Advertisement
ปฏิรูปการศึกษา ?
ณรงค์ ใจหาญ
จากสถิติของงบประมาณในการศึกษาที่รัฐได้ทุ่มเทให้กับการเรียนการสอนตั้งแต่ระดับประถมศึกษา จนถึงมัธยมศึกษา และในระดับอุดมศึกษา อาชีวศึกษา มีจำนวนมากถึงห้าแสนล้านบาทต่อปี แต่จากการวัดผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาพบว่า จำนวนผู้รู้หนังสือ อ่านออกเขียนได้ คิดเลขเป็น มีจำนวนน้อย และยังอยู่ในลำดับที่ท้ายๆ ของประเทศในภูมิภาคอาเซียนด้วยกันเอง และอีกมุมหนึ่งคือ ประเทศไทยนั้นมีผู้ศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาถึง ร้อยละ 51 ซึ่งเป็นระดับที่สูงพอๆ กับประเทศที่พัฒนาทางเศรษฐกิจในระดับต้นๆ
จากสถิตินี้เอง แสดงให้เห็นภาพสะท้อนที่เห็นได้ชัดว่า ผลสัมฤทธิ์ ทางการศึกษาในระดับการศึกษาภาคบังคับโดยเฉพาะในระดับประถมศึกษา และระดับมัธยมศึกษา ยังไม่สามารถทำให้นักเรียนที่อยู่ในระบบการศึกษาสามารถมีความรู้ที่จะสื่อสาร และนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ นอกจากนี้ หากดูสถิติที่นักเรียนเมื่อจบมัธยมศึกษาตอนปลายแล้ว จะเห็นได้ว่ามีแนวโน้มศึกษาในระดับอุดมศึกษา ซึ่งเป็นการศึกษาที่เป็นพื้นฐานทั่วไปในศาสตร์แต่ละศาสตร์ ไม่ได้มุ่งไปสู่การประกอบอาชีพหรือแรงงานที่มีทักษะหรือมีฝีมือ ดังนั้น จึงอาจมีผลกระทบต่อตลาดแรงงานที่ต้องการผู้ที่จบมาแล้วสามารถทำงานได้ตรงกับความต้องการของตลาดแรงงานในปัจจุบัน
ด้วยเหตุนี้เอง เมื่อมีผู้สำเร็จการศึกษาในระดับอุดมศึกษามาแล้วจำนวนมาก แต่ไม่มีงานรองรับ เพราะจำนวนผู้สำเร็จ เกินกว่าความต้องการของตลาดแรงงาน อัตราการว่างงานมากขึ้น บัณฑิตที่จบมาแล้วไม่ได้ทำงานตรงกับสายงานที่ตนศึกษาก็จะไม่สามารถพัฒนาความรู้ที่ตนเรียนมาได้
มีรายงานวิจัยเกี่ยวกับการจัดสรรงบประมาณเพื่อการศึกษาของรัฐ จำนวนเกือบหกแสนล้านบาท ต่อปีนั้น รัฐได้ใช้จ่ายเพื่อการศึกษาขั้นพื้นฐานร้อยละ 66 อาชีวะ ร้อยละ 6 อุดมศึกษา ร้อยละ 17 ซึ่งถือว่าสูงในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานเมื่อเทียบกับประเทศอื่น แต่ในระดับอาชีวะ ถือว่าต่ำ แสดงให้เห็นว่า รัฐไม่ได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาการศึกษาเพื่อให้นักเรียนได้เรียนในระดับอาชีวะ เพื่อจะให้เด็กสามารถจบแล้วหางานทำได้ตามทักษะที่ตนถนัด แต่เน้นการศึกษาในระดับการศึกษาสามัญ ที่จะต้องต่อยอดในระดับอุดมศึกษา จึงจะหางานทำได้
แนวทางนี้เอง จึงทำให้เด็กบางคนที่ไม่ถนัดกับการศึกษาในวิชาสามัญ ต้องหลุดจากระบบการศึกษาภาคบังคับไป เพราะไม่มีความสุขกับการเรียนการสอนในวิชาสามัญและไม่มีทางที่จะเรียนได้ดีในวิชาดังกล่าว และออกมาทำงาน แต่เมื่อไม่สามารถเข้างานที่ต้องการทักษะในการทำงานได้ คนเหล่านี้จึงต้องทำงานในลักษณะแรงงานไร้ฝีมือ ได้ค่าแรงงานต่ำ และไม่อาจพัฒนาศักยภาพของตนในการทำงานได้ ปัญหาเหล่านี้ จากสถิติของงานวิจัย พบว่า มีเด็กจำนวนไม่น้อยที่ไม่ศึกษาต่อในการศึกษาภาคบังคับ และหลุดจากวงจรของการศึกษาก่อนเวลาอันสมควร
จากสถิติเหล่านี้เอง จึงเป็นที่น่าคิดว่า การปฏิรูปการศึกษาในภาพรวมของประเทศ อาจจะต้องกลับมาตั้งต้นที่จะหาคำตอบว่า การศึกษาของไทย มุ่งจะผลิตคนเพื่อให้มีความรู้ คิดเป็น อ่านออกเขียนได้ และมีทักษะในการทำงานโดยไม่จำเป็นต้องศึกษาสูงถึงระดับอุดมศึกษาอย่างไร และรัฐควรให้การสนับสนุนให้เด็กไทยมีความรู้ในวิชาสามัญ และความรู้ในการประกอบอาชีพของตนอย่างไร ทั้งนี้เมื่อเทียบกับ ประเทศในยุโรปเช่นเยอรมัน สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น แล้ว การศึกษาในระดับมัธยมและการต่อในอาชีวะ หรือเพื่อไปประกอบวิชาชีพที่ใช้แรงงานที่มีฝีมือเป็นนโยบายที่รัฐให้การสนับสนุน และเปิดให้นักเรียนได้เรียนในทักษะที่ตนต้องการ โดยไม่ต้องไปเรียนวิชาสามัญเหมือนกับที่ไทยได้จัดการศึกษา รวมถึงการกระจายการจัดการศึกษาไปสู่ส่วนภูมิภาคหรือส่วนท้องถิ่น รวมถึงบูรณาการภาคเอกชนและชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของประเทศและชุมชน รวมถึงป้องกันการอพยพแรงงานเข้าสู่ชุมชนเมืองได้
