ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมข่าวการศึกษา  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

ผลการประชุมระดับโลกว่าด้วยการศึกษา ณ เมืองอินชอน สาธารณรัฐเกาหลี


ข่าวการศึกษา 2 มิ.ย. 2558 เวลา 06:28 น. เปิดอ่าน : 5,066 ครั้ง
Advertisement

ผลการประชุมระดับโลกว่าด้วยการศึกษา ณ เมืองอินชอน สาธารณรัฐเกาหลี

Advertisement

รองศาสตราจารย์ นพ.กำจร ตติยกวี ปลัดกระทรวงศึกษาธิการได้เดินทางไปเข้าร่วมการประชุมระดับโลกว่าด้วยการศึกษา ณ เมืองอินชอน สาธารณรัฐเกาหลี ระหว่างวันที่ ๑๙ –๒๑ พฤษภาคม ๒๕๕๘ ซึ่งถือเป็นการประชุมที่ใหญ่ที่สุดในด้านการศึกษาที่จัดขึ้นทุก ๑๐ –๑๕ ปี เพื่อประเมินผลความก้าวหน้าในการดำเนินการตามเป้าหมายว่าด้วยการศึกษาเพื่อปวงชน ซึ่งได้กำหนดไว้ครั้งแรกในการประชุมระดับโลกว่าด้วยการศึกษาเพื่อปวงชน ที่จอมเทียน ประเทศไทย เมื่อปี ค.ศ. ๑๙๙๐ และได้มีการประเมินความก้าวหน้าไปเมื่อปี ค.ศ.๒๐๐๐ ที่กรุงดาการ์ ประเทศเซเนกัล โดยได้กำหนดเป้าหมายจากการดำเนินการไว้ในปี ๒๐๑๕
การประชุมครั้งนี้จึงเป็นการทบทวนการดำเนินงานด้านการพัฒนาการศึกษาเพื่อกำหนดแนวทางการดำเนินงานในอีก ๑๕ ปี ข้างหน้า ทั้งนี้มีผู้เข้าร่วมการประชุมทั้งหมดจากประเทศสมาชิกยูเนสโกทั้งหมด ๑๙๕ ประเทศ มีผู้เข้าประชุมทั้งหมด ๑,๕๐๐ คน ซึ่งทำให้เป้าหมายของการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDG) ที่สหประชาชาติจะได้พิจารณากำหนดอย่างเป็นทางการจะประกอบด้วยเป้าหมายที่ให้ความสำคัญกับการศึกษา อยู่ในเป้าหมายที่ ๔ “การศึกษาสำหรับทุกคนอย่างมีคุณภาพและเท่าเทียมกันและการส่งเสริมโอกาสทางการศึกษาตลอดชีวิตเพื่อปวงชน”

ที่ประชุมได้ให้การรับรองปฏิญญาอินชอนว่าด้วยการศึกษา ปี ค.ศ.๒๐๓๐ ซึ่งมุ่งให้ทั่วโลกจัดการศึกษาโดยคำนึงถึงการให้การศึกษากับทุกคน (inclusive)การพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้เท่าเทียมกัน และการศึกษาตลอดชีวิต ซึ่งถือว่าความสำเร็จเกิดจากนโยบายและการวางแผนที่มีประสิทธิภาพ ด้วยความร่วมมือของทุกภาคส่วน นอกจากนี้ ในปฏิญญาดังกล่าวยังได้เรียกร้องให้รัฐบาลของแต่ละประเทศให้ความสำคัญในการจัดสรรงบประมาณให้ภาคการศึกษาให้มากขึ้น โดยกำหนดให้อยู่ในช่วงระหว่างร้อยละ ๔ – ๖ ของ GDP หรือ ร้อยละ ๑๕ – ๒๐ ของงบประมาณประเทศ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับบริบทของแต่ละประเทศ ทั้งนี้เมื่อมีการกำหนดเป้าหมายอย่างเป็นทางการในเดือนกันยายน ๒๕๕๘ แล้วยูเนสโกจะดำเนินการจัดทำกรอบการดำเนินงานรองรับการดำเนินงานด้านการศึกษาให้บรรลุตามเป้าหมายภายในปี ค.ศ. ๒๐๓๐ ต่อไป

