ดร.กมล รอดคล้าย เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เปิดเผยว่า ตามที่ตนได้มอบหมายให้ศูนย์พัฒนาการนิเทศและเร่งรัดคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) และ สมาคมแนะแนวแห่งประเทศไทย ดำเนินโครงการขับเคลื่อนการแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยาในสถานศึกษานั้นได้ดำเนินการโดยแบ่งเป็นการแนะแนวการปรึกษาเชิงจิตวิทยาในสถานศึกษาสำหรับศึกษานิเทศก์ และการจัดพิมพ์เอกสารเพื่อส่งเสริมบุคลากรแนะแนวในสถานศึกษาให้มีความรู้สามารถให้คำปรึกษาแก่ผู้เรียนได้อย่างถูกต้อง โดยได้จัดทำคู่มือการแนะแนวเผยแพร่ให้แก่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาทั่วประเทศ จำนวน 9 รายการ ได้แก่
1. การแนะแนวแบบมุ่งอนาคต
2. มาตรฐานการแนะแนว
3. หลักบริการแนะแนว
4. ระบบการแนะแนวโรงเรียน
5. การออกแบบกิจกรรมแนะแนวที่เน้นทักษะสำหรับผู้เรียน
6. บริการแนะแนวและเครื่องมือทางจิตวิทยา
7. การพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน
8. การให้คำปรึกษา และ
9. การจัดเรียนรู้กิจกรรมแนะแนว
"การระดมเติมความรู้เรื่องการแนะแนวให้แก่ครู และศึกษานิเทศก์ เพราะในอนาคตจำเป็นต้องใช้ครูแนะแนวจำนวนมาก เนื่องจากรูปแบบการแนะแนวทุกวันนี้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการแนะแนวอาชีพ การศึกษาในพื้นที่พิเศษ และการลดเวลาเรียน ดังนั้น จึงต้องเสริมเขี้ยวเล็บระบบการแนะแนวให้เข้มข้นมากขึ้น นอกจากนี้ยังจัดสรรงบประมาณสนับสนุนไปให้ศูนย์แนะแนวที่มีอยู่ในโรงเรียนมัธยมศึกษา 77 แห่ง และศูนย์แนะแนวในโรงเรียนประถมศึกษาอีก 183 แห่งด้วย" เลขาธิการ กพฐ. กล่าว.
ที่มา เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 18 ก.ย. 2558 (กรอบบ่าย)
สพฐ.เพิ่มบทบาทครูแนะแนว
นายกมล รอดคล้าย เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เปิดเผยว่า ตามที่ตนได้มอบหมายให้ศูนย์พัฒนาการนิเทศและเร่งรัดคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ดำเนินโครงการขับเคลื่อนการแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยาในสถานศึกษา ร่วมกับสมาคมแนะแนวแห่งประเทศไทย โดยแบ่งเป็น 2 ส่วน
1.โครงการแนะแนวการปรึกษาเชิงจิตวิทยาในสถานศึกษาสำหรับศึกษานิเทศก์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.) ให้มีความเข้มแข็งในการนิเทศงาน
เลขาธิการ กพฐ. กล่าวต่อว่า
2.จัดพิมพ์เอกสารเพื่อส่งเสริมบุคลากรแนะแนวในสถานศึกษา ให้มีความรู้ให้คำปรึกษากับผู้เรียนได้อย่างถูกต้อง
โดยสพฐ.และสมาคมแนะแนวฯ จัดทำคู่มือการแนะแนวเผยแพร่ให้แก่สพท.ทั่วประเทศ 9 รายการ ได้แก่
1.การแนะแนวแบบมุ่งอนาคต
2.มาตรฐานการแนะแนว
3.หลักบริการแนะแนว
4.ระบบการแนะแนวโรงเรียน
5.การออกแบบกิจกรรมแนะแนวที่เน้นทักษะสำหรับผู้เรียน
6.บริการแนะแนวและเครื่องมือทางจิตวิทยา
7.การพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน
8.การให้คำปรึกษา และ
9.การจัดเรียนรู้กิจกรรมแนะแนว
"ระบบการศึกษาจำเป็นต้องใช้ครูแนะแนวจำนวนมาก เนื่องจากทุกวันนี้มีการเปลี่ยนแปลงหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอาชีพ การศึกษาในพื้นที่พิเศษ และการลดเวลาเรียน ดังนั้น จึงต้องเสริมเขี้ยวเล็บระบบแนะแนวให้เข้มข้นมากขึ้น" นายกมลกล่าว
ที่มา ข่าวสด ฉบับวันที่ 18 ก.ย. 2558 (กรอบบ่าย)