เครือข่ายต้านโกงจี้สอบทุจริตเงินช.พ.ค. ครูร้องสูญ 8.5 พันล้าน
เครือข่ายต้านโกง-ตัวแทนครูทั่วประเทศ เตรียมยื่นหนังสือเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีเร่งตรวจสอบทุจริตเงินกองทุนช่วยเหลือครูและบุคลากรทางการศึกษา (ช.พ.ค.) มูลค่าความเสียหาย 8,500 ล้านบาท พบพิรุธหลบเลี่ยงทำประกันผิดประเภท จี้ ปปง.แถลงความคืบหน้าคดี
ความไม่ชอบมาพากลเกี่ยวกับสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา หรือ สกสค. นำเงินกองทุนช่วยเหลือครูและบุคลากรทางการศึกษา (ช.พ.ค.) จำนวน 2,100 ล้านบาท ไปลงทุนกับบริษัทเอกชน ซึ่งมีการระบุว่าเป็นการนำเงินไปใช้ผิดวัตถุประสงค์ กำลังกลายเป็นปัญหาใหญ่ของครูทั่วประเทศจนคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) มีคำสั่งปลดบอร์ดบริหาร สกสค. เนื่องจาก พบว่าอาจส่อเจตนาทุจริตเงินกองทุน ที่สถาบันการเงินคืนดอกเบี้ยกลับมาให้เป็นเงินสำรองช่วยครู ล่าสุดจะมีการยื่นหนังสือให้นายกรัฐมนตรี เร่งตรวจสอบในเรื่องนี้อีกครั้ง
เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน นายสงกรานต์ อัจฉริยะทรัยพ์ ประธานเครือข่ายต่อต้านการบ่อนทำลานชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ พร้อมตัวแทนครูและอาจารย์ ทั่วประเทศไทยกว่า 50 คน แถลงต่อสื่อมวลชนว่าจะเข้ายื่นหนังสือร้องทุกข์ต่อ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในวันที่ 2 มิถุนายนนี้ เกี่ยวกับการทุจริตเงินกองทุน ช.พ.ค. ค่าสงเคราะห์รายศพ ที่ได้เรียกเก็บจากคูร อาจารย์ บุคลากรทางการศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษาลูกจ้างประจำ แต่ละเดือนประมาณ 400-600 บาท นานกว่า 10 ปี ปรากฎว่าไม่ทราบยอดจำนวนผู้ตาย และไม่ทราบยอดจำนวนสมาชิก ช.พ.ค. ทั้งยอดรายรับและรายจ่าย เมื่อสอบถามเจ้าหน้าที่กลับอ้างว่า ไม่สามารถตรวจสอบได้
"จากการตรวจสอบเบื้งอต้นซึ่งได้ประสานไปยังเลขาธิการคณะกรรมการกำกับและการส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ถึงกรมธรรม์ที่ได้ทำประกัน ปรากฎว่าเป็นการประกันอุบัติเหตุ ไม่ใช่ประกันสินเชื่อ ซึ่งทางบริษัทประกันสามารถเรียกเบี้ยประกันได้เป็นรายปีไม่จำเป็นต้องเก็บล่วงหน้า 9-10 ปี ขณะเดียวกันสมาชิก ช.พ.ค. ทั่วประเทศไทยออกมารวมตัวเพื่อเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเรื่องนี้ เนื่องจากเป็นเรื่องทุจริต มีผู้ได้รับผลกระทบจำนวนมากทั่วทั้งประเทศ ซึ่งมีมูลค่าความเสียหายมหาศาล" นายสงกานต์ ระบุ
ประธานเครือข่ายต่อต้านการบ่อนทำลายชาติฯ กล่าวอีกว่า โครงการนี้ยังมีสมาชิกกว่า 1 ล้านคน ซึ่งมีมูลค่าความเสียหายประมาณ 8,500 ล้านบาท และในวันที่ 5 มิถุนายนนี้ จะยื่นหนังสือร้องเรียนต่อสภาทนายความเพื่อให้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงในคดีนี้ คาดว่าเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) จะแถลงผลความคืบหน้าของคดี จึงจะต้องตั้งคณะกรรมการตรวจสอลข้อเท็จจริงย้อนหลัง 10-15 ปี หรือตามระบบบัญชีทางธนาคาร หากพบว่ามีการกระทำความผิด ขอให้พิจารณาและดำเนินคดีทันที
ด้านตัวแทนคณะครู บอกว่า ที่รวมตัวกันเดินทางมาให้ครั้งนี้เพื่อต้องการให้นายกรัฐมนตรีตรวจสอบข้อเท็จจริง เพราะที่ผ่านมาได้ไปยื่นเรื่องให้หลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแต่คดียังไม่คืบ โดยยังมีการหักค่าดอกเบี้ยจากการกู้ยืมของธนาคารทางภาครัฐและบริษัทประกันภัยของเอกชน ร้อยละ 6.9 เป็นระยะเวลากว่า 9 ปี และในแต่ละเดือนมีการหักเงินค่าฌาปนกิจศพครูเดือนละ 400-600 บาท จึงอยากขอร้องให้นายกรัฐมนตรีเร่งตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยด่วย เพราะเกรงว่าจะมีการเคลื่อนย้ายเอกสาร อย่างไรก็ตาม ในวันที่ 2 มิถุนายน เวลา 15.00 น. จะพากันเดินทางไปยืนหนังสือที่ รับเรื่องราวร้องทุกข์ ทำเนียบรัฐบาล
นายสงกรานต์ อัจฉริยะทรัยพ์ ประธานเครือข่ายต่อต้านการบ่อนทำลายชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ พร้อมตัวแทนครูและอาจารย์แถลงข่าวเตรียมยื่นหนังสือเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรี เร่งตรวจสอบการทุจริตเงินกองทุน ช.พ.ค. ที่ส่งผลต่อความเสียหาย 8,500 ล้านบาท เมื่อวันที่ 1 มิ.ย.
