ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมบทความการศึกษา  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

ว่าด้วยใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูของญี่ปุ่น


บทความการศึกษา 15 ก.ย. 2558 เวลา 10:08 น. เปิดอ่าน : 11,405 ครั้ง
Advertisement

ว่าด้วยใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูของญี่ปุ่น

Advertisement

หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ระบบการผลิตครูของประเทศญี่ปุ่นเปลี่ยนจากระบบปิดมาเป็นระบบเปิด หมายความว่า เปลี่ยนจากการผลิตครูจากโรงเรียนฝึกหัดครูเท่านั้นมาเป็นผลิตครูจากมหาวิทยาลัยต่าง ๆ และไม่จำกัดเฉพาะที่คณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ โดยภายใต้ระบบเปิดนี้จะเปิดให้ผู้ที่มีความตั้งใจจะเป็นครูสามารถเลือกเรียนคณะใดก็ได้ เช่น คณะวิทยาศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ ในมหาวิทยาลัยที่มีหลักสูตรวิชาชีพครู ซึ่งได้รับการรับรองจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการศึกษา โดยนักศึกษาจะได้เรียนทั้งวิชาเฉพาะ และเรียนวิชาครูด้วย เมื่อเรียนจบ 4 ปีออกมาแล้วจะได้ปริญญาบัตรพร้อมใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูตลอดชีพโดยอัตโนมัติ โดยไม่ต้องมีการต่ออายุแต่ใช้ไปได้ถึงเกษียณเลย

กระทั่งปี 2550 เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในวงการครูของญี่ปุ่น เมื่อสภาการศึกษากลางได้เห็นชอบพระราชบัญญัติด้านการศึกษา 3 ฉบับ ฉบับที่เกี่ยวกับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพทางการศึกษาได้เพิ่มมาตราที่กำหนดให้มีการทบทวนการต่อใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู ซึ่งผ่านสภาไดเอ็ตและประกาศให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2552 เป็นต้นมา การต่อใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ครูได้พัฒนาความรู้และทักษะให้ทันสมัยอยู่เสมอ เพื่อรักษาศักยภาพของวิชาชีพครู และยังเป็นการสร้างความมั่นใจให้แก่ครูในการสอน การยอมรับและไว้วางใจจากสังคมด้วย

มาตราที่เพิ่มใหม่ได้กำหนดให้ครูทุกคนต้องต่อใบอนุญาตประกอบวิชาชีพทุก 10 ปี โดยครูจะต้องเข้ารับการอบรมหลักสูตรการต่อใบอนุญาตประกอบวิชาชีพที่คณะครุศาสตร์ของมหาวิทยาลัยแห่งใดแห่งหนึ่งที่เปิดการอบรม เป็นเวลา 30 ชั่วโมง ภายในระยะเวลา 2 ปี หมายความว่าในรอบ 10 ปีแรกนี้ ครูทุกคนจะต้องเข้ารับการอบรมเพื่อต่อใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูให้แล้วเสร็จภายในปี พ.ศ. 2554

หลักสูตรอบรม 30 ชั่วโมง ประกอบด้วยวิชาบังคับ 12 ชั่วโมง และวิชาเลือกอีก 18 ชั่วโมง วิชาบังคับ ตัวอย่างเช่น

1) การทบทวนเกี่ยวกับวิชาชีพครู ประกอบด้วย สภาพแวดล้อมของสังคมยุคใหม่ที่มีอิทธิพลต่อโรงเรียน ผลสะท้อนต่อการทำงานของครู และมุมมองเกี่ยวกับนักเรียนและการศึกษา
2) การเปลี่ยนแปลงของนักเรียน เช่น ความรู้เกี่ยวกับการวิจัยใหม่ ๆ ในเรื่องการพัฒนาเด็ก และอิทธิพลของสภาพแวดล้อมทางสังคมที่มีต่อนักเรียน
3) นโยบายด้านการศึกษาใหม่ ๆ คือ การปรับปรุงมาตรฐานหลักสูตรการศึกษาของชาติ และกฎหมายการศึกษาใหม่ต่าง ๆ
4) การเป็นหุ้นส่วนของโรงเรียน เช่น ยุทธศาสตร์องค์กร การบริหารจัดการยามฉุกเฉิน และความร่วมมือระหว่างครอบครัว โรงเรียนกับชุมชน เป็นต้น