ในระหว่างการประชุมครั้งนี้ มีการอภิปรายในแต่ละหัวข้อที่สนับสนุนการจัดการศึกษาในในช่วง ๑๕ ปีข้างหน้า และข้อเสนอแนะต่างๆ ที่น่าสนใจ ดังนี้

๑. การเตรียมความพร้อมของเด็กปฐมวัยก่อนเข้าสู่ชั้นประถมศึกษา ซึ่งควรกำหนดให้การศึกษาปฐมวัยหรืออนุบาลเป็นการศึกษาภาคบังคับอย่างน้อย ๑ ปี และกำหนดให้แต่ละประเทศจัดการศึกษาภาคบังคับอีก อย่างน้อย ๙ ปี รวมมีการศึกษาภาคบังคับ ๑๐ ปี โดยมีการนำเสนอตัวอย่างของประเทศที่ได้ดำเนินการในหลายๆ ประเทศ เช่น ในแอฟริกาบางประเทศ ได้แลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นว่า ขณะนี้รัฐบาลของตนได้จัดสรรงบประมาณให้เพิ่มเติม เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนได้เข้าเตรียมความพร้อมก่อนเข้าเรียนในระดับประถมศึกษา และตัวอย่างที่ถือว่าประสบผลสำเร็จ คือ การที่รัฐบาลสาธารณรัฐเกาหลีได้ริเริ่มใช้หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย ซึ่งเรียกว่า หลักสูตร NURI (ภาษาเกาหลี แปลว่า โลก) ในศูนย์เลี้ยงเด็กและโรงเรียนอนุบาล เพื่อเตรียมความพร้อมให้เด็กปฐมวัย เมื่อปี ค.ศ. ๒๐๑๒ (พ.ศ. ๒๕๕๕) โดยในช่วงเริ่มแรกได้ให้การสนับสนุนงบประมาณกับเด็กอายุ ๕ ปี ที่อยู่ในครอบครัวของผู้มีรายได้น้อย (ต่ำกว่าร้อยละ ๗๐ ของรายได้เฉลี่ย) และปัจจุบันจัดสรรงบประมาณรายหัวให้เด็กทุกคนในช่วงวัย ๓ –๕ ปี ซึ่งหลักสูตรดังกล่าวจะเน้นการสอนให้เด็กมีพัฒนาการในเรื่องทักษะชีวิต และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ผ่านกิจกรรมต่างๆ ที่สอดคล้องกับหลักสูตรระดับชาติ ในสาขาที่สำคัญ ๕ สาขา คือ สุขอนามัย การสื่อสาร การอยู่ร่วมกับผู้อื่น ศิลปะ และการสร้างประสบการณ์ให้รู้จักค้นคว้าสำรวจ

๒.การพัฒนาคุณภาพการศึกษา ซึ่งเรื่องนี้ถือว่าเป็นปัจจัยสำคัญและผสมผสานการดำเนินหลายๆ ด้าน ทั้งนี้ ถึงแม้ว่า จากการประเมินผลการจัดการศึกษาในช่วง ๑๕ ปี ที่ผ่านมา ตัวเลขของเด็กที่เข้าเรียนจะสูงขึ้นก็ตาม แต่ ยังมีเด็กอีกประมาณ ๒๕๐ ล้านคน ที่ยังไม่มีความรู้พื้นฐานเลยแม้แต่น้อย ถึงแม้จะได้เข้าเรียน และในจำนวนนี้ จะเห็นว่ามีจำนวนถึง ๒๐๐ ล้านคนที่ออกกลางคัน ทำให้ไม่สามารถได้รับการพัฒนาทักษะที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต ดังนั้นการจัดการศึกษาในช่วง ๑๕ ปี ต่อไป จะต้องคำนึงถึงเรื่องของคุณภาพการศึกษาเพื่อให้สอดคล้องกับชุมชนของผู้เรียน และจะต้องมีการจัดการศึกษาทางเลือกต่างๆ ให้เหมาะสมกับผู้เรียน ซึ่งคุณภาพการศึกษาที่กล่าวถึงจะต้องมีความหลากหลาย และเชื่อมโยงกับการใช้ชีวิตของกลุ่มคนต่างๆ ให้ครอบคลุมทุกกลุ่มให้ได้ ทั้งนี้ การพัฒนาคุณภาพการศึกษาจะต้องคำนึง ถึงวิธีการจัดการเรียนการสอน หลักสูตร สื่อและตำราเรียน การใช้เทคโนโลยีเข้ามาสนับสนุนการเรียนการสอน การสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ ระบบการประเมินผล และการพัฒนาครู รวมทั้งการให้การศึกษากับพ่อแม่ผู้ปกครองด้วย

