วิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) ด้านการบริหาร
เรื่อง การพัฒนาทักษะชีวิต ส่งเสริมทักษะอาชีพของนักเรียน สู่การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
โรงเรียนหนองบ่อวิทยานุกูล อำเภอนาแก จังหวัดนครพนม
ข้อมูลทั่วไป
ชื่อผู้เสนอผลงาน นายอิทธิพล พลเหี้ยมหาญ
ตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงเรียน
วิทยฐานะ ผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ
สถานที่ทำงาน โรงเรียนหนองบ่อวิทยานุกูล ตำบลหนองบ่อ อำเภอนาแก
จังหวัดนครพนม
1. ความเป็นมา
กระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดให้มีการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง พ.ศ. 2552-2561 โดยมีจุดเน้นให้ผู้เรียนได้พัฒนาความสามารถ ทักษะและคุณลักษณะ ซึ่งทักษะชีวิตเป็นจุดเน้นด้านความสามารถและทักษะที่เด็กและเยาวชนจำเป็นต้องได้รับการพัฒนาและเสริมสร้างทักษะชีวิต อย่างรอบด้าน เป็นภูมิคุ้มกันพื้นฐานที่จะช่วยให้ผู้เรียนสามารถเผชิญกับปัญหาและความท้าทายในการดำรงชีวิตได้อย่างมีประสิทธิภาพประกอบกับกระแสประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) เข้ามามีบทบาททั้งด้านเศรษฐกิจ การเมือง สังคม ไม่เว้นแต่วงการการศึกษาเอง ที่จะต้องปรับรูปแบบการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับบริบทที่จะเกิดขึ้น การขับเคลื่อนกลไกทางการศึกษาของประเทศให้พร้อมต่อการแข่งขันเป็นกระบวนการหลักในการพัฒนา ทรัพยากรมนุษย์ของประเทศ อันจะส่งผลต่อการพัฒนาประเทศชาติได้อย่างยั่งยืน
ทักษะการดำรงชีวิตในสังคมและทักษะอาชีพก็เป็นหนึ่งในทักษะที่สำคัญเหล่านั้น ที่ทั่วโลก ยกให้เป็นทักษะที่สำคัญไม่น้อยไปกว่าความเป็นเลิศทางวิชาการ แต่อาจจะกลายเป็นทักษะที่ผู้ปกครองไทยให้ความสำคัญน้อยกว่าทักษะเชิงวิชาการ นักเรียนไทยจึงขาดทักษะในการนำตัวเองไปในทิศทาง ที่เหมาะสม ทักษะชีวิตและทักษะอาชีพ จึงเป็นการเรียนรู้ที่โรงเรียนต้องจัดให้นักเรียนและครูต้องสอน
2. วัตถุประสงค์และเป้าหมายของการดำเนินงาน
2.1 เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหาร การจัดการเรียนรู้ของโรงเรียน โดยการพัฒนา ทักษะชีวิตและทักษะอาชีพให้แก่นักเรียนตามแนวทางการจัดการเรียนรู้ศตวรรษที่ 21
2.2 เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้
2.3 เพื่อปลูกฝังและพัฒนาทักษะชีวิต ทักษะอาชีพให้แก่นักเรียน เพื่อสามารถนำไปปรับ
ประยุกต์สู่ชีวิตจริง
2.3 เพื่อส่งเสริมให้ครูจัดกิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้ ตามแนวทางการจัดการเรียนรู้
ศตวรรษที่ 21 อย่างมีประสิทธิภาพ
2.4 เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการพัฒนาการศึกษาของผู้ที่มีส่วนได้เสีย
3. วิธีการดำเนินงาน
โรงเรียนมีนโยบายในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนทุกด้าน โดยเฉพาะด้านการเรียนรู้ ตามแนวทางการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 จึงได้นำแนวทางดังกล่าวมาใช้เพื่อเป็นเครื่องมือพัฒนาคุณภาพผู้เรียน โดยส่งเสริมให้ครูมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ด้วยแนวคิดเชิงระบบ มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลาย ออกแบบการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนด้านการคิดวิเคราะห์ ทักษะการทำงาน รู้จักสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองและสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ ซึ่งสอดคล้องกับความคาดหวังของผู้ปกครองและชุมชนที่ต้องการให้โรงเรียนพัฒนานักเรียนให้เป็นคนดี มีปัญญาและมีความสุข ตามขั้นตอนที่แสดงไว้ใน Flow Chart
ของการจัดการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาทักษะชีวิต ส่งเสริมทักษะอาชีพของนักเรียน สู่การเรียนรู้ในศตวรรษ ที่ 21 ดังต่อไปนี้
Flow Chart แสดงขั้นตอนการดำเนินงานที่มีการปฏิบัติที่เป็นเลิศ
การดำเนินการตามขั้นตอนที่แสดงไว้ใน Flow Chart
โรงเรียนได้พัฒนาศักยภาพครูและพัฒนาการจัดการเรียนรู้ในขั้นตอนการจัดทำแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ การดำเนินการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ การประเมินผลการเรียนรู้และการพัฒนา การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ / วิจัยพัฒนา ซึ่งการพัฒนาดังกล่าวทำให้เกิดนวัตกรรมที่ถือเป็นการปฏิบัติ ที่เป็นเลิศการพัฒนาทักษะชีวิต ส่งเสริมทักษะอาชีพของนักเรียน สู่การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
ได้แก่
3.1 การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบบูรณาการ
3.2 โครงการ 1 คน 1 อาชีพ
3.3 การนิเทศการสอนแบบกัลยาณมิตร
3.1 การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบบูรณาการ เป็นนวัตกรรมที่อยู่ในขั้นตอนการจัดทำแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ การดำเนินการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ การประเมินผลการเรียนรู้ และ การพัฒนา การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ / วิจัยพัฒนา ซึ่งโรงเรียนหนองบ่อวิทยานุกูลได้จัดกิจกรรมการเรียนรู้บูรณาการมาตั้งแต่ปีการศึกษา 2555 ในรูปแบบกิจกรรมบูรณาการแบบสอดแทรก แบบคู่ขนานและแบบสหวิทยาการ ในปีการศึกษา 2556 โรงเรียนจึงได้ประยุกต์แนวคิดและวิธีการ จัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบบูรณาการ ซึ่งแบ่งเป็น 3 ลักษณะ ได้แก่
3.1.1 การจัดกิจกรรมค่ายองค์รวม
3.1.2 การจัดกิจรรมการเรียนรู้บูรณาการแบบองค์รวม
3.1.3 การบูรณาการแบบสอดแทรก
3.2 โครงงาน 1 คน 1 อาชีพ
เป็นโครงการที่ปฏิบัติตามกิจกรรมการเรียนรู้ในรายวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี
(โครงงานอาชีพ) รหัส ง33101 (สาระพื้นฐาน) ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยนักเรียนที่เรียนรายวิชานี้ทุกคนจะต้องปฏิบัติกิจกรรมภาคบังคับ 2 ส่วน ได้แก่
1. กิจกรรมโครงงานอาชีพ (ปฏิบัติในเวลาเรียน) โดยกำหนดสัดส่วนการประเมินผลคิดเป็นร้อยละ 50 ของคะแนนเต็ม นักเรียนปฏิบัติกิจกรรมโดยใช้กระบวนการกลุ่ม
ทำโครงงานอาชีพตามกระบวนการเรียนการสอนโครงงานอาชีพ
2. กิจกรรม“โครงการ 1 คน 1 อาชีพ” เป็นการฝึกประสบการณ์วิชาชีพในสถานประกอบการอาชีพอิสระในท้องถิ่น (ปฏิบัตินอกเวลาเรียน) โดยกำหนดสัดส่วนการประเมินผลคิดเป็นร้อยละ 50 ของคะแนนเต็ม
3. นำผลการประเมินในข้อ 1 และ 2 มารวมกันเพื่อตัดสินผลการเรียน
3.3 การนิเทศการสอนแบบกัลยาณมิตร
การนิเทศภายในของโรงเรียนหนองบ่อวิทยานุกูล จะมีระบบการนิเทศเป็นขั้นตอน และนิเทศในหลายลักษณะ ได้แก่
3.3.1 นิเทศโดยการประชุม
- แต่ละเดือนจะมีการประชุมครูประจำเดือน เดือนละ 1 ครั้ง เพื่อให้การนิเทศ
จากฝ่ายบริหาร
- ทุกวันจันทร์ เวลา 14.00 น.เป็นต้นไป จะมีการประชุมหัวหน้ากลุ่มสาระ เพื่อรับการนิเทศจากฝ่ายวิชาการ เป็นการนิเทศแบบกัลยาณมิตร มีการร่วมคิด ร่วมแก้ปัญหา โดยการอภิปรายแสดงความคิดเห็นอย่างหลากหลาย
