ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมบทความการศึกษา  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

ดูให้ชัด รัฐธรรมนูญ ม.286 ให้มีการปฏิรูปการศึกษาเพื่อพัฒนาคนแน่ หรือ?


บทความการศึกษา 18 พ.ค. 2558 เวลา 08:46 น. เปิดอ่าน : 12,595 ครั้ง
Advertisement

ดูให้ชัด รัฐธรรมนูญ ม.286 ให้มีการปฏิรูปการศึกษาเพื่อพัฒนาคนแน่ หรือ?

Advertisement

เพชร เหมือนพันธุ์

เฝ้ารอดูโฉมหน้าการปฏิรูปการศึกษาของไทย จากรัฐธรรมนูญซึ่งถือเป็นกฎกติกาของสังคมสูงสุด พบว่ามีอยู่เพียง 3 มาตราที่กล่าวถึงการศึกษา คือ ม.52, ม.84, และ ม.286 แต่ยังไม่พบว่าทั้ง 3 มาตรานี้จะไปปฏิรูปการศึกษาได้อย่างไร

ม.52 กล่าวว่า พลเมืองย่อมมีสิทธิเท่าเทียมกันในการรับการศึกษาที่มีคุณภาพและหลากหลายอย่างทั่วถึงฯ

รัฐมีหน้าที่ต้องจัดการศึกษาอบรมและส่งเสริมการจัดการศึกษาอบรมขององค์กรวิชาชีพหรือเอกชน เพื่อให้ประชาชนเรียนรู้ตลอดชีวิต

ม.84 รัฐต้องจัดส่งเสริมและทำนุบำรุงการศึกษาอบรมทุกระดับและทุกรูปแบบฯ และมี (1)-(6) ใน (4) มีการพัฒนาหลักสูตรทั้งในส่วนกลางและท้องถิ่นเพื่อให้มีการเรียนการสอนที่เหมาะสมกับภูมิสังคมและพัฒนาการของโลก ใน (5) พัฒนาครู บุคลากรทางการศึกษาและปราชญ์ชาวบ้าน รวมทั้งจัดระบบการให้ค่าตอบแทนและสิทธิประโยชน์ที่พึงได้ เพื่อลดความเหลื่อมล้ำระหว่างบุคลากรในภาครัฐและภาคเอกชน ใน (6) ส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษา วิจัย และพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม และการเผยแพร่ข้อมูลดังกล่าว รวมทั้งการคุ้มครองภูมิปัญญาและสิทธิประโยชน์ที่เกิดขึ้น ส่วนวงเล็บ 1-3 ของทุกรัฐบาล

ม.286 ให้มีการปฏิรูปการศึกษาเพื่อพัฒนาคนให้เป็นพลเมืองดี มีความรู้ความสามารถโดยยึดหลัก ดังนี้ (1)-(12) ในมาตรานี้ เพื่อนครูทั่วประเทศไม่เห็นด้วยใน (1) ตอนท้ายสุด ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้ "กระจายอำนาจการจัดการศึกษาโดยลดบทบาทของรัฐจากการเป็นผู้จัดการศึกษา ให้เป็นผู้จัดให้มีการศึกษา ส่งเสริม สนับสนุน รวมทั้งกำกับนโยบาย แผน มาตรฐาน และติดตามประเมินผลการจัดการศึกษาและส่งเสริมให้สถานศึกษาสามารถบริหารจัดการการศึกษาได้อย่างมีอิสระ มีประสิทธิภาพ และรับผิดชอบต่อผลการจัดการศึกษา ทั้งนี้โดยให้เอกชน ชุมชน และองค์กรบริหารท้องถิ่น มีส่วนร่วมอย่างเหมาะสม"
ข้อสังเกต เฉพาะในวงเล็บ (1) นี้ครูออกมาส่งเสียงต่อต้านทั่วประเทศ ด้วยเกรงว่า การศึกษาของชาติในระดับใดระดับหนึ่งหรือทุกระดับจะต้องถูกถ่ายโอนให้ไปอยู่ในการควบคุมดูแลของท้องถิ่น ครูไม่ไว้ใจท้องถิ่น เพราะท้องถิ่นเพิ่งเกิดขึ้น มีอายุตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ ปี 2540 เพียง 18 ปี นับอายุได้ยังเป็นวัยรุ่น บวชพระยังไม่ได้ ขณะที่กระทรวงศึกษามีอายุได้ 100 กว่าปี วัฒนธรรมองค์กรของครูกับองค์กรท้องถิ่นต่างกันมาก ครูมาจากการสอบแข่งขันบรรจุ พัฒนาตนเองทางวิชาการมาโดยตลอดและเจริญเติบโตตามอายุประสบการณ์ ยิ่งมีอายุมากยิ่งมีประสบการณ์ มีความชำนาญในการทำงานมาก ส่วนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมาจากการสมัครรับการเลือกตั้ง มีอายุทำงานเป็นเทอมเป็นสมัยสมัยละ 4 ปี วัฒนธรรมของคนสองกลุ่มนี้จึงแตกต่างกัน นักการเมืองย่อมต้องการได้รับการเลือกตั้งกลับคืนมาในรอบที่ 2 และรอบต่อไปเรื่อยๆ หากผู้ใต้บังคับบัญชา (ครูเมื่อถ่ายโอนไปแล้ว) ไม่ช่วยหาเสียง ไม่เป็นหัวคะแนนให้ อะไรจะเกิดขึ้น ความตั้งใจที่จะสอนลูกศิษย์ย่อมได้รับผลกระเทือนแน่นอน