นโยบายเหล่านี้ คงเป็นนโยบายที่รัฐจะต้องตัดสินใจ และมีแผนการดำเนินงานที่ชัดเจนเกี่ยวกับการปฏิรูปการศึกษาว่า แนวทางที่จะพัฒนาทั้งนักเรียน และครูในระดับการศึกษาภาคบังคับ ระดับวิชาชีพและระดับอุดมศึกษา จะมีแนวทางอย่างไร จะต้องการผลิตผู้ที่สำเร็จการศึกษาในแต่ละระดับเพื่อออกมาสู่ตลาดแรงงานอย่างไร ทั้งนี้ หากกำหนดแนวนโยบายเกี่ยวกับการศึกษาได้ชัดเจนแล้ว กลไกในการดำเนินงานจึงควรเน้นที่การกำหนดหลักสูตรในแต่ละระดับการศึกษา ว่าควรมีสัดส่วนในการกำหนดวิชาสามัญ และวิชาชีพที่เหมาะสมกับตลาดแรงงาน และความต้องการของนักเรียนอย่างไร ทั้งนี้ในปัจจุบันการศึกษาในระดับการศึกษาภาคบังคับ เน้นการเรียนในวิชาสามัญแต่ยังขาดการส่งเสริมให้นักเรียนได้มีความรู้ ความเข้าใจในชุมชนของตน หรือแม้กระทั่งการเข้าใจในวัฒนธรรม ค่านิยมของไทย อันจะนำไปสู่การสร้างจิตสำนึกที่ดีให้กับเยาวชนและพลเมืองของไทยในอนาคต
นโยบายที่คู่ขนานกับการเรียนการสอนเพื่อจะให้สามารถทำงานได้ หรือการเรียนที่ฝึกฝนให้ผู้เรียนได้ใช้ศักยภาพหรือทักษะของตน หรือเรียนเพื่อให้คิดและวิเคราะห์เป็น จึงเป็นเป้าหมายอย่างหนึ่ง แต่การที่จะสอนให้มีความรู้ควบคู่กับคุณธรรม มีจิตสำนึกในการรักษาวินัย เชื่อฟังกฎหมาย ต่อต้านการคอร์รัปชั่น และการตระหนักถึงสิทธิมนุษยชน ซึ่งเป็นมาตรฐานของพลเมืองในระดับสากลนั้นคงจะต้องสอดแทรกเข้าไปในหลักสูตรและมีการฝึกฝนหรือกิจกรรมที่ทำให้เกิดความตระหนักมากขึ้นในทุกระดับ เพื่อทำให้ผู้สำเร็จการศึกษาไม่ว่าจะอยู่ในระดับใด มีความรู้ และคุณธรรม มีจิตสำนึกที่ดี มีความเสียสละให้กับส่วนรวมอันจะเป็นกำลังของชาติต่อไป การจัดสรรงบประมาณเพื่อการศึกษาจึงจะประสบผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาที่มากไปกว่าการวัดด้วย จำนวนผู้จบการศึกษาจำนวนมาก แต่ไม่สามารถใช้ความรู้ความสามารถของตนเพื่อสร้างงานและกิจกรรมอันเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ
ที่มาจาก สยามรัฐ
ขายดีมากครับคุณครู (พร้อมส่ง) เครื่องเคลือบบัตรA4 รุ่นSL200 เครื่องเคลือบกระดาษA4 A3 A5 ABSป้องกันการ์ด ในราคา ฿368 - ฿999 ที่ Shopeehttps://s.shopee.co.th/4VLvxbi7ho?share_channel_code=6
Advertisement
เปิดอ่าน 10,257 ครั้ง เปิดอ่าน 9,006 ครั้ง เปิดอ่าน 8,312 ครั้ง เปิดอ่าน 20,807 ครั้ง เปิดอ่าน 10,058 ครั้ง เปิดอ่าน 30,053 ครั้ง เปิดอ่าน 10,965 ครั้ง เปิดอ่าน 32,887 ครั้ง เปิดอ่าน 7,284 ครั้ง เปิดอ่าน 15,141 ครั้ง เปิดอ่าน 26,718 ครั้ง เปิดอ่าน 12,282 ครั้ง เปิดอ่าน 10,974 ครั้ง เปิดอ่าน 24,812 ครั้ง เปิดอ่าน 9,961 ครั้ง เปิดอ่าน 13,140 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 12,435 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,105 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 18,856 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 14,447 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 61,883 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 9,933 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 9,986 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 10,884 ครั้ง |
เปิดอ่าน 162,055 ครั้ง |
เปิดอ่าน 55,978 ครั้ง |
เปิดอ่าน 305,801 ครั้ง |
เปิดอ่าน 22,467 ครั้ง |
|
|