ส่วนวิชาเลือกมี อาทิ วิชาเฉพาะต่าง ๆ เช่น คณิตศาสตร์ สังคมศึกษา ฯลฯ วิธีการสอน การแนะแนวนักเรียน ความปลอดภัยของโรงเรียน (เช่น เวลาเกิดแผ่นดินไหว สึนามิ หรือมีคนแปลกหน้าเข้ามาในโรงเรียน ครูควรจะทำอย่างไรเพื่อปกป้องเด็กนักเรียน)และความเข้าใจเรื่องการเปลี่ยนแปลงของนักเรียนตามยุคสมัย ฯลฯ ซึ่งทุกวิชาต้องเป็นเรื่องที่ได้ปรับเนื้อหาเข้ากับสถานการณ์ล่าสุด ส่วนใหญ่จะจัดอบรมวันเสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดภาคฤดูร้อน คือ ระหว่างเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม ในวันหนึ่ง ๆ จะมีการอบรม 4 วิชา เสร็จแล้วสอบอีก 1 ชั่วโมง ตามวิธีการสอนของญี่ปุ่นที่มักจะสอนแล้วสอบทันที ดังนั้น เวลาเรียนทุกคนจึงต้องตั้งใจเรียนเพื่อสอบให้ผ่าน เมื่อผ่านการอบรมแล้ว มหาวิทยาลัยจะมอบหลักฐานให้ครูนำไปแสดงต่อสำนักงานการศึกษาจังหวัดที่โรงเรียนของตนสังกัด เพื่อรับใบต่ออายุการประกอบวิชาชีพอีก 10 ปี

จากผลการวิจัยของ รศ.ดร.โมโตโกะ อาคิบะ แห่งมหาวิทยาลัยฟลอริดาและศิษย์เก่าของมหาวิทยาลัยซึกุบะ ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยที่ปรับสถานะมาจากวิทยาลัยครูชั้นสูงที่เก่าแก่และมีชื่อเสียงควบคู่มากับมหาวิทยาลัยฮิโรชิมา พบว่า ก่อนการเข้าอบรม ครูไม่เห็นด้วยอย่างยิ่งกับนโยบายนี้ถึง 89% แต่หลังจากการเข้ารับการอบรมแล้วพบว่า ครูที่ไม่เห็นด้วยลดลงเหลือ 64% ในขณะที่ครูที่เห็นด้วยเพิ่มขึ้นจาก 11% เป็น 36% เพราะยอมรับว่า หลักสูตรการอบรมมีคุณภาพดีมาก ช่วยพัฒนาความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงทางการศึกษา และช่วยพัฒนาทักษะในการสอนมากกว่าที่คิดไว้ แต่ไม่เห็นด้วยกับการต่อใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู เนื่องจากไม่พอใจที่รัฐบาลผุดนโยบายการต่อใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูขึ้นมาเพียงเพราะมีครูไม่กี่คนที่มีข่าวอื้อฉาวทางสื่อมวลชน เรื่องขาดความสามารถในการสอน ทั้งที่ครูส่วนใหญ่เห็นว่า ผู้มีอาชีพครูเกือบทุกคนมีความรับผิดชอบสูง ตั้งใจสอนและพยายามพัฒนาตนเองไปจนตลอดชีวิตอยู่แล้ว

อย่างไรก็ดี แม้จะเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยกับนโยบายของรัฐ โดยทั่วไปชาวญี่ปุ่นเชื่อมั่นในผู้นำจึงต้องปฏิบัติตาม ทั้งนี้เพื่อจุดมุ่งหมายที่สำคัญคือ ต้องการพัฒนา หล่อหลอม และปกป้องทรัพยากรที่สำคัญที่สุดของชาติ คือ เด็กและเยาวชนของญี่ปุ่นนั่นเอง.

