ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมบทความการศึกษา  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

ให้อิสระโรงเรียน ปลดล็อกปฏิรูปการศึกษา


บทความการศึกษา 14 ก.ค. 2558 เวลา 09:32 น. เปิดอ่าน : 11,740 ครั้ง
Advertisement


Advertisement

ให้อิสระโรงเรียน ปลดล็อกปฏิรูปการศึกษา

ให้อิสระโรงเรียน ปลดล็อกปฏิรูปการศึกษา

โดย...ธเนศน์ นุ่นมัน

 

 

กระแสหลักของประเด็นการปฏิรูปการศึกษารอบนี้ คือเรื่องการกระจายอำนาจบริหารจัดการและการกำกับดูแลจากกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ไปให้ท้องถิ่นมีส่วนร่วม ตลอดจนให้อิสระสถานศึกษาในการบริหารจัดการ ถึงขั้นกำหนดไว้ในร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่

วรากรณ์ สามโกเศศ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการปฏิรูประบบการกระจายอำนาจ เปิดประเด็นเรื่องการปฏิรูปการศึกษา โดยระบุว่าที่ผ่านมาคณะอนุกรรมการฯ เคยวางกรอบร่างยุทธศาสตร์การกระจายอำนาจไปสู่สถานศึกษาแบบเต็มรูปแบบ เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของคณะกรรมการอำนวยการปฏิรูปการศึกษาของ ศธ. โดยกรอบร่างยุทธศาสตร์การกระจาย อำนาจจะมีใจความสำคัญทั้งหมด 4 ด้าน ได้แก่

1.การจัดการรูปแบบการศึกษา โดยองค์กรจากภาคส่วนอื่นในท้องถิ่นที่ไม่ใช่ภาครัฐ ภายใต้แนวคิดการศึกษาสมัยใหม่คือการจัดการศึกษาไม่ใช่หน้าที่เฉพาะของรัฐเท่านั้น

2.แนวคิดการถ่ายโอนโรงเรียนขนาดเล็กให้กับท้องถิ่นจำนวน 1.5 หมื่นแห่ง จากทั้งสิ้น 3.5 หมื่นแห่งทั่วประเทศ โดยพุ่งเป้าไปที่ความพร้อมของท้องถิ่นที่รับโอนโรงเรียนไปด้วยว่ามีประสิทธิภาพในการจัดการศึกษามากน้อยเพียงใด และการถ่ายโอนโรงเรียนจำเป็นต้องได้รับความสมัครใจจากผู้บริหารและครูในโรงเรียนก่อนด้วย

3.ยกระดับให้โรงเรียนมีสถานะเป็นนิติบุคคลที่สามารถบริหารจัดการโรงเรียนได้ด้วยตัวเอง มีอิสระที่จะบริหารได้ทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นการจัดหลักสูตรการเรียนการสอน การวางกำลังคน และงบประมาณ

4.ต้องมีการส่งเสริมกลไกจังหวัด สร้างความหลากหลายของสถานศึกษา และสร้างการรวมตัวกันเองทุกภาคส่วนในท้องถิ่น เพื่อเข้ามาบริหารจัดการสถานศึกษาด้วยคนในท้องถิ่น

วรากรณ์ ขยายความอีกว่า ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับการปฏิรูปมองไปในทางเดียวกันว่า การปฏิรูปนั้นยากที่จะประสบความสำเร็จหากฝากความหวังไว้กับรัฐบาลแต่เพียงฝ่ายเดียว โดยเฉพาะกรณีอำนาจการบริหารเดิมที่ทิ้งปัญหาหลายเรื่องไว้กับระบบการศึกษา

“ยกตัวอย่างโรงเรียนที่มีศักยภาพในการจัดการตัวเอง เรื่องหนึ่งที่เป็นปัญหามากก็คือการบรรจุครูชดเชยครูที่เกษียณ แม้โรงเรียนนั้นๆ ทราบว่าตำแหน่งครูในโรงเรียนของตัวเองจะว่างลงด้วยเหตุผลดังกล่าวล่วงหน้านานนับปี แต่ผ่านพ้นไปหลายเดือนก็จะไม่สามารถหาครูมาแทนได้ทันกับที่ขาดไป ซึ่งผมเชื่อว่าหากโรงเรียนที่พร้อมหรือโรงเรียนต้นแบบได้บริหารตัวเองก็จะสามารถก้าวข้ามสิ่งที่ติดขัดอยู่ พัฒนาคุณภาพไปได้แบบก้าวกระโดด” วรากรณ์ กล่าว