- ฝ่ายบริหารโดยผู้อำนวยการ และหัวหน้ากลุ่มบริหารวิชาการ เข้าร่วมประชุมกับกลุ่มสาระ แต่ละกลุ่มสาระ ทั้ง 8 กลุ่มสาระ เพื่อให้แนวคิด และรับฟังความคิดเห็นของครู ร่วมแก้ปัญหากับครูในกลุ่มสาระ
- ในแต่ละกลุ่มสาระ จะมีการประชุมภายในกลุ่มสาระ เพื่อให้การนิเทศครูในกลุ่มฯและในแต่ละกลุ่มจะมีผู้ทำหน้าที่เป็นครูผู้นิเทศของกลุ่มสาระ
3.3.2 ผู้สอนในรายวิชาเดียวกันจะจับคู่เพื่อเป็นคู่นิเทศแบบกัลยาณมิตร เพื่อ
แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และให้คำปรึกษาซึ่งกันและกัน
ในรูปแบบการนิเทศทั้งหลาย การนิเทศการสอนแบบกัลยาณมิตร เป็นวิธีการปฏิบัติ ที่เป็นเลิศ ในขั้นตอนการดำเนินการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อให้ครูได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกัน โดยครูในกลุ่มสาระเดียวกัน จะจับคู่สัญญาเพื่อเป็นคู่นิเทศที่คอยช่วยเหลือซึ่งกันและกัน มีการสังเกตการสอน ให้ข้อเสนอแนะ ในการปรับปรุงการเรียนกาสอน อย่างน้อยภาคเรียนละ 2 ครั้ง ผลการดำเนินงาน ทำให้เกิดบรรยากาศ ในการทำงานที่อบอุ่น จากการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ทำให้เกิดความรัก ความจริงใจ และความร่วมมือในองค์กร ส่งผลให้โรงเรียนได้พัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ให้ผู้เรียนมีคุณภาพ ตามมาตรฐานการศึกษาและบรรลุผลตามนโยบาย เป้าหมาย และทิศทางการจัดการศึกษาของโรงเรียน
4. ผลการดำเนินงาน/ผลสัมฤทธิ์/ประโยชน์ที่ได้รับ
4.1 จากการที่ครูผู้สอนได้พัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ทำให้นักเรียน มีคุณลักษณะ ใฝ่รู้ ใฝ่เรียน สามารถแก้ปัญหา และแสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเอง มีทักษะกระบวนการคิดมีกระบวนการในการทำงาน มีความสามารถในการเป็นผู้นำและผู้ตาม ในการทำงาน มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามที่โรงเรียนกำหนด ทำให้โรงเรียนผ่านการประเมินและได้รับการรับรองจาก สมศ.รอบสาม
4.2 ผลการดำเนินงานตามโครงการ 1 คน 1 ชีพ เกิดผลดีต่อหลายฝ่าย ได้แก่
- ผู้ประกอบการ ซึ่งเป็นวิทยากรท้องถิ่น เป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ให้แก่นักเรียนโดยตรง
- ผู้ปกครองเห็นชอบ สนับสนุน และคอยติดตาม มีส่วนเกี่ยวข้องในการเรียนรู้ของเด็ก
- ครูคอยติดตามนักเรียน โดยวิธีการโทรศัพท์ติดต่อสอบถามผู้ประกอบการโดยตรง หรือ ไปเยี่ยมบ้าน
- นักเรียนได้แสวงหาความรู้ในงานอาชีพอิสระที่ตนเองสนใจ โดยศึกษาจากประสบการณ์ตรง
- นักเรียนได้ฝึกกระบวนการทำงาน ฝึกความรับผิดชอบ มีวินัย และฝึกการทำงานร่วมกับผู้อื่น สอดคล้องกับมาตรฐาน ในเรื่องนักเรียนมีทักษะในการทำงานฯ มีเจตคติที่ดีต่ออาชีพสุจริต
4.3 ได้รับคัดเลือกจาก สพฐ. ให้เป็นโรงเรียนนำร่องทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
เป็น 1 ใน 88 โรงเรียน ทั่วประเทศ
5. ปัจจัยความสำเร็จ
ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการดำเนินการการพัฒนาทักษะชีวิต ส่งเสริมทักษะอาชีพ
ของนักเรียน สู่การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ได้แก่ ครูผู้สอนซึ่ง มีความตระหนัก เห็นความสำคัญ และ มีความพยายามที่จะพัฒนาการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ นอกจากนั้น ยังมีปัจจัยภายนอก ที่ทำให้กิจกรรมต่าง ๆ ประสบผลสำเร็จ ได้แก่