การจัดการศึกษาไม่ใช่เรื่องของนักการเมือง การศึกษามีจรรยาบรรณ มีมืออาชีพ มีความซื่อสัตย์ มีความภักดีต่อบทบาทหน้าที่ของตนเอง นักการเมืองจะมาบีบบังคับไม่ได้

ครูเคยมีบทเรียนที่เจ็บปวดในอดีตมาแล้ว สมัยที่เคยอยู่ภายใต้อำนาจการปกครองขององค์การบริหารส่วนจังหวัด ครูต้องไปรับใช้นักปกครองนักบริหารในระดับอำเภอในระดับจังหวัด ซึ่งงานการศึกษาไม่ใช่งานในหน้าที่โดยตรงของท่านเหล่านั้น งานอำเภอ งานจังหวัดที่ไม่เกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอน ครูต้องไปร่วมงานอยู่กับหน่วยงานแบบนั้นแบบลูกเมียน้อย

และในสมัยที่มีการถ่ายโอนไปให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่กำลังดำเนินการอยู่ทุกวันนี้ในหลายจังหวัด โรงเรียนที่ถ่ายโอนไปอยู่ในสังกัดขององค์การบริหารส่วนจังหวัด ครูมีความกดดันมาก ครูต้องไปสวามิภักดิ์กับนักการเมืองท้องถิ่น ครูจำนวนมากต้องการย้ายกลับสังกัดเดิม คุณภาพโรงเรียนที่ถ่ายโอนไปโดยภาพรวมก็ไม่ได้มีคุณภาพที่สูงขึ้น แม้ครูส่วนมากต้องการโอนโรงเรียนกลับแต่ก็ไม่มีกฎหมายใดมาให้โอนกลับได้ ครูที่ถ่ายโอนไปจึงรู้สึกตัวว่าตนเองเป็นเสมือนครูชั้นสอง เกิดระบบอุปถัมภ์ที่เพิ่มความแข็งแรงมากขึ้น ระบบคุณธรรมหดหายไป ครูคนใดไปทะเลาะกับนายก อบจ. ทะเลาะกับเจ้าหน้าที่หรือทะเลาะกับ ส.อบจ. (สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด) ความเจริญก้าวหน้าทางอาชีพก็ลดลง นี่คือปัญหา

ไม่มีงานวิจัยใดๆ มารองรับว่าถ่ายโอนการศึกษาไปให้ท้องถิ่นดูแลแล้วคุณภาพการศึกษาได้สูงขึ้น ในส่วนของบุคลากรในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เขาก็ไม่ได้ต้องการรับโอนการศึกษาไปรับผิดชอบ เพราะไม่ตรงกับภาระหน้าที่ขององค์กรเขาโดยตรง เป็นเพียงงานฝากเท่านั้น เมื่อคนที่จะรับเขาก็ไม่ต้องการที่จะรับ คนที่จะให้ถ่ายโอนไปอยู่เขาก็ไม่อยากไป แล้วอยากถามว่า คนร่างรัฐธรรมนูญจะผลักดันไปทำไม หรือไปจำรูปแบบมาจากที่ไหน