อย่างไรก็ดี การผลักดันให้โรงเรียนเป็นนิติบุคคลมากขึ้น อาจมีคำถามว่าจะประสบปัญหาเรื่องการกำกับดูแลด้านคุณภาพหรือไม่ ซึ่งวรากรณ์มองว่าเป็นเรื่องที่สามารถออกแบบระบบตรวจสอบเข้าไปกำกับดูแลได้

“อีกเรื่องคือเราต้องเปลี่ยนระบบการรับผิดรับชอบจากการบริหารงานจากกระทรวงมาถึงตัวเด็ก ที่ผ่านมาต้องผ่านนโยบายรัฐ หน่วยงานกลางไปสู่ผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษา มาถึงผู้อำนวยการโรงเรียน ก่อนจะถึงตัวเด็กซึ่งเป็นเรื่องที่ห่างไกลกันมาก โดยต้องทำให้สั้นลงให้ความรับผิดชอบที่ไปถึงตัวนักเรียนโดยตรง”วรากรณ์ ระบุ

วรากรณ์ ขยายความว่า ที่ผ่านมานโยบายการศึกษาไทยผิดพลาดในเรื่องนี้ เพราะตัดเรื่องผู้บริหารโรงเรียนต้องรับผิดชอบต่อเด็กออก รวมถึงตั้งสมมติฐานว่าผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษาทุกคนเป็นคนดี แต่กลายเป็นว่าเขตพื้นที่การศึกษากลายเป็นจุดให้คุณให้โทษกับการย้ายครูหรือกระทั่งผู้อำนวยการเข้าออกพื้นที่ได้ เขตไหนผู้อำนวยการเขตฯ ดีก็พัฒนาเร็วมาก และถ้าหากเป็นไปในทางตรงกันข้ามก็จะมีปัญหาตามมาอีกมากมาย ดังนั้น การจัดการศึกษาไม่สามารถแก้เพียงจุดใดจุดเดียวได้ ต้องแก้สิ่งที่ผูกโยงเป็นวงจรการศึกษาทั้งระบบ

“เราครูมีทั้งหมด 4.5 แสนคน แต่กระจุกตัวอยู่ในโรงเรียนใหญ่ในเมือง แต่โรงเรียนขนาดเล็กทั่วประเทศที่มีนักเรียนไม่ถึง 200 คน ตามมาตรฐานต้องมีครูอย่างน้อย 7 คน แต่ก็ไม่สามารถหาครูให้เพียงพอตามเกณฑ์ได้ เพราะไม่สามารถบังคับครูให้ย้ายโรงเรียนได้ ต้นสังกัดอาจจะย้ายข้าราชการตำรวจ หมอ หรืออื่นๆ ได้ตามหน้าที่ แต่ครูนั้นมีวัฒนธรรมเฉพาะ ย้ายจากโรงเรียนหนึ่งไปอีกโรงเรียน ซึ่งห่างไปเพียง 3 กิโลเมตรก็ไม่ยอม” วรากรณ์ กล่าว

วรากรณ์ ระบุว่า ปัญหาดังกล่าวเกิดจากการเปลี่ยนการศึกษาภาคบังคับจาก 6 ปี เป็น 9 ปี เมื่อประมาณ 10 กว่าปีก่อนมีการสอบบรรจุครูปีละกว่า 1 แสนคน จนไม่มีระบบคัดกรองที่ดีพอ และเมื่อมีครูจำนวนมากก็มีปัญหาอื่นที่เชื่อมโยงกับเรื่องสวัสดิการที่กลายเป็นปัญหาหนี้ครู บางกองทุนเปิดโอกาสให้ครูสามารถกู้ยืมได้ โดยไม่ต้องมีหลักทรัพย์ค้ำประกัน ขณะเดียวกันก็มีความเชื่อว่ารัฐบาลทุกรัฐบาลหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องเข้ามาแก้ปัญหานี้ ดังนั้น จึงเป็นปัญหาเรื้อรังที่ยากจะแก้ไขได้ หากไม่เริ่มวางรากฐานการแก้ปัญหาอย่างจริงจัง

