ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมบทความการศึกษา  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

การศึกษาไทยหลายเรื่องคงต้องพึ่ง ม. 44 จริงๆ


บทความการศึกษา 27 ก.ค. 2558 เวลา 15:47 น. เปิดอ่าน : 12,061 ครั้ง

Advertisement

การศึกษาไทยหลายเรื่องคงต้องพึ่ง ม. 44 จริงๆ

การศึกษาไทยหลายเรื่องคงต้องพึ่ง ม. 44 จริง ๆ

กลิ่น สระทองเนียม

ไม่รู้ว่าผู้เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาจะรู้สึกอย่างไรบ้าง เมื่อนายกรัฐมนตรีออกมาฮึ่มจะใช้ ม.44 กับการศึกษาเพราะเห็นการขับเคลื่อนล่าช้าหรือทำแล้วเกาไม่ถูกที่คัน การออกมาพูดเรื่องนี้ของนายกรัฐมนตรีหลายฝ่ายอาจจะคิดว่าเป็นแค่คำขู่เพื่อให้งานการศึกษาเดินหน้าได้เร็วขึ้น แต่สำหรับผู้เขียนไม่อยากให้เป็นแค่คำขู่แต่อยากให้ใช้จริง ด้วยคุณภาพการศึกษาตกต่ำอยู่เช่นนี้ เพราะปัจจัยหลักการจัดการศึกษาหลายอย่างยังมีปัญหาอยู่ และปัญหาที่ว่านี้จะอาศัยเพียงกฎระเบียบที่มีอยู่คงแก้ไขได้ยาก การใช้ ม.44 จึงมีความจำเป็นยิ่ง ซึ่งปัจจัยหลักที่ว่านี้มีอยู่มากคงจะขอนำมายกตัวอย่างเพียงบางส่วน ดังนี้

เรื่องสำคัญที่สุดตอนนี้คงหนีไม่พ้น พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ ที่จะเป็นใบเบิกทางให้การดำเนินงานด้านอื่น ๆ เกิดรูปธรรมมากยิ่งขึ้น ส่วนจะแก้ไขหรือทำใหม่ทั้งฉบับก็คงไม่ต้องเริ่มต้นนับหนึ่งใหม่ เพราะ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ที่ใช้มาถึง 16 ปี ก็น่าจะทำให้รู้ว่าต้องคงจุดเด่น อุดรูรั่ว หรือ เติมเต็มส่วนไหนบ้างได้แล้ว รวมถึงตอนนี้ทั้ง สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) คณะกรรมาธิการการศึกษาและการกีฬา สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) และคณะกรรมการปฏิรูปการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ได้ทำร่างฉบับปรับปรุงแก้ไขไว้แล้ว ซึ่งทั้ง 3 ร่างนี้คณะกรรมาธิการการศึกษาและการกีฬา สนช. ก็ได้เป็นเจ้าภาพให้มาพิจารณาร่วมกันไปแล้ว และมีความเห็นตกผลึกตรงกันในหลายประเด็นหลัก ส่วนที่แตกต่างกันก็น่าจะหาจุดลงตัวได้ไม่ยาก การเร่งกฎหมายการศึกษาให้เกิดขึ้นเร็วได้เท่าใดการปฏิรูปด้านอื่นก็จะเดินเร็วตามไปด้วย

เรื่องต่อมา คือ หัวใจหลักของการศึกษา ประกอบด้วย คน การบริหารจัดการ หลักสูตร และการจัดการเรียนรู้ หากปัจจัยเหล่านี้ดี เด็กมีคุณภาพแน่ แต่ที่ผ่านมาแต่ละส่วนยังมีจุดอ่อนอยู่มากมาย ทั้ง ด้านคน ตั้งแต่ผู้บริหารไปจนถึงผู้ปฏิบัติ ซึ่งปัญหานี้มักจะคิดกันอยู่แค่การขาดแคลนและขาดคุณภาพแต่ด้านประสิทธิภาพการปฏิบัติงานและความรับผิดชอบกับคุณภาพของผู้เรียนที่เกิดขึ้นไม่ค่อยพูดถึงกันทำให้ "คน" ที่ว่านี้ส่วนใหญ่จึงมุ่งทำงานที่ส่งผลต่อตัวเองทั้งชื่อเสียง ตำแหน่ง วิทยฐานะมากกว่าตัวเด็ก ข้อมูลนี้จะเห็นได้ชัดเจนจากผลการประเมินของ สมศ. ทุกครั้งที่มาตรฐานด้านผู้บริหาร ครู สภาพแวดล้อม จะออกมาดีมากหรือดีเยี่ยม แต่คุณภาพเด็กกลับแย่ เมื่อบริหารหรือปฏิบัติงานแล้วคุณภาพผู้เรียนตกต่ำก็ไม่ต้องรับผิดชอบ แถมมีความก้าวหน้าได้ตามปกติ การปฏิรูปการศึกษาแม้จะกำหนดยุทธศาสตร์ วิธีการไว้สวยหรูสู่สากลแค่ไหน หากผู้มีหน้าที่ไม่นำไปดำเนินการหรือทำแบบไร้ทิศทางขาดประสิทธิภาพแถมไม่ต้องรับผิดชอบความสำเร็จก็คงเกิดขึ้นได้ยาก เบื้องต้นจึงต้องปฏิรูป "คน" ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาให้ได้ก่อน คุณภาพของเด็กถึงจะเกิดตามมาได้ ปัญหานี้จึงน่าจะมีมาตรการให้คุณให้โทษกับผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานกับผลที่เกิดขึ้นกับผู้เรียนส่วนนี้จะอาศัยลำพังแค่จรรยาบรรณ คงเอาไม่อยู่แน่

