ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมบทความการศึกษา  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

หยุด การศึกษาที่สร้างทุกข์ให้นักเรียน และผู้ปกครอง


บทความการศึกษา 23 ก.ค. 2558 เวลา 09:00 น. เปิดอ่าน : 36,347 ครั้ง
Advertisement


Advertisement

หยุด การศึกษาที่สร้างทุกข์ให้นักเรียน และผู้ปกครอง

หยุด การศึกษาที่สร้างทุกข์ให้นักเรียน และผู้ปกครอง


ผศ.ดร.ประภาศ ปานเจี้ยง
คณบดีคณะศิลปศาสตร์และศึกษาศาสตร์
มหาวิทยาลัยหาดใหญ่

การศึกษาไทยมาถึงยุคที่เกิดวิกฤตเสื่อมศรัทธามากที่สุด ตกต่ำที่สุด จากในอดีตที่การศึกษาของไทยสามารถสร้างคนเก่ง คนดี คนมีความสุขได้จริง จากการศึกษาที่มีต้นทุนต่ำและมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูง มาเป็นการศึกษาที่จ่ายแพง เคร่งเครียด เลื่อนลอย ด้อยคุณภาพ และเป็นเต็มไปด้วยความทุกข์ระทมของ ผู้เรียนและผู้ปกครองทั้งแผ่นดิน

ปัจจุบันการศึกษาไทยเคลื่อนตัวเข้าสู่ความเป็น "ธุรกิจการศึกษา" อย่างเต็มรูปแบบ มีต้นทุนสูง ประสิทธิภาพและประสิทธิผลต่ำ ภาคการศึกษาขั้นพื้นฐานของเยาวชนเกิดวิกฤตมากมาย การสอนในสถานศึกษาถูกพันธนาการด้วยเรื่องต่างๆ นานาประการ ทั้งเรื่องการประกันคุณภาพที่เน้นการจัดทำเอกสารเพื่อเป็นหลักฐานของการประเมิน และงานอื่นๆ ที่ครูต้องรับผิดชอบ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเรื่องของการประเมินเพื่อที่จะให้โรงเรียนได้รับรางวัลต่างๆ หรือให้ผู้บริหารสถานศึกษารับรางวัลหรือวิทยฐานะต่างๆ ที่ไม่เกี่ยวกับคุณภาพของผู้เรียน ไม่ว่าจะทางความรู้ การคิด และคุณลักษณะทางด้านจิตวิทยา เช่น ความสุข ความรัก ความภาคภูมิใจในท้องถิ่นและบ้านเกิดเมืองนอน เป็นต้น จนเด็กนักเรียนต้องมาพึ่งการเรียนพิเศษเพื่อจะได้มีความเข้มแข็งทางความรู้ที่จะใช้สอบเข้าศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น สถาบันติวหรือโรงเรียนกวดวิชาจึงเกิดขึ้นอย่างทวีคูณและเป็นธุรกิจอย่างเต็มรูปแบบ การเรียนพิเศษกับโรงเรียนกวดวิชาและสถาบันติวต่างๆ จึงเป็นภาระทางการเงินแก่ผู้ปกครองอย่างรุนแรงมาก ผู้ปกครองทั้งในสังคมเมืองและกึ่งเมืองจำต้องทนแบกรับค่าใช้จ่ายในการเรียนพิเศษ ทั้งค่าเล่าเรียน ค่าเช่าที่พัก ค่าเดินทาง และอื่นๆ อย่างทุกข์ทน เพื่ออนาคต ของลูก

ข้อมูลจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันระหว่างผู้ปกครองพบว่าผู้ปกครองที่ลูกเรียนระดับประถมศึกษามีค่าเรียนพิเศษที่ต้องจ่ายเพิ่มเดือนละประมาณ 5,000-10,000 บาทต่อคน นี่เป็นความทุกข์ที่ทับถม ผู้ปกครองอยู่ นักเรียนที่ผ่านการสอบเข้า ม.1 และ ม.4 ของโรงเรียนที่มีชื่อเสียง บอกว่าความรู้ที่ได้รับจากการเรียนประจำที่โรงเรียนไม่เพียงพอต่อการทำข้อสอบสอบเข้า ม.1 หรือ ม.4 นี่มันคืออะไรกัน ทำไมการสอนประจำในโรงเรียนกับการสอบเข้าศึกษาต่อ มันเป็นคนละเรื่องกันเช่นนี้ หลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการกับข้อสอบการสอบเข้าเรียนต่อ ทำไมมันต่างคนต่างร้อง ต่างตนต่างรำ คนละท่วงทำนอง จนจังหวะมันเรรวนไปหมด

แสดงว่าการสอนในระบบโรงเรียน และการสอบเข้าเรียนต่อในระดับที่สูงขึ้น เป็นสาเหตุแห่งทุกข์สาเหตุหนึ่งของเรื่องนี้