- ผู้บริหาร ซึ่งให้ความสำคัญ ส่งเสริม และสนับสนุนการจัดกิจกรรมทางวิชาการทุกด้าน กำหนดนโยบายให้มีการจัดการเรียนรู้บูรณาการไว้ชัดเจนและจัดกิจกรรมในการพัฒนาครู และพัฒนานักเรียนอย่างต่อเนื่อง
- การพัฒนา บุคลากรของโรงเรียน โรงเรียน ได้จัดอบรมสัมมนา แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และจัดประชุมปฏิบัติการทางวิชาการเป็นประจำ ภาคเรียนละไม่น้อยกว่า 2 ครั้ง ทำให้บุคลากรมีการร่วมคิดร่วมทำ ร่วมพัฒนางานและพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง การทำงานเป็นระบบยิ่งขึ้น งานทุกงานที่ทำได้รับความร่วมมือจากบุคลากรทุกคนของโรงเรียนจนเป็นวัฒนธรรมขององค์กร ทำให้การพัฒนางานทุก ๆ ระบบมีประสิทธิภาพตามเป้าหมาย นักเรียนได้รับการพัฒนาด้านความรู้ ความสามารถ อย่างเต็มตามศักยภาพ
- ผู้ปกครอง ชุมชน และหน่วยงานภายนอก ให้ความร่วมมือและช่วยเหลือโรงเรียนในด้านต่าง ๆ เป็นอย่างดีช่วยเหลือในการระดมทรัพยากรในการจัดการศึกษาให้ความอนุเคราะห์โรงเรียนในเรื่องแหล่งเรียนรู้ และเป็นวิทยากรแก่นักเรียน
- นโยบายของโรงเรียน กำหนดให้มีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้บูรณาการ อย่างต่อเนื่อง
ทุกภาคเรียน รวมทั้งการดำเนินการตามโครงการฝึกประสบการณ์วิชาชีพในสถานประกอบการอาชีพอิสระ ซึ่งต้องจัดให้แก่นักเรียนชั้น ม.3 ทุกปีการศึกษา
6. บทเรียนที่ได้รับ
การพัฒนาทักษะชีวิต ส่งเสริมทักษะอาชีพของนักเรียน สู่การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
โดยเฉพาะการจัดกิจกรรมการเรียนรู้บูรณาการ และ โครงการ 1 คน 1 อาชีพ ทำให้นักเรียนได้นำเสนอผลงานจากการเรียนรู้ของตนเองด้วยความภาคภูมิใจ นักเรียนยังได้มีโอกาสเผยแพร่ผลงาน แก่ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา ผู้ปกครอง ครู ที่มาเยี่ยมชมโรงเรียน
จากความพยายามคิดค้นนวัตกรรมการเรียนการสอน และการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง
ของครู ตลอดจนการนิเทศติดตามอย่างเป็นระบบ ทำให้การดำเนินงานประสบผลสำเร็จ ส่งผลต่อ ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ถือเป็นบทเรียนที่ได้รับ ดังนี้
- นักเรียนมีความรู้ มีความสามารถในการเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง มีทักษะชีวิตและทักษะอาชีพ
มีพื้นฐานในการศึกษาต่อและประกอบอาชีพ
- ครูมีการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง มีความภาคภูมิใจ และชื่นชมในผลที่เกิดแก่นักเรียน
โรงเรียนได้รับคัดเลือกให้เป็นโรงเรียนนำร่อง โรงเรียนจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เป็น 1 ใน 88 โรงเรียนทั่วประเทศ
- ชุมชนมีความภาคภูมิใจที่ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของโรงเรียน
7. การเผยแพร่ / การได้รับการยอมรับ / รางวัลที่ได้รับ
การเผยแพร่
โรงเรียนได้เผยแพร่รูปแบบการจัดการเรียนรู้ของโรงเรียน โดยการพัฒนาทักษะชีวิตและทักษะอาชีพให้แก่นักเรียนตามแนวทางการจัดการเรียนรู้ศตวรรษที่ 21 ดังนี้
1. เผยแพร่ทางเวปไซต์ของโรงเรียน www.nongbowittayanukul.com
2. เผยแพร่ทางเวปไซต์ครูบ้านนอกดอทคอม www.kroobannok.com
3. นำเสนอรูปแบบการบริหารการพัฒนาทักษะชีวิต ส่งเสริมทักษะอาชีพของนักเรียน
สู่การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ในที่ประชุม ณ โรงแรมเฟิร์ส กรุงเทพฯ วันที่ 8-11 เมษายน 2557
การได้รับการยอมรับ
ได้รับคัดเลือกให้เป็นโรงเรียนนำร่องทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เป็น 1 ใน 88
โรงเรียน ทั่วประเทศ