ด้านบริหารจัดการเป็นอีกอุปสรรคหนึ่งที่หลายอย่างยังรวมศูนย์อำนาจไว้ที่ส่วนกลางทำให้การแก้ปัญหาหรือพัฒนาเกาไม่ถูกที่คัน ประโยชน์ที่เกิดขึ้นไม่คุ้มค่ากับการลงทุนแถมเพิ่มภาระงานให้กับครู การกระจายอำนาจไปให้ภาคปฏิบัติจึงจำเป็นอย่างยิ่งซึ่งเรื่องนี้ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ได้กำหนดไว้แล้วแต่ไม่ได้ถูกนำมาดำเนินการเท่านั้นเอง ปัญหาต่อมา คือ เรื่องโรงเรียนขนาดเล็กและขนาดใหญ่พิเศษ กรณีโรงเรียนขนาดเล็กที่ปัจจุบันมีอยู่เกือบครึ่งหนึ่งของโรงเรียนประถมศึกษาทั้งหมด จะขาดความพร้อมทั้ง ครู อุปกรณ์ อาคารสถานที่ แม้กระทั้งจำนวนเด็ก แต่ภาระงานกลับไม่แตกต่างจากโรงเรียนใหญ่ เมื่อครูมีไม่พอสอนครบชั้น ขาดปัจจัยต่าง ๆ มาสนับสนุน เด็กจึงเสียสิทธิที่จะได้รับการพัฒนาเต็มศักยภาพที่มีอยู่ การที่จะทำให้โรงเรียนขนาดเล็กมีความพร้อมทุกด้านได้ภาครัฐคงต้องใช้เงินมหาศาลกับการพัฒนาเด็กจำนวนไม่มากนักจึงเป็นการลงทุนที่ไม่คุ้มค่า การแก้ปัญหาให้ตรงจุดคือต้องยุบโรงเรียนขนาดเล็กที่อยู่ในพื้นที่การคมนาคมสะดวกทั้งหมด ซึ่งเรื่องนี้ก็มิใช่เรื่องใหม่แต่ที่ผ่านมาทำได้ยากเพราะติดขัดด้วยปัจจัยต่าง ๆ การใช้ ม. 44 จึงน่าจะเป็นทางออกได้ดีที่สุดเพื่อจะทำให้เหลือคน เงิน อุปกรณ์มาใช้พัฒนาการศึกษาได้ตรงจุดมากขึ้น โดยเฉพาะคุณภาพผู้เรียน ส่วนกรณีของโรงเรียนขนาดใหญ่ก็ใช่ว่าจะไม่มีปัญหาเพราะจากจำนวนเด็กที่ต้องรองรับ 3,000-6,000 คนต่อโรงเรียน 40-50 คน ต่อห้อง ผู้บริหาร ครู คงดูแลพัฒนาได้ไม่ทั่วถึงการจัดการเรียนรู้เพื่อให้เด็กปฏิบัติจริงก็ทำได้ยาก จึงควรปรับให้โรงเรียนมัธยมจัดการศึกษา ม. 1-3 และ ม. 4-6 แยกออกจากกัน ส่วนนี้จะช่วยแก้ปัญหาโรงเรียนขนาดกลางที่เด็กลดลงทุกปีส่วนโรงเรียนขนาดใหญ่ก็จะได้ลดจำนวนเด็กที่เกินกำลังกับการจัดการเรียนรู้ได้