ภัทณิดา พันธุมเสน
รศ.ดร.ทาคาโยชิ มากิ

 

ที่มาจาก : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ วันที่ 15 กันยายน 2558


ว่าด้วยใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูของญี่ปุ่นใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูญี่ปุ่นใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

ซูปเปอร์ไฮเวย์การศึกษา

ซูปเปอร์ไฮเวย์การศึกษา


เปิดอ่าน 7,457 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

อภิปัญหาหนี้ครู...ปมที่แก้ไม่ตก 11 ปีลุกลาม 1.2 ล้านล้าน

อภิปัญหาหนี้ครู...ปมที่แก้ไม่ตก 11 ปีลุกลาม 1.2 ล้านล้าน

เปิดอ่าน 11,180 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
ทั่วโลกยอมรับ นร.เก่งได้เพราะครูเก่ง
ทั่วโลกยอมรับ นร.เก่งได้เพราะครูเก่ง
เปิดอ่าน 21,682 ☕ คลิกอ่านเลย

ความเสียหายจากมหาวิทยาลัยไทยปิดเปิดเทอมตามอาเซียน
ความเสียหายจากมหาวิทยาลัยไทยปิดเปิดเทอมตามอาเซียน
เปิดอ่าน 12,626 ☕ คลิกอ่านเลย

โลกต้องให้ความสำคัญกับครู (จบ)
โลกต้องให้ความสำคัญกับครู (จบ)
เปิดอ่าน 9,941 ☕ คลิกอ่านเลย

ปฏิรูปการศึกษา ติดอาวุธครูสอนคิด
ปฏิรูปการศึกษา ติดอาวุธครูสอนคิด
เปิดอ่าน 9,155 ☕ คลิกอ่านเลย

อ่านอะไร...คนไทย?
อ่านอะไร...คนไทย?
เปิดอ่าน 8,014 ☕ คลิกอ่านเลย

ผลิต ใช้ และพัฒนาครูอย่างไร จึงจะนำไปสู่การเพิ่มคุณภาพผู้เรียน
ผลิต ใช้ และพัฒนาครูอย่างไร จึงจะนำไปสู่การเพิ่มคุณภาพผู้เรียน
เปิดอ่าน 9,993 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

สะกดชื่อเป็นภาษาอังกฤษผ่านทางโทรศัพท์แล้วฟังกันไม่รู้เรื่องใช่มั๊ย เรามีทางช่วย
สะกดชื่อเป็นภาษาอังกฤษผ่านทางโทรศัพท์แล้วฟังกันไม่รู้เรื่องใช่มั๊ย เรามีทางช่วย
เปิดอ่าน 15,946 ครั้ง

ชิคุนกุนยา โรคร้าย ที่มากับยุงลาย
ชิคุนกุนยา โรคร้าย ที่มากับยุงลาย
เปิดอ่าน 11,294 ครั้ง

ประโยชน์ใกล้ตัว พืชผักสวนครัวใกล้บ้าน
ประโยชน์ใกล้ตัว พืชผักสวนครัวใกล้บ้าน
เปิดอ่าน 29,373 ครั้ง

ประโยชน์ของผักผลไม้สีเหลือง
ประโยชน์ของผักผลไม้สีเหลือง
เปิดอ่าน 587 ครั้ง

เยือนประเทศลาว เข้าเมืองเวียงจันทน์ สัมผัสวัฒนธรรมใกล้แหล่งที่พักเวียงจันทน์สุดชิล
เยือนประเทศลาว เข้าเมืองเวียงจันทน์ สัมผัสวัฒนธรรมใกล้แหล่งที่พักเวียงจันทน์สุดชิล
เปิดอ่าน 24,690 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