ผู้เขียนเคยไปเรียนอยู่ที่ New York, USA เมื่อปี 1997 เคยมีเพื่อนเป็น ผอ.เขต (Superintendent) ได้เห็นและรับทราบข้อมูลการกระจายอำนาจของเขามาบ้าง กรณีที่ท้องถิ่นของเขาเข้ามามีบทบาทในโรงเรียนได้เพราะเขาเป็นสหรัฐ รวมหลายๆ รัฐเข้าด้วยกัน แต่ละรัฐเขามีหน่วยงานปกครองส่วนท้องถิ่นดูแลนโยบายสาธารณะทุกอย่าง ท้องถิ่น หรือ Community ต้องส่งเจ้าหน้าที่หรือผู้แทนเข้ามาดูแลโรงเรียนในฐานะของกรรมการสถานศึกษา (School Board) ทุกโรงเรียนจะได้รับจัดสรรงบประมาณมาจากรัฐ (State) 70% และมาจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (Community) จัดสรรให้อีก 30% ดังนั้นท้องถิ่นจึงเข้ามามีบทบาท ในโรงเรียน

ท้องถิ่นสามารถจ้างและถอดถอนครูใหญ่ (School Principle) ได้ ครูใหญ่ มีอำนาจเต็มที่ในการจ้างครูเอง ท้องถิ่นจะไม่ยุ่งเกี่ยว แต่ถ้าครูทำงานไม่มีคุณภาพ ถ้ากรรมการสถานศึกษาบอกให้แก้ไข ผู้บริหารจะต้องสั่งให้ครูที่มีปัญหานั้นแก้ไขปรับปรุงพัฒนาตนเองทันที ถ้าไม่ทำไม่ปรับปรุงหรือพัฒนาตนเองขึ้น ครูคนนั้นก็จะร้อนก้น (Hot Seat) อาจถูกครูใหญ่สั่งให้ออก ถ้าครูใหญ่ไม่สามารถพัฒนาครูน้อย หรือผู้ใต้บังคับบัญชาที่มีปัญหาได้ ครูใหญ่จะก้นร้อน เช่นเดียวกับครูน้อย

หรือถ้าครูใหญ่ไม่สามารถพัฒนางานได้ในระยะเวลาที่คณะกรรมการสถานศึกษากำหนดให้ ครูใหญ่จะถูกคณะกรรมการสถานศึกษาสั่งให้เลิกจ้างได้
แปลว่าท้องถิ่นเขาเข้มแข็ง เขาเป็นเจ้าของเงินงบประมาณที่จัดสรรให้แก่โรงเรียน เขาจึงมีอำนาจเหนือผู้บริหารและเหนือโรงเรียน แต่เขามอบอำนาจให้ครูใหญ่จัดจ้างครูได้ด้วยตนเอง ท้องถิ่นจะไม่ลงมาเกี่ยวข้องเพียงแต่เป็นผู้อนุมัติให้จ้างเท่านั้น เมื่อครูใหญ่เป็นผู้จ้างครูเอง ครูใหญ่จึงต้องรับผิดชอบต่อผลงานการสอนของครูที่ตนเองสั่งจ้างมาด้วย ถ้าครูใหญ่จัดการโรงเรียนไม่ได้คุณภาพ ครูใหญ่นั่นแหละจะถูกเลิกจ้างเอง นักเรียนผู้ปกครองสามารถรายงานผลงานการสอนการบริหารงานของผู้บริหารต่อกรรมการสถานศึกษาหรือต่อท้องถิ่นได้

ถามว่าท้องถิ่นของไทยเรามีศักยภาพถึงเขาหรือยัง คณะกรรมการสถานศึกษามีบทบาทที่สามารถให้การสนับสนุนโรงเรียนได้เพียงใด ที่เขาสามารถสั่งครูใหญ่ให้ปฏิบัติหน้าที่ให้มีคุณภาพได้เพราะเขาเป็นผู้จัดสรรงบประมาณให้ เขาจึงมีอำนาจ

แต่ท้องถิ่นเราสามารถจัดได้อย่างเขาหรือยัง ถ้ายัง จะรู้ได้อย่างไรว่าครูใหญ่หรือผู้บริหารโรงเรียนจะเชื่อถือท้องถิ่นหรือเชื่อถือคณะกรรมการสถานศึกษา ครับวัฒนธรรมขององค์กรของฝรั่งเขาแตกต่างจากเรามาก ถ้าจะเอาอย่างเขาก็ให้เราเดินทางไปให้ถึงจุดนั้นก่อน