๓. การศึกษาเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนและการศึกษาเพื่อความเป็นพลเมืองโลกที่ดี ถือเป็นเรื่องที่การจัดการศึกษาในช่วง ๑๕ ปีต่อไปจะต้องให้ความสำคัญเป็นพิเศษ เนื่องจากถึงแม้ว่าการศึกษาจะไม่สามารถเปลี่ยนโลกได้ แต่การศึกษาช่วยพัฒนาคน และคนจะสามารถปรับเปลี่ยนโลกให้น่าอยู่มากขึ้นได้ และหากคนมีการศึกษาที่สอนให้คนรู้จักการพัฒนาที่เป็นประโยชน์และยั่งยืนได้ จะทำให้คุณภาพชีวิตของคนในโลกดีขึ้นได้ ซึ่งคุณสมบัติต่างๆ เหล่านี้จำเป็นต้องได้รับการปลูกฝังตั้งแต่วัยเด็ก และจะทำให้เด็กรู้จักการคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในทางที่ก่อประโยชน์มากขึ้น นอกจากนี้ การพัฒนาทักษะเหล่านี้จะต้องคำนึงถึงการสร้างความสมดุลระหว่างการแข่งขัน (Competitiveness) และการสร้างความสามัคคี (Solidarity) เพื่อให้เกิดการช่วยเหลือกันมากขึ้น ทั้งนี้ เรื่องการศึกษาเพื่อความเป็นพลเมืองโลกที่ดี (Global Citizenship Education : GCE) เป็นเสาหลักหนึ่งของ Global Education First ซึ่งเป็นข้อริเริ่มของเลขาธิการสหประชาชาติ ที่คำนึงถึงความสำคัญของการศึกษา เพื่อให้เกิดสังคมที่สันติสุข ควบคู่ไปกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน

๔.การเพิ่มงบประมาณลงทุนด้านการศึกษา ในการประชุมครั้งนี้มีการอภิปรายถึงเรื่องการลงทุนด้านการศึกษาอย่างกว้างขวาง และหลายคนเห็นว่าควรมีการจัดสรรงบประมาณทางการศึกษาให้มากขึ้น และสะท้อนแนวคิดดังกล่าวไว้ในปฏิญญาอินชอน (Incheon Declaration) ว่ารัฐควรจะจัดสรรงบประมาณทางการศึกษาประมาร้อยละ ๔ – ๖ ของผลิตภัณฑ์มวลรวมของชาติ (Gross Domestic Products : GDP) หรือประมาณร้อยละ ๑๕ – ๒๐ ของงบประมาณของประเทศ และมีผู้เสนอให้จัดตั้งกองทุนโลกว่าด้วยการศึกษา (Global Education Fund) เพื่อช่วยสนับสนุนประเทศที่ไม่สามารถจัดสรรงบประมาณด้านการศึกษาเพิ่มเติมได้เนื่องจากเห็นว่าหลายประเทศที่เป็นประเทศกำลังพัฒนายังไม่ได้ให้ความสำคัญในการจัดสรรงบประมาณให้การศึกษามากนัก รวมถึงมีแนวคิดว่า การจัดสรรงบประมาณให้ภาคการศึกษาควรจะต้องรวมถึงการวางแผนใช้งบประมาณเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดด้วย