สถานศึกษาของชาติที่นักเรียนเรียนตามปกติ โดยเฉพาะในเมืองใหญ่ โรงเรียนเอกชนมักจะได้รับความนิยมจากผู้ปกครองมากกว่า เนื่องจากโรงเรียนเอกชนจัดการศึกษาได้คุณภาพกว่า แต่ทุกอย่างของโรงเรียนเอกชนเป็นค่าใช้จ่ายที่ผู้ปกครองต้องแบกรับทั้งหมด เช่น ค่าสอนเสริม ค่าห้องเรียนปรับอากาศ ห้องสมุดปรับอากาศ ค่าการสอนคอมพิวเตอร์ ค่าสอนภาษาอังกฤษเพิ่ม ค่าสอนคณิตศาสตร์เพิ่ม ค่าอาหารกลางวัน ค่ารถรับส่ง และค่ากิจกรรมต่างๆ ที่มีเกือบทุกสัปดาห์ เหล่านี้ล้วนแต่เป็นธุรกิจการศึกษาที่อยู่บนกองทุกข์ของผู้ปกครองที่หาเช้ากินค่ำ และต้องการสร้างอนาคตที่ดีให้แก่ลูก งบประมาณรายหัวที่รัฐบาลจ่ายอุดหนุนให้แก่นักเรียนแต่ละคน เมื่อมาเปรียบเทียบกับค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่ผู้ปกครองต้องจ่าย ช่างเหมือนฟ้ากับเหว มันห่างไกลกันจนไม่อยากจะไปคิดถึง ฉะนั้นการที่รัฐใช้ วาทกรรมว่า "เรียนฟรี 15 ปี อย่างมีคุณภาพ" กับประชาชนนั้น มันเป็นเพียง "ลมปาก" ดีๆ นี่เอง

ทุกข์อีกหลายๆ ประการหนึ่งของนักเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่ได้อภิปรายและพูดถึงกันอยู่บ้างแล้ว เช่น ทุกข์ของนักเรียนจากการเรียนที่ใช้เวลาเรียนเนื้อหาวิชาแต่ละวันมากเกินไป แนวคิดที่จะลดเวลาเรียนให้น้อยลงก็ต้องทำให้เห็นเป็นจริงเป็นจังมากขึ้น การเรียนที่มีการบ้านมากเกินไป การเรียนที่ตำรับตำรามากเกินไปจนเด็กแบกกระเป๋านักเรียนกันหลังขดหลังแข็งตั้งแต่ตัวเล็กตัวน้อย ล้วนแต่เป็นปัญหาที่สร้างความทุกข์ให้แก่นักเรียน ประเด็นนี้หากมองในแง่มุมของจิตวิทยาการศึกษา (Educational Psychology) นับว่าเป็นเรื่องที่อันตรายมากต่อเด็ก นักจิตวิทยาที่มีชื่อเสียงของโลกไม่ว่าจะเป็นเพียร์เจท์ (Jean Piaget) หรือแอดเลอร์ (Alfred Adler) ประกาศทฤษฎีทางจิตวิทยาที่ลือลั่นไว้ เป็นทฤษฎีจิตวิทยาพัฒนาการ (Developmental Psychology) และทฤษฎีจิตวิทยาบุคลิกภาพ (Personality Psychology) บอกชัดและยังเป็นอมตะจนถึงทุกวันนี้ว่าบุคลิกภาพของมนุษย์เป็นผลมาจากประสบการณ์ในวัยเด็ก รวมทั้งการไม่ได้รับการตอบสนองที่เป็นความสุขของชีวิตในวัยเด็ก เด็กที่ใช้ชีวิตเป็นทุกข์และเคร่งเครียดลักษณะเช่นนี้ นอกจากน่าสงสารแล้ว ยังส่งผลให้เด็กเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่เคร่งเครียด หลายๆ คนมีโลกทรรศน์ต่อชีวิตและสังคมเป็นลบ กลายเป็นพลเมืองที่มีปัญหาต่อการพัฒนาประเทศต่อไป

ฉะนั้นหากเด็กเป็นทุกข์ยาวนานตั้งแต่อนุบาลจนกระทั่งจบมัธยมปลายซึ่งเป็นความทุกข์ที่หนักหน่วงมาก เราจะได้ผู้ใหญ่ที่หาความสุขในชีวิตได้ยาก