ที่มา: หนังสือพิมพ์คมชัดลึก
Advertisement
ครูสมาชิก ช.พ.ค.ร้องนายกฯสอบทุจริตมูลค่า 8,500 ล้าน
ประธานเครือข่ายต่อต้านการบ่อนทำลายชาติฯ นำครูผู้เสียหายจากโครงการ ช.พ.ค. ทั่วประเทศ ซึ่งมีสมาชิกกว่า 1 ล้านคน มูลค่าความเสียหาย 8,500 ล้านบาท ร้องนายกรัฐมนตรีตั้งคณะกรรมการสอบ
วันนี้ (1 มิ.ย.) เมื่อเวลา 14.00 น. ทนายสงกานต์ อัจฉริยะทรัพย์ ประธานเครือข่ายต่อต้านการบ่อนทำลายชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ พร้อมคณะครู อาจารย์ ทั่วประเทศไทย แถลงต่อสื่อมวลชน กรณีจะเข้ายื่นหนังสือร้องทุกข์ต่อนายกรัฐมนตรี เนื่องจากกรณีเงินกองทุนช่วยเหลือครูและบุคลากรทางการศึกษา (ช.พ.ค.) ค่าสงเคราะห์รายศพ ที่ได้เรียกเก็บเงินจากครู, อาจารย์, บุคลากรทางการศึกษา, ผู้บริหารสถานศึกษา, ลูกจ้างประจำ ที่เสียเงินไปแต่ละเดือนประมาณ 400 - 600 บาท นานกว่า 10 ปี ปรากฏว่า ไม่ทราบยอดจำนวนผู้ตาย และไม่ทราบยอดจำนวนสมาชิก ช.พ.ค. ทั้งยอดรายรับและรายจ่าย เมื่อสอบถามเจ้าหน้าที่กลับอ้างว่า ไม่สามารถตรวจสอบได้
จากการตรวจสอบเบื้องต้นได้ประสานไปยังเลขาธิการ คปภ. ถึงกรมธรรม์ได้ทำประกัน ปรากฎว่าเป็นการประกันอุบัติเหตุ ไม่ใช่ประกันสินเชื่อ ซึ่งทางบริษัทประกันสามารถเรียกเบี้ยประกันได้เป็นรายปีไม่จำเป็นต้องเก็บล่วงหน้า 9 - 10 ปี
ทั้งนี้ สมาชิกช.พ.ค. ทั่วประเทศ จึงได้ออกมารวมตัวเพื่อเรียกร้องให้ทางนายกรัฐมนตรีตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง
ทนายสงกานต์ กล่าวต่อว่า ในโครงการนี้ยังมีสมาชิกกว่า 1 ล้านคน ซึ่งมีมูลค่าความเสียหายประมาณ 8,500 ล้านบาท และในวันที่ 5 มิ.ย. 58 จะยื่นหนังสือร้องเรียนให้กับสภาทนายความดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงในคดีนี้ คาดว่า ทางเลขาธิการ ปปง. จะแถลงผลความคืบหน้าของคดี จึงจะต้องตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงย้อนหลัง 10 - 15 ปี หรือตามระบบบัญชีทางธนาคาร หากพบว่ามีการกระทำความผิด ขอให้พิจารณาและดำเนินคดีทันที
ทางด้านตัวแทนคณะครู เปิดเผยว่า ในวันนี้ที่เดินทางมาต้องการให้นายกรัฐมนตรีตรวจสอบข้อเท็จจริง เพราะที่ผ่านมาได้ไปยื่นหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง แต่คดียังไม่คืบ ซึ่งยังมีการหักค่าดอกเบี้ยจากการกู้ยืมของธนาคารทางภาครัฐ และบริษัทประกันภัยของเอกชน ร้อยละ 6.9 เป็นระยะเวลากว่า 9 ปี และในแต่ละเดือนมีการหักเงินค่าฌาปนกิจศพครูเดือนละ 400 - 600 บาท จึงอยากขอร้องให้นายกรัฐมนตรีเร่งตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยด่วน เพราะคาดว่าจะมีการเคลื่อนย้ายเอกสาร
ทั้งนี้ ในวันพรุ่งนี้ (2 มิ.ย.) เวลา 15.00น. จะเดินทางไปยื่นหนังสือที่ศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ ทำเนียบรัฐบาล
ที่มา ASTVผู้จัดการออนไลน์ วันที่ 1 มิถุนายน 2558