ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมบทความการศึกษา  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

การศึกษาปัญหาที่แก้ไม่ตก


บทความการศึกษา 10 ก.ย. 2558 เวลา 14:46 น. เปิดอ่าน : 8,973 ครั้ง
Advertisement

การศึกษาปัญหาที่แก้ไม่ตก

Advertisement

ขณะที่หลายประเทศในอาเซียนก้าวหน้าทางการศึกษา ประเทศไทยกำลังเร่งพัฒนาตัวเองเพื่อไม่ให้ล้าหลังเช่นกัน

ผลการจัดอันดับของเวทีเศรษฐกิจโลก (World Economic Forum) เรื่องความสามารถในการแข่งขันทางการศึกษาของประเทศต่าง ๆ ในปี 2556-2557 พบว่า จาก 148 ประเทศ ไทยอยู่ในอันดับที่ 37 ซึ่งหากมองในภาพรวมแม้ว่าไทยจะอยู่ระดับกลางๆ แต่ก็ประมาทไม่ได้ เพราะในระยะ 8 ปีที่ผ่านมา อันดับรวมของกัมพูชาสูงขึ้นมา 23 อันดับ ส่วนอินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ สูงขึ้นมา 19 อันดับ หากการศึกษาไทยยังย่ำอยู่ที่เดิม อีกไม่กี่ปีข้างหน้าเราอาจตามหลังประเทศอื่นในอาเซียน ทั้งที่ภาพนักเรียนไทยส่วนใหญ่ที่เราเห็นมักจะเน้นเรียนกันอย่างเอาเป็นเอาตาย อ่านหนังสืออย่างหนักเพื่อเตรียมสอบ ผู้ปกครองสรรหาสถาบันกวดวิชาเพื่อเพิ่มเติมความรู้ให้แก่ลูกหลาน

ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้

แน่นอนว่าฝ่ายการศึกษาไทยก็ไม่หยุดนิ่ง มีการปรับเปลี่ยนนโยบายทางการศึกษาอยู่เรื่อยมา เพื่อให้การศึกษาไทยทัดเทียมชาติอื่น ๆ โดยหลังจากที่พลเอกดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ประกาศนโยบายให้กับผู้บริหารและผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.) 225 เขตทั่วประเทศ ประมาณ 3,500 โรงเรียน หนึ่งในนั้นคือ นโยบายปรับเวลาเรียน ให้เลิกเรียนเวลา 14.00 น. และให้ทำกิจกรรมที่สนใจแทนจนถึงเวลา 16.00 น. ทั้งระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาตอนต้น โดยจะเริ่มในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 หรือเดือนพฤศจิกายนนี้

พล.อ.ดาว์พงษ์ กล่าวว่า ไม่ใช่ว่าลดเวลาเรียนไปสองชั่วโมงแล้วจะปล่อยให้เด็กไปเละเทะ แต่โรงเรียนจะหาความรู้ให้เด็ก โดยเด็กจะต้องมีความสุขไม่เครียดกับกิจกรรมในสองชั่วโมงหลังนี้ และกิจกรรมที่ว่านี้ต้องไม่สร้างภาระเพิ่มเติมให้กับเด็ก เพื่อให้เด็กกลับบ้านไปอย่างมีความสุข ไม่ต้องกังวลหรือพะวงว่ามีการบ้านค้างอยู่ หรือกิจกรรมดนตรี ศิลปะ เป็นต้น โดยระหว่างดำเนินการนำร่อง 1 เทอมนี้ จะต้องศึกษา วิเคราะห์ ปรับแก้ และพัฒนาให้ได้รูปแบบที่เหมาะสม เพื่อเป็นต้นแบบให้โรงเรียนที่เหลือใช้ดำเนินการต่อไป

"ผมมั่นใจว่านโยบายนี้เด็กจะมีความสุข และค่อนข้างมั่นใจด้วยว่าผู้ปกครองเองก็จะมีความสุขเมื่อเห็นลูกหลานมีความสุข ที่สำคัญแนวทางการลดเวลาเรียนที่จะเกิดขึ้นนี้ คณะทำงานได้ศึกษาแล้วว่าจะลดวิชาหลักไหนที่ไม่มีผลกระทบต่อเด็ก ไม่ใช่บังคับให้ลดเวลาเรียนแล้วต้องหลับหูหลับตาดำเนินการตามคำสั่ง" พล.อ.ดาว์พงษ์กล่าว

