สาโรจน์ มณีรัตน์
เปิดอ่าน 10,730 ☕ คลิกอ่านเลย

แสงส่องทางจากการศึกษา
แสงส่องทางจากการศึกษา
เปิดอ่าน 12,299 ☕ คลิกอ่านเลย

การถ่ายโอนสถานศึกษาและเปลี่ยนสถานะครู เป็นพนักงานของรัฐ : ปัญหาที่เกาไม่ถูกที่คัน
การถ่ายโอนสถานศึกษาและเปลี่ยนสถานะครู เป็นพนักงานของรัฐ : ปัญหาที่เกาไม่ถูกที่คัน
เปิดอ่าน 32,227 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

ทำไมขนมโดนัทจึงมีรู
ทำไมขนมโดนัทจึงมีรู
เปิดอ่าน 11,860 ครั้ง

10 ทริคเพื่อสุขภาพประจำวัน รู้ไว้ได้ใช้แน่
10 ทริคเพื่อสุขภาพประจำวัน รู้ไว้ได้ใช้แน่
เปิดอ่าน 13,553 ครั้ง

ทฤษฎีบทขิองปิทาโกรัส
ทฤษฎีบทขิองปิทาโกรัส
เปิดอ่าน 49,811 ครั้ง

EQ กับวัยทำงาน
EQ กับวัยทำงาน
เปิดอ่าน 13,119 ครั้ง

การป้องกันการเกิดอาการ "ฮีทสโตรก"
การป้องกันการเกิดอาการ "ฮีทสโตรก"
เปิดอ่าน 1,673 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