เรื่องถ่ายโอนการศึกษา เรื่องการรื้อโครงสร้างของกระทรวงศึกษาธิการ มันไม่ใช่การปฏิรูปการศึกษา ผลพัฒนาคุณภาพยังมีถึงนักเรียน แต่มันเป็นการรัฐประหารการศึกษาคือการฆ่าการศึกษาให้ตาย

ยังจำได้ไหมครับ 9 อรหันต์ ปฏิรูปการศึกษา เมื่อปี 2546 รื้อโครงสร้างกระทรวงศึกษาลงมาทั้งกระทรวง ยุบเลิกสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด ยุบเลิกสำนักงานศึกษาธิการอำเภอ ยุบเลิกสำนักงานประถมศึกษาจังหวัด ยุบเลิกสำนักงานประถมศึกษาอำเภอ ยุบเลิกสำนักงานสามัญศึกษาจังหวัด สั่งยุบเลิกหน่วยงานทางการศึกษาระดับสูงกว่าโรงเรียนพร้อมกันทั่วประเทศ เจ้าหน้าที่ข้าราชการ ครูทั่วประเทศ ไร้ที่อยู่จำนวนมาก เสมือนผึ้งแตกรัง ต้องหารังใหม่อยู่ ตำแหน่งใหม่ที่จัดไว้ไม่เพียงพอ ทำให้เจ้าหน้าที่ทะเลาะกันทั่วประเทศ มีหนังสือร้องเรียน มีบัตรสนเท่ห์ว่อนกระทรวง จนถึงวันนี้ก็ยังไม่ลงตัว คุณภาพไม่ต้องพูดถึงเพราะโรงเรียนทุกโรงเหมือนถูกปล่อยเกาะ ขาดหน่วยงานที่จะไปดูแลได้ใกล้ชิด คุณภาพการศึกษา ดิ่งเหว

บทเรียนคราวนั้นหาคนรับผิดชอบ (Accountability) ยังไม่ได้ หลายคนยังเจ็บปวดจากการเปลี่ยนแปลงคราวนั้นอยู่ การรื้อโครงสร้าง การถ่ายโอนที่ไม่มีความพร้อมหรือขาดการวางแผนที่ดีก็จะเป็นเสมือนแผ่นดินไหวในเนปาลมีคนตายเป็นหมื่น แผ่นดินไหวในเนปาล เกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติ สร้างความเสียหายแก่ประเทศชาติและประชาชนอย่างสูงยิ่ง การปฏิรูปการศึกษาที่ขาด การวางแผนขาดการจัดการที่ดีก็จะเป็นเสมือนแผ่นดินไหวในเนปาลเช่นกัน ระวังหน่อยครับ ถามครูเขาหน่อยว่าครูเขาอยากจะถ่ายโอนไปหรือไม่ การถ่ายโอนไปท้องถิ่นจะทำให้คุณภาพการศึกษาดีขึ้น จริงหรือ

สิ่งที่ครูทั่วประเทศอยากปฏิรูปจริงๆ ในขณะนี้คือ การปฏิรูปหลักสูตร โดยเฉพาะหลักสูตรในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งเป็นความเป็นความตายของชาติ

ส่วนที่สอง คือปฏิรูปวิธีการสอน วิธีการเรียนของครูของนักเรียน

ส่วนที่สาม คือปฏิรูปการวัดผลประเมินผลที่มันล้าหลังกว่าชาติอื่นๆ และการวัดผลไม่ได้สะท้อนถึงทักษะของผู้เรียนที่แท้จริง

ส่วนที่สี่ คือ การยกเลิกองค์กรอิสระที่ไม่ส่งเสริมการจัดการศึกษาจริง แต่กลับสร้างปัญหา ให้โรงเรียนเช่น สทศ. สมศ. ก.ค.ศ. การประเมินผลงานกระดาษเพื่อเลื่อนวิทยฐานะครู การสอบ O-NET ให้ยุบเลิกองค์กรอิสระทั้งหลายที่มารบกวนเวลาเรียนของเด็ก การเข้ามาตรวจสอบจับผิดโรงเรียน หวาดระแวงแต่ว่าครูจะบริหารงานไม่มีความโปร่งใส จนครูไม่เป็นอันทำงาน จ้างบุคคลที่ไม่มีหน้าที่รับผิดชอบเข้ามาควบคุมคนมีหน้าที่โดยตรง เหมือนจ้างตำรวจมาคอยจับผิดลูกตนเอง พ่อแม่คงหมดปัญญาดูแลแล้วจึงได้ทำแบบนี้