ในส่วนของอุดมศึกษา จะเห็นได้ว่าค่าใช้จ่ายในการเรียนของมหาวิทยาลัยเอกชนสูงกว่ามหาวิทยาลัยของรัฐ เนื่องจากมหาวิทยาลัยไม่ได้รับการจัดสรรงบประมาณรัฐบาล ค่าใช้จ่ายทั้งหมดของมหาวิทยาลัยเอกชนต้องใช้จ่ายจากเงินค่าลงทะเบียนเรียนของนักศึกษา นี่ก็กลายเป็นทุกข์อันมหาศาลของผู้ปกครองที่ส่งลูกเรียนระดับอุดมศึกษา หากจะให้มหาวิทยาลัยเอกชนเรียกเก็บค่าเล่าเรียนไม่สูงจนเกินกำลังของ ผู้ปกครอง รัฐต้องจัดสรรงบประมาณส่วนหนึ่งมาอุดหนุนการจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยเอกชน

ส่วนการที่มหาวิทยาลัยทั้งของรัฐและเอกชนจำเป็นต้องพยายามรับนักศึกษาเข้าเรียนในสถาบันของตนเอง ให้มากเข้าไว้ เพื่อจะได้ค่าลงทะเบียนเรียนมาเป็นค่าใช้จ่าย ส่งผลให้มีการเปิดการเรียนการสอนหลายๆ หลักสูตรไม่ตอบโจทย์ต่อความต้องการบัณฑิตของสังคม มหาวิทยาลัยขอเปิดหลักสูตรเพื่อให้มีผู้เรียน ผู้เรียนอยากเรียนอะไรก็เปิดอันนั้น พอๆ กับที่ผู้เรียนจำนวนไม่น้อยก็เรียนเพื่อให้ตัวเองสำเร็จการศึกษา ได้ใบปริญญาเพื่อจะได้เดินหน้าหางานต่อไป สภาพเช่นนี้จึงส่งผลให้บัญฑิตที่สำเร็จการศึกษาขาดแคลนความรู้ความสามารถ จบแล้วจึงตกงานมหาศาล เป็นความทุกข์ของทั้งบัณฑิตเองและพ่อแม่ผู้ปกครอง

เมื่อบัณฑิตต้องประสบกับปัญหาตกงาน ก็ไม่มีกำลังในการชำระหนี้ที่กู้จากกองทุนเงินให้กู้ยืมของรัฐบาลทั้ง กยศ. หรือ กรอ. เป็นปัญหาให้ต้องเป็นคดีความกับธนาคารเจ้าของเงินกู้ จนผู้ปกครองในฐานะผู้ค้ำประกันต้องขึ้นโรงขึ้นศาล ยิ่งเป็นทุกข์อันใหญ่หลวงของผู้ปกครอง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นประชาชนกลุ่มที่หาเช้า กินค่ำ แต่มีความหวังให้ลูกได้เรียนหนังสือจนจบปริญญา เพื่อเป็นเกียรติของครอบครัวและมีหน้าที่การงานที่ดีเหมือนพ่อแม่ทั่วไป

ในประเด็นที่ผู้เรียนมีน้อย สถาบันอุดมศึกษามีเยอะ จึงพยายามหาผู้เรียนมาเรียนโดยไม่คำนึงถึงความเป็นจริงของตำแหน่งงานเช่นนี้ ผู้เขียนคิดว่าถึงเวลาที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ต้องคุมกำเนิดการเกิดใหม่ของมหาวิทยาลัยไทย ทั้งที่เป็นมหาวิทยาลัยของรัฐและมหาวิทยาลัยเอกชน รวมทั้งการควบคุมการเปิดสอนนอกที่ตั้งของมหาวิทยาลัย เพราะการเปิดสอนนอกที่ตั้งเป็นสาเหตุหลักของการด้อยคุณภาพของบัณฑิต ลำพังตัวชี้วัดของ สมศ. และ สกอ.อย่างเดียว อาจจะเอาเรื่องนี้ไม่อยู่ การสอนที่ไม่มุ่งเน้นคุณภาพของบัณฑิต มุ่งหวังแต่รายได้จากการจัดการศึกษาเพียงอย่างเดียว เป็นการจัดการศึกษาที่เป็นสาเหตุแห่งทุกข์ให้แก่ลูกศิษย์ แก่ผู้ปกครอง และผู้ว่าจ้างบัณฑิตเข้าสู่ตำแหน่งงาน

เราจะหยุดการศึกษาที่สร้างทุกข์ให้แก่คนทั้งแผ่นดินอย่างนี้ได้มั้ย ผู้เขียนมั่นใจว่าหยุดได้ แม้ไม่ได้ทันที เราก็ ค่อยๆ คิด ค่อยๆ แก้ ค่อยๆ พัฒนาหาทางไปเรื่อยๆ ช่วยเหลือกันทุกฝ่าย โดยการเริ่มต้นที่กฎหมายลูกทุกฉบับที่จะเกิดตามรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ และนโยบายต่างๆ ที่รัฐบาลต้องการแก้ไขปัญหานี้ ไหนๆ เราก็ลงทุนทำต่างๆ นานากันมาจนถึงขณะนี้แล้ว