ด้านหลักสูตร ที่ใช้อยู่ปัจจุบันเหมือนถูกบังคับให้ใส่เสื้อเบอร์เดียวกันด้วยใช้มาตรฐานและตัวชี้วัดเดียวกันทั้งประเทศซึ่งไม่

สอดคล้องกับสภาพจริงของเด็กแต่ละพื้นที่ที่ต่างกันทั้งด้านฐานะความเป็นอยู่ วิถีชีวิตปัจจัยรอบข้างที่จะเอื้อต่อการเรียนรู้ โดยเฉพาะศักยภาพที่มีทั้งกลุ่มอ่อน กลุ่มปานกลางและกลุ่มเก่ง หลักสูตรจึงต้องจัดให้สอดคล้องกับการพัฒนาเด็กแต่ละกลุ่มและบริบท เช่นเด็กที่อยู่ตามเกาะ แก่ง ภูเขา ชายตะเข็บหรือบางส่วนของ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่ยังมีปัญหาด้านพื้นฐานการเรียนรู้ เช่น อ่านไม่ได้ คิดเลขไม่เป็นดำรงชีวิตไม่ถูกสุขนิสัย หลักสูตรก็ต้องเน้นพื้นฐานให้แน่นก่อน

ส่วนกลุ่มเด็กปานกลาง ก็ใช้หลักสูตรแกนกลางพัฒนาคุณภาพให้สอดคล้องกับเป้าหมายที่ประเทศต้องการ สำหรับกลุ่มเด็กเก่ง จะให้เรียนรู้อยู่แค่หลักสูตรแกนกลางอย่างเดียวคงไม่พอต้องเพิ่มสู่ความเป็นเลิศ ให้หากหลักสูตรจัดได้ถูกกลุ่มเช่นนี้การพัฒนาก็จะทำได้ง่ายและเด็กก็จะได้รับพัฒนาเต็มตามศักยภาพที่มีอยู่ การจัดการศึกษาแบบเตี้ยอุ้มค่อมก็จะหมดไป

ด้านจัดการเรียนรู้ ก็ถือว่ายังมีปัญหาอยู่เช่นกันด้วยมีครูจำนวนไม่น้อยยังไม่ปรับวิธีเรียนเปลี่ยนวิธีสอน โดยสอนด้วยการบอกเล่าเนื้อหาจากตำราเรียนหรือไม่ก็สอนตามประสบการณ์จากความรู้เดิม ๆ ไม่ได้นำหลักสูตรสถานศึกษา มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดมาออกแบบการจัดการเรียนรู้และนำลงสู่ภาคปฏิบัติจริง ทักษะที่เกิดขึ้นกับเด็กจึงมีแค่จำเนื้อหาเพื่อสอบเพื่อจบ เมื่อการสอนของครูยังเปลี่ยนได้ยากเช่นนี้จึงควรนำต้นแบบของครูที่จัดการเรียนรู้แล้วทำให้เด็ก คิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหา ด้วยวิธีการที่หลากหลายนำมาจัดทำเป็นคู่มือให้ครูนำไปปรับประยุกต์ใช้เพราะหากมัวพัฒนาด้วยการอบรมสัมมนาอยู่เช่นนี้คงเปลี่ยนวิธีสอนได้ยาก รวมถึงด้านเนื้อหาที่จะให้เด็กเรียนรู้น่าจะจัดเป็นตำราเรียนแห่งชาติไปเลยเพื่อเด็กจะได้เรียนแก่นแท้ของเนื้อหาไม่ใช่เรียนทั้งของจริงและขยะผสมปนเปกันอย่างทุกวันนี้

เรื่องต่อมา คือ การปรับเปลี่ยนวิธีการสอบเข้ามหาวิทยาลัย เพราะส่วนนี้ส่งผลต่อการเรียนรู้ของเด็กอย่างยิ่งเพราะเป้าหมายของเด็กและผู้ปกครองจะมุ่งที่มหาวิทยาลัยเพื่อใบปริญญา คุณภาพการสอบเข้ามหาวิทยาลัยจึงเป็นตัวกำหนดคุณภาพการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่การคัดเลือกด้วยข้อสอบปรนัยและเน้นเนื้อหาวิชาการทำให้ความสนใจของเด็กอยู่แค่นั้นทักษะด้านอื่นไม่เกิดแถมยังเป็นต้นเหตุให้เกิดธุรกิจการศึกษาต้องกวดวิชากันตั้งแต่ระดับอนุบาลจนกว่าจะสอบเข้ามหาวิทยาลัยได้ หากเป้าหมายปลายทางผิดเพี้ยนอย่างนี้ ต้นทางก็พลอยหลงทางไปด้วย