และให้ปฏิรูปส่วนที่ห้า คือ การโยกย้ายถ่ายโอนหน่วยงานทางการศึกษาที่มันไปอยู่ผิดที่ผิดทาง เช่น อาชีวะ ทบวงมหาวิทยาลัย จัดให้ถูกที่ถูกทาง ม.286 (1)-(12) ยังไม่ได้ตอบคำถามการปฏิรูปการศึกษาเลยครับ

รัฐธรรมนูญยังไม่ยุติสมบูรณ์แต่ก็ด้วยความเป็นห่วง กลัวจะพาการศึกษาไทยหลงทางเข้าป่าไปอีก หันไปดูเพื่อนบ้านเขาบ้างไม่เห็นเขาต้องเรียนมาก ปกติคนสามารถเรียนรู้นอกห้องเรียนนอกโรงเรียนได้ไม่ต้องจับเอาทุกศาสตร์เข้าไปไว้ในห้องเรียน
 

ที่มา มติชน ฉบับวันที่ 19 พ.ค. 2558 (กรอบบ่าย) 


ดูให้ชัด รัฐธรรมนูญ ม.286 ให้มีการปฏิรูปการศึกษาเพื่อพัฒนาคนแน่ หรือ?ดูให้ชัดรัฐธรรมนูญม.286ให้มีการปฏิรูปการศึกษาเพื่อพัฒนาคนแน่หรือ?

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

ความคิดสร้างสรรค์ (จบ)

ความคิดสร้างสรรค์ (จบ)


เปิดอ่าน 7,649 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

เดินหน้า ปฏิรูปการศึกษา 2559

เดินหน้า ปฏิรูปการศึกษา 2559

เปิดอ่าน 8,808 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
บทความพิเศษ "เมื่อระบบการศึกษาของไทยล้มเหลว"
บทความพิเศษ "เมื่อระบบการศึกษาของไทยล้มเหลว"
เปิดอ่าน 16,463 ☕ คลิกอ่านเลย

ปฏิรูปประเทศ การปฏิรูปด้านการศึกษา (มัธยมศึกษา)
ปฏิรูปประเทศ การปฏิรูปด้านการศึกษา (มัธยมศึกษา)
เปิดอ่าน 16,445 ☕ คลิกอ่านเลย

"โรงเรียนนิติบุคคล" ปฏิรูปการศึกษา...เกิดขึ้นจริง
"โรงเรียนนิติบุคคล" ปฏิรูปการศึกษา...เกิดขึ้นจริง
เปิดอ่าน 10,244 ☕ คลิกอ่านเลย

ปฏิรูปการศึกษาเรียนรู้จากผู้ประสบความสำเร็จ: "สิงคโปร์"
ปฏิรูปการศึกษาเรียนรู้จากผู้ประสบความสำเร็จ: "สิงคโปร์"
เปิดอ่าน 10,220 ☕ คลิกอ่านเลย

ราชภัฏกับธนาคาร
ราชภัฏกับธนาคาร
เปิดอ่าน 7,945 ☕ คลิกอ่านเลย

การศึกษาเพื่อสร้างบัณฑิตเป็น‘ผู้นำสังคม’ : โดย นพ.วิชัย เทียนถาวร
การศึกษาเพื่อสร้างบัณฑิตเป็น‘ผู้นำสังคม’ : โดย นพ.วิชัย เทียนถาวร
เปิดอ่าน 16,889 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ ครูใหญ่-ปฏิรูปศึกษา
พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ ครูใหญ่-ปฏิรูปศึกษา
เปิดอ่าน 12,514 ครั้ง

การเวียนศีรษะมีกี่ประเภท อะไรบ้าง?
การเวียนศีรษะมีกี่ประเภท อะไรบ้าง?
เปิดอ่าน 21,152 ครั้ง

ว่าด้วยเรื่อง ป.โทวิชาชีพครู
ว่าด้วยเรื่อง ป.โทวิชาชีพครู
เปิดอ่าน 49,351 ครั้ง

โครงสร้างอะตอม
โครงสร้างอะตอม
เปิดอ่าน 6,817 ครั้ง

กล้วยตอนเช้า คุณประโยชน์เต็มเปี่ยม
กล้วยตอนเช้า คุณประโยชน์เต็มเปี่ยม
เปิดอ่าน 29,320 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