ทั้งนี้ กิจกรรมหลังเลิกเรียนแบ่งออกเป็น 4 รูปแบบ ได้แก่

1.การเรียนเสริมในวิชาที่เน้นปฏิบัติ เช่น วิชาพลศึกษา ศิลปะ

2.การเลือกทำกิจกรรมแบบเสรีตามความสนใจของเด็ก

3.การเรียนเสริมทักษะอาชีพ ภูมิปัญญาท้องถิ่น

4.การสอนเสริมให้กับเด็กที่เรียนอ่อนหลังจากมีการประกาศนโยบายลดเวลาเรียน ก็มีเสียงสะท้อนจากผู้ที่เกี่ยวข้องออกมา นายอำนวย พุทธมี ผู้อำนวยการโรงเรียนพญาไท ยอมรับว่า ในช่วงแรกของการเปลี่ยนผ่านอาจมีปัญหาอยู่บ้าง ขึ้นอยู่กับบริบทของแต่ละโรงเรียน เช่น การมีครูที่มีความรู้เฉพาะด้านไม่เพียงพอ หรือการมีพื้นที่จำกัดในการทำกิจกรรม แต่เชื่อว่า หากมีการทำความเข้าใจและแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจน ก็น่าจะมีสิ่งดี ๆ เกิดขึ้นกับวงการการศึกษาของไทย

เช่นเดียวกับครูที่สอนในวิชาพลศึกษาและศิลปะ ที่ห่วงปัญหาเรื่องเวลาเรียน แต่ไม่ได้มองว่าเป็นการเพิ่มภาระให้กับครู เพราะเป็นหน้าที่อยู่แล้ว และถ้าสามารถทำได้จริงก็ถือว่าเป็นเรื่องที่ดี นางสาวอภิญญา สุขบัว ครูสอนวิชาศิลปะ โรงเรียนพญาไท ให้ความเห็นว่า การลดเวลาเรียนเป็นสิ่งที่ดี เพื่อให้นักเรียนมีเวลาผ่อนคลาย สำหรับวิชาศิลปะ ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ช่วยพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ หรืออีคิว และให้เด็กๆ ได้ผ่อนคลายจากการเรียนวิชาหนักๆ

ขณะที่ผู้ปกครองของเด็กมองว่า นโยบายนี้จะทำให้เด็กรู้จักการเข้าสังคมมากกว่าการมีแต่ความรู้เพียงอย่างเดียว

"ผมเห็นด้วยกับนโยบายนี้นะ เป็นการดีต่อลูกๆ ของเรา เพราะการลดเวลาเรียนให้น้อยลง จะทำให้เขาได้พักผ่อนมากขึ้น" นายสมศักดิ์ อรรธสุธานันท์ หนึ่งในผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนพญาไทให้ความเห็น

ขณะเดียวกันนักเรียนประถมศึกษาโรงเรียนพญาไท มีความยินดีและเห็นด้วยกับนโยบายนี้ เพื่อจะได้ใช้เวลาหลังเลิกเรียนพักผ่อน และทำกิจกรรมที่ชื่นชอบ รวมถึงเพิ่มเติมความรู้ในสาขาวิชาที่สนใจ

สทศ.นำร่องเพิ่มข้อสอบอัตนัย

เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้หารือร่วมกับ รศ.ดร.สัมพันธ์ พันธุ์พฤกษ์ ผู้อำนวยการสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) เกี่ยวกับการจัดสอบและประเมินผลต่าง ๆ โดยมีนโยบายให้ สทศ.ปรับข้อสอบแบบทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน หรือ โอเน็ต โดยให้เพิ่มข้อสอบแบบอัตนัยมากขึ้น เพราะข้อสอบอัตนัยสามารถวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กได้ ทั้งนี้จะให้เริ่มใช้ในการสอบโอเน็ต ปีการศึกษา 2559 ซึ่งจะจัดในช่วงต้นปี พ.ศ.2560 โดยจะนำร่องสอบระดับประถมศึกษาก่อน คือ ชั้น ป.6 ในวิชาภาษาไทย ภายใต้เงื่อนไขในการดำเนินการ ดังนี้

1. ให้มีระยะเวลาดำเนินการ เพิ่มขึ้นอย่างเพียงพอในเรื่องต่าง ๆ เช่น การตรวจกระดาษคำตอบอัตนัย การนำผลการสอบไปใช้ อาทิ ใส่ใน ปพ.1 ใช้เป็นองค์ประกอบหนึ่งในการศึกษาต่อในระดับการศึกษาที่สูงขึ้น นำไปใช้ในการประกันคุณภาพ

