ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมบทความการศึกษา  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

เด็กไทยเรียนฟรี เมื่อไหร่?เป็นจริง


บทความการศึกษา 28 ก.ค. 2558 เวลา 06:13 น. เปิดอ่าน : 7,032 ครั้ง
Advertisement

เด็กไทยเรียนฟรี เมื่อไหร่?เป็นจริง

Advertisement

แม้รัฐบาลได้จัดการศึกษาภาคบังคับ 9 ปี และก่อนประถมศึกษา โดยไม่เก็บค่าใช้จ่ายมาตั้งแต่ปี 2542 แต่ในความเป็นจริง...ยังมีเด็กเยาวชน 12.1 เปอร์เซ็นต์ ต้องออกจากระบบการศึกษาก่อนสำเร็จการศึกษาภาคบังคับ

ปัจจุบันครัวเรือนที่ยากจนที่สุด 10% ของประเทศ กับครัวเรือนที่ร่ำรวยที่สุด 10% ของประเทศ มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนแตกต่างกันถึง 19 เท่า...

โดยครัวเรือนยากจนที่สุดมีกำลังเสียค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาภาคบังคับราว 2,252 บาทต่อปีการศึกษา หรือคิดเป็น 3.2% ของรายได้ ซึ่งอยู่ในระดับที่สูงมากเมื่อเทียบกับรายได้

ขณะที่ครัวเรือนกลุ่มร่ำรวยที่สุดใช้จ่ายด้านการศึกษาเฉลี่ยราว 21,351 บาทต่อปีการศึกษา คิดเป็น 1.62% ของรายได้

สถานะทางเศรษฐกิจจึงมีผลอย่างมากต่อโอกาสทางการศึกษา และผลกระทบที่เกิดขึ้นเมื่อเด็กเยาวชนออกจากระบบการศึกษาย่อมกระทบต่อเศรษฐกิจและขีดความสามารถในการแข่งขันในระดับนานาชาติ

สะท้อนได้จากเวิลด์อีโคโนมิคฟอรั่ม (World Economic Forum : WEF) หรือเวทีเศรษฐกิจโลก ได้รายงานขีดความสามารถในการแข่งขันด้านคุณภาพการศึกษา ประจำปี 2555-2556 พบว่า คุณภาพการศึกษาไทยอยู่ในอันดับรั้งท้ายของกลุ่มประเทศอาเซียน

อีกปัญหาที่หลายคนกลับมองข้าม คือ ยังมีเด็กด้อยโอกาสที่หลุดออกจากระบบการศึกษาก่อนสำเร็จการศึกษาภาคบังคับ 9 ปี จำนวนประมาณ 13% ของประชากรนักเรียนที่เข้าเรียนพร้อมกันในชั้น ป.1

ข้อมูลจากบัญชีรายจ่ายเพื่อการศึกษา โดยสำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.) และมหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ พบว่า ที่ผ่านมาแม้ว่ารัฐบาลจะมีนโยบายให้งบสนับสนุนปัจจัยพื้นฐานสำหรับเด็กยากจนในรูปแบบงบประมาณรายการหลักเพื่อลดความเหลื่อมล้ำ

แต่ 3 ปัญหาสำคัญ ทำให้ไปไม่ถึงฝั่งฝันนั้นก็คือ

“งบประมาณยังไปไม่ถึงตัวเด็กที่ยากจนจริงเป็นรายบุคคล”...

“การใช้เงินอุดหนุนผิดเป้าหมาย”...

และ “งบประมาณไม่เพียงพอต่อการแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำ”

ปัญหาแรก...งบประมาณไปไม่ถึงตัวเด็ก จากรายงานดังกล่าววิเคราะห์ว่า จำนวนเด็กยากจนที่โรงเรียนทั่วประเทศแจ้งยอดมาทั้งสิ้นราว 3.5 ล้านคน มากกว่างบประมาณที่มี 1.6 ล้านคน

การจัดสรรจึงใช้ระบบโควตาทำให้เด็กยากจนในโรงเรียนที่มีมากกว่า 40% ได้รับการอุดหนุนน้อยกว่าที่ควรจะเป็น ในขณะที่เด็กที่ครอบครัวมีฐานะสูงกว่าเกณฑ์ยากจนบางส่วนก็ได้รับส่วนแบ่งเงินอุดหนุนไปด้วย