๕.การติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษา ในช่วงที่ผ่านมานับตั้งแต่ ปี ค.ศ. ๒๐๐๐ ยูเนสโกและหน่วยงานต่างๆ ของสหประชาชาติได้พัฒนากลไกการติดตามประเมินผลการจัดการศึกษาในระดับโลกมาโดยตลอดด้วยการจัดทำรายงานติดตามผลในระดับโลก (Global Monitoring Report) เป็นประจำทุกปี และมีการจัดทำรายงานความก้าวหน้าระดับชาติและภูมิภาคตามลำดับ เพื่อทำให้เห็นพัฒนาการเป็นระยะ ซึ่งในช่วง ๑๕ ปีต่อไป ก็ควรจะมีการจัดทำการประเมินติดตามผลเป็นระยะเช่นเดิม ดังนั้นรายงานในระดับโลกก็ควรจะปรับเป็น Global Education Monitoring Report) ส่วนการดำเนินการติดตามในระดับชาติ ควรขอให้ประเทศต่างๆ กำหนดแนวทางตามกลไกของตนได้ตามความเหมาะสม ทั้งนี้หลายประเทศได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาศักยภาพของผู้ที่จะต้องจัดเก็บข้อมูล และทำการวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อให้สะท้อนความเป็นจริงได้มากที่สุด

ในระหว่างการประชุมครั้งนี้ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการได้มีโอกาสประชุมหารือกับผู้แทนธนาคารโลก คือนายอามิต ตาร์ผู้อำนวยการด้านการศึกษา ซึ่งปลัดกระทรวงศึกษาธิการได้กล่าวถึงการปฏิรูปการศึกษาของไทยที่กำลังดำเนินการอยู่ว่า ขณะนี้กำลังดำเนินการอยู่ภายใต้คณะกรรมการชุดต่างๆ ซึ่งเห็นว่าธนาคารโลกอาจให้การสนับสนุนในเรื่องของข้อมูลต่างๆ เพื่อประกอบการปฏิรูปการศึกษาอย่างเป็นระบบของไทยได้ ซึ่งนายอามิต ตาร์ได้ตอบรับว่าธนาคารโลกมีความพร้อมที่จะสนับสนุนเรื่องดังกล่าว และยินดีที่จะเข้ามาช่วยในการจัด Workshop ต่างๆ ตามที่กระทรวงศึกษาธิการเห็นว่าจะเป็นประโยชน์ต่อการปฏิรูป

จากการประชุมครั้งนี้ ทำให้เห็นว่าประเทศต่างๆ มีความพยายามที่จะปรับเปลี่ยนแนวทางการจัดการศึกษาของตนให้สอดคล้องกับบริบทโลกที่เปลี่ยนแปลงไป และให้ความสำคัญในการสร้างคน เพื่อให้สอดคล้องกับบริบทของประเทศตนมากขึ้น การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างความสำเร็จต่างๆ เป็นไปในลักษณะของการคำนึงถึงบริบทที่แตกต่างกันมากขึ้น ไม่ใช่การลอกเลียนแนวทางที่ประสบการณ์ที่ประสบความสำเร็จไปดำเนินการเต็มรูปแบบที่ประชุมให้ความสำคัญกับการจัดการศึกษากับกลุ่มคนทุกกลุ่มมากขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มที่ต้องประสบกับภัยพิบัติทางธรรมชาติ และภัยพิบัติจากความขัดแย้ง กลุ่มที่ต้องออกจากโรงเรียนกลางคัน

สำหรับข้อเสนอแนะที่ประเทศไทยอาจดำเนินการได้ คือ การจัดตั้งคณะกรรมการเพื่อติดตามประเมินผลการจัดการศึกษา ซึ่งนอกจากจะทำให้ประเทศไทยมีข้อมูลที่จะแบ่งปันระหว่างประเทศสมาชิกยูเนสโกแล้ว ยังเป็นการจัดทำข้อมูลการพัฒนาการศึกษาที่เป็นระบบมากขึ้น ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการปฏิรูปการศึกษาของประเทศ


ข้อมูล / สํานักความสัมพันธ์ต่างประเทศ สป.ศธ.