2. มีงบประมาณสนับสนุน เช่น ค่าตรวจกระดาษคำตอบ ค่าอบรมและพัฒนาผู้ตรวจ ค่าพัฒนาโปรแกรมที่เกี่ยวข้อง ค่าครุภัณฑ์ โดยเฉพาะด้านคอมพิวเตอร์ เช่น เครื่องสแกน เครื่องอ่าน เป็นต้น

3. การสอบโดยใช้ข้อสอบอัตนัย ไม่เกิน 20% ซึ่งในการสอบ สทศ. จะแบ่งข้อสอบออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ ข้อสอบปรนัย 80% และ ข้อสอบอัตนัย 20%

"ที่ผ่านมา สทศ.มักจะตกเป็นจำเลยของสังคม และถูกร้องเรียนมาตลอดว่า ข้อสอบไม่มีมาตรฐานและไม่ยุติธรรม แต่ผมเห็นว่า สทศ.จะต้องจัดสอบทดสอบต่อไป เพราะเป็นสถาบันทดสอบระดับชาติ เพียงแต่ต้องปรับข้อสอบให้สามารถวัดผลประเมินผลได้ตามความสามารถที่แท้จริงของเด็ก" นพ.ธีระเกียรติกล่าว

ส่วนที่ให้เริ่มใช้ข้อสอบอัตนัยวิชาภาษาไทยกับเด็ก ป.6 ก่อน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการให้ความเห็นว่า เพราะต้องการแก้ปัญหาเด็กอ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ คิดวิเคราะห์ไม่เป็น ส่วนที่ยังไม่ใช้กับเด็กระดับมัธยมศึกษา หรือนำมาใช้ในข้อสอบเข้าศึกษาต่อระดับอุดมศึกษา เพราะเด็กอาจจะยังไม่คุ้นเคย ซึ่งอาจเกิดความไม่เป็นธรรมและเกิดผลกระทบได้

จ้างทำวิทยานิพนธ์ พ้นสภาพนักศึกษา

ขณะที่กระทรวงศึกษาธิการกำลังเร่งพัฒนานโยบายระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา ทางฝั่งอุดมศึกษาก็มีปัญหาที่ต้องแก้อย่างเร่งด่วนเช่นกัน อย่างปัญหาการรับจ้างทำสารนิพนธ์และวิทยานิพนธ์ของนิสิต นักศึกษา ทั้งในระดับปริญญาตรี โท และเอก ซึ่งมีความรุนแรงมากขึ้น และส่งผลต่อคุณภาพการศึกษาของไทย

ศ.ดร.สมพงษ์ จิตระดับ อาจารย์ประจำคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ปัญหาการรับจ้างทำวิทยานิพนธ์เกิดขึ้นมานานแล้ว ซึ่งการที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องตื่นตัวที่จะแก้ปัญหานี้อย่างจริงจังถือเป็นเรื่องดี แต่ควรทำให้รุนแรงมากกว่านี้ด้วยการล่อซื้อเพื่อจับตัวผู้กระทำผิดให้ได้คาหนังคาเขา เพราะจะรอแต่ให้กรรมการผู้สอบวิทยานิพนธ์เป็นผู้จับผิดว่านิสิต นักศึกษาทำเองหรือไม่นั้น คงจะจับได้ยาก

เมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ศ.ดร.ประสาท สืบค้า อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (มทส.) ในฐานะประธานที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา จ.ชลบุรี เผยว่า ที่ประชุมได้หารือถึงปัญหาการจ้างทำสารนิพนธ์และวิทยานิพนธ์ของนิสิต นักศึกษา ซึ่งพบปัญหาเริ่มรุนแรงมากขึ้น ส่งผลต่อคุณภาพการศึกษาไทย โดยการรับจ้างทำวิทยานิพนธ์และสารนิพนธ์นั้น ราคาอยู่ที่ประมาณ 20,000-500,000 บาท จึงมีมติว่า ตั้งแต่ปีการศึกษา 2558 เป็นต้นไป หากพบนิสิต นักศึกษามีการจ้างทำ หรือคัดลอกวิทยานิพนธ์และสารนิพนธ์ จะถูกให้พ้นสภาพการเป็นนิสิต นักศึกษาทันที