คสช.โปรดจับเรื่องนี้ให้ตรงประเด็นนะครับ คลายทุกข์เรื่องการศึกษาของเยาวชนให้แก่นักเรียนนักศึกษาและผู้ปกครองทั้งแผ่นดินด้วย การปฏิรูปการศึกษาของ คสช. คราวนี้ก็จะเป็นวีรกรรมจริง มิใช่เป็นเพียงวาทกรรมที่ลมๆ แล้งๆ เหมือนความ แห้งแล้งที่กำลังแผ่คลุมประเทศชาติอยู่ยามนี้

"เราจะหยุดการศึกษาที่สร้างทุกข์ให้แก่คนทั้งแผ่นดินอย่างนี้ได้มั้ย ผู้เขียนมั่นใจว่าหยุดได้ แม้ไม่ได้ทันที เราก็ค่อยๆ คิด ค่อยๆ แก้ ค่อยๆ พัฒนา หาทางไปเรื่อยๆ ช่วยเหลือกันทุกฝ่าย โดยการเริ่มที่ต้นที่กฎหมายลูกทุกฉบับที่จะเกิดตามรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ และนโยบายต่างๆ ที่รัฐบาลต้องการแก้ไขปัญหานี้" 

 

 

ที่มา มติชน วันที่ 23 กรกฎาคม 2558

🖼สำหรับคุณครูไว้ใส่เกียรติบัตรสวยและถูก🖼 กรอบป้ายอะคริลิคตั้งโต๊ะ A4 แนวนอน 30x21.5 cm อะคริลิคใส 1 หน้า ทรง L (A4L1P) ในราคา ฿129 คลิกเลย👇👇

https://s.shopee.co.th/1qLFIZVf4t?share_channel_code=6


หยุด การศึกษาที่สร้างทุกข์ให้นักเรียน และผู้ปกครองหยุดการศึกษาที่สร้างทุกข์ให้นักเรียนและผู้ปกครอง

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

ระบบการศึกษาไม่สมดุล (2)

ระบบการศึกษาไม่สมดุล (2)


เปิดอ่าน 8,305 ครั้ง
Smart Thailand

Smart Thailand


เปิดอ่าน 9,000 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

อาลัยการศึกษาไทย เก่งเจ๋งในกระดาษ

อาลัยการศึกษาไทย เก่งเจ๋งในกระดาษ

เปิดอ่าน 19,738 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
ราชภัฏกับธนาคาร
ราชภัฏกับธนาคาร
เปิดอ่าน 7,979 ☕ คลิกอ่านเลย

ปฏิรูปการศึกษาไทย ไปทางไหน ?
ปฏิรูปการศึกษาไทย ไปทางไหน ?
เปิดอ่าน 9,054 ☕ คลิกอ่านเลย

คลอด ‘เกณฑ์ย้ายเฉพาะกิจ’ แก้ปม..ร้างผู้บริหาร 7 พันตำแหน่ง ทางออกสุดท้าย..ของ ก.ค.ศ.?
คลอด ‘เกณฑ์ย้ายเฉพาะกิจ’ แก้ปม..ร้างผู้บริหาร 7 พันตำแหน่ง ทางออกสุดท้าย..ของ ก.ค.ศ.?
เปิดอ่าน 17,453 ☕ คลิกอ่านเลย

ทำไมคนไทยปฏิรูปการศึกษาไม่ได้ผล
ทำไมคนไทยปฏิรูปการศึกษาไม่ได้ผล
เปิดอ่าน 15,744 ☕ คลิกอ่านเลย

ข้อคิดและข้อควรระวังในการบริหารสถานศึกษา
ข้อคิดและข้อควรระวังในการบริหารสถานศึกษา
เปิดอ่าน 32,887 ☕ คลิกอ่านเลย

หนี้สิน หนี้เสีย แก้ได้
หนี้สิน หนี้เสีย แก้ได้
เปิดอ่าน 10,383 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

ใครว่าการเขียนด้วยลายมือนั้นล้าสมัย?
ใครว่าการเขียนด้วยลายมือนั้นล้าสมัย?
เปิดอ่าน 56,251 ครั้ง

ทฤษฎีการเรียนรู้
ทฤษฎีการเรียนรู้
เปิดอ่าน 57,282 ครั้ง

ขนุน 8 เดือนติดผล เร็วกว่านี้ ไม่มีอีกแล้ว!
ขนุน 8 เดือนติดผล เร็วกว่านี้ ไม่มีอีกแล้ว!
เปิดอ่าน 17,547 ครั้ง

ออกกำลังแบบไหน ดีกับโรคอะไร
ออกกำลังแบบไหน ดีกับโรคอะไร
เปิดอ่าน 9,700 ครั้ง

การกระตุ้นพัฒนาการลูกในครรภ์
การกระตุ้นพัฒนาการลูกในครรภ์
เปิดอ่าน 13,633 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