“เป็นเรื่องน่าแปลกที่หน่วยงานดูแลสวัสดิการไม่เคยสนใจว่าครูแต่ละคนมีหนี้สินเท่าไร เพราะไม่เคยมีการสำรวจมาก่อน ไม่เคยมีใครสั่งให้ดำเนินการเรื่องนี้ได้ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา (สกสค.) ไม่สนใจเรื่องนี้ เพราะคิดว่าตัวเองมีหน้าที่ให้กู้อย่างเดียว คำถามง่ายๆ คือทำไมข้าราชการกระทรวงอื่นไม่เคยมีปัญหานี้ ถึงเวลาที่จะต้องยกเครื่องเรื่องครูใหม่ให้มีความรับผิดรับชอบอย่างเป็นระบบมากขึ้น” ประธานคณะอนุกรรมการปฏิรูประบบการกระจายอำนาจกล่าว

 

 

ที่มา โพสต์ทูเดย์ 13 ก.ค.2558


ให้อิสระโรงเรียน ปลดล็อกปฏิรูปการศึกษาให้อิสระโรงเรียนปลดล็อกปฏิรูปการศึกษา

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

แสงส่องทางจากการศึกษา

แสงส่องทางจากการศึกษา


เปิดอ่าน 12,255 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

โลกต้องให้ความสำคัญกับครู (1)

โลกต้องให้ความสำคัญกับครู (1)

เปิดอ่าน 12,110 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
เปิดม่านการศึกษา : 2 พ.ค. 59 : โดย...ครูแจ่ม
เปิดม่านการศึกษา : 2 พ.ค. 59 : โดย...ครูแจ่ม
เปิดอ่าน 10,136 ☕ คลิกอ่านเลย

Computing Science : วิชาบังคับสำหรับนักเรียน ป.1 ไทย
Computing Science : วิชาบังคับสำหรับนักเรียน ป.1 ไทย
เปิดอ่าน 26,657 ☕ คลิกอ่านเลย

ศึกสายเลือด ศธ. : เกมชิงอำนาจที่มีแต่ “ผู้แพ้”?? ผู้เขียน จุไรรัตน์ พงศาภิชาติ
ศึกสายเลือด ศธ. : เกมชิงอำนาจที่มีแต่ “ผู้แพ้”?? ผู้เขียน จุไรรัตน์ พงศาภิชาติ
เปิดอ่าน 30,921 ☕ คลิกอ่านเลย

อยากเลี้ยงลูกให้ฉลาด ต้องไม่มีคำว่า....โดย ดร.สุพาพร เทพยวรรณ
อยากเลี้ยงลูกให้ฉลาด ต้องไม่มีคำว่า....โดย ดร.สุพาพร เทพยวรรณ
เปิดอ่าน 25,103 ☕ คลิกอ่านเลย

ปฏิรูปการเรียนรู้...สู่...ห้องเรียน
ปฏิรูปการเรียนรู้...สู่...ห้องเรียน
เปิดอ่าน 12,331 ☕ คลิกอ่านเลย

ปฏิรูปการศึกษาส่วนภูมิภาค 6 เดือน กศจ.ไปต่ออย่างไร? โดย อดิศร เนาวนนท์
ปฏิรูปการศึกษาส่วนภูมิภาค 6 เดือน กศจ.ไปต่ออย่างไร? โดย อดิศร เนาวนนท์
เปิดอ่าน 22,527 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

เหตุการณ์ในแผ่นดินเมื่อปี พ.ศ. 2475
เหตุการณ์ในแผ่นดินเมื่อปี พ.ศ. 2475
เปิดอ่าน 14,621 ครั้ง

ดูทีวีเวลานอน...ผู้ใหญ่เสี่ยงโรค-เด็กเสี่ยงโง่
ดูทีวีเวลานอน...ผู้ใหญ่เสี่ยงโรค-เด็กเสี่ยงโง่
เปิดอ่าน 19,549 ครั้ง

เพลง "วันแม่"
เพลง "วันแม่"
เปิดอ่าน 24,282 ครั้ง

ทำไมดวงอาทิตย์ตอนเช้าหรือตอนเย็นจึงดูดวงใหญ่
ทำไมดวงอาทิตย์ตอนเช้าหรือตอนเย็นจึงดูดวงใหญ่
เปิดอ่าน 27,870 ครั้ง

การกำหนดวงเงินการจัดหาพัสดุ
การกำหนดวงเงินการจัดหาพัสดุ
เปิดอ่าน 16,419 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