ทั้งนี้ จะส่งรายชื่อให้มหาวิทยาลัยที่เป็นสมาชิก ทปอ.ทุกแห่ง ไม่ให้รับเข้าศึกษาต่อ และได้มอบให้นิติกร ทปอ.ไปศึกษาข้อกฎหมายว่าจะเอาผิดผู้ที่รับจ้างทำอย่างไรได้บ้าง หากพบผู้รับจ้างเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยจะถูกพิจารณาโทษทางวินัย โดยบทลงโทษขึ้นอยู่กับการพิจารณาของมหาวิทยาลัยแต่ละแห่ง

ขอบคุณข้อมูลจากทีมข่าวนิวทีวี ทีวีดิจิตอลช่อง 18

ที่มา: หนังสือพิมพ์นิวร้อยแปด 

Happy homeโซฟาพับ โซฟาปรับเอน โซฟาพับพร้อมที่เก็บของ โซฟาเบดขนาด 3 ฟุต/4 ฟุต/5 ฟุต พร้อมหมอนฟรี

฿3,030 - ฿5,730

https://s.shopee.co.th/2AzwlKmFC3?share_channel_code=6


การศึกษาปัญหาที่แก้ไม่ตก

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

ความคิดสร้างสรรค์ (จบ)

ความคิดสร้างสรรค์ (จบ)


เปิดอ่าน 7,779 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

มือถือและคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กควรอยู่ในห้องเรียนหรือไม่? โดย : ทีปกร วุฒิพิทยามงคล

มือถือและคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กควรอยู่ในห้องเรียนหรือไม่? โดย : ทีปกร วุฒิพิทยามงคล

เปิดอ่าน 20,385 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
 ปิดเทอมนี้ให้ลูกวัยรุ่นทำอะไรดีนะ/ดร.แพง ชินพงศ์
ปิดเทอมนี้ให้ลูกวัยรุ่นทำอะไรดีนะ/ดร.แพง ชินพงศ์
เปิดอ่าน 22,143 ☕ คลิกอ่านเลย

ปัญหาขาดแคลนครูในโรงเรียนขนาดเล็ก แก้ไขอย่างไรดี
ปัญหาขาดแคลนครูในโรงเรียนขนาดเล็ก แก้ไขอย่างไรดี
เปิดอ่าน 20,584 ☕ คลิกอ่านเลย

อนาคตของนักเรียน: ทักษะแรงงาน รายได้จากการทำงาน และโอกาสจากหุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์
อนาคตของนักเรียน: ทักษะแรงงาน รายได้จากการทำงาน และโอกาสจากหุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์
เปิดอ่าน 52,967 ☕ คลิกอ่านเลย

ปฏิรูปการศึกษา...เพื่ออะไร ?
ปฏิรูปการศึกษา...เพื่ออะไร ?
เปิดอ่าน 8,276 ☕ คลิกอ่านเลย

ข้อสอบเด็กไทย...ปัญหาใหญ่ที่ต้องมอง
ข้อสอบเด็กไทย...ปัญหาใหญ่ที่ต้องมอง
เปิดอ่าน 9,091 ☕ คลิกอ่านเลย

เด็กนั่งกลางที่เบาะหลังรถ มีแนวโน้มเป็นผู้ใหญ่ที่ประสบความสำเร็จ
เด็กนั่งกลางที่เบาะหลังรถ มีแนวโน้มเป็นผู้ใหญ่ที่ประสบความสำเร็จ
เปิดอ่าน 10,212 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

ราคามาตรฐานครุภัณฑ์
ราคามาตรฐานครุภัณฑ์
เปิดอ่าน 26,418 ครั้ง

การประเมินผลการเรียนโดยการสัมภาษณ์
การประเมินผลการเรียนโดยการสัมภาษณ์
เปิดอ่าน 31,333 ครั้ง

แนวทางดำเนินงานโครงการน้อมนำพระบรมราโชบายด้านการศึกษาในหลวงรัชกาลที่ 10 สู่การปฏิบัติ
แนวทางดำเนินงานโครงการน้อมนำพระบรมราโชบายด้านการศึกษาในหลวงรัชกาลที่ 10 สู่การปฏิบัติ
เปิดอ่าน 11,031 ครั้ง

การทอดผ้าป่า
การทอดผ้าป่า
เปิดอ่าน 55,080 ครั้ง

สมดุลของ 2 ส้อม และ 1 ไม้จิ้มฟัน
สมดุลของ 2 ส้อม และ 1 ไม้จิ้มฟัน
เปิดอ่าน 21,599 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.

Thailand Web Stat

Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