การนำ ม.44 มาใช้เพื่อเปิดทางโล่งให้ปัจจัยต่าง ๆ เดินหน้าไปได้อย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็วขึ้นก็น่าจะทำ ด้วยการศึกษาเป็นระบบใหญ่ จัดหลายระดับ ผู้รับบริการมีหลายบริบทหลายศักยภาพ เป็นงานใหญ่ งานยาก เห็นผลช้า จี้ไปตรงไหนก็เจอปัญหาตรงนั้น หากปล่อยให้เดินตามปกติคงแก้ปัญหาได้ยาก ลองใช้ ม. 44 ดูบ้างอาจทำให้การศึกษาไทยวิ่งฉิวเลยก็ได้.
 

 

ที่มา เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 28 ก.ค. 2558 (กรอบบ่าย)

 


การศึกษาไทยหลายเรื่องคงต้องพึ่ง ม. 44 จริงๆการศึกษาไทยบทความการศึกษากลิ่น สระทองเนียม

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

การศึกษาปัญหาที่แก้ไม่ตก

การศึกษาปัญหาที่แก้ไม่ตก


เปิดอ่าน 8,611 ครั้ง
ปัจจัยฉุดรั้งการศึกษา (จบ)

ปัจจัยฉุดรั้งการศึกษา (จบ)


เปิดอ่าน 8,321 ครั้ง
ปฏิรูปการศึกษาสิงคโปร์

ปฏิรูปการศึกษาสิงคโปร์


เปิดอ่าน 9,519 ครั้ง
บทบาทผู้นำองค์กร 2020

บทบาทผู้นำองค์กร 2020


เปิดอ่าน 8,596 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

คุณครูหายไปไหนครับ?

คุณครูหายไปไหนครับ?

เปิดอ่าน 20,406 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
ปัจจัยฉุดรั้งการศึกษา (จบ)
ปัจจัยฉุดรั้งการศึกษา (จบ)
เปิดอ่าน 8,321 ☕ คลิกอ่านเลย

ครูยุคใหม่ แค่มีจิตวิญญาณครู-ไม่พอ
ครูยุคใหม่ แค่มีจิตวิญญาณครู-ไม่พอ
เปิดอ่าน 17,069 ☕ คลิกอ่านเลย

ให้อิสระโรงเรียน ปลดล็อกปฏิรูปการศึกษา
ให้อิสระโรงเรียน ปลดล็อกปฏิรูปการศึกษา
เปิดอ่าน 11,532 ☕ คลิกอ่านเลย

การศึกษาในอนาคต
การศึกษาในอนาคต
เปิดอ่าน 20,827 ☕ คลิกอ่านเลย

กุญแจไขโจทย์คุณภาพการศึกษาไทย
กุญแจไขโจทย์คุณภาพการศึกษาไทย
เปิดอ่าน 9,450 ☕ คลิกอ่านเลย

FOCUS ประเด็นจาก PISA : การศึกษาเวียดนาม: ทำไมนักเรียนจึงมีผลการประเมินสูง
FOCUS ประเด็นจาก PISA : การศึกษาเวียดนาม: ทำไมนักเรียนจึงมีผลการประเมินสูง
เปิดอ่าน 33,432 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

เหล็กปลอม ดูกันชัดๆ มันเป็นยังไง (ชมคลิป)
เหล็กปลอม ดูกันชัดๆ มันเป็นยังไง (ชมคลิป)
เปิดอ่าน 16,373 ครั้ง

"พลูด่าง" ไม้มงคลเสริมโชคลาภ
"พลูด่าง" ไม้มงคลเสริมโชคลาภ
เปิดอ่าน 18,790 ครั้ง

ดูหรือยัง คลิป ณเดชน์ vs เจมส์จิรายุ ใหญ่ฟัดเล็ก มหากาพย์สงครามหล่อ 3 ตอนเต็มที่นี่
ดูหรือยัง คลิป ณเดชน์ vs เจมส์จิรายุ ใหญ่ฟัดเล็ก มหากาพย์สงครามหล่อ 3 ตอนเต็มที่นี่
เปิดอ่าน 16,920 ครั้ง

เรื่องปูนๆ กับท่อปูนที่คุณอาจยังไม่รู้
เรื่องปูนๆ กับท่อปูนที่คุณอาจยังไม่รู้
เปิดอ่าน 13,408 ครั้ง

วิธีกำจัดไฟฟ้าสถิตออกจากเสื้อผ้า
วิธีกำจัดไฟฟ้าสถิตออกจากเสื้อผ้า
เปิดอ่าน 37,251 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