ถัดมา...การใช้จ่ายเงินอุดหนุนผิดเป้าหมาย เป้าหมายเงินอุดหนุนรายหัวแก่เด็กยากจนควรจะเป็นการช่วยเหลือครอบครัวที่ยากจนเพื่อลดภาระรายจ่ายและสร้างหลักประกันโอกาสในการเข้าเรียนของเด็กยากจนจนสำเร็จการศึกษาภาคบังคับ แต่ปัจจุบันโรงเรียนใช้เงินอุดหนุนเหล่านี้ไปจัดซื้อชุดกีฬา วัสดุอุปกรณ์การเรียน หรือใช้เป็นค่าอาหารกลางวัน ซึ่งอาจไม่ใช่ความจำเป็นของบางครัวเรือนที่ยากจนที่สุดเหล่านั้น และยังไม่มีระบบติดตามผลการใช้จ่ายเงินอุดหนุนของโรงเรียนว่าตรงตามเป้าหมาย...มีประสิทธิภาพเพียงใด

ปัญหาสุดท้าย...งบไม่เพียงพอต่อการแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำ

ผลการวิจัยจากโครงการจัดทำบัญชีรายจ่ายด้านการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2551-2556 พบว่ารายจ่ายการศึกษาไทยสูงกว่าที่เคยมีรายงานและรายจ่ายมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ตรงกันข้ามกับการตอบสนองการยกระดับคุณภาพการเรียนการสอนและเป้าหมายนโยบาย

งบประมาณรายจ่ายด้านการศึกษาภาครัฐ เฉลี่ยปีละ 500,000 ล้านบาท สำหรับการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน...ไม่รวมอาชีวะ

ส่วนใหญ่เป็นค่าใช้จ่ายประจำประเภทเงินเดือน พัฒนาครูและการบริหารจัดการ คิดเป็น 86% ลงทุน 4% เหลือที่ตกถึงผู้เรียน 10%... แยกย่อยเป็นพัฒนาการเรียนการสอนและพัฒนาผู้เรียน 6% และเครื่องแบบ เสื้อผ้า อุปกรณ์การเรียน 4%

ที่น่าสนใจคือ ในแต่ละปีกระทรวงศึกษาธิการจัดสรรงบประมาณไปยังเด็กยากจน ขาดโอกาส เพียง 2,500 ล้านบาท หรือคิดเป็นเพียง 0.5% ของงบประมาณที่กระทรวงศึกษาได้รับ ซึ่งถือว่าน้อยเกินกว่าที่จะมุ่งแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำที่เป็นปัญหาใหญ่ให้บรรลุผลสำเร็จได้

ถึงเวลาแล้วหรือยัง...ที่รัฐบาลควรปรับปรุงประสิทธิภาพการจัดสรรงบประมาณที่ได้รับอยู่แล้วให้ตรงไปยังกลุ่มเป้าหมายมากยิ่งขึ้น?

ตัวอย่างนโยบายที่ประสบความสำเร็จในระดับนานาชาติด้วยการใช้ “เงินอุดหนุนอย่างมีเงื่อนไข” (Conditional Cash Transfer: CCT) ควบคู่ไปกับการใช้ “ระบบสารสนเทศระดับโรงเรียน” เพื่อสร้างแรงจูงใจในการทำงานร่วมกันระหว่างครอบครัวและโรงเรียนในการสร้างหลักประกันโอกาสทางการศึกษาให้แก่เด็กยากจนทุกคน

เช่น โครงการ Bolsa Familia ของรัฐบาลบราซิลที่เข้าถึงครัวเรือนที่ยากจนจริงได้สูงถึง 80% หรือ 14 ล้านครัวเรือน และสามารถลดอัตราการเลิกเรียนกลางคันของเด็กเยาวชนได้ 21%

ธนาคารโลกและองค์การโออีซีดี ประเมินว่า ภายในเวลาเพียง 10 ปี...ช่วยทำให้ระบบการศึกษาบราซิลมีพัฒนาการด้านคุณภาพการศึกษาที่เร็วที่สุดในโลก และมีการลดลงของความเหลื่อมล้ำทางรายได้ถึง 15%

สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.) กำลังทดลองนำร่องต้นแบบระบบสารสนเทศในลักษณะ

ดังกล่าวในพื้นที่ 5 จังหวัดนำร่อง เพื่อแก้ปัญหาการเลิกเรียนกลางคันของเด็กเยาวชนด้อยโอกาสประเภทยากจนและพิการ

ดร.ชัยยุทธ ปัญญสวัสดิ์สุทธิ์ หัวหน้าโครงการบัญชีรายจ่ายด้านการศึกษาแห่งชาติ อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ บอกว่า น่าจะเป็นโอกาสอันดีสำหรับรัฐบาลชุดนี้ เพราะไม่จำเป็นต้องคำนึงถึงฐานเสียงทางการเมือง

“ปฏิรูประบบงบประมาณการศึกษา” เพื่อให้ไปถึงมือเด็กและเยาวชนที่จำเป็นต้องได้รับโอกาส

ปัญหามีว่า...ที่ผ่านมากลับเอื้อมไม่ถึงอย่างจริงจัง ด้วยการลดภาระค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาของครัวเรือนยากจน เช่น อาจให้ทุนช่วยเหลือครอบคลุมครัวเรือนยากจนที่สุด 20% แรกของประเทศให้สามารถส่งบุตรหลานให้ได้รับการดูแล ตั้งแต่ก่อนปฐมวัยและเข้าเรียนจนจบช่วงการศึกษาภาคบังคับ 9 ปี