 


ผลการประชุมระดับโลกว่าด้วยการศึกษา ณ เมืองอินชอน สาธารณรัฐเกาหลีผลการประชุมระดับโลกด้านการศึกษา

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

:: เรื่องปักหมุด ::

แนวทางการดำเนินการให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งผู้บริหารการศึกษา มีวิทยฐานะและเลื่อนวิทยฐานะ

แนวทางการดำเนินการให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งผู้บริหารการศึกษา มีวิทยฐานะและเลื่อนวิทยฐานะ

เปิดอ่าน 3,407 ☕ 17 ต.ค. 2567

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
สมศ.ขานรับนโยบาย "บิ๊กอุ้ม"  ภายใน 5 ปี ประเมินสถานศึกษาครบกว่า 5.8 หมื่นแห่ง
สมศ.ขานรับนโยบาย "บิ๊กอุ้ม" ภายใน 5 ปี ประเมินสถานศึกษาครบกว่า 5.8 หมื่นแห่ง
เปิดอ่าน 508 ☕ 19 พ.ย. 2567

คุรุสภาเปิดรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับ (ร่าง) ข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพครูปฐมวัย พ.ศ. ... และ (ร่าง) ข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพครูการศึกษาพิเศษ พ.ศ. ... ระหว่างวันที่ 15 - 30 พฤศจิกายน 2567
คุรุสภาเปิดรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับ (ร่าง) ข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพครูปฐมวัย พ.ศ. ... และ (ร่าง) ข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพครูการศึกษาพิเศษ พ.ศ. ... ระหว่างวันที่ 15 - 30 พฤศจิกายน 2567
เปิดอ่าน 678 ☕ 15 พ.ย. 2567

"สุเทพ" แนะศึกษาธิการจังหวัดสร้างศรัทธาในการทำงานพร้อมร่วมมือพันธมิตรในพื้นที่ขับเคลื่อนปฏิรูปการศึกษา
"สุเทพ" แนะศึกษาธิการจังหวัดสร้างศรัทธาในการทำงานพร้อมร่วมมือพันธมิตรในพื้นที่ขับเคลื่อนปฏิรูปการศึกษา
เปิดอ่าน 771 ☕ 15 พ.ย. 2567

ปฏิทินการบริหารงานบุคคล สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปี พ.ศ. 2568
ปฏิทินการบริหารงานบุคคล สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปี พ.ศ. 2568
เปิดอ่าน 3,373 ☕ 13 พ.ย. 2567

ประกาศรายชื่อโรงเรียนที่ได้รับคัดเลือกระดับชาติเพื่อเป็นโรงเรียนต้นแบบการจัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (DLTV) ประจำปี 2567
ประกาศรายชื่อโรงเรียนที่ได้รับคัดเลือกระดับชาติเพื่อเป็นโรงเรียนต้นแบบการจัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (DLTV) ประจำปี 2567
เปิดอ่าน 2,059 ☕ 13 พ.ย. 2567

สพฐ.แจ้งแนวทางการอนุญาตให้บุคลากรในสังกัดทำหน้าที่ผู้ประเมินคุณภาพภายนอก
สพฐ.แจ้งแนวทางการอนุญาตให้บุคลากรในสังกัดทำหน้าที่ผู้ประเมินคุณภาพภายนอก
เปิดอ่าน 953 ☕ 13 พ.ย. 2567

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

ผักสุกมีคุณค่าอาหารสูงกว่าดิบ
ผักสุกมีคุณค่าอาหารสูงกว่าดิบ
เปิดอ่าน 19,087 ครั้ง

ใช้ชีวิต Slow Life เพื่อความสุขยืนยาว ช้าแต่ชัวร์!!
ใช้ชีวิต Slow Life เพื่อความสุขยืนยาว ช้าแต่ชัวร์!!
เปิดอ่าน 22,256 ครั้ง

ข้อมูลควรรู้ เกี่ยวกับ "เครดิตบูโร" ว่าเกี่ยวข้องกับเราอย่างไร?
ข้อมูลควรรู้ เกี่ยวกับ "เครดิตบูโร" ว่าเกี่ยวข้องกับเราอย่างไร?
เปิดอ่าน 10,484 ครั้ง

น่ารักครับ! ลูกใช้หลักอริยสัจ 4 แนะทางออกแก้ปัญหาแม่ติดโทรศัพท์
น่ารักครับ! ลูกใช้หลักอริยสัจ 4 แนะทางออกแก้ปัญหาแม่ติดโทรศัพท์
เปิดอ่าน 33,200 ครั้ง

สาวเกาหลีเต้น กังนัมสไตล์
สาวเกาหลีเต้น กังนัมสไตล์
เปิดอ่าน 16,132 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