ผลที่เกิดขึ้นจะลดจำนวนเด็กที่หลุดออกนอกระบบลงในท้ายที่สุด...ควบคู่ไปกับการพัฒนา “ระบบสารสนเทศเพื่อหลักประกันโอกาสทางการศึกษา” เพื่อเป็นเครื่องมือให้รัฐบาลใช้แก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำให้มีประสิทธิภาพสูงสุด

ปฏิรูปการศึกษา...ลดเหลื่อมล้ำ เด็กไทยเรียนฟรี...ฝันจะเป็นจริงเสียที.

 

 

ที่มา ไทยรัฐ วันที่ 24 ก.ค.2558 

ขายดีมากครับคุณครู (พร้อมส่ง) เครื่องเคลือบบัตรA4 รุ่นSL200 เครื่องเคลือบกระดาษA4 A3 A5 ABSป้องกันการ์ด ในราคา ฿368 - ฿999 ที่ Shopee

https://s.shopee.co.th/4VLvxbi7ho?share_channel_code=6


เด็กไทยเรียนฟรี เมื่อไหร่?เป็นจริงเด็กไทยเรียนฟรีเมื่อไหร่?เป็นจริง

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

โรงเรียนยุคมิลเลนเนียล

โรงเรียนยุคมิลเลนเนียล


เปิดอ่าน 8,583 ครั้ง
กบฏสร้างสรรค์ทางการศึกษา

กบฏสร้างสรรค์ทางการศึกษา


เปิดอ่าน 16,903 ครั้ง
ระบบการศึกษาไม่สมดุล (จบ)

ระบบการศึกษาไม่สมดุล (จบ)


เปิดอ่าน 8,312 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

ผลึกความรู้นิทรรศการวันครูสู่การปฏิบัติในสถานศึกษา : เดชาพัชร  สมหมาย

ผลึกความรู้นิทรรศการวันครูสู่การปฏิบัติในสถานศึกษา : เดชาพัชร สมหมาย

เปิดอ่าน 39,149 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
Speed Leader 5 กุญแจความสำเร็จสร้างผู้นำ
Speed Leader 5 กุญแจความสำเร็จสร้างผู้นำ
เปิดอ่าน 14,057 ☕ คลิกอ่านเลย

"อยากไปโรงเรียน" โจทย์ใหญ่? พ่อแม่ช่วยลูกได้..ด้วย "สนุก"
"อยากไปโรงเรียน" โจทย์ใหญ่? พ่อแม่ช่วยลูกได้..ด้วย "สนุก"
เปิดอ่าน 9,962 ☕ คลิกอ่านเลย

คุณครูหายไปไหนครับ?
คุณครูหายไปไหนครับ?
เปิดอ่าน 20,769 ☕ คลิกอ่านเลย

"อัดความรู้" แต่แบเบาะ สร้างอนาคตเด็กได้จริงหรือ?
"อัดความรู้" แต่แบเบาะ สร้างอนาคตเด็กได้จริงหรือ?
เปิดอ่าน 11,246 ☕ คลิกอ่านเลย

มหาลัยล้น ห้องเรียนร้าง วิกฤตอุดมศึกษาไทย
มหาลัยล้น ห้องเรียนร้าง วิกฤตอุดมศึกษาไทย
เปิดอ่าน 32,643 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

ทาน "ถั่วงอก" แล้วส่งผลต่อสุขภาพอย่างไร
ทาน "ถั่วงอก" แล้วส่งผลต่อสุขภาพอย่างไร
เปิดอ่าน 25,456 ครั้ง

พบกล้องโทรทรรศน์
พบกล้องโทรทรรศน์'ไอสไตน์'ที่หายสาบสูญไปนาน
เปิดอ่าน 9,289 ครั้ง

สั่งสินค้าจากจีนไม่เป็น PCS Cargo ช่วยคุณเรื่องบริการนำเข้าสินค้าจากจีน
สั่งสินค้าจากจีนไม่เป็น PCS Cargo ช่วยคุณเรื่องบริการนำเข้าสินค้าจากจีน
เปิดอ่าน 2,835 ครั้ง

อย่าด่วนตัดสินอะไรเร็วเกินไป สิ่งที่คุณเห็นอาจไม่ใช่สิ่งที่คุณคิด!
อย่าด่วนตัดสินอะไรเร็วเกินไป สิ่งที่คุณเห็นอาจไม่ใช่สิ่งที่คุณคิด!
เปิดอ่าน 27,839 ครั้ง

ลำดับดาวเคราะห์
ลำดับดาวเคราะห์
เปิดอ่าน 97,099 